คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เขตอำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1963/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการปล่อยตัวนักโทษตามพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษ: ศาลจังหวัดนนทบุรีมีอำนาจเหนือศาลทหารกรุงเทพ
จำเลย (ที่ 1) ถูกศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา) ตัดสินให้ประหารชีวิตเมื่อ พ.ศ.2503 แต่จำเลยได้รับพระราชทานอภัยโทษ 2 ครั้งตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2504 และ พ.ศ. 2506 ลดโทษลงเป็นจำคุก 20 ปี นับแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2502 จำเลยจึงเป็นนักโทษเด็ดขาด ถูกจำคุกไว้ที่เรือนจำกลางบางขวาง ครั้นต่อมาได้มี พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2514 ออกใช้บังคับ ซึ่งผู้ร้องผู้เป็นภริยาจำเลยเห็นว่า ตามความในมาตรา 5(จ)
จำเลยอยู่ในเกณฑ์ที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษ แต่ก็ยังมิได้รับการพิจารณาสั่งปล่อย ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 โดยถือว่าจำเลยถูกควบคุมโดยผิดกฎหมาย การยื่นคำร้องดังกล่าวนั้นต้องยื่นต่อศาลจังหวัดนนทบุรีตามความในมาตรา 4 และมาตรา 9 แห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว ซึ่งให้อำนาจแก่ศาลแห่งท้องที่ที่ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษอยู่ในเขตมีอำนาจออกหมายสั่งปล่อย หาใช่ศาลทหารกรุงเทพ(ศาลอาญา) ไม่ เพราะมิใช่เป็นการกล่าวอ้างว่าถูกจำคุก ผิดจากคำพิพากษาของศาลทหารกรุงเทพ (ศาลอาญา)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1557/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องถูกควบคุมโดยมิชอบ แม้คดีอยู่ในอำนาจศาลทหาร
ถึงแม้ผู้ร้องถูกจับกุมในข้อหาที่อยู่ในอำนาจศาลทหารจะพิจารณาพิพากษาตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 12 ก็ตาม เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้ถูกฟ้องต่อศาลและไม่ได้ถูกควบคุมโดยอำนาจของศาล แต่ถูกควบคุมโดยพนักงานสอบสวนตำรวจสันติบาลทั้งประกาศของคณะปฏิวัติก็ไม่มีกล่าวไว้ถึงกรณียื่นคำร้องตามมาตรา 90 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาประการใดแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลอ้างว่าถูกควบคุมโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 นั้น ย่อมหมายถึงศาลยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(1) นั่นเอง เมื่อผู้ร้องถูกควบคุมอยู่ในเขตอำนาจของศาลอาญา ศาลอาญามีอำนาจรับคำร้องไว้ดำเนินการต่อไปตามกฎหมายได้(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 32/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนของกองปราบปราม: ความต่อเนื่องของเขตอำนาจตามกฎหมาย แม้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
เมื่อได้ความตามหลักฐานพยานโจทก์ว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ. 2496 ได้ประกาศในราชกิจจาฯ กำหนดหน่วยงานเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองว่าให้กองปราบปรามกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางมีเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองในการปฏิบัติหน้าที่ตาม ป.วิ. อ. และบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักรแล้ว เช่นนี้พนักงานสอบสวนกองปราบปราม กองบัญชาการตำตรวจสอบสวนกลางก็ย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนคดีความผิดที่เกิดในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตากได้
พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ. 2498 ที่ออกมาใหม่ มีข้อความในมาตรา 5 เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ. 2496 คือ มีบทบัญญัติว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้กำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบ หรือเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการตามความใน มาตรา 4 โดยประกาศในราชกิจจา ฯ เช่นนี้ อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในอันที่จะประกาศข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานตำรวจนั้น หาได้ถูกยกเลิกไปอย่างไรไม่ ประกาศที่มีมาแต่เดิมโดยอาศัยอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายเดิม (พระราชกฤษฎีกา ฯ ฉบับ พ.ศ. 2496) ก็คงใช้ได้ต่อไป ไม่จำต้องมีประกาศใหม่ทับซ้ำโดยอาศัยอำนาจกฎหมายใหม่อย่างไรอีก หน่วยงานที่ตั้งมาแต่เดิมตลอดจนเขตอำนาจที่มีอยู่ ก็ต้องคงอยู่ตลอดมา จนกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายประกาศเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนเป็นอย่างอื่น
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 767/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนของกองปราบปราม: การกำหนดเขตอำนาจตาม พรบ. จัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ และการคงอยู่ของประกาศเดิม
เมื่อได้ความตามหลักฐานพยานโจทก์ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อาศัยอำนาจตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ.2496 ได้ประกาศในราชกิจจาฯกำหนดหน่วยงานเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองว่า ให้กองปราบปรามกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางมีเขตอำนาจการรับผิดชอบและเขตพื้นที่การปกครองในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักรแล้ว เช่นนี้ พนักงานสอบสวนกองปราบปรามกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางก็ย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนคดีความผิดที่เกิดในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตากได้
พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมตำรวจ พ.ศ.2498 ที่ออกมาใหม่ มีข้อความในมาตรา 5 เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฯพ.ศ.2496 คือมีบทบัญญัติว่า ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้กำหนดหน่วยงานและเขตอำนาจการรับผิดชอบ หรือเขตพื้นที่การปกครองของหน่วยราชการตามความใน มาตรา 4 โดยประกาศในราชกิจจาฯ เช่นนี้ อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในอันที่จะประกาศข้อบังคับทั้งหลายอันว่าด้วยอำนาจและหน้าที่ของพนักงานตำรวจนั้น หาได้ถูกยกเลิกไปอย่างไรไม่ ประกาศที่มีมาแต่เดิมโดยอาศัยอำนาจที่ชอบด้วยกฎหมายเดิม(พระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับ พ.ศ.2496)ก็คงใช้ได้ต่อไป ไม่จำต้องมีประกาศใหม่ทับซ้ำโดยอาศัยอำนาจกฎหมายใหม่อย่างไรอีก หน่วยงานที่ตั้งมาแต่เดิมตลอดจนเขตอำนาจที่มีอยู่ ก็ต้องคงอยู่ตลอดมาจนกว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะอาศัยอำนาจตามกฎหมายประกาศเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนเป็นอย่างอื่น (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 6/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 891/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีความผิดต่อเนื่อง – สถานที่กระทำความผิด
จำเลยได้รับมอบหมายเรือยนต์ลำหนึ่งในเขตท้องที่ตำรวจสถานีปากคลองสาน แล้วจำเลยได้เปลี่ยนแปลงรูปเรือ และถอดเครื่องยนต์ออกในเขตอำเภอเสนาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอันเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกัน ดังนี้ พนักงานตำรวจผู้เป็นพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจปากคลองสานย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา19(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 317/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการสำรวจและกักกันข้าวในการห้ามขนย้ายข้าวทางทะเล ไม่ถือเป็นการกำหนดเขตเกินอำนาจ
คณะกรรมการสำรวจและห้ามกักกันข้าวมีอำนาจประกาศห้ามการขนย้ายข้าวทางทะเลเป็นเด็ดขาดเพราะถือว่าเท่ากับเป็นการกำหนดเขตขึ้นเอง เพราะฉะนั้นประกาศของคณะกรรมการสำรวจและห้ามกักกันข้าวฉบับที่ 9 และฉบับที่12 จึงไม่ขัดต่อมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.สำรวจและกักกันข้าวและมีผลใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัยยการมีอำนาจดำเนินคดีข้ามจังหวัดได้ แต่ไม่มีอำนาจเป็นโจทก์ในคดีที่เกิดในจังหวัดอื่น
อธิบดีกรมอัยยการย่อมสั่งให้บุคคลผู้มีตำแหน่งเป็นพนักงานอัยยการประจำในท้องที่จังหวัดหนึ่งไปดำเนินคดีในศาลอีกท้องที่หนึ่งได้ ตลอดจนถึงในชั้นศาลฎีกา แต่ไม่มีอำนาจสั่งให้ตำแหน่งอัยยการจังหวัดหนึ่งดำเนินคดีที่เกิดขึ้นในเขตต์จังหวัดอื่น
อัยยการผู้ลงชื่อในฟ้องฎีกามีตำแหน่งเป็นอัยยการจังหวัดกาญจนบุรี ได้ดำเนินคดีที่ศาลจังหวัดกระบี่ โดยระบุว่าพนักงานอัยยการจังหวัดกาญจนบุรีเป็นโจทก์ ดังนี้ อัยยการจังหวัดกาญจนบุรีเป็นโจทก์ฟ้องฎีกาไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: คำให้การนอกเขตอำนาจสอบสวนไม่มีผลผูกพัน
จำเลยได้กระทำผิดในท้องที่หนึ่ง แล้วจำเลยเข้าไปหาพนักงานสอบสวนอีกเขตต์หนึ่งซึ่งไม่มีอำนาจให้เป็นผู้สอบสวนจดคำให้การของตนเช่นนี้ จะถือคำให้การของจำเลยนั้นเป็นคำรับของจำเลย ชั้นสอบสวนไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921-923/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนของตำรวจสันติบาล: ต้องพิจารณาขอบเขตตามกฎหมายและข้อบังคับ
ตำรวจสันติบาลมีอำนาจทำการสอบสวนได้เพียงไรหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 489/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนและพิจารณาคดีอาญา: เขตอำนาจ, ที่อยู่ผู้ต้องหา, และการไม่คัดค้านการสอบสวน
เจ้าพนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดอ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตต์อำนาจหรือผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตต์อำนาจของตนได้ฉะนั้น เพียงแต่ปรากฎว่าเหตุที่เกิดและที่อยู่ผู้ต้องหาอยู่นอกเขตต์อำนาจ ยังไม่พอที่จะชี้ว่า เจ้าพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจสอบสวนคดีนั้น และศาลซึ่งอยู่ในเขตต์สอบสวนนั้นย่อมีอำนาจพิจารณาคดีนั้น
เมื่อจำเลยมิได้คัดค้านว่าการสอบสวนไม่ชอบ คดีจึงไม่จำเป็นต้องมีการนำสืบเรื่องสอบสวน
of 7