พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4575/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนกรณีลูกจ้างเสียชีวิตเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อผู้รับสิทธิเสียชีวิต
กรณีลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายนั้น สิทธิในการรับเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่ตกทอดแก่ทายาท ส. ถึงแก่ความตายในวันที่ 2 กรกฎาคม 2533ซึ่งขณะนั้น ส. ยังไม่ได้รับเงินทดแทน สิทธิเรียกร้องในการรับเงินทดแทนของ ส. ย่อมยุติลงในวันที่ 2 กรกฎาคม2533 ทายาทของ ส. หรือผู้ใดจะไปเรียกร้องเงินทดแทนส่วนของ ส. อีกไม่ได้ พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งยกคำร้องของ ส. ที่เรียกร้องเงินทดแทนก่อน ส. ตาย ย่อมทำให้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งต่อจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว ข้อ 60ระงับสิ้นไปด้วย ซึ่งมีผลเท่ากับคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิจะได้รับเงินทดแทนของ ส.ถึงที่สุดนั่นเอง หาใช่สิทธินั้นยังคงมีอยู่ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4575/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินทดแทนจากการประสบอันตรายถึงแก่ความตายเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อผู้รับสิทธิเสียชีวิต
กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตาย ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 50 วรรคแรก บัญญัติให้บิดา มารดาสามีหรือภริยาที่สิทธิได้รับส่วนแบ่งเงินทดแทนจากนายจ้างและในวรรคสามบัญญัติว่า... ถ้าผู้ได้รับส่วนแบ่งผู้ใดตาย...ให้ส่วนแบ่งของบุคคลดังกล่าวเป็นยุติ แสดงว่า สิทธิในการรับเงินทดแทนเป็นสิทธิเฉพาะตัวขณะที่ ส.ถึงแก่ความตายนั้นส. ยังไม่ได้รับเงินทดแทนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินทดแทนของ ส. อันเนื่องมาจากการตายของบุตรย่อมยุติลง ผู้ใดจะไปเรียกร้องเงินทดแทนส่วนของ ส.ไม่ได้พนักงานเงินทดแทนมีคำสั่งยกคำร้องของ ส. ที่เรียกร้องเงินทดแทนไว้ก่อนตายย่อมทำให้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งต่อจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้อ 60 ระงับไปด้วย ซึ่งมีผลเท่ากับคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิจะได้รับเงินทดแทนของ ส. ถึงที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินทดแทนการเสียชีวิตลูกจ้างไม่อยู่ในอำนาจบังคับคดี แม้ศาลมีคำสั่งอายัด
เงินทดแทนที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นายจ้างของจำเลยจะต้องจ่ายเนื่องจากการเสียชีวิตของจำเลย ไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องคุ้มครองแรงงานข้อ 62 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103ถึงแม้ว่าศาลจะมีคำสั่งอายัดเงินทดแทนนั้น ไปยังการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแล้วก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีในเงินทดแทนดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินทดแทนจากอุบัติเหตุทางาน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับคดีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 62กำหนดว่าเงินทดแทนไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีในเงินทดแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าทดแทนกรณีสูญเสียอวัยวะหลายส่วนจากอุบัติเหตุจากการทำงาน
โจทก์ประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ต้องสูญเสียอวัยวะหลายส่วนของร่างกาย คือ หนังศีรษะ ใบหูข้างขวา และคิ้วทั้งสองข้าง ซึ่งเป็นการสูญเสียอวัยวะบางส่วนของร่างกายนายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์ร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือนโดยจ่ายตามประเภทการสูญเสียอวัยวะที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน (ฉบับที่ 2) ข้อ 1(16) อันเป็นการสูญเสียอวัยวะส่วนอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในข้อ (1) ถึง (15)มีกำหนดระยะเวลาการจ่ายตามที่แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือคณะกรรมการที่ปรึกษาพนักงานเงินทดแทนกำหนดรวมกัน แต่ไม่เกินสิบปีคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีมติให้กำหนดระยะเวลาการจ่ายค่าทดแทนแก่โจทก์รวม 4 ปี 6 เดือน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าทดแทนเป็นรายเดือนร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือนตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไม่ใช่จ่ายตามที่โจทก์ต้องสูญเสียอวัยวะในแต่ละส่วนของร่างกายแยกเป็นส่วน ๆ ไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝึกซ้อมกีฬาของลูกจ้างถือเป็นการทำงาน หากประสบอันตรายระหว่างนั้น นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทน
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทำหน้าที่เป็นพนักงานสินเชื่อประจำสาขาจังหวัดชุมพร เมื่อผู้จัดการสาขาชุมพร อนุญาตให้พนักงานธนาคารฝึกซ้อมกีฬาโดยถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร และตามระเบียบของธนาคารฉบับที่ 21 ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาของธนาคารยังกำหนดว่าการฝึกซ้อมกีฬาและการแข่งขันกีฬาให้ถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร โจทก์ประสบอันตรายขณะฝึกซ้อมกีฬา จึงถือเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนให้โจทก์
การกำหนดประเภทกิจการของนายจ้างก็เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2 ) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2517เท่านั้น หาใช่เป็นการจำกัดว่าลูกจ้างจะต้องประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานตามประเภทของกิจการของนายจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนไม่
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้พอให้เข้าใจแล้วว่า ค่าพาหนะเดินทางจากโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ไปโรงพยาบาลมิชชั่นที่โจทก์ต้องเสียไปคือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจ การรักษา การพยาบาลและการอื่นที่จำเป็นอันเป็นค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าค่าพาหนะตามที่โจทก์ฟ้องไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาล โจทก์ไม่ต้องใช้รถพยาบาล ค่าพาหนะตามคำฟ้องจึงเป็นค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินทดเแทนที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนจะต้องจ่ายให้โจทก์ ที่ศาลแรงงาน-กลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าพาหนะจากการว่าจ้างรถพยาบาลเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
การกำหนดประเภทกิจการของนายจ้างก็เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2 ) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2517เท่านั้น หาใช่เป็นการจำกัดว่าลูกจ้างจะต้องประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานตามประเภทของกิจการของนายจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนไม่
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้พอให้เข้าใจแล้วว่า ค่าพาหนะเดินทางจากโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ไปโรงพยาบาลมิชชั่นที่โจทก์ต้องเสียไปคือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจ การรักษา การพยาบาลและการอื่นที่จำเป็นอันเป็นค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าค่าพาหนะตามที่โจทก์ฟ้องไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาล โจทก์ไม่ต้องใช้รถพยาบาล ค่าพาหนะตามคำฟ้องจึงเป็นค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินทดเแทนที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนจะต้องจ่ายให้โจทก์ ที่ศาลแรงงาน-กลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าพาหนะจากการว่าจ้างรถพยาบาลเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฝึกซ้อมกีฬาของลูกจ้างถือเป็นงาน ย่อมได้รับเงินทดแทนหากประสบอันตราย และค่าพาหนะเดินทางเป็นค่ารักษาพยาบาล
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรทำหน้าที่เป็นพนักงานสินเชื่อประจำสาขาจังหวัดชุมพรเมื่อผู้จัดการสาขาชุมพร อนุญาตให้พนักงานธนาคารฝึกซ้อมกีฬาโดยถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร และตามระเบียบของธนาคารฉบับที่ 21ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาของธนาคารยังกำหนดว่าการฝึกซ้อมกีฬาและการแข่งขันกีฬาให้ถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร โจทก์ประสบอันตรายขณะฝึกซ้อมกีฬา จึงถือเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนให้โจทก์ การกำหนดประเภทกิจการของนายจ้างก็เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่20 พฤศจิกายน 2517 เท่านั้น หาใช่เป็นการจำกัดว่าลูกจ้างจะต้องประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานตามประเภทของกิจการของนายจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนไม่ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้พอให้เข้าใจแล้วว่า ค่าพาหนะเดินทางจากโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ไปโรงพยาบาลมิชชั่นที่โจทก์ต้องเสียไปคือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจ การรักษา การพยาบาลและการอื่นที่จำเป็นอันเป็นค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าค่าพาหนะตามที่โจทก์ฟ้องไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาลโจทก์ไม่ต้องใช้รถพยาบาล ค่าพาหนะตามคำฟ้องจึงเป็นค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินทดแทนที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนจะต้องจ่ายให้โจทก์ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าพาหนะจากการว่าจ้างรถพยาบาลเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบาดเจ็บจากการแข่งขันกีฬาของพนักงานถือเป็นอันตรายจากการทำงาน นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทน
การที่ธนาคารโจทก์ที่ 1 จัดให้มีการแข่งขันกีฬาภายในระหว่างหน่วยงาน ถือว่าเป็นการกระทำที่อยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ที่ 1และเมื่อระเบียบของโจทก์ที่ 1 กำหนดว่าการแข่งขันกีฬาและการฝึกซ้อมกีฬาของพนักงานให้ถือว่าเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร ที่โจทก์ที่ 2 ลงแข่งขันกีฬาฟุตบอลเพื่อคัดเลือกหาทีมตัวแทนสำนักงานใหญ่ตามคำสั่งของโจทก์ที่ 1 และได้รับบาดเจ็บขณะทำการแข่งขัน จึงเป็นกรณีลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง จำเลยต้องจ่ายเงินทดแทนเป็นรายเดือนที่ถึงกำหนดแล้วทั้งหมดให้แก่โจทก์ที่ 2 ในคราวเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำงานนอกหน้าที่ปกติ (กีฬา) ถือเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุประสงค์นายจ้าง นายจ้างต้องรับผิดชอบเงินทดแทน
แม้ธนาคาร ก.ไม่มีวัตถุประสงค์ในการเล่นกีฬา แต่การเล่นกีฬาก็เป็นนโยบายตามระเบียบของธนาคาร ก.เพื่อให้พนักงานผ่อนคลายความตึงเครียด อันจะส่งผลให้การปฏิบัติงานของพนักงานที่ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกธนาคาร การแข่งขันกีฬามีผลให้งานของธนาคารตามวัตถุประสงค์สามารถดำเนินการไปด้วยดี เมื่อโจทก์ลงแข่งขันกีฬาฟุตบอลตามคำสั่งของผู้จัดการสาขาของธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา ถือได้ว่าการเล่นกีฬาฟุตบอลของโจทก์เป็นการทำงานให้นายจ้าง เมื่อโจทก์ประสบอันตรายในขณะแข่งขันกีฬาฟุตบอลจึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จำเลยต้องรับผิดจ่ายเงินทดแทนให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตงานรัฐวิสาหกิจและสิทธิเงินทดแทนกรณีนักกีฬาของรัฐวิสาหกิจเสียชีวิตขณะฝึกซ้อม
วัตถุประสงค์ของ รัฐวิสาหกิจ ที่ระบุไว้ในกฎหมายจัดตั้งเป็นเพียงการกำหนดประเภทของกิจการซึ่ง รัฐวิสาหกิจจะดำเนินการเท่านั้น งานของ รัฐวิสาหกิจ หาได้ จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะ เท่าที่ระบุไว้ดังกล่าวไม่ ดังนั้น แม้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การฟอกหนังพ.ศ. 2498 ไม่ได้กำหนดให้องค์การฟอกหนังมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการกีฬาก็ตาม แต่ เมื่อผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังมีนโยบายที่จะเชื่อมความสามัคคีระหว่างองค์การฟอกหนังกับรัฐวิสาหกิจอื่นโดยยอมรับการแข่งขันกีฬาเป็นสื่อ สัมพันธ์แล้ว การกีฬาจึงเป็นงานอย่างหนึ่งขององค์การฟอกหนัง การที่ผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังแต่งตั้ง ผู้ตายเป็นนักกีฬาตัวแทนขององค์การฯ โดย ให้มีสิทธิฝึกซ้อม เมื่อใดก็ได้ ภายในช่วงเวลาที่กำหนด ถือได้ว่าผู้ตายได้รับมอบหมายให้ทำงานแก่องค์การฟอกหนังแล้ว เมื่อผู้ตายถึง แก่ความตายขณะฝึกซ้อมกีฬาเนื่องจากออกกำลังกาย เกินควร ย่อมเป็นกรณีผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โจทก์ซึ่ง เป็นทายาทจึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54วรรคหนึ่ง (4) และวรรคสาม กับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดการจ่ายค่าทดแทน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515แก้ไขโดย ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทน(ฉบับ ที่ 2) ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2525 ข้อ 4 ที่กำหนดว่า กรณีจะเป็นประการใดก็ตาม ค่าทดแทนตาม ข้อ 54 วรรคสาม แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ต้อง ไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันบาทและไม่เกินเดือนละหกพันบาทมีความหมายว่า กรณีที่ลูกจ้างประสบอันตรายถึง แก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างนั้น นายจ้างต้อง จ่ายค่าทดแทนร้อยละหกสิบของค่าจ้างรายเดือน แต่ ต้อง ไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันบาท และไม่เกินเดือนละหกพันบาท มีกำหนดห้าปี ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการจ่ายค่าทดแทนดังกล่าวมีสภาพใช้ บังคับอย่างกฎหมาย ศาลต้อง รู้เอง แม้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ ไว้ ศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างต้อง รับผิดเกินกว่าบทบัญญัติของกฎหมาย.