พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3363/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกเว้นภาษีอากรภายใต้เงื่อนไข และการริบเงินประกันเมื่อผิดสัญญา สิทธิเรียกค่าภาษีอากร
จำเลยทั้งสองนำเครื่องฉีดพลาสติกและรถตู้เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อร่วมงานแสดงสินค้า โดยได้รับยกเว้นภาษีอากรภายใต้เงื่อนไขว่าต้องส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรภายใน 6 เดือนนับแต่วันนำเข้าและทำทัณฑ์บนวางเงินสด 210,000 บาท พร้อมกับทำสัญญาประกันไว้ต่อโจทก์ที่ 1 โดยสัญญาว่าเงิน 210,000 บาทนี้ หากภายหลังปรากฎว่าไม่คุ้มกับค่าภาษีอากรที่จะพึงชำระยังขาดอีกเท่าใด จำเลยที่ 1 ยินยอมชำระเพิ่มให้ครบถ้วนโดยถือว่าเป็นการชำระเพิ่มเติม เนื่องจากการผิดสัญญาแสดงให้เห็นว่า สัญญาประกันดังกล่าวเป็นประกันค่าภาษีอากรที่โจทก์ที่ 1 ยกเว้นให้จำเลยที่ 1 โดยมีเงื่อนไข เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาประกัน โจทก์ที่ 1 ริบเงินประกันไปจึงเป็นการริบไว้เป็นค่าภาษีอากรที่ยกเว้นให้ เมื่อเงินประกันที่โจทก์ที่ 1 ริบไปคุ้มค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 1ต้องชำระแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าภาษีอากรอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิริบเงินประกัน-ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่าก่อนกำหนด
สัญญาระบุว่า "ถ้าผู้เช่า...กระทำผิดสัญญาข้อ 2... และถูกบอกเลิกสัญญา ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่าริบเงินประกันตามข้อ 3 ทั้งหมด เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าเช่า... ที่ผู้เช่าจะต้องชำระหรือชดใช้ตามสัญญานี้" เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเพราะจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 ไม่ชำระค่าเช่าตามกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิริบเงินประกันทั้งหมดนอกเหนือจากสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างตามสัญญา
การที่จำเลยผิดสัญญาจนโจทก์ต้องบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดและโจทก์ต้องดำเนินการหาผู้เช่าสิทธิรายใหม่มาดำเนินการต่อ ในระหว่างหาผู้เช่าสิทธิรายใหม่ โจทก์ต้องให้บุคคลอื่นเช่าสิทธิไปพลางก่อนโดยได้ค่าเช่าน้อยกว่าที่เคยได้รับจากจำเลย ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่ควรได้หากไม่มีการเลิกสัญญากับจำเลยก่อนกำหนด ค่าขาดประโยชน์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสี่
การที่จำเลยผิดสัญญาจนโจทก์ต้องบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดและโจทก์ต้องดำเนินการหาผู้เช่าสิทธิรายใหม่มาดำเนินการต่อ ในระหว่างหาผู้เช่าสิทธิรายใหม่ โจทก์ต้องให้บุคคลอื่นเช่าสิทธิไปพลางก่อนโดยได้ค่าเช่าน้อยกว่าที่เคยได้รับจากจำเลย ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่ควรได้หากไม่มีการเลิกสัญญากับจำเลยก่อนกำหนด ค่าขาดประโยชน์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3105/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิริบเงินประกันสัญญาเช่าและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการบอกเลิกสัญญา กรณีผู้เช่าผิดสัญญาชำระค่าเช่า
สัญญาระบุว่า "ถ้าผู้เช่ากระทำผิดสัญญาข้อ 2 และถูกบอกเลิกสัญญา ผู้เช่าย่อมให้ผู้ให้เช่าริบเงินประกันตามข้อ 3 ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากค่าเช่า ที่ผู้เช่าจะต้องชำระหรือชดใช้ตามสัญญานี้" เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยเพราะจำเลยผิดสัญญาข้อ 2 ไม่ชำระค่าเช่าตามกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิริบเงินประกันทั้งหมดนอกเหนือจากสิทธิเรียกค่าเช่าที่ค้างตามสัญญา การที่จำเลยผิดสัญญาจนโจทก์ต้องบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนดและโจทก์ต้องดำเนินการหาผู้เช่าสิทธิรายใหม่มาดำเนินการต่อในระหว่างหาผู้เช่าสิทธิรายใหม่ โจทก์ต้องให้บุคคลอื่นเช่าสิทธิไปพลางก่อนโดยได้ค่าเช่าน้อยกว่าที่เคยได้รับจากจำเลยทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่ควรได้หากไม่มีการเลิกสัญญากับจำเลยก่อนกำหนด ค่าขาดประโยชน์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 391 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการชำระค่าสินไหมทดแทนจากเงินประกัน กรณีความเสียหายจากการเนิ่นช้า
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดวางเงินเพื่อเป็นประกันการชำระค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไว้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 288 (1) นั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องในคดีนั้นว่าเพราะเหตุเนิ่นช้าในการบังคับคดีอันเกิดแต่การยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ของผู้ร้องทำให้ขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดได้ราคาต่ำไป ขอให้บังคับผู้ร้องใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายของโจทก์ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะต้องไต่สวนเสียก่อนว่าเป็นความจริงหรือไม่ หากเป็นความจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำร้องและเงินที่วางไว้เป็นประกันดังกล่าวเพียงพอที่จะชำระค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ได้ตามคำร้อง โจทก์ก็ชอบที่จะบังคับชำระเอาค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายของโจทก์จากเงินประกันที่ผู้ร้องวางไว้ได้โดยไม่จำต้องไปฟ้องเรียกร้องเอาค่าเสียหายจากผู้ร้องเป็นคดีใหม่ต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1404/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม, การพิสูจน์ข้อเท็จจริง, และการยึดหน่วงเงินประกันในคดีแรงงาน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การทะเลาะวิวาทระหว่างโจทก์กับ ฉ.เป็นการโต้เถียงเพียงเล็กน้อยไม่ร้ายแรง หลังจากเลิกรากันแล้วอ.ได้ขึ้นมาบนรถจึงมีการทะเลาะวิวาทกันระหว่างอ.กับฉ.อีกครั้งหนึ่ง และ อ.ได้ทำร้ายร่างกายฉ. โจทก์มิได้เป็นผู้กระทำ ถือได้ว่าโจทก์มิได้ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีร้ายแรง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยและค่าเสียหายให้แก่โจทก์นั้น เป็นการอุทธรณ์โต้แย้งว่าโจทก์ได้ร่วมกับอ.บุตรชายโจทก์ทำร้ายฉ. ดังที่ศาลแรงงานวินิจฉัยหรือไม่เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 ศาลฎีกาไม่วินิจฉัย อุทธรณ์โจทก์ที่ว่า โจทก์ได้ทำงานเกินเวลาทำงานปกติและทำงานในวันหยุดตามประเพณีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีนั้นเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลแรงงานที่ว่าโจทก์นำสืบไม่ถึงในส่วนที่เกี่ยวกับเวลาทำงานที่เกินจากปกติ ตลอดจนส่วนที่เกี่ยวกับการทำงานในวันหยุดตามประเพณีหรือในวันหยุดพักผ่อนประจำปี ศาลแรงงานจึงไม่กำหนดค่าทำงานและค่าจ้างให้ตามที่โจทก์เรียกร้อง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวนี้เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์วางเงินประกันจำนวน5,000 บาท ต่อจำเลยเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2526 โจทก์ได้ทำงานมาตลอดตั้งแต่ปี 2526 จนถึงปี 2535 ในเดือนที่มีการเลิกจ้างจำเลยแสดงหนังสือรับสภาพหนี้ที่โจทก์รับสภาพต่อจำเลยในช่วงปี 2534 นอกจากนี้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นอีกตามเอกสารหมาย ล.3 พยานโจทก์ไม่อาจหักล้างเรื่องหนี้ที่เกิดจากการกระทำของโจทก์ในระหว่างการทำงานให้จำเลย ซึ่งโจทก์ต้องรับผิดชอบ จำเลยจึงมีสิทธิยึดหน่วงเงินประกันได้อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าโจทก์ได้ผ่อนชำระหนี้ให้จำเลยไปแล้วความเสียหายตามเอกสารหมาย ล.3 ไม่ยืนยันว่าโจทก์จะต้องรับผิดทางแพ่ง จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า, การลดค่าเช่า, สิทธิเลิกสัญญา, การริบเงินประกัน, การบอกเลิกสัญญา
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 568 วรรคแรก ข้อความว่าผู้เช่าจะเรียกให้ลดค่าเช่าลงตามส่วนก็ได้ มีความหมายอยู่ในตัวว่าผู้เช่าจะไม่เรียกให้ลดค่าเช่าลงก็ได้ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับให้ต้องลดค่าเช่าลงในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งให้เช่าสูญหายไปแต่เพียงบางส่วน สัญญาเช่าที่มีข้อตกลงว่าจำเลยต้องชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์เป็นรายปีไม่ว่าจำนวนรั้วที่กั้นและเนื้อที่โฆษณาจะลดลงด้วยประการใดก็ตามค่าเช่าในแต่ละรายปีจะไม่เปลี่ยนแปลงนั้นจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย สัญญามีข้อความว่า "ในกรณีที่ผู้เช่า (จำเลย) ไม่ชำระค่าเช่าตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา ให้กรุงเทพมหานคร (โจทก์)ริบเงินค้ำประกันสัญญาตามสัญญาข้อ 3 และให้ถือเป็นการบอกเลิกสัญญาต่อกันทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน" นั้นเป็นการให้สิทธิเลิกสัญญาเฉพาะโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เท่านั้น มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยผู้ไม่ชำระหนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4344/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดีจากการยึดทรัพย์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา และการหักเงินประกันเพื่อชำระค่าธรรมเนียม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 259 ให้นำบทบัญญัติลักษณะ 2 แห่งภาค 4 ว่าด้วยการบังคับแก่วิธีการชั่วคราวที่ศาลสั่งตามที่กล่าวไว้ในลักษณะ 1 โดยอนุโลมเมื่อโจทก์เป็นผู้ดำเนินการร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยึดทรัพย์ของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ถือได้ว่าโจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างอื่น ตามมาตรา 149 แล้ว แม้ว่าต่อมา โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน และโจทก์ไม่ได้รับประโยชน์จากการยึดทรัพย์ของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา โจทก์ก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามที่ บัญญัติไว้ในตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในกรณีที่ยึดทรัพย์แล้วไม่มีการขาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินจำนวน 5,000 บาทไว้เพื่อเป็นประกันค่าเสียหายในการที่มีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ของจำเลยไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา แม้จำเลยมิได้รับความเสียหายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีกรณีที่ยึดแล้วไม่มีขายจำนวน 20,370บาท และศาลชั้นต้นได้แจ้งคำสั่งให้โจทก์นำเงินดังกล่าวมาชำระต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งโจทก์ได้ทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วแต่ก็มิได้นำเงินมาชำระ เช่นนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจที่จะไม่คืนเงินที่โจทก์วางไว้เป็นประกัน จำนวน5,000 บาท ให้แก่โจทก์จนกว่าโจทก์จะนำเงินค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีจำนวน 20,370 บาท มาชำระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ และถ้าหากในที่สุดโจทก์ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีมาชำระและไม่มีทรัพย์สินที่จะยึดมาชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลชั้นต้นย่อมเบิกเงินจำนวน 5,000 บาท มาชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสงวนสิทธิเรียกเบี้ยปรับในสัญญาตัวแทน: จำเลยหักเงินประกันไม่ได้หากไม่ได้สงวนสิทธิ
จำเลยทำสัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทนรับซื้อแร่ มีข้อตกลงให้โจทก์ชำระค่าตอบแทนให้จำเลยตามจำนวนแร่ที่รับซื้อภายในเวลาที่กำหนดไว้ หากผิดนัดโจทก์ยินยอมให้จำเลยปรับได้ครั้งละไม่เกิน 100,000 บาท โดยจำเลยมีสิทธิหักค่าปรับจากเงินประกันที่โจทก์วางไว้ได้ทันทีโดยไม่ต้องเรียกร้องก่อน ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงว่าในกรณีที่โจทก์ผิดนัดจำเลยมีสิทธิหักเงินค่าปรับได้ทันทีเท่านั้น มิได้เป็นข้อตกลงยกเว้นข้อบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 381 วรรคท้าย ที่ไม่ต้องสงวนสิทธิเรียกเบี้ยปรับในกรณีผิดนัดไว้ในขณะรับชำระหนี้เมื่อจำเลยไม่ได้สงวนสิทธิเรียกเบี้ยปรับไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิหักเงินค่าปรับจากเงินประกันของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยึดเงินประกันค่าเสียหายจากการเช่า: คุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น
สัญญาเช่าที่ตกลงให้ผู้เช่าชำระค่าบริการและค่าใช้จ่ายใด ๆอันเกี่ยวกับห้องเช่า และให้ผู้เช่าวางเงินประกันความเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาแก่ผู้ให้เช่า โดยผู้ให้เช่ามีสิทธิยึดเงินประกันได้หากผู้เช่าผิดสัญญา นั้น สิทธิยึดเงินประกันดังกล่าวมีเพียงเพื่อหักชำระค่าเสียหายและค่าบริการต่าง ๆ ตามสัญญาเท่านั้น หากมีเงินเหลือผู้ให้เช่าต้องคืนให้ผู้เช่า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับกับเงินประกันเป็นค่าเสียหายต่างประเภทกัน สามารถริบเงินประกันและเรียกเบี้ยปรับได้หากสัญญากำหนด
เบี้ยปรับกับเงินประกันนั้นนอกจากจะต่างประเภทกันแล้วยังแยกต่างหากจากกันด้วย ดังนั้นเมื่อริบเงินประกันแล้วยังเรียกเอาเบี้ยปรับได้อีกด้วย ถ้าสัญญามีข้อตกลงกันไว้เช่นนั้น สัญญาซื้อขายรวมความได้ว่า ในกรณีที่ผู้ขายประพฤติผิดสัญญาไม่ว่าผู้ซื้อจะบอกเลิกสัญญาหรือไม่ ผู้ซื้อมีสิทธิริบเงินประกันและเรียกเอาเบี้ยปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาได้ด้วย ผู้ขายจึงต้องชำระเบี้ยปรับแก่ผู้ซื้อนอกเหนือจากริบเงินประกัน
เบี้ยปรับก็คือค่าเสียหายจำนวนหนึ่งที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้า อันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นเนื่องจากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา เพื่อให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้ให้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญาแต่มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามนั้น ศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาลงได้ โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย
เบี้ยปรับก็คือค่าเสียหายจำนวนหนึ่งที่คู่สัญญากำหนดไว้ล่วงหน้า อันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นเนื่องจากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา เพื่อให้ฝ่ายที่ผิดสัญญาชดใช้ให้แก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญาแต่มิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าจะต้องเป็นไปตามนั้น ศาลอาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนเบี้ยปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาลงได้ โดยพิจารณาถึงทางได้เสียของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย