คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินฝาก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2488/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การเรียกร้องดอกเบี้ยจากเงินมรดกที่ถูกนำไปฝากธนาคารหลังคดีแบ่งมรดกถึงที่สุดแล้ว
จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. ได้นำเงินค่าขายที่ดินมรดกบางส่วนไปฝากประจำไว้ที่ธนาคารในนามของ กองมรดกโดยไม่แบ่งให้โจทก์จนเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีก่อน โจทก์ทราบดีว่าจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกได้ นำเงินค่าขายที่ดินมรดกอันเป็นส่วนแบ่งของโจทก์ไปฝากธนาคาร ตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีก่อนโจทก์ชอบ ที่จะเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบดอกเบี้ยของเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เสียในคราวเดียวกันได้ แต่กลับมาฟ้องเรียกร้องเป็นคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1474/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำสิทธิในเงินฝากเพื่อประกันหนี้และการหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย
จำเลยทำสัญญากับธนาคารผู้คัดค้านไว้ว่า จำเลยยอมมอบเงินฝากประจำของจำเลยพร้อมด้วยใบรับฝากไว้เป็นหลักประกันหนี้ของจำเลยต่อธนาคาร ถ้าจำเลยผิดสัญญายอมให้ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวชำระหนี้ได้ทันทีและตราบใดที่ธนาคารยังไม่ได้รับชำระหนี้ จำเลยจะไม่ถอนเงินฝากและจะไม่กระทำการใดให้เป็นการเสื่อมสิทธิในหลักประกัน หนังสือสัญญา ดังกล่าวเป็นการจำนำสิทธิตามตราสารใบรับฝากเงินประจำของจำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่มีต่อธนาคารผู้คัดค้านตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา747, 750 ธนาคารผู้คัดค้านเป็นผู้รับจำนำสิทธิตามตราสารนั้น จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 95 และมาตรา 110 วรรคสาม
สิทธิซึ่งจำนำตามตราสารใบรับฝากเงินเป็นมูลหนี้ซึ่งต้องชำระเป็นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 754 วรรคสอง จำเลยได้ตกลงกับธนาคารผู้คัดค้านให้หักเงินฝากของจำเลยชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องนำไปขายทอดตลาดเพื่อบังคับจำนำธนาคารผู้คัดค้านจึงมีสิทธิหักเงินฝากประจำของจำเลยซึ่งจำนำต่อธนาคารไว้นั้นเอาชำระหนี้ธนาคารได้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน
ธนาคารผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยอยู่ก่อนพิทักษ์ทรัพย์ มีสิทธิหักกลบลบหนี้กับจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 102 โดยไม่จำต้องอาศัยความยินยอมของจำเลย และสิทธิในการขอหักกลบลบหนี้ตามมาตรานี้ย่อมกระทำได้แม้จะเป็นเวลาหลังพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีสิทธิขอเพิกถอนการหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 115 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2453/2527 ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1474/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนำสิทธิในเงินฝากเป็นประกันหนี้และการหักกลบลบหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
จำเลยทำสัญญากับธนาคารผู้คัดค้านไว้ว่า จำเลยยอมมอบเงินฝากประจำของจำเลยพร้อมด้วยใบรับฝากไว้เป็นหลักประกันหนี้ของจำเลยต่อธนาคารถ้าจำเลยผิดสัญญายอมให้ธนาคารผู้คัดค้านนำเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวชำระหนี้ได้ทันที และตราบใดที่ธนาคารยังไม่ได้รับชำระหนี้ จำเลยจะไม่ถอนเงินฝาก และจะไม่กระทำการใดให้เป็นการเสื่อมสิทธิในหลักประกันหนังสือสัญญา ดังกล่าวเป็นการจำนำสิทธิตามตราสารใบรับฝากเงินประจำของจำเลย เพื่อเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่มีต่อธนาคารผู้คัดค้านตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา747,750 ธนาคารผู้คัดค้าน เป็นผู้รับจำนำสิทธิตามตราสารนั้นจึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่ง มีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช2483 มาตรา 95 และมาตรา 110 วรรคสาม
สิทธิซึ่งจำนำตามตราสารใบรับฝากเงินเป็นมูลหนี้ซึ่งต้องชำระเป็นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 754 วรรคสอง จำเลยได้ตกลงกับธนาคารผู้คัดค้านให้หักเงินฝากของจำเลยชำระหนี้ได้โดยไม่ต้องนำไปขายทอดตลาดเพื่อบังคับจำนำธนาคารผู้คัดค้านจึงมีสิทธิ หักเงินฝากประจำของจำเลยซึ่งจำนำต่อธนาคารไว้นั้นเอาชำระหนี้ธนาคารได้ในฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกัน
ธนาคารผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยอยู่ก่อนพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิหักกลบลบหนี้กับจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 102 โดยไม่จำต้องอาศัยความยินยอมของจำเลยและ สิทธิในการขอหักกลบลบหนี้ตามมาตรานี้ย่อมกระทำได้แม้จะเป็นเวลาหลังพิทักษ์ทรัพย์แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีสิทธิ ขอเพิกถอนการหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 115 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2453/2527 ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1985/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในบัญชีเงินฝาก: เงินฝากเป็นของใคร, อำนาจทำสัญญาค้ำประกัน, สิทธิเรียกร้องเงินคืน
ชื่อเจ้าของบัญชีและเงินตามสมุดคู่ฝากเป็นของ ว. มารดาโจทก์ ว. นำเงินดังกล่าวไปทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ของ อ. ในวันเดียวกับที่เปิดบัญชีเงินฝาก จึงมีอำนาจกระทำได้โดยชอบ ละ ว. ต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว แม้ ว. จะยอมให้โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากตามสมุดคู่ฝากร่วมด้วยในภายหลังก็ตามเมื่อ อ. ยังไม่ได้ชำระเงินกู้ให้ธนาคารจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินในบัญชีเงินฝากตามสมุดคู่ฝากแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752-753/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เงินฝากและการบังคับคดี: เงินที่ฝากธนาคารเป็นของจำเลย แม้ที่มาจะเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำที่อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยเบิกเงินไปจากธนาคารผู้ร้องโดยไม่ได้ความชัดว่าเป็นการเบิกโดยปลอมลายมือชื่อ และดวงตราของผู้สั่งจ่ายในเช็ค และจำเลยได้นำเงินนั้นไปฝากไว้กับธนาคารอื่นเงินตราที่ฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารผู้รับฝาก เพราะไม่มีข้อตกลงให้ธนาคารส่งคืนเป็นเงินตราอันเดียวกันกับที่รับฝาก
เงิน (จากบัญชีจำเลย) ที่ธนาคารผู้รับฝากส่งไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดี (ตามคำสั่งอายัดในคดีที่จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา) ไม่จำเป็นต้องเป็นเงินตราอันเดียวกันกับที่จำเลยนำมาฝาก ทั้งไม่มีข้อเท็จจริงใด ๆ แสดงว่าเป็นเงินตราอันเดียวกันกับที่จำเลยเบิกไปจากผู้ร้อง เงินนั้นจึงเป็นเงินของจำเลย ผู้ร้องจะร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 752-753/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในเงินฝากและการบังคับคดี: เงินที่นำฝากเป็นของเจ้าของ แม้แหล่งที่มาจะมาจากเช็คที่ถูกอ้างว่าปลอม
จำเลยเบิกเงินไปจากธนาคารผู้ร้องโดยไม่ได้ความชัดว่าเป็นการเบิกโดยปลอมลายมือชื่อและดวงตราของผู้สั่งจ่ายในเช็ค และจำเลยได้นำเงินนั้นไปฝากไว้กับธนาคารอื่นเงินตราที่ฝากย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารผู้รับฝากเพราะไม่มีข้อตกลงให้ธนาคารส่งคืนเป็นเงินตราอันเดียวกันกับที่รับฝาก
เงิน (จากบัญชีจำเลย) ที่ธนาคารผู้รับฝากส่งไปให้เจ้าพนักงานบังคับคดี(ตามคำสั่งอายัดในคดีที่จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามคำพิพากษา) ไม่จำเป็นต้องเป็นเงินตราอันเดียวกันกับที่จำเลยนำมาฝาก ทั้งไม่มีข้อเท็จจริงใด ๆ แสดงว่าเป็นเงินตราอันเดียวกันกับที่จำเลยเบิกไปจากผู้ร้องเงินนั้นจึงเป็นเงินของจำเลย ผู้ร้องจะร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการและผู้บังคับบัญชาต่อเงินฝากในสวัสดิการเงินกู้ที่ไม่จดทะเบียน
สโมสรนายทหารกองรบพิเศษ (พลร่ม) ที่ 1 ตั้งสวัสดิการเงินกู้ขึ้น ดำเนินงานโดยคณะกรรมการซึ่งผู้บังคับการเป็นผู้แต่งตั้งตามตำแหน่งของหน่วย ผลัดเปลี่ยนกันไปโดยอยู่ในความควบคุมดูแลของผู้บังคับการ ทุนของสวัสดิการเงินกู้ได้มาจากเงินของหน่วยงานกับเงินของข้าราชการที่เป็นสมาชิกสโมสรนำมาฝาก ปี พ.ศ. 2514 จำเลยที่ 1 มาดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองรบพิเศษฯ แห่งนี้ ได้เป็นประธาน กรรมการสวัสดิการ เงินกู้โดยรองผู้บังคับการเป็นประธานกรรมการ จำเลยที่ 3 ที่ 4 เป็นกรรมการ และจำเลยที่ 4 คงเป็นกรรมการและผู้จัดการตามเดิมต่อไป โจทก์นำเงินเข้าฝากไว้ในสวัสดิการเงินกู้เป็นจำนวน 230,000 บาท สวัสดิการเงินกู้ไม่จ่ายเงินปันผลให้โจทก์ โจทก์จึงเรียกเงินฝากคืนพร้อมทั้งเงินปันผล เช่นนี้ สวัสดิการเงินกู้มิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานทั้งหลายจึงอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการผู้ได้แต่งตั้งดังปรากฏตามระเบียบว่าด้วยเงินกู้ แม้คณะกรรมการนี้จะมีการแต่งตั้งเปลี่ยนกันไปหลายครั้งตามตำแหน่งนับแต่เริ่มตั้งสวัสดิการเงินกู้จนถึงปัจจุบัน ก็ต้องถือว่าคณะกรรมการใหม่ยอมรับมาซึ่งสิทธิและหน้าที่ตลอดจนความรับผิดจากคณะกรรมการชุดเดิมที่ดำเนินการสวัสดิการเงินกู้ไว้ จะยกข้ออ้างว่าตนเป็นกรรมการโดยตำแหน่งและไม่ได้รับมอบหมายการงานหาได้ไม่ จำเลยที่ 5 รับเงินจากโจทก์ไว้ในนามของคณะกรรมการ ซึ่งกรรมการอื่นต้องร่วมรับผิดในเงินฝากของโจทก์ด้วย และเป็นนิติสัมพันธ์ ทางสัญญาตามกฎหมาย ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 พ้นจากตำแหน่งกรรมการสวัสดิการ เงินกู้ระหว่างการพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น ไม่เป็นผลลบล้างอำนาจฟ้องของโจทก์ที่มีอยู่เดิม ให้หมดไป สำหรับจำเลยที่ 1 นั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้บังคับบัญชาการ จำเลยที่ 1 ก็เข้าเป็นประธานกรรมการดำเนินการสวัสดิการเงินกู้ต่อมา แม้ต่อมาจำเลยที่ 1 จะไปราชการและแต่งตั้งคณะกรรมการสวัสดิการเงินกู้ขึ้นใหม่คือ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 แต่คณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งยังคงอยู่ในความควบคุมดูแลรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 เช่นเดิม จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อบุคคลภายนอก เช่นโจทก์ ผู้ได้รับความเสียหายด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่จัดการทรัพย์ - เงินยืม-ฝากส่วนตัว ไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยมีหน้าที่รักษาตามมาตรา 147
เงินที่พิพาท 5,000 บาท เป็นเงินที่จำเลยที่ 2 เสมียนตราอำเภอยืมจากจำเลยที่ 1 เสมียนปกครอง และเงินค่าธรรมเนียมอาวุธปืน 5,970 บาท เป็นเงินที่บุคคลอื่นนำมาฝากจำเลยที่ 2 ไว้เป็นการส่วนตัวมิใช่จำเลยที่ 2 รับเงินจากจำเลยที่ 1 และบุคคลอื่นในหน้าที่ราชการเงินทั้งสองจำนวนดังกล่าวจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่จัดการหรือรักษาตามความหมายของ มาตรา 147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2611/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงมอบเงินฝากเป็นประกันความเสียหาย ไม่ถือเป็นการจำนำ ผู้ร้องจึงไม่เป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
การที่จำเลยที่ 1 ตกลงมอบเงินฝากพร้อมใบรับฝากแก่ผู้ร้อง เพื่อเป็นประกันความเสียหายที่ผู้ร้องออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อกรมทางหลวง ให้ผู้ร้องมีอำนาจหักเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายที่ผู้ร้องต้องชดใช้แทนได้ทันที และจำเลยที่ 1 จะไม่ถอนเงินฝากจนกว่าผู้ร้องจะพ้นภาระความรับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันนั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการจำนำเงินฝาก ผู้ร้องจึงไม่เป็นเจ้าหน้าที่มีประกันตามประราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 95

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2611/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงมอบเงินฝากเป็นประกันความเสียหาย ไม่ถือเป็นการจำนำ ทำให้ผู้ร้องไม่เป็นเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
การที่จำเลยที่ 1 ตกลงมอบเงินฝากพร้อมใบรับฝากแก่ผู้ร้อง เพื่อเป็นประกันความเสียหายที่ผู้ร้องออกหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ต่อกรมทางหลวงให้ผู้ร้องมีอำนาจหักเงินจากบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ชำระค่าเสียหายที่ผู้ร้องต้องชดใช้แทนได้ทันที และจำเลยที่ 1 จะไม่ถอนเงินฝากจนกว่า ผู้ร้องจะพ้นภาระความรับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันนั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่เป็นการจำนำเงินฝาก ผู้ร้องจึงไม่เป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 95
of 9