คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าพนักงานท้องถิ่น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3426/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้ออาคารผิดกฎหมาย: เจ้าพนักงานท้องถิ่นเท่านั้นที่ทำได้ ผู้เสียหายฟ้องบังคับไม่ได้
อำนาจในการสั่งให้รื้อถอนอาคารในกรณีที่มีผู้ต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นอำนาจหน้าที่โดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่จะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา40และ42แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ฐานะของผู้เสียหายตามมาตรา73แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมีเพียงสิทธิในการดำเนินคดีในทางอาญาต่อผู้กระทำความผิดเท่านั้นผู้เสียหายดังกล่าวหามีอำนาจที่จะฟ้องบังคับจำเลยเพื่อให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมผิดกฎหมายอันเป็นอำนาจหน้าที่ในทางแพ่งโดยเฉพาะของเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งรื้ออาคารต้องเป็นไปตามกฎหมายควบคุมอาคาร หากไม่ผิดกฎหมายหรือแก้ไขได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจสั่งรื้อ
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มีทั้งบทบัญญัติที่เป็นส่วนแพ่งและส่วนอาญา โดยมีบทบัญญัติให้ลงโทษทางอาญาแก่ผู้ฝ่าฝืนในบางกรณีด้วย แต่โจทก์หาได้ฟ้องขอให้ลงโทษทางอาญาไม่ คงฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคาร ซึ่งเป็นบทบัญญัติในส่วนแพ่งเท่านั้นโจทก์จึงฟ้องและดำเนินคดีที่ศาลแพ่งได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้รื้อถอนอาคารได้ก็เฉพาะแต่ในกรณีที่มีการก่อสร้าง หรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและการก่อสร้างหรือต่อเติมนั้นผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นซึ่งระบุไว้ใน พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 42เท่านั้น ทั้งต้องเป็นกรณีที่การก่อสร้าง หรือต่อเติมนั้นไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นด้วย หากการก่อสร้างหรือต่อเติมนั้นไม่ผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือผิดแต่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เจ้าพนักงานจะมีคำสั่งให้รื้อถอนอาคารหาได้ไม่ เมื่อการก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารของจำเลยไม่ผิดกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น โจทก์ก็ไม่อาจสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารได้ กรณีของจำเลยต้องด้วยพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 43 ที่อาจยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องได้ แม้จำเลยจะเคยยื่นคำขออนุญาตต่อเติมอาคารชั้นที่ 5และไม่ได้รับอนุญาต เพราะโจทก์อ้างว่าความสูงของอาคารไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะอนุญาตให้ได้เมื่อจำเลยมิได้ก่อสร้างต่อเติมฝ่าฝืนกฎหมายจำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อเติมอาคารให้โจทก์พิจารณาในเหตุอื่นได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขาดความปลอดภัย กฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งรื้อถอนได้ แม้มีข้อบกพร่องในคำสั่ง
จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างต่อเติมอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตและการต่อเติมนั้นเป็นเหตุให้ขาดประโยชน์แห่งการป้องกันอัคคีภัย และการผังเมืองไม่ต้องด้วยวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แม้อาคารพิพาทจะมีความมั่นคงแข็งแรงก็ถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่จะต้องรื้อถอน หัวหน้าเขตมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างปกคลุมทางเดิน และต่อมาได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยระงับกับการก่อสร้าง ปรากฏว่าจำเลยมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตดังกล่าวภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารที่ปิดทางเดินด้านหลังและที่ต่อเชื่อมอาคารด้านข้างโดยไม่ได้รับอนุญาต และยังได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างปกคลุมทางเดินอีกครั้งหนึ่ง จำเลยได้รับคำสั่งแล้วแต่จำเลยก็มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตครั้งหลังนี้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเช่นเดียวกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตได้การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นเกินสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 52 โจทก์จึงไม่จำต้องรอฟังคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน
แม้คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทจะกำหนดให้จำเลยรื้อถอนอาคารน้อยกว่าสามสิบวัน อันเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 42 วรรคแรก แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายหลังที่จำเลยได้รับคำสั่งดังกล่าวนานถึง 2 ปีเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ส่วนที่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า 30 วัน ก็ไม่ทำให้อำนาจทั้งตามมาตรา 11 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 และตามมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการที่จะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงหรือต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องหมดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและขัดต่อกฎหมายผังเมือง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้
จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างต่อเติมอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตและการต่อเติมนั้นเป็นเหตุให้ขาดประโยชน์แห่งการป้องกันอัคคีภัยและการผังเมืองไม่ต้องด้วยวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522แม้อาคารพิพาทจะมีความมั่นคงแข็งแรงก็ถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่จะต้องรื้อถอนหัวหน้าเขตมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างปกคลุมทางเดินและต่อมาได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยระงับกับการก่อสร้างปรากฏว่าจำเลยมิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตดังกล่าวภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดแม้ต่อมาหัวหน้าเขตจะมีคำสั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างอาคารที่ปิดทางเดินด้านหลังและที่ต่อเชื่อมอาคารด้านข้างโดยไม่ได้รับอนุญาตและยังได้มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างปกคลุมทางเดินอีกครั้งหนึ่งจำเลยได้รับคำสั่งแล้วแต่จำเลยก็มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตครั้งหลังนี้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดเช่นเดียวกันโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตได้การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของหัวหน้าเขตในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นเกินสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา52โจทก์จึงไม่จำต้องรอฟังคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก่อน. แม้คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทจะกำหนดให้จำเลยรื้อถอนอาคารน้อยกว่าสามสิบวันอันเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา42วรรคแรกแต่โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายหลังที่จำเลยได้รับคำสั่งดังกล่าวนานถึง2ปีเศษโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องส่วนที่คำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทออกภายหลังคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเกินกว่า30วันก็ไม่ทำให้อำนาจทั้งตามมาตรา11ทวิแห่งพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารพุทธศักราช2479และตามมาตรา42แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นในการที่จะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่ดัดแปลงหรือต่อเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องหมดไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานเลือกตั้งในการจัดการสิ่งพิมพ์โฆษณาหาเสียงนอกสถานที่ลงคะแนน และความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
สิ่งพิมพ์ตามกฎหมายว่าด้วยการพิมพ์ แผ่นประกาศ หรือสิ่งอื่นใดซึ่งใช้ในการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง แม้จะเป็นคุณหรือโทษแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือพรรคการเมืองใดก็ตาม หากมิได้มีอยู่ภายในที่เลือกตั้งซึ่งเป็นสถานที่ที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนเลือกตั้งรวมถึงบริเวณที่กำหนดขึ้นโดยรอบที่เลือกตั้ง เจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งก็ไม่มีอำนาจทำลาย ปกปิด หรือนำออกไปตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 เมื่อคำฟ้องของโจทก์อ้างว่าแท็งก์น้ำของทางราชการซึ่งระบุชื่อ ป. และ ส.ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นตั้งอยู่ทั่วไปภายในเขตเลือกตั้ง มิใช่อยู่ภายในที่เลือกตั้ง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์
การโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 10 วรรคสอง ผู้ที่มีหน้าที่ทำลาย ปกปิด ลบ หรือล้างข้อความ ภาพ หรือรูปรอยดังกล่าวคือเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2503 มาตรา 3 ซึ่งให้นิยามไว้ว่า ในเขตเทศบาลหมายความว่านายกเทศมนตรีในเขตสุขาภิบาลหมายความว่าประธานกรรมการสุขาภิบาล และในท้องที่นอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลหมายความว่านายอำเภอ จำเลยไม่ใช่นายกเทศมนตรี ประธานกรรมการสุขาภิบาล หรือนายอำเภอ ย่อมไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการอย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานเลือกตั้งในการจัดการสิ่งพิมพ์หาเสียงนอกที่เลือกตั้ง และขอบเขตความรับผิดชอบของเจ้าพนักงานท้องถิ่น
สิ่งพิมพ์ตามกฎหมายว่าด้วยการพิมพ์ แผ่นประกาศ หรือสิ่งอื่นใดซึ่งใช้ในการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งแม้จะเป็นคุณหรือโทษแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือพรรคการเมืองใดก็ตามหากมิได้มีอยู่ภายในที่เลือกตั้งซึ่งเป็นสถานที่ที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนเลือกตั้งรวมถึงบริเวณที่กำหนดขึ้นโดยรอบที่เลือกตั้งเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งก็ไม่มีอำนาจทำลาย ปกปิด หรือนำออกไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522เมื่อคำฟ้องของโจทก์อ้างว่าแท็งก์น้ำของทางราชการซึ่งระบุชื่อ ป. และส.ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นตั้งอยู่ทั่วไปภายในเขตเลือกตั้ง มิใช่อยู่ภายในที่เลือกตั้ง จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2522 มาตรา 10 วรรคสองผู้ที่มีหน้าที่ทำลายปกปิด ลบ หรือล้างข้อความ ภาพหรือรูปรอยดังกล่าวคือเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2503มาตรา 3 ซึ่งให้นิยามไว้ว่าในเขตเทศบาลหมายความว่านายกเทศมนตรีในเขตสุขาภิบาลหมายความว่าประธานกรรมการสุขาภิบาลและในท้องที่นอกเขตเทศบาลหรือสุขาภิบาลหมายความว่านายอำเภอจำเลยไม่ใช่นายกเทศมนตรี ประธานกรรมการสุขาภิบาล หรือนายอำเภอย่อมไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการอย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นในการอนุญาตก่อสร้าง และการฟ้องคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 มาตรา 4 จำเลยที่1มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมาตรา 8 ให้นายอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งสุขาภิบาลนั้นตั้งอยู่เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4ให้คำนิยาม "เจ้าพนักงานท้องถิ่น"' หมายความว่า ฯลฯ (2) ประธานกรรมการสุขาภิบาล สำหรับในเขตสุขาภิบาลเมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แล้วจะเห็นได้ว่าไม่มีบทบัญญัติให้สุขาภิบาล ซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องควบคุมการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้ายและใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารแต่อย่างใดเลย การออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคารหรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 21, 22, 23 และมาตรา 24 นั้นเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่อนุญาตหรือไม่อนุญาตดังนั้น การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น คือประธานกรรมการสุขาภิบาลได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทจึงเห็นได้ว่าคำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1จึงมิใช่ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1
เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้าง อาคาร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกอาคารดังกล่าวดังนี้ หากโจทก์ไม่เสนอคดีต่อศาลภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเห็นได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งโดยคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นมูลฐาน ทั้งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522ก็ไม่มีบทบัญญัติว่ากรณีเช่นนี้ผู้ขอใบอนุญาตจะต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย ฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 779/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการฟ้องคดีที่ถูกต้อง การฟ้องจำเลยที่ 1 (สุขาภิบาล) และจำเลยที่ 2 (เจ้าพนักงานท้องถิ่น)
ตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 มาตรา 4 จำเลยที่1 มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมาตรา 8 ให้นายอำเภอแห่งท้องที่ซึ่งสุขาภิบาลนั้นตั้งอยู่เป็นประธานกรรมการสุขาภิบาลโดยตำแหน่ง และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 4ให้คำนิยาม "เจ้าพนักงานท้องถิ่น"' หมายความว่า ฯลฯ (2)ประธานกรรมการสุขาภิบาล สำหรับในเขตสุขาภิบาล เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 แล้วจะเห็นได้ว่าไม่มีบทบัญญัติให้สุขาภิบาล ซึ่งเป็นนิติบุคคลเข้าไปเกี่ยวข้องควบคุมการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารแต่อย่างใดเลย การออกคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใดก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร รื้อถอนอาคารหรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 21,22,23 และมาตรา 24 นั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่อนุญาตหรือไม่อนุญาต ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น คือประธานกรรมการสุขาภิบาลได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาท จึงเห็นได้ว่าคำสั่งดังกล่าวมิใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่1 เจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้มีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้าง อาคาร และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกอาคารดังกล่าวดังนี้ หากโจทก์ไม่เสนอคดีต่อศาลภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็มีอำนาจที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมเห็นได้ว่าสิทธิของโจทก์ถูกโต้แย้งโดยคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นมูลฐาน ทั้งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ก็ไม่มีบทบัญญัติว่ากรณีเช่นนี้ผู้ขอใบอนุญาตจะต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย ฉะนั้นการที่โจทก์ฟ้อง จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงก็เป็นการเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่สมบูรณ์เมื่อไม่ระบุวันฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ทำให้ไม่สามารถลงโทษปรับรายวันได้
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มีบทลงโทษให้ปรับเป็นรายวัน โจทก์บรรยายฟ้องว่าเมื่อระหว่างวันที่ 1 ถึง 18 กันยายน 2524 จำเลยซึ่งได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการก่อสร้าง จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งโดยไม่ระงับการก่อสร้างภายในระยะเวลาดังกล่าว ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าจำเลยทราบคำสั่งวันใด และฝ่าฝืนคำสั่งวันใด จำเลยอาจทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 18 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลาที่โจทก์กล่าวหาก็ได้ เมื่อโจทก์ไม่บรรยายว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นวันใด แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ก็ไม่มีทางลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คำฟ้องของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2738/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่ชัดเจนเรื่องวันทราบและฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น ทำให้ศาลลงโทษปรับรายวันไม่ได้
ความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีบทลงโทษให้ปรับเป็นรายวันตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 67, 69, และ 70 โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานนี้ว่า เมื่อระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่18 กันยายน 2524 จำเลยซึ่งได้รับคำสั่งจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแจ้งให้จำเลยระงับการก่อสร้างและจำเลยได้รับทราบคำสั่งดังกล่าวแล้วจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งโดยไม่ระงับการก่อสร้างภายในระยะเวลาดังกล่าว ดังนี้คำฟ้องของโจทก์ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าจำเลยทราบคำสั่งวันใด และฝ่าฝืนคำสั่งวันใด การที่โจทก์กล่าวรวมกันมาทั้งวันทราบคำสั่งและวันฝ่าฝืนคำสั่งว่าอยู่ในระยะเวลาเดียวกันเช่นนี้ จำเลยอาจทราบคำสั่งในวันสุดท้ายของระยะเวลาที่โจทก์กล่าวหาจำเลยก็ได้ เมื่อโจทก์ไม่บรรยายในคำฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นวันใดแม้จำเลยจะให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่มีทางลงโทษปรับจำเลยเป็นรายวันตลอดเวลาที่ฝ่าฝืนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5)
of 6