พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3412/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครดิตภาษีมูลค่าเพิ่มข้ามเดือนภาษี และการประเมินเงินเพิ่มที่ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์มีเครดิตภาษีเหลืออยู่ในเดือนภาษีมิถุนายน 2535 จำนวน7,946,661.69 บาท โจทก์มีสิทธินำเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไป หากยังมีเหลืออยู่อีกก็มีสิทธินำไปชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปได้ เป็นเช่นนี้เรื่อยไป ซึ่งเป็นขั้นตอนที่กฎหมายบังคับไว้ แต่โจทก์ไม่มีสิทธินำเครดิตภาษีในเดือนภาษีมิถุนายน 2535 ข้ามขั้นตอนไปขอชำระในเดือนภาษีธันวาคม 2535 ได้
โจทก์ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีธันวาคม 2535เป็นเงินเพียง 466,218 บาท การที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีธันวาคม 2535 โดยนำยอดเครดิตภาษีที่โจทก์นำมาใช้เครดิตจำนวน 7,946,611.69 บาท มาเป็นฐานในการคำนวณภาษีจึงไม่ชอบ เมื่อโจทก์ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีธันวาคม 2535 เป็นเงิน 466,218 บาทแต่โจทก์มิได้ชำระภายในกำหนดเวลา โจทก์ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ แต่เจ้าพนักงานประเมินคงมีอำนาจประเมินเงินเพิ่มจากเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องเสียจำนวน 466,218 บาทเท่านั้น มิใช่มีอำนาจประเมินจากเงินภาษีจำนวน 7,946,661.69 บาท
แม้เงินเพิ่มจะเป็นภาษีอากรประเมิน แต่ ป.รัษฎากร มาตรา89/1 มิได้บัญญัติให้งดหรือลดลงได้ ดังเช่น มาตรา 89 วรรคท้าย บัญญัติให้อำนาจในการงดหรือลดเบี้ยปรับลงได้ไว้ ศาลจึงไม่มีอำนาจลดหรืองดเงินเพิ่ม
โจทก์ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีธันวาคม 2535เป็นเงินเพียง 466,218 บาท การที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีธันวาคม 2535 โดยนำยอดเครดิตภาษีที่โจทก์นำมาใช้เครดิตจำนวน 7,946,611.69 บาท มาเป็นฐานในการคำนวณภาษีจึงไม่ชอบ เมื่อโจทก์ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีธันวาคม 2535 เป็นเงิน 466,218 บาทแต่โจทก์มิได้ชำระภายในกำหนดเวลา โจทก์ก็ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ แต่เจ้าพนักงานประเมินคงมีอำนาจประเมินเงินเพิ่มจากเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องเสียจำนวน 466,218 บาทเท่านั้น มิใช่มีอำนาจประเมินจากเงินภาษีจำนวน 7,946,661.69 บาท
แม้เงินเพิ่มจะเป็นภาษีอากรประเมิน แต่ ป.รัษฎากร มาตรา89/1 มิได้บัญญัติให้งดหรือลดลงได้ ดังเช่น มาตรา 89 วรรคท้าย บัญญัติให้อำนาจในการงดหรือลดเบี้ยปรับลงได้ไว้ ศาลจึงไม่มีอำนาจลดหรืองดเงินเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องครบถ้วน แม้ไม่มีภาษีเปลี่ยนแปลง ไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ-เงินเพิ่ม
โจทก์ส่งสินค้าประเภทเซรามิคไปขายที่ประเทศมาเลเซียและอินโดนิเซีย อันเป็นการส่งออกตามประมวลรัษฎากรมาตรา 77/1(14) โจทก์จึงเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสำหรับการประกอบกิจการประเภทการส่งออกสินค้าที่มิใช่การส่งออกสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(3) แต่ตามมาตรา 81/1(1) กำหนดให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้โจทก์จะยื่นแบบแสดงรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องโดยกรอกรายการยอดขายขาดไป 1,000,000 บาท แต่โจทก์ไม่มีจำนวนภาษีในเดือนภาษีที่โจทก์ยื่นเปลี่ยนแปลงไปที่โจทก์จะต้องนำมาชำระให้ถูกต้องพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมมาตรา 83/4 จึงไม่ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 83(4) และ 89/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีภาษีป้าย: การตีความเครื่องหมาย, การนับเงินเพิ่ม, และอำนาจศาลในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย
การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องหาได้ไม่ เนื่องจากขัดต่อป.วิ.พ.มาตรา 205 ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีขาดนัดศาลจะวินิจฉัยคดีให้คู่ความที่มาศาลชนะคดีต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านี้มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังนั้นการที่ศาลภาษีอากรกลางใช้ดุลพินิจชี้ขาดโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาแล้ววินิจฉัยว่ายังไม่เพียงพอรับฟังได้ตามที่โจทก์อ้างมาทั้งหมด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว หาใช่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 ไม่
คำว่า เครื่องหมายนั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นแสดงความหมายเพื่อจดจำหรือกำหนดรู้ ดังนั้นย่อมหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ได้ที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความหมายนั้น ซึ่งตามรูปลักษณ์ที่จำเลยทำขึ้นที่แสดงความหมายถึงรูปหัวใจ หากไม่พินิจดูอย่างละเอียดแล้วก็ไม่อาจทราบได้ว่ารูปดังกล่าวประกอบด้วยตัวอักษร C และ D ประกบกันอยู่ เนื่องจากตัวอักษรทั้งสองมีลักษณะไม่เหมือนกับตัวอักษรต่างประเทศ C และ D โดยทั่วไป แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทนความหมายของรูปหัวใจ ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่า เป็นสัญลักษณ์ในการประกอบการค้าของจำเลยอันมีความหมายทำนองเดียวกับคำว่าเครื่องหมายนั่นเองป้ายโฆษณาของจำเลยที่ใช้อักษรย่อว่า "CD" เขียนเป็นรูปลักษณะคล้ายหัวใจและมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า "CATHAY DEPARTMENT STORE" ทับข้อความภาษาไทยว่า "คาเธ่ย์ ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์" และ "ซุปเปอร์มาร์เก็ตเปิดบริการถึง 4 ทุ่ม" ต่อท้ายอักษรย่อดังกล่าว จึงเป็นป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและเครื่องหมายอื่น ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีป้ายประเภท (2) ท้าย พ.ร.บ.ป้าย พ.ศ.2510
คดีนี้จำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536ครบกำหนดชำระภาษีป้ายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 การเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 25 (3) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 8กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไป มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2536 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 17 และ 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 145 (5), 246 และ 247
คำว่า เครื่องหมายนั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525 หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นแสดงความหมายเพื่อจดจำหรือกำหนดรู้ ดังนั้นย่อมหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ได้ที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความหมายนั้น ซึ่งตามรูปลักษณ์ที่จำเลยทำขึ้นที่แสดงความหมายถึงรูปหัวใจ หากไม่พินิจดูอย่างละเอียดแล้วก็ไม่อาจทราบได้ว่ารูปดังกล่าวประกอบด้วยตัวอักษร C และ D ประกบกันอยู่ เนื่องจากตัวอักษรทั้งสองมีลักษณะไม่เหมือนกับตัวอักษรต่างประเทศ C และ D โดยทั่วไป แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทนความหมายของรูปหัวใจ ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่า เป็นสัญลักษณ์ในการประกอบการค้าของจำเลยอันมีความหมายทำนองเดียวกับคำว่าเครื่องหมายนั่นเองป้ายโฆษณาของจำเลยที่ใช้อักษรย่อว่า "CD" เขียนเป็นรูปลักษณะคล้ายหัวใจและมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า "CATHAY DEPARTMENT STORE" ทับข้อความภาษาไทยว่า "คาเธ่ย์ ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์" และ "ซุปเปอร์มาร์เก็ตเปิดบริการถึง 4 ทุ่ม" ต่อท้ายอักษรย่อดังกล่าว จึงเป็นป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและเครื่องหมายอื่น ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีป้ายประเภท (2) ท้าย พ.ร.บ.ป้าย พ.ศ.2510
คดีนี้จำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536ครบกำหนดชำระภาษีป้ายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 การเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 25 (3) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 8กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไป มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2536 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 17 และ 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 145 (5), 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีป้าย, รูปแบบป้ายโฆษณา, และการคำนวณเงินเพิ่มที่ถูกต้องตามกฎหมาย
การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องหาได้ไม่ เนื่องจากขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีขาดนัดศาลจะวินิจฉัยคดีให้คู่ความที่มาศาลชนะคดีต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านี้มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางใช้ดุลพินิจชี้ขาดโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาแล้ววินิจฉัยว่ายังไม่เพียงพอรับฟังได้ตามที่โจทก์อ้างมาทั้งหมด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว หาใช่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ไม่
คำว่า เครื่องหมายนั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นแสดงความหมายเพื่อจดจำหรือกำหนดรู้ ดังนั้น ย่อมหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ได้ที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความหมายนั้น ซึ่งตามรูปลักษณ์ที่จำเลยทำขึ้นที่แสดงความหมายถึงรูปหัวใจ หากไม่พินิจดูอย่างละเอียดแล้วก็ไม่อาจทราบได้ว่ารูปดังกล่าวประกอบด้วยตัวอักษร C และ D ประกบกันอยู่ เนื่องจากตัวอักษรทั้งสองมีลักษณะไม่เหมือนกับตัวอักษรต่างประเทศ C และ D โดยทั่วไป แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทนความหมายของรูปหัวใจ ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่า เป็นสัญลักษณ์ในการประกอบการค้าของจำเลยอันมีความหมายทำนองเดียวกับคำว่าเครื่องหมายนั่นเองป้ายโฆษณาของจำเลยที่ใช้อักษรย่อว่า "CD" เขียนเป็นรูปลักษณะคล้ายหัวใจและมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า "CATHAYDEPARTMENTSTORE" ทับข้อความภาษาไทยว่า "คาเธ่ย์ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์"และ"ซุปเปอร์มาร์เก็ตเปิดบริการ ถึง 4 ทุ่ม" ต่อท้ายอักษรย่อดังกล่าว จึงเป็นป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและเครื่องหมายอื่น ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีป้ายประเภท (2) ท้ายพระราชบัญญัติป้าย พ.ศ.2510
คดีนี้จำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536 ครบกำหนดชำระภาษีป้ายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 การเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 25(3) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไป มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2536 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 และ 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247
คำว่า เครื่องหมายนั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นแสดงความหมายเพื่อจดจำหรือกำหนดรู้ ดังนั้น ย่อมหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ได้ที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความหมายนั้น ซึ่งตามรูปลักษณ์ที่จำเลยทำขึ้นที่แสดงความหมายถึงรูปหัวใจ หากไม่พินิจดูอย่างละเอียดแล้วก็ไม่อาจทราบได้ว่ารูปดังกล่าวประกอบด้วยตัวอักษร C และ D ประกบกันอยู่ เนื่องจากตัวอักษรทั้งสองมีลักษณะไม่เหมือนกับตัวอักษรต่างประเทศ C และ D โดยทั่วไป แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทนความหมายของรูปหัวใจ ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่า เป็นสัญลักษณ์ในการประกอบการค้าของจำเลยอันมีความหมายทำนองเดียวกับคำว่าเครื่องหมายนั่นเองป้ายโฆษณาของจำเลยที่ใช้อักษรย่อว่า "CD" เขียนเป็นรูปลักษณะคล้ายหัวใจและมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า "CATHAYDEPARTMENTSTORE" ทับข้อความภาษาไทยว่า "คาเธ่ย์ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์"และ"ซุปเปอร์มาร์เก็ตเปิดบริการ ถึง 4 ทุ่ม" ต่อท้ายอักษรย่อดังกล่าว จึงเป็นป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและเครื่องหมายอื่น ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีป้ายประเภท (2) ท้ายพระราชบัญญัติป้าย พ.ศ.2510
คดีนี้จำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536 ครบกำหนดชำระภาษีป้ายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 การเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 25(3) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไป มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2536 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 และ 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความลักษณะป้ายโฆษณาและการคำนวณเงินเพิ่มภาษีป้าย โดยพิจารณาจากข้อกฎหมายและความถูกต้องของการประเมิน
การที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาจะถือว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องหาได้ไม่ เนื่องจากขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 ซึ่งบัญญัติว่า ในคดีขาดนัดศาลจะวินิจฉัยคดีให้คู่ความที่มาศาลชนะคดีต่อเมื่อศาลเห็นว่า ข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านี้มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางใช้ดุลพินิจชี้ขาดโดยพิจารณาจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาแล้ววินิจฉัยว่ายังไม่เพียงพอรับฟังได้ตามที่โจทก์อ้างมาทั้งหมด ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว หาใช่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ไม่
คำว่า เครื่องหมายนั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นแสดงความหมายเพื่อจดจำหรือกำหนดรู้ ดังนั้น ย่อมหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ได้ที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความหมายนั้น ซึ่งตามรูปลักษณ์ที่จำเลยทำขึ้นที่แสดงความหมายถึงรูปหัวใจ หากไม่พินิจดูอย่างละเอียดแล้วก็ไม่อาจทราบได้ว่ารูปดังกล่าวประกอบด้วยตัวอักษร C และ D ประกบกันอยู่ เนื่องจากตัวอักษรทั้งสองมีลักษณะไม่เหมือนกับตัวอักษรต่างประเทศ C และ D โดยทั่วไป แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทนความหมายของรูปหัวใจ ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่า เป็นสัญลักษณ์ในการประกอบการค้าของจำเลยอันมีความหมายทำนองเดียวกับคำว่าเครื่องหมายนั่นเองป้ายโฆษณาของจำเลยที่ใช้อักษรย่อว่า "CD" เขียนเป็นรูปลักษณะคล้ายหัวใจและมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า "CATHAYDEPARTMENTSTORE" ทับข้อความภาษาไทยว่า "คาเธ่ย์ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์"และ"ซุปเปอร์มาร์เก็ตเปิดบริการ ถึง 4 ทุ่ม" ต่อท้ายอักษรย่อดังกล่าว จึงเป็นป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและเครื่องหมายอื่น ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีป้ายประเภท (2) ท้ายพระราชบัญญัติป้าย พ.ศ.2510
คดีนี้จำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536 ครบกำหนดชำระภาษีป้ายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 การเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 25(3) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไป มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2536 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 และ 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247
คำว่า เครื่องหมายนั้นตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายความว่า สิ่งที่ทำขึ้นแสดงความหมายเพื่อจดจำหรือกำหนดรู้ ดังนั้น ย่อมหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ได้ที่ทำขึ้นเพื่อแสดงความหมายนั้น ซึ่งตามรูปลักษณ์ที่จำเลยทำขึ้นที่แสดงความหมายถึงรูปหัวใจ หากไม่พินิจดูอย่างละเอียดแล้วก็ไม่อาจทราบได้ว่ารูปดังกล่าวประกอบด้วยตัวอักษร C และ D ประกบกันอยู่ เนื่องจากตัวอักษรทั้งสองมีลักษณะไม่เหมือนกับตัวอักษรต่างประเทศ C และ D โดยทั่วไป แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นเพื่อแทนความหมายของรูปหัวใจ ซึ่งโจทก์ก็ยอมรับว่า เป็นสัญลักษณ์ในการประกอบการค้าของจำเลยอันมีความหมายทำนองเดียวกับคำว่าเครื่องหมายนั่นเองป้ายโฆษณาของจำเลยที่ใช้อักษรย่อว่า "CD" เขียนเป็นรูปลักษณะคล้ายหัวใจและมีข้อความเป็นภาษาอังกฤษว่า "CATHAYDEPARTMENTSTORE" ทับข้อความภาษาไทยว่า "คาเธ่ย์ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์"และ"ซุปเปอร์มาร์เก็ตเปิดบริการ ถึง 4 ทุ่ม" ต่อท้ายอักษรย่อดังกล่าว จึงเป็นป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและเครื่องหมายอื่น ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีป้ายประเภท (2) ท้ายพระราชบัญญัติป้าย พ.ศ.2510
คดีนี้จำเลยได้รับแจ้งการประเมินเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2536 ครบกำหนดชำระภาษีป้ายในวันที่ 7 กรกฎาคม 2536 การเสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ตามพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 มาตรา 25(3) จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2536 เป็นต้นไป มิใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2536 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 และ 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาชำระภาษี ผลกระทบต่อเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม และการหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ปัญหาว่า การที่โจทก์ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534 แล้วทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแก่จำเลยที่ 1 หรือไม่นั้น โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องเพื่อเพิ่มเติมปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นประเด็นในศาลภาษี-อากรกลาง แม้ศาลภาษีอากรกลางได้ยกคำร้องดังกล่าวของโจทก์ไปแล้วก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2539 กระทรวงการคลังได้มีประกาศเรื่อง ขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป.รัษฎากรเพื่อให้โอกาสผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากรที่ได้ยื่นรายการและชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วนได้ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรให้ถูกต้องตามแบบชำระภาษีอากรที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด และโจทก์ได้ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรดังกล่าวแล้ว คดีจึงมีปัญหาข้อกฎหมายที่จะต้องวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ยื่นแบบขอชำระภาษีอากรดังกล่าว ทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในคดีนี้ต่อจำเลยที่ 1 หรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะเป็นปัญหาที่ศาลภาษีอากรกลางมิได้ยกเป็นประเด็นขึ้นวินิจฉัยมาก่อนก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิยกปัญหาดังกล่าวขึ้นในชั้นอุทธรณ์ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534ข้อ 2 นั้น ผู้ยื่นขอชำระภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลังจะได้รับผลประโยชน์โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มเฉพาะภาษีอากรส่วนที่ชำระหรือนำส่งนั้นเท่านั้นแต่ในกรณีของโจทก์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงเรียกเก็บเงินเพิ่มสำหรับการประเมินภาษีในปี 2528 (ครึ่งปี) และปี 2529 (ครึ่งปี) และสำหรับปี 2529คงเรียกเก็บเบี้ยปรับร้อยละ 50 ส่วนเงินเพิ่มเป็นไปตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินเรียกเก็บ เบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์จึงเป็นเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากภาษีอากรที่โจทก์ยังคงยื่นเสียไว้ไม่ครบถ้วนจากการที่โจทก์ยื่นขอชำระภาษีไว้ดังกล่าวแล้วหาใช่เบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีอากรส่วนที่โจทก์ได้ชำระไว้ตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวไม่
ตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 (5)ประกอบด้วย พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 70) พ.ศ.2520 มาตรา 4 การประกอบกิจการของโจทก์ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 70 แต่ถ้าโจทก์แสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้นมีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดดังกล่าว ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ และตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) เงินได้พึงประเมินของโจทก์เป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจของโจทก์ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมาย เมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมายแล้วจึงเป็นเงินได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 48 ดังนั้น การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีนี้ต้องเริ่มมาจากเงินได้จากการประกอบธุรกิจของโจทก์ทั้งหมดก่อน แล้วจึงนำค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมายมาหักออก มิใช่คำนวณมาจากกำไรสุทธิ สำหรับค่าใช้จ่ายนั้นเมื่อโจทก์ไม่นำค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายที่กฎหมายกำหนดไว้มาหัก แต่จะหักตามความจำเป็นและสมควร โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องนำหลักฐานมาพิสูจน์ การที่โจทก์นำสืบอ้างว่าโจทก์มีกำไรจากการประกอบกิจการร้อยละ 10 นั้นไม่เพียงพอจะถือว่ากำไรร้อยละ 10 ของโจทก์นั้นเป็นเงินได้สุทธิที่จะนำมาคำนวณเสียภาษี เมื่อโจทก์ไม่นำหลักฐานมาพิสูจน์ให้เห็นว่ารายได้ทั้งหมดของโจทก์จะต้องมีรายจ่ายที่จะหักได้ตามกฎหมายเป็นอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด โจทก์ต้องการให้หักค่าใช้จ่ายอีกเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาหักค่าใช้จ่ายให้เท่าที่ตรวจพบจึงเป็นการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ชอบแล้ว
ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายเวลายื่นรายการชำระภาษีอากรหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2534ข้อ 2 นั้น ผู้ยื่นขอชำระภาษีอากรตามประกาศกระทรวงการคลังจะได้รับผลประโยชน์โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มเฉพาะภาษีอากรส่วนที่ชำระหรือนำส่งนั้นเท่านั้นแต่ในกรณีของโจทก์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงเรียกเก็บเงินเพิ่มสำหรับการประเมินภาษีในปี 2528 (ครึ่งปี) และปี 2529 (ครึ่งปี) และสำหรับปี 2529คงเรียกเก็บเบี้ยปรับร้อยละ 50 ส่วนเงินเพิ่มเป็นไปตามที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินเรียกเก็บ เบี้ยปรับและเงินเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์จึงเป็นเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากภาษีอากรที่โจทก์ยังคงยื่นเสียไว้ไม่ครบถ้วนจากการที่โจทก์ยื่นขอชำระภาษีไว้ดังกล่าวแล้วหาใช่เบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีอากรส่วนที่โจทก์ได้ชำระไว้ตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวไม่
ตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 (5)ประกอบด้วย พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 70) พ.ศ.2520 มาตรา 4 การประกอบกิจการของโจทก์ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 70 แต่ถ้าโจทก์แสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้นมีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดดังกล่าว ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ และตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) เงินได้พึงประเมินของโจทก์เป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจของโจทก์ทั้งหมดก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมาย เมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมายแล้วจึงเป็นเงินได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 48 ดังนั้น การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีนี้ต้องเริ่มมาจากเงินได้จากการประกอบธุรกิจของโจทก์ทั้งหมดก่อน แล้วจึงนำค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนตามกฎหมายมาหักออก มิใช่คำนวณมาจากกำไรสุทธิ สำหรับค่าใช้จ่ายนั้นเมื่อโจทก์ไม่นำค่าใช้จ่ายเหมาจ่ายที่กฎหมายกำหนดไว้มาหัก แต่จะหักตามความจำเป็นและสมควร โจทก์ก็มีหน้าที่จะต้องนำหลักฐานมาพิสูจน์ การที่โจทก์นำสืบอ้างว่าโจทก์มีกำไรจากการประกอบกิจการร้อยละ 10 นั้นไม่เพียงพอจะถือว่ากำไรร้อยละ 10 ของโจทก์นั้นเป็นเงินได้สุทธิที่จะนำมาคำนวณเสียภาษี เมื่อโจทก์ไม่นำหลักฐานมาพิสูจน์ให้เห็นว่ารายได้ทั้งหมดของโจทก์จะต้องมีรายจ่ายที่จะหักได้ตามกฎหมายเป็นอะไรบ้าง จำนวนเท่าใด โจทก์ต้องการให้หักค่าใช้จ่ายอีกเท่าใด การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์พิจารณาหักค่าใช้จ่ายให้เท่าที่ตรวจพบจึงเป็นการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าเกินกำหนด 5 ปี และการลดหย่อนเงินเพิ่มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
รายจ่ายส่วนลดที่โจทก์อ้าง ผู้ซื้อที่ดินชำระเกินมาเนื่องจากที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญานั้น โจทก์ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินส่วนลดประกอบการลงบัญชีโดยให้ผู้รับส่วนลดเช็นต์ชื่อเป็นหลักฐานประกอบ จึงต้องฟังว่ารายจ่ายดังกล่าวโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายเองต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) รายจ่ายส่วนตัวของหุ้นส่วนผู้จัดการ และของบริษัทในเครือรวมทั้งหุ้นส่วนอื่น ๆ เป็นรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์เนื่องจากเป็นรายจ่ายของบุคคลอื่น จึงมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ ส่วนรายจ่ายค่ารับรองเกินสมควรและรายจ่ายค่าธรรมเนียมที่ดินของบุคคลอื่นไม่ใช่รายจ่ายของโจทก์ โจทก์ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวมิใช่รายจ่ายตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (3)(4)(9)(13) และ (18) ตามที่จำเลยนำสืบ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่า รายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(3)(4)(9)(13) และ (18) ซึ่งโจทก์ได้นำมารวมคำนวณกำไรสุทธิโดยไม่ชอบ สำหรับรายจ่ายค่าการกุศลที่เกินกว่าร้อยละ 1 ของกำไรสุทธินั้นเมื่อโจทก์ยอมรับว่ารายจ่ายการกุศลเกินกว่าร้อยละ 1 ของกำไรสุทธิจริงข้อเท็จจริงฟังได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวต้องห้ามมิให้ถือว่าเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (6) ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ให้ถ้อยคำไว้ต่อเจ้าพนักงานประเมินยอมรับว่าค่าจ้างแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ในปี2518 ถึง 2520 นั้น โจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ กับเบิกความยอมรับในชั้นศาลว่า โจทก์คงหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินเดือนของลูกจ้างประจำในปี 2518 ถึง 2522 และนำส่งให้แก่จำเลย ส่วนค่าแรงงานลูกจ้างรายวันนั้นโจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายไว้ ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์จึงยอมให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากค่าแรงงานส่วนนี้ในอัตราร้อยละ 3เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ค่าจ้างแรงงานรายวันเป็นรายบุคคลได้ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราดังกล่าวตามความยินยอมของผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จึงถือได้ว่า โจทก์พอใจตามการประเมินนั้นแล้วโจทก์จะกลับมาอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลว่า การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนนี้อีกไม่ได้ และปัญหาดังกล่าวนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246,247 และ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรกลาง พ.ศ. 2528 มาตรา 29 โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการรายรับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2520 และปี 2522 ไว้เกินไปกว่าจำนวนที่ปรากฎในบัญชีโจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าในปี 2520 และปี 2522แต่เจ้าพนักงานประเมินกลับประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับ 1 เท่าของจำนวนภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 89(3) เป็นเงินเบี้ยปรับ 6,405 บาท และเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิเป็นเงินจำนวน 128,034.73 บาท จึงเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ไม่มีจำนวนภาษีการค้าที่ต้องเสียเนื่องจากเหตุเสียคลาดเคลื่อนน้อยไปกว่าจำนวนที่ต้องเสีย สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2522แล้ว ก็ย่อมจะไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับอีกเมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้นำรายรับตามที่โจทก์ลงไว้ในสมุดเงินสดไปยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีการค้าของเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม 2522 แก่จำเลยไว้แล้ว แต่เจ้าพนักงานประเมินคงตรวจพบแต่เพียงว่า รายรับของโจทก์สำหรับเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2522 ตามสมุดเงินสดนั้น คลาดเคลื่อนต่อความจริงกล่าวคือรายรับบางส่วนเป็นรายรับของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องนำรายรับที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีคลาดเคลื่อนดังกล่าวไปแก้ไขปรับปรุงรายการในแบบรายการการค้าของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 แล้วประเมินภาษีการค้า เบี้ยปรับ เงินเพิ่มของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2521 หาใช่เหตุที่จะมาประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 ไม่ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมิน ประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี 2522 จึงไม่ถูกต้องเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากโจทก์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 โจทก์จึงอาจต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา 22 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติไว้ กฎหมายดังกล่าวให้ดุลพินิจแก่เจ้าพนักงานประเมินที่อาจจะใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มน้อยกว่าร้อยละ 20 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้ เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินกำหนดจำนวนเงินเพิ่มตามอัตราที่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้ว โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 29 และ 30 ตามลำดับ ดังนั้น ศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าอัตราเงินเพิ่มที่เจ้าพนักงานประเมินได้ใช้ดุลพินิจกำหนดไว้และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นเหมาะสมแล้ว หรือหากไม่เหมาะสมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงให้แก่โจทก์ได้ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดไปจำนวนมากและไม่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายนั้น ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนโดยยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จากค่าแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ได้ในอัตราร้อยละ 3 เป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบไต่สวนจึงมีเหตุสมควรลดเงินเพิ่ม ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ 10 แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 คงวางเกณฑ์เกี่ยวกับกำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลเท่านั้นมิได้วางเกณฑ์ว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาต่อศาลจะอ้างเหตุตามบทกฎหมายบทอื่นเพื่อชี้ว่าการประเมินภาษีการค้าสำหรับรองระยะเวลาบัญชีดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ไม่ได้ ดังนั้นโจทก์จึงยกข้ออ้างตามประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ(1) ขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลได้ แม้จะมิได้ยกเป็นข้ออ้างในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แต่ต้นก็ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ตรี เป็นบทกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือพยานกับมีอำนาจสั่งบุคคลเหล่านั้นให้นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาตรวจสอบไต่สวนได้ แต่จะต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหมายเรียกไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องออกหมายเรียกภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง ถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือภายใน 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้ หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า ทั้งมิได้กำหนดให้ทำการประเมินหลังจากออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนแล้วภายในกำหนดเวลาเท่าใด แต่มีประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิบัญญัติว่า การประเมินให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ (1) ห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า (1) สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินจะได้ออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนหรือไม่ การประเมินก็จะต้องกระทำภายในกำหนดเวลาที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 88 ทวิ บัญญัติไว้ทั้งสิ้น เมื่อปรากฎว่า เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2517 ถึงปี 2521พ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 88 ทวิ (1) และมิใช่กรณีโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้า หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้า อันจะทำการประเมินได้ภายในสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1809/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีการค้าเกินกำหนดเวลา 5 ปี และการลดอัตราเงินเพิ่มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย
รายจ่ายส่วนลดที่โจทก์อ้างผู้ซื้อที่ดินชำระเกินมาเนื่องจากที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าที่ตกลงไว้ในสัญญานั้นโจทก์ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินส่วนลดประกอบการลงบัญชีโดยให้ผู้รับส่วนลดเช็นต์ชื่อเป็นหลักฐานประกอบจึงต้องฟังว่ารายจ่ายดังกล่าวโจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายเองต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ตรี(9) รายจ่ายส่วนตัวของหุ้นส่วนผู้จัดการและของบริษัทในเครือรวมทั้งหุ้นส่วนอื่นๆเป็นรายจ่ายที่ไม่เกี่ยวกับกิจการของโจทก์เนื่องจากเป็นรายจ่ายของบุคคลอื่นจึงมิใช่รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ ส่วนรายจ่ายค่ารับรองเกินสมควรและรายจ่ายค่าธรรมเนียมที่ดินของบุคคลอื่นไม่ใช่รายจ่ายของโจทก์โจทก์ไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวมิใช่รายจ่ายตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ตรี(3)(4)(9)(13)และ(18)ตามที่จำเลยนำสืบข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่ารายจ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ตรี(3)(4)(9)(13)และ(18)ซึ่งโจทก์ได้นำมารวมคำนวณกำไรสุทธิโดยไม่ชอบ สำหรับรายจ่ายค่าการกุศลที่เกินกว่าร้อยละ1ของกำไรสุทธินั้นเมื่อโจทก์ยอมรับว่ารายจ่ายการกุศลเกินกว่าร้อยละ1ของกำไรสุทธิจริงข้อเท็จจริงฟังได้ว่ารายจ่ายดังกล่าวต้องห้ามมิให้ถือว่าเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ตรี(6) ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ให้ถ้อยคำไว้ต่อเจ้าพนักงานประเมินยอมรับว่าค่าจ้างแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ในปี2518ถึง2520นั้นโจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้ณที่จ่ายไว้กับเบิกความยอมรับในชั้นศาลว่าโจทก์คงหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินเดือนของลูกจ้างประจำในปี2518ถึง2522และนำส่งให้แก่จำเลยส่วนค่าแรงงานลูกจ้างรายวันนั้นโจทก์ไม่ได้หักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาณที่จ่ายไว้ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์จึงยอมให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายจากค่าแรงงานส่วนนี้ในอัตราร้อยละ3เนื่องจากโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ค่าจ้างแรงงานรายวันเป็นรายบุคคลได้ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายในอัตราดังกล่าวตามความยินยอมของผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์จึงถือได้ว่าโจทก์พอใจตามการประเมินนั้นแล้วโจทก์จะกลับมาอุทธรณ์คัดค้านต่อศาลว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบขอให้ศาลเพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในส่วนนี้อีกไม่ได้และปัญหาดังกล่าวนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยมาตรา246,247และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรกลางพ.ศ.2528มาตรา29 โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการรายรับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2520และปี2522ไว้เกินไปกว่าจำนวนที่ปรากฎในบัญชีโจทก์จึงไม่ต้องเสียภาษีการค้าในปี2520และปี2522แต่เจ้าพนักงานประเมินกลับประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับ1เท่าของจำนวนภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา89(3)เป็นเงินเบี้ยปรับ6,405บาทและเสียเงินเพิ่มตามมาตรา89ทวิเป็นเงินจำนวน128,034.73บาทจึงเป็นการไม่ชอบเพราะโจทก์ไม่มีจำนวนภาษีการค้าที่ต้องเสียเนื่องจากเหตุเสียคลาดเคลื่อนน้อยไปกว่าจำนวนที่ต้องเสียสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2522แล้วก็ย่อมจะไม่ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับอีกเมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้นำรายรับตามที่โจทก์ลงไว้ในสมุดเงินสดไปยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีการค้าของเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคม2522แก่จำเลยไว้แล้วแต่เจ้าพนักงานประเมินคงตรวจพบแต่เพียงว่ารายรับของโจทก์สำหรับเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน2522ตามสมุดเงินสดนั้นคลาดเคลื่อนต่อความจริงกล่าวคือรายรับบางส่วนเป็นรายรับของรอบระยะเวลาบัญชีปี2521กรณีเป็นเรื่องที่จะต้องนำรายรับที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีคลาดเคลื่อนดังกล่าวไปแก้ไขปรับปรุงรายการในแบบรายการการค้าของรอบระยะเวลาบัญชีปี2521แล้วประเมินภาษีการค้าเบี้ยปรับเงินเพิ่มของรอบระยะเวลาบัญชีปี2521หาใช่เหตุที่จะมาประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี2522ไม่ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของภาษีการค้ารอบระยะเวลาบัญชีปี2522จึงไม่ถูกต้องเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายจากโจทก์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา20โจทก์จึงอาจต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ20แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา22ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นบัญญัติไว้กฎหมายดังกล่าวให้ดุลพินิจแก่เจ้าพนักงานประเมินที่อาจจะใช้ดุลพินิจกำหนดให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มน้อยกว่าร้อยละ20แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้นได้เมื่อเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินกำหนดจำนวนเงินเพิ่มตามอัตราที่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้วโจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยแล้วโจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา29และ30ตามลำดับดังนั้นศาลจึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าอัตราเงินเพิ่มที่เจ้าพนักงานประเมินได้ใช้ดุลพินิจกำหนดไว้และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้นเหมาะสมแล้วหรือหากไม่เหมาะสมศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดลงให้แก่โจทก์ได้ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลขาดไปจำนวนมากและไม่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะลดเงินเพิ่มให้แก่โจทก์ส่วนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายนั้นผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนโดยยินยอมให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายจากค่าแรงงานลูกจ้างรายวันของโจทก์ได้ในอัตราร้อยละ3เป็นประโยชน์แก่การตรวจสอบไต่สวนจึงมีเหตุสมควรลดเงินเพิ่มภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักณที่จ่ายให้แก่โจทก์โดยให้โจทก์รับผิดเสียเงินเพิ่มเพียงร้อยละ10แห่งเงินภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น ตามประมวลรัษฎากรมาตรา30คงวางเกณฑ์เกี่ยวกับกำหนดเวลาการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลเท่านั้นมิได้วางเกณฑ์ว่าการอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาต่อศาลจะอ้างเหตุตามบทกฎหมายบทอื่นเพื่อชี้ว่าการประเมินภาษีการค้าสำหรับรองระยะเวลาบัญชีดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ไม่ได้ดังนั้นโจทก์จึงยกข้ออ้างตามประมวลรัษฎากรมาตรา88ทวิ(1)ขึ้นอุทธรณ์ต่อศาลได้แม้จะมิได้ยกเป็นข้ออ้างในการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไว้แต่ต้นก็ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา87ตรีเป็นบทกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือพยานกับมีอำนาจสั่งบุคคลเหล่านั้นให้นำบัญชีเอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาตรวจสอบไต่สวนได้แต่จะต้องให้เวลาล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวันนับแต่วันได้รับหมายเรียกไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องออกหมายเรียกภายในกำหนดเวลา5ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือภายใน10ปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าทั้งมิได้กำหนดให้ทำการประเมินหลังจากออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนแล้วภายในกำหนดเวลาเท่าใดแต่มีประมวลรัษฎากรมาตรา88ทวิบัญญัติว่าการประเมินให้กระทำได้ภายในกำหนดเวลาดังต่อไปนี้ (1)ห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือวันที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าแล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลังถ้ามีการยื่นแบบแสดงรายการการค้า (1)สิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในกรณีที่ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าดังนั้นไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินจะได้ออกหมายเรียกบุคคลผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้ามาตรวจสอบไต่สวนหรือไม่การประเมินก็จะต้องกระทำภายในกำหนดเวลาที่ประมวลรัษฎากรมาตรา88ทวิบัญญัติไว้ทั้งสิ้นเมื่อปรากฎว่าเจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีการค้าสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี2517ถึงปี2521พ้นกำหนดห้าปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา88ทวิ(1)และมิใช่กรณีโจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการการค้าหรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าเท็จโดยมีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษีตามหมวดนี้หรือยื่นแบบแสดงรายการการค้าโดยแสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับที่แสดงในแบบแสดงรายการการค้าอันจะทำการประเมินได้ภายในสิบปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9909/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล การผลิต การหักภาษี ณ ที่จ่าย และเบี้ยปรับ/เงินเพิ่ม
ค่าพาหนะที่โจทก์เหมาจ่ายให้แก่พนักงานตามระยะทางที่พนักงานออกไปปฎิบัติงานโดยไม่คำนึงถึงว่าพนักงานจะได้ใช้จ่ายไปตามนั้นจริงหรือไม่ เป็นค่าพาหนะที่นายจ้างเหมาจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ย่อมไม่อยู่ในความหมายของมาตรา 42(1) และเป็นเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ของพนักงานโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ และนำส่งตามมาตรา 50 และ 52 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อโจทก์มิได้ภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่งจึงต้องร่วมรับผิดตามมาตรา 54ทั้งเจ้าพนักงานของจำเลยก็ได้ยอมให้ใช้ค่าพาหนะเหมาจ่ายเฉพาะส่วนที่ไม่เกินอัตราตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 42(2)ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์และพนักงานของโจทก์อยู่แล้ว ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการใช้ยานพาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการ พ.ศ. 2526 กำหนดให้เบิกเงินชดเชยการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลได้กิโลเมตรละ 90 สตางค์ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2526 เป็นต้นไป จึงต้องเป็นไปตามนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินยกเว้นให้หลังวันที่ 7 พฤศจิกายน2526 และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เห็นด้วยกับการประเมินจึงมิชอบ การที่โจทก์ออกเงินค่าใช้จ่ายส่งพนักงานของโจทก์ไปดูงานต่างประเทศก็ต่อเมื่อพนักงานผู้นั้นทำงานให้แก่โจทก์ได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ และต้องทำงานอยู่กับโจทก์นานและมี ความประพฤติดีด้วย ซึ่งมิใช่การให้ไปศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการแต่อย่างใด จึงหาใช่รางวัลเพื่อการศึกษาหรือค้นคว้าในวิทยาการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 42(11) ไม่ กรณีดังกล่าวถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่พนักงานโจทก์ได้รับจากการที่ตนเองทำงานให้แก่โจทก์ เป็นเงินได้พึงประเมินที่ไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่ง การประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบแล้ว ที่ศาลภาษีอากรกลางให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในเรื่องนี้ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังขึ้น ปัญหาต่อไปมีว่า การจำหน่ายหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนวันที่ 1 มกราคม 2526 ไม่ต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 159(พ.ศ. 2526)เพียงแต่ปฎิบัติตามที่มาตรา 65 ทวิ (9) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16)พ.ศ. 2502 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ก็ถือได้ว่าลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้และโจทก์ได้ปฎิบัติการโดยสมควรเพื่อให้ได้รับการชำระหนี้แล้วแต่ไม่ได้รับชำระหนี้ การจำหน่ายหนี้สูญในรอบระยะเวลาบัญชีที่อยู่ในบังคับของมาตรา 65 ทวิ(9) ที่แก้ไขใหม่และกฎกระทรวง ฉบับที่ 159(พ.ศ. 2526) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่1 มกราคม 2526 ต้องมีการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงดังกล่าวโดยครบถ้วนถูกต้อง การที่บริษัท อ. ซื้อที่ดินให้โจทก์เช่ามาก็เพื่อผลประโยชน์ของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทต่างด้าวที่ไม่มีสิทธิถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในประเทศไทยได้ใช้ตั้งสำนักงานทั้งตามสัญญาเช่าซึ่งมีระยะเวลายาวนานถึง 30 ปี ยังบังคับให้บริษัทดังกล่าวต้องจำหน่ายจ่ายที่ดินให้แก่โจทก์หรือบุคคลภายนอกที่โจทก์ระบุอีกด้วย สัญญาเช่าดังกล่าวจึงหาใช่สัญญาเช่าปกติธรรมดาทางธุรกิจโดยทั่วไปไม่ เมื่อโจทก์นำเงินจำนวนยี่สิบแปดล้านบาท มาให้บริษัท อ. นำไปชำระค่าที่ดินที่เช่าดังกล่าว แม้จะระบุในสัญญาเช่าว่าเป็นเงินประกันการเช่า ก็ถือได้ว่าโจทก์นำเงินจำนวนยี่สิบแปดล้านบาทมาให้บริษัทดังกล่าวกู้ยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย การที่เจ้าพนักงานประเมินรายได้จากดอกเบี้ยของเงินจำนวนนั้นเป็นรายรับของโจทก์ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอันเป็นการใช้อำนาจตามมาตรา 65 ทวิ (4) จึงชอบแล้ว เทปกาวม้วนใหญ่ที่โจทก์นำเข้ามาตัดแบ่งนั้นไม่มีชื่อหรือเครื่องหมายการค้าปรากฎอยู่ เมื่อโจทก์นำมาตัดแบ่งกรอใส่แกนเป็นม้วนเล็กตามขนาดที่ต้องการโดยที่แกนปรากฎเครื่องหมายการค้าพิมพ์อยู่ แล้วใส่ลงถุงพลาสติกและบรรจุกล่องซึ่งมีคำว่า 3M พิมพ์ไว้ด้านข้างของกล่องนั้น เป็นการทำให้มีขึ้นซึ่งชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้า เข้าลักษณะเป็นการผลิตตามคำนิยามของคำว่า "ผลิต"ตามมาตรา 77 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2525 มาตรา 14 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ทั้งนี้แม้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะเป็นของบริษัทแม่ของโจทก์ในต่างประเทศหรือโจทก์จะมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นไว้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การกระทำดังกล่าวมิใช่การผลิตแต่อย่างใด กระดาษทรายม้วนใหญ่ที่โจทก์นำเข้ามามีเครื่องหมายการค้า 3M ปรากฎอยู่ชัดด้านหลังของกระดาษทรายโจทก์นำกระดาษทรายม้วนใหญ่มาตัดแบ่งเป็นหน้าแคบ ๆ แต่ยาวตามขนาดที่ลูกค้าสั่ง และถ้าลูกค้าขอให้นำส่วนที่ตัดแบ่งแล้วมาเชื่อมต่อกัน โจทก์ก็จะนำปลายส่วนที่ตัดแบ่งแล้วนั้นมาประกบเชื่อมติดกันด้วยกาวในลักษณะสายพาน โดยไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากลูกค้า หากลูกค้าไม่ได้สั่งให้นำกระดาษทรายแต่ละแผ่นมาเชื่อมต่อกัน โจทก์ก็จะนำกระดาษทรายที่ตัดแบ่งแล้วม้วนและห่อด้วยกระดาษนำบรรจุในกล่องกระดาษที่มีคำว่า 3M ปรากฎอยู่ด้านข้างตัวกล่องนั้นการกระทำดังกล่าวหาใช่เป็นการทำให้มีขึ้นซึ่งชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าไม่ เพราะเครื่องหมายการค้า3M นั้น มีปรากฏอยู่แล้วเดินในกระดาษทรายม้วนใหญ่ที่โจทก์นำเข้ามา ทั้งการตัดแบ่งออกเป็นแผ่นยาวและบางครั้งมีการเชื่อมต่อระหว่างแผ่นตามคำสั่งของลูกค้าเพื่อประโยชน์ที่ลูกค้าจะนำไปใช้ได้ ก็เป็นกรณีที่โจทก์นำมาแบ่งขายในสภาพเช่นเดิมและได้ขายสินค้านี้ในรูปรอยตราเดิมของผู้ผลิตในต่างประเทศ จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการผลิตตามความหมายของมาตรา 77 โจทก์จึงมิใช่ผู้ผลิตไม่ต้องเสียภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9772/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำใบกำกับภาษีซื้อของสำนักงานใหญ่ไปใช้คำนวณภาษีของสาขาไม่ถูกต้อง ศาลเห็นควรให้งดเบี้ยปรับ แต่ไม่มีอำนาจงดลดเงินเพิ่ม
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา83วรรคสี่,87และ86วรรคหนึ่งกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีสถานประกอบการหลายแห่งให้แยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการทั้งยังต้องการที่จะควบคุมและตรวจสอบได้โดยสะดวกจึงกำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำรายงานภาษีขายรายงานภาษีซื้อรายงานสินค้าและวัตถุดิบเฉพาะผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายสินค้าเป็นรายสถานประกอบการโดยต้องลงรายการในรายงานภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ได้มาหรือจำหน่ายออกไปซึ่งสินค้าเมื่อสถานประกอบการอยู่ต่างกันใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าจึงต้องแยกออกเป็นรายสถานประกอบการฉะนั้นใบกำกับภาษีสำหรับการซื้อสินค้าย่อมจะต้องแยกเป็นของแต่ละสถานประกอบการเช่นเดียวกันจะนำมาปะปนกันเพื่อใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหาได้ไม่เพราะจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อของแต่ละสถานประกอบการในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์เป็นผู้นำเข้าสินค้าตามใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มตามเอกสารหมายล.1แผ่นที่63,66,70,73,76,80,84,86ประกอบบัญชีราคาสินค้าเอกสารหมายล.1แผ่นที่64,67,71,74,77,81,83,87โดยใบขนสินค้าขาเข้าพร้อมแบบแสดงรายการภาษีสรรพาสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มระบุที่อยู่ของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์ไว้โดยชัดแจ้งดังนั้นใบเสร็จรับเงินที่กรมศุลกากรออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา83/10(1)ตามเอกสารหมายล.1แผ่นที่62,65,69,72,75,79,82และ85เนื่องจากการนำเข้าสินค้าดังกล่าวเป็นกำกับภาษีอันเป็นภาษีซื้อของสถานประกอบการแห่งใหญ่ของโจทก์ตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา86/14และมาตรา77/1(18)(ก)บัญญัติไว้แม้สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่และสถานประกอบการของโจทก์จะเป็นสถานประกอบการของนิติบุคคลเดียวกันแต่เมื่อมีการจดทะเบียนเป็นหลายสถานประกอบการแล้วย่อมแยกการซื้อขายการนำเข้าการส่งออกการให้บริการออกเป็นของแต่ละสถานประกอบการได้โจทก์จึงต้องนำไปคำนวณภาษีตามประมวลรัษฎากรมาตรา82/3และยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีณที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์ตั้งอยู่กับต้องนำไปลงรายการในรายงานภาษีซื้อของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ตามที่ประมวลรัษฎากรมาตรา87วรรคหนึ่งและวรรคสามบัญญัติไว้ฉะนั้นโจทก์จึงนำใบเสร็จรับเงินตามเอกสารหมายล.1แผ่นที่62,65,69,72,75,79,82และ85ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีอันเป็นภาษีซื้อของสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ไปใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาของโจทก์ไม่ได้เพราะเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวไว้แล้วเมื่อเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบจึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีหลักฐานแสดงว่าโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีของสถานประกอบการสาขาโดยแสดงจำนวนภาษีไม่ถูกต้องมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีซื้อของสถานประกอบการสาขาในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปเป็นเหตุให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียต่ำกว่าความเป็นจริงเจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ได้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา88(2)มาตรา89(3)และมาตรา89/1 การที่โจทก์นำใบเสร็จรับเงินที่กรมศุลกากรออกให้ในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากสถานประกอบการสำนักงานแห่งใหญ่ของโจทก์มาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสถานประกอบการสาขาของโจทก์นั้นเป็นเรื่องที่โจทก์เข้าใจข้อกฎหมายผิดไปว่าสามารถนำใบกำกับภาษีอันเป็นภาษีซื้อของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลเดียวกันไปใช้ในการคำนวณภาษีด้วยการหักจากภาษีขายได้จึงได้ปฏิบัติการยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีมีข้อผิดพลาดดังกล่าวโจทก์หาได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีหรือทำให้จำเลยได้รับชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากโจทก์น้อยไปจากวิธีการที่โจทก์จะปฏิบัติโดยถูกต้องทั้งสองสถานประกอบการแต่อย่างใดไม่กรณีจึงมีเหตุสมควรงดเบี้ยปรับแก่โจทก์ การที่โจทก์จะต้องชำระเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรมาตรา89/1นั้นเนื่องจากโจทก์ไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามบทบัญญัติในหมวด4ส่วน7มาตรา83วรรคสองจึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ1.5ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระโดยไม่รวมเบี้ยปรับโดยให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีจนถึงวันชำระภาษีแต่เงินเพิ่มที่คำนวณได้มิให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระเงินเพิ่มนี้แม้จะเป็นภาษีอากรประเมินแต่ประมวลรัษฎากรมาตรา89/1ก็มิได้บัญญัติให้งดหรือลดลงได้ดังเช่นที่ประมวลรัษฎากรมาตรา89วรรคท้ายบัญญัติให้อำนาจในการงดหรือลดเบี้ยปรับลงได้ไว้ศาลจึงไม่มีอำนาจงดหรือลดเงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรมาตรา89/1ได้..LONG