พบผลลัพธ์ทั้งหมด 110 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการประมาทเลินเล่อของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ในการส่งมอบเงินกู้
จำเลยเป็นเลขานุการคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์โจทก์จำเลยได้รับเงินกู้ของ ค.และพ. ไปจากโจทก์โดยไม่มีหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยรับเงินกู้แทน เงินดังกล่าวจึงเป็นของโจทก์อยู่ จำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินกู้ไปมอบให้แก่ผู้กู้ตามหน้าที่และข้อบังคับของโจทก์ การที่จำเลยมอบเงินกู้ให้ผู้อื่นรับไปมอบให้ผู้กู้ เมื่อผู้กู้ไม่ได้รับเงินกู้ ดังนี้จำเลยกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวัง เป็นการละเมิดต่อโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากการรับเงินกู้แทนและประมาทเลินเล่อในการส่งมอบเงิน ทำให้ผู้กู้ไม่ได้รับเงิน
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแต่ศาลจะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล จำเลยรับเงินกู้ไปจากโจทก์แล้วมีหน้าที่ต้องนำไปมอบให้ผู้กู้โดยตรงตามหน้าที่ตามข้อบังคับของโจทก์ แม้จะฟังว่าจำเลยมอบเงินกู้ดังกล่าวให้ผู้อื่นรับไปมอบให้ผู้กู้ จำเลยก็ไม่พ้นความรับผิด เมื่อผู้กู้ไม่ได้รับเงินกู้การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการกระทำโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5699/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อประกันหนี้เงินกู้ ไม่ถือเป็นเจตนาฉ้อโกงตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยกู้เงินจากผู้เสียหายโดยออกเช็คล่วงหน้าให้ผู้เสียหายไว้ หากจำเลยนำเงินไปชำระหนี้ให้ผู้เสียหาย ผู้เสียหายก็จะคืนเช็คแก่จำเลย ถ้าจำเลยไม่นำเงินไปชำระหนี้ผู้เสียหายจึงจะนำเช็คไปเรียกเก็บเงินทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่สามารถที่จะเรียกเก็บเงินตามเช็คได้ ดังนี้ เป็นการออกเช็คเพื่อเป็นประกันในการชำระหนี้เงินกู้ไม่ใช่เป็นการชำระหนี้ แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 519/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติกรรมอำพราง สัญญาเช่าแปลงเป็นสัญญากู้ เงินกู้ไม่เข้าจริง สัญญาเป็นโมฆะ
คำพยานโจทก์ขัดต่อเหตุผลและตามคำพยานจำเลยฟังได้ว่าจำเลยทำสัญญากู้ไว้แทนการเช่า โดยจำเลยมิได้รับเงินตามสัญญาเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจริง ก็ย่อมบังคับตามสัญญากู้ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับเงินกู้จากเช็ค แม้ไม่มีลายมือชื่อผู้รับเงินบนเช็ค แต่มีหลักฐานการรับเงินอื่น ย่อมถือว่าได้รับเงินกู้จริง
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้และจำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันไว้กับโจทก์ ในวันเดียวกันโจทก์สั่งจ่ายเช็คธนาคาร ม. จำนวนเงิน400,000 บาท ตรงกับที่ระบุในสัญญากู้ให้แก่จำเลยที่ 1 แม้ในการรับเงินตามเช็คนั้น จะไม่มีลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ลงไว้ในเช็คในฐานะผู้รับเงินก็ตาม แต่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินในสลิป ลูกหนี้เงินโอนซึ่งมีข้อความระบุเลขที่เช็คและจำนวนเงินตามเช็คที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้กู้ได้รับไปจากโจทก์ ทั้งเช็คนั้นก็เป็นเช็คสั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือและในวันเดียวกันนั้นธนาคารก็ได้เงินจำนวน 400,000 บาท ตามเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็คไปแล้ว ดังนี้ข้อเท็จจริงบ่งชัดว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้จำนวน 400,000 บาทตามเช็คฉบับดังกล่าวไปแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินกฎหมาย: ดอกเบี้ยเป็นโมฆะทั้งสิ้น ไม่สามารถนำไปหักกับเงินต้นได้
การกู้ยืมเงินโดย ตกลง ให้มีการคิดดอกเบี้ย ในอัตราเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ดอกเบี้ย สำหรับต้น เงินกู้ตก เป็นโมฆะทั้งหมดจำเลยไม่มีสิทธินำดอกเบี้ย ที่เป็นโมฆะไปหักกับต้นเงินให้ลดน้อยลงไปได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3212/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ดอกเบี้ยและเงินกู้: ลูกหนี้ร่วมและผู้รับผิดชอบหนี้
การเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่งมีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5ทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์และรับเงินครบถ้วนเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม2518 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ย ครั้นวันที่ 1 ธันวาคม 2526 จำเลยที่ 2ถึงที่ 5 ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้โดยยอมชำระดอกเบี้ยค้างส่งทั้งหมดของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 กันยายน2527 คดีโจทก์สำหรับหนี้ดอกเบี้ยค้างส่งจึงไม่ขาดอายุความแต่จำเลยที่ 1 มิได้ทำสัญญารับใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวด้วย จึงย่อมไม่ต้องถูกผูกพันโดยสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างส่งได้เพียงภายใน 5 ปี นับแต่วันฟ้องย้อนหลังลงไป อายุความฟ้องร้องเรียกคืนเงินกู้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4336/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองมีผลบังคับ แม้จะยังไม่ได้รับเงินกู้ เหตุผลคือเป็นการประกันหนี้ที่มีอยู่แล้วและที่จะเกิดขึ้น
สัญญาจำนองระบุว่าเป็นการประกันหนี้ประเภทต่าง ๆ บรรดาที่จำเลยเป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่แล้วในขณะทำสัญญาจำนองดังกล่าวหรือที่จะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้า ซึ่งขณะที่ทำสัญญาจำนองนั้นจำเลยก็ยังมีหนี้เกี่ยวค้างเจ้าหนี้อยู่ สัญญาจำนองดังกล่าวย่อมมีผลบังคับ แม้จำเลยจะมิได้รับเงินจากเจ้าหนี้ตามสัญญาจำนอง ก็หามีผลให้สัญญาจำนองตกเป็นโมฆะไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ: การชำระหนี้เงินกู้แทนจำเลยและการไถ่ถอนจำนอง
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยมีเจตนาให้โจทก์ชำระหนี้เงินกู้แทนจำเลยแล้วจำเลยจะโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่เนื่องจากโจทก์จำเลยเข้าใจว่าการที่จำเลยกู้เงินโดยมอบใบน.ส.3 ก. ให้เจ้าหนี้ไว้นั้นเป็นจำนองจึงระบุในสัญญาประนีประนอมว่าให้โจทก์เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทดังนี้ ตามสัญญาประนีประนอมนั้นโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้แทนจำเลย
คดีในชั้นฎีกาพิพาทกันเกี่ยวกับการแปลเจตนาของคู่ความในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล โจทก์ฎีกาเกี่ยวกับคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อจะบังคับคดีตามคำพิพากษาต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228 (2) ตอนท้าย จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข.
คดีในชั้นฎีกาพิพาทกันเกี่ยวกับการแปลเจตนาของคู่ความในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล โจทก์ฎีกาเกี่ยวกับคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อจะบังคับคดีตามคำพิพากษาต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228 (2) ตอนท้าย จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 401/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในสัญญาประนีประนอมยอมความ: การชำระหนี้เงินกู้แทนจำเลย vs. ไถ่ถอนจำนอง
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยมีเจตนาให้โจทก์ชำระหนี้เงินกู้แทนจำเลยแล้วจำเลยจะโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์แต่เนื่องจากโจทก์จำเลยเข้าใจว่าการที่จำเลยกู้เงินโดยมอบใบน.ส.3 ก. ให้เจ้าหนี้ไว้นั้นเป็นจำนองจึงระบุในสัญญาประนีประนอมว่าให้โจทก์เป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท ดังนี้ ตามสัญญาประนีประนอมนั้นโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเงินกู้แทนจำเลย คดีในชั้นฎีกาพิพาทกันเกี่ยวกับการแปลเจตนาของคู่ความในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล โจทก์ฎีกาเกี่ยวกับคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อจะบังคับคดีตามคำพิพากษาต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(2) ตอนท้ายจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข