คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าพนักงานบังคับคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9156/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ระหว่างกองทรัพย์สินลูกหนี้กับทายาทผู้รับมรดก และกรอบเวลาการคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี
จำเลยที่2และที่3ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับผู้ร้องโดยมีก. ทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและจำเลยที่2ที่3และก. ได้จำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเลยที่2ที่3และก.ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันเป็นประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีด้วยกรณีนี้จำเลยที่2ที่3และก. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์ที่จำนองได้ร่วมกันเอาทรัพย์สินจำนองไว้แก่ผู้ร้องเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่2และที่3โดยจำเลยที่2และที่3เป็นลูกหนี้ชั้นต้นส่วนก. เป็นเพียงลูกหนี้ชั้นที่สองตามสัญญาค้ำประกันและจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์เท่านั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา724มิได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ก. ซึ่งเป็นผู้จำนองได้และแม้ว่าก. จะทำสัญญาค้ำประกันโดยยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่2และที่3อย่างลูกหนี้ร่วมก็มีความหมายเพียงว่าก. ยอมเข้ารับผิดร่วมกับจำเลยที่2และที่3หาได้หมายความว่าก. จะมีฐานะกลายเป็นลูกหนี้ชั้นต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่2และที่3ไปด้วยไม่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา693หาได้ให้สิทธิแก่จำเลยที่2และที่3ที่จะไล่เบี้ยเอาจากก. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่ก. และจำเลยที่2และที่3ต่างไม่ได้เป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้ต่อกันอันจะทำให้มีการหักกลบลบหนี้กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา341ดังนั้นเมื่อผู้คัดค้านได้นำเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่วนของจำเลยที่2และที่3ในคดีนี้ชำระหนี้จำนวน9,429,863บาทให้แก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันก่อนเจ้าหนี้อื่นแล้วผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิที่จะนำเงินจำนวน3,143,287.66บาทไปขอหักกลบลบหนี้กับเงินส่วนของก.ที่จะได้รับจากการขายทอดตลาดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6328/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเฉลี่ยทรัพย์จากสัญญาประนีประนอมยอมความ: เงินเดือนที่หักตามสัญญาไม่ใช่เงินที่ถูกอายัดโดยเจ้าพนักงานบังคับคดี
เงินที่ผู้ร้องร้องขอเฉลี่ยเป็นเงินที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อหน้าศาล โดยจำเลยยอมให้การรถไฟแห่งประเทศไทยมอบหรือหักเงินเดือนของจำเลยทุกเดือนชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนกว่าจะครบ เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่การรถไฟแห่งประเทศไทยส่งไปยังศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่เงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินเดือนของจำเลยไว้แทนเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์รายนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3681/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดที่ส่อเจตนาสมรู้ราคา เจ้าพนักงานบังคับคดีและผู้ประมูล
การที่ ฉ. เจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดปรึกษากับ ป.ผู้อำนวยการกองบังคับคดีแพ่งแล้วได้เรียก พ. ผู้เข้าสู้ราคาเข้าไปคุยแม้ ม. ผู้รับมอบอำนาจจำเลยทั้งสองให้มาดูแลการขายทอดตลาดไม่ได้ยินการคุยกันต่อจากนั้น ฉ. ประกาศถาม พ.อีกว่าจะให้ราคาสูงกว่า38,000,000บาทหรือไม่ พ. ได้ยืนขึ้นเสนอให้ราคาเป็น40,000,000บาทการกระทำของ ฉ. และ พ.ดังกล่าวส่อเจตนาว่า ฉ. ได้เรียก พ. ไปแนะนำให้เสนอราคาเพิ่มให้สูงกว่าราคาที่ผู้คัดค้านประเมินไว้เพื่อที่ ป. จะอนุมัติให้ ฉ. ขายให้แก่ พ. นั่นเองการที่ พ. เสนอราคาเพิ่มเป็น40,000,000บาทแล้ว ป. อนุมัติให้ขายได้เช่นนี้ส่อพิรุธเป็นข้อสงสัยได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดโดยสมรู้ราคากับพ. ผู้เข้าสู้ราคาซึ่งเป็นผู้ซื้อได้การขายทอดตลาดทรัพย์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องพิสูจน์เจ้าพนักงานบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมายและเกิดความเสียหาย, ผู้ซื้อมีส่วนได้เสีย
จำเลยที่1ที่2อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นแต่ศาลอุทธรณ์ภาค1คงพิจารณาและพิพากษาเฉพาะอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่1เท่านั้นการพิจารณาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค1จึงไม่ชอบแต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้วเพื่อให้ขบวนการยุติธรรมดำเนินไปโดยรวดเร็วศาลฎีกาเห็นสมควรพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค1วินิจฉัยอีกได้ การที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้จะต้องเป็นกรณีต้องด้วยมาตรา296วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกล่าวคือเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและเกิดการเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นๆที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีบุคคลดังกล่าวจึงจะมีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีเสร็จลงขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนได้ดังนั้นตามคำร้องของจำเลยที่1ที่อ้างว่าผู้เข้าสู้ราคาเป็นผู้มีส่วนได้เสียและรู้เห็นเป็นใจต่อกันทำให้ทรัพย์สินของจำเลยได้ราคาต่ำนั้นหากจะเป็นความจริงก็มิใช่เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่อาจยกเหตุที่จำเลยที่1อ้างมาเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดและศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขายแล้วหากจำเลยที่2เห็นว่าการขายทอดตลาดเป็นไปโดยมิชอบจำเลยที่2จะต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองก่อนจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาได้ดังนั้นเมื่อจำเลยที่2มิได้ยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดต่อศาลชั้นต้นจำเลยที่2จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินจากบุคคลภายนอก & ความรับผิดของผู้จ่ายเงิน
คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดให้ชำระเงินจำนวนหนึ่งนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้โดยตรง โดยไม่จำต้องบังคับคดีตามวิธีการที่กำหนดไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 282 เรียงตามลำดับ และไม่ต้องมีการยึดทรัพย์ก่อนที่จะอายัดทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 310 เมื่อผู้ร้องได้รับหนังสือแจ้งการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วไม่ปฏิบัติตาม กลับจ่ายเงินตามที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้องให้จำเลยไปทำให้โจทก์เสียหายจะถือว่าผู้ร้องชำระหนี้ให้จำเลยโดยสุจริตไม่ได้ผู้ร้องจึงต้องรับผิดส่งเงินตามหนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายัดเงินจากบุคคลภายนอก เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจแม้ยังมิได้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้
เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดถึงผู้ร้องให้ส่งเงินที่จำเลยมีสิทธิได้รับจากผู้ร้อง ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านว่าหนังสืออายัดดังกล่าวมิใช่คำสั่งศาล การอายัดต้องกระทำโดยคำสั่งศาลเท่านั้นและการอายัดจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อได้มีการยึดทรัพย์สินของจำเลยแล้วคดีจึงมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจออกหนังสืออายัดไปยังผู้ร้องหรือไม่ และการอายัดจะต้องมีการยึดทรัพย์สินของจำเลยก่อนหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าหนังสืออายัดไม่มีข้อห้ามผู้ร้องไม่ให้ชำระเงินแก่จำเลย ทั้งไม่ได้กำหนดเวลาให้ผู้ร้องส่งมอบเงินที่อายัดแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ใช่คำสั่งอายัดตามกฎหมายที่ผู้ร้องจะต้องปฏิบัติตาม อันเป็นประเด็นที่ผู้ร้องมิได้โต้แย้งคัดค้าน จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จัดการยึดอายัดทรัพย์สินของจำเลย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสืออายัดเงินที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้อง จึงเป็นการดำเนินการตามคำสั่งยึดอายัดของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีอำนาจกระทำได้ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 282 คดีที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดให้ชำระเงินจำนวนหนึ่งนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจอายัดเงินที่บุคคลภายนอกจะต้องชำระให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้โดยตรง โดยไม่จำต้องบังคับคดีตามวิธีการที่กำหนดไว้ในมาตราดังกล่าวเรียงตามลำดับ ส่วนมาตรา 310ที่บัญญัติว่า "เมื่อได้มีการยึดทรัพย์แล้ว สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้อันมีต่อบุคคลภายนอกนั้น ให้จัดการดังต่อไปนี้ ฯลฯ" นั้นเป็นการบัญญัติวิธีการยึดทรัพย์ก่อนวิธีการอายัดทรัพย์ อันเป็นบทมาตราที่เรียงต่อกันมาเท่านั้น มิได้หมายความจำกัดว่า จะต้องทำการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาก่อนแล้วจึงจะอายัดสิทธิเรียกร้องได้ การที่ผู้ร้องไม่ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีและจ่ายเงินตามที่จำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้ร้องให้จำเลยรับไปทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จะถือว่าผู้ร้องชำระหนี้ให้จำเลยโดยสุจริตมิได้ ผู้ร้องต้องรับผิดส่งเงินตามหนังสืออายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5086/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี: ต้องยื่นคำขอภายใน 8 วันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนหลังรับเงินแล้วถือขาดสิทธิ
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่แก้ไขบัญชีแสดงหนี้คงเหลือตามคำขอของโจทก์ซึ่งได้ยื่นไว้ก่อนหน้านั้น เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งลักษณะ2 ภาค 4 ของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งโจทก์ชอบที่จะทำได้โดยยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนการบังคับคดีเสร็จลงแต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อโจทก์ทราบและรับเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายตามบัญชีแสดงหนี้คงเหลือไปแล้ว โดยมิได้ยื่นคำขอภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โจทก์เพิ่งมาแถลงคัดค้านบัญชีดังกล่าวและยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่แก้ไขบัญชีแสดงหนี้คงเหลือภายหลังจึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องอ้างเหตุเจ้าพนักงานบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่ใช่แค่การสู้ราคาไม่สุจริต
กรณีที่ศาลจะสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ได้นั้นจะต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และเกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือบุคคลอื่นที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดี บุคคลดังกล่าวมีสิทธิยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีเสร็จลง ขอให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนได้แต่คำร้องของจำเลยทั้งสองมิได้กล่าวอ้างเลยว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว เพียงแต่กล่าวอ้างว่าโจทก์กับบุคคลภายนอกร่วมกันเข้าสู้ราคาโดยไม่สุจริต สมคบกันกดราคาซื้อ ซึ่งมิได้เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดี จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3788/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดต้องอ้างการกระทำผิดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ใช่พฤติกรรมของผู้ประมูล
ตามคำร้องของจำเลย มีความประสงค์ขอให้ยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีคือการขายทอดตลาดที่ได้ขายไปแล้ว โดยอ้างว่าโจทก์กับพวกร่วมกันเข้าสู้ราคาโดยไม่สุจริตและสมรู้กันลดราคา ซึ่งเท่ากับประสงค์ให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด จึงเป็นกรณีที่ต้องด้วย มาตรา 296 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแต่ตามคำร้องของจำเลยมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแต่ประการใด เพียงแต่กล่าวอ้างว่าโจทก์กับ ก. ซึ่งเดิมเป็นลูกจ้างโจทก์และ ส. บุตรชายของทนายความโจทก์ร่วมกันเข้าสู้ราคาโดยไม่สุจริต สมคบกันกดราคาซื้อ เพราะบุคคลเหล่านี้เป็นพวกเดียวกันมีความผูกพันเกี่ยวเนื่องต่อกัน ซึ่งมิได้เป็นการกระทำของเจ้าพนักงานบังคับคดี จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีในการบังคับคดีจากผู้สู้ราคาที่ไม่วางเงินมัดจำ ต้องอาศัยคำพิพากษา
แม้ ส. ผู้สู้ราคาเดิมจะต้องรับผิดในราคาส่วนที่ขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 516 ซึ่งเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีได้แจ้งให้ ส. นำเงินจำนวนดังกล่าวไปชำระแล้วแต่ ส. เพิกเฉยก็ถือว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55หาใช่เป็นการโต้แย้งสิทธิหรืออำนาจของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่เพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นแต่เพียงเจ้าพนักงานของศาลในการที่จะบังคับคดีเท่านั้น ไม่มีอำนาจหน้าที่ที่จะเข้าเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นคู่ความ และจะร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ได้ก็ต่อเมื่อมีคำพิพากษาของศาลให้ ส. ตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์เสียก่อน เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่มีอำนาจขอให้ออกหมายบังคับคดียึดอายัดทรัพย์สินของ ส.โดยไม่ต้องฟ้องส. เป็นคดีใหม่
of 17