คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 359 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6441/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยล้มละลาย ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ อำนาจอยู่ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่ศาลจะมีคำสั่งตามคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยย่อมมีผลทำให้ศาลต้องหยิบยกปัญหาในเรื่องหนี้ของจำเลยขึ้นพิจารณาใหม่ จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับทรัพย์ของจำเลย เมื่อจำเลยเป็นบุคคลล้มละลายอำนาจในการต่อสู้คดีย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวแม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมาแถลงต่อศาลว่าไม่ติดใจคัดค้านคำขอพิจารณาใหม่ ก็ไม่ทำให้อำนาจในการต่อสู้คดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป จำเลยไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่ด้วยตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอและศาลชั้นต้นพิจารณาคดีนี้ บริษัท ส. จะถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของบริษัท ส. โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นการใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โดยผู้ร้องมิได้กล่าวหาว่ามีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของผู้ร้องอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติบังคับให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ส. การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่ประกาศคำร้องขอในหน้าหนังสือพิมพ์ กับส่งหมายและสำเนาคำร้องขอแก่บริษัท ส. กับบริษัท ง. ผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวก่อนการไต่สวน จึงมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ทั้งการที่ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ก็หาได้เสียสิทธิไม่ เพราะผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอก หากคำสั่งศาลชั้นต้นทำให้สิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายของบริษัท ส. ถูกโต้แย้ง ก็ชอบที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการจัดกิจการทรัพย์สินของบริษัท ส. ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 จะฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบริษัท ส. เป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งต่างหากเพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส. มีสิทธิในที่ดินโฉนดดังกล่าวดีกว่าผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) หรือหากการดำเนินการในชั้นบังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีนี้มีผลกระทบต่อสิทธิของบริษัท ซึ่งเป็นบุคคลผู้มีชื่อโฉนดถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว บริษัท ส. ก็อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำสั่งนั้น ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับคดีตามคำสั่งนั้น เพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส. มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวดีกว่าผู้ร้อง โดยไม่จำต้องไปฟ้องผู้ร้องเป็นคดีใหม่ก็ได้ ดังนั้นผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีนี้ของศาลชั้นต้นที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยชอบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในคดีล้มละลาย: สิทธิของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และการเพิกถอนกระบวนพิจารณา
แม้ขณะผู้ร้องยื่นคำร้องขอ บริษัท ส. จะถูกศาลแพ่งมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลชั้นต้นขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของบริษัท ส. โดยการครอบครองปรปักษ์ เป็นการใช้สิทธิทางศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โดยผู้ร้องมิได้กล่าวหาว่ามีบุคคลใดโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้ร้อง จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของผู้ร้องอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 188ซึ่งมิได้มีบทบัญญัติบังคับให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ส. การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่ประกาศคำร้องขอในหน้าหนังสือพิมพ์ กับส่งหมายและสำเนาคำร้องขอแก่บริษัท ส.กับบริษัท ค. ผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวก่อนการไต่สวน จึงมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบทั้งการที่ผู้คัดค้านไม่ได้ร้องคัดค้านเข้ามาในคดีก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ก็หาได้เสียสิทธิไม่ เพราะผู้คัดค้านเป็นบุคคลภายนอก หากคำสั่งศาลชั้นต้นทำให้สิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายของบริษัท ส. ถูกโต้แย้ง ก็ชอบที่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในการจัดกิจการทรัพย์สินของบริษัท ส. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 จะฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของบริษัท ส. เพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส.มีสิทธิในที่ดินโฉนดดังกล่าวดีกว่าผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) หรือหากการดำเนินการในชั้นบังคับคดีตามคำสั่งศาลชั้นต้นในคดีนี้มีผลกระทบต่อสิทธิของบริษัทซึ่งเป็นบุคคลผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินดังกล่าว บริษัท ส. ก็อยู่ในฐานะผู้ถูกโต้แย้งสิทธิและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีตามคำสั่งนั้น ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิร้องขอเข้ามาในชั้นบังคับคดีเพื่อพิสูจน์ว่าบริษัท ส.มีสิทธิในที่ดินดังกล่าวดีกว่าผู้ร้อง โดยไม่จำต้องไปฟ้องผู้ร้องเป็นคดีใหม่ ผู้คัดค้านจึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ได้ดำเนินมาแล้วโดยชอบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2567/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผลของการฟ้องล้มละลายต่ออายุความค้ำประกัน
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 22(3) ที่ว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ หมายถึง คดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ลูกหนี้มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือถูกฟ้องร้องย่อมไม่อยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าดำเนินการ จำเลยทำสัญญาค้ำประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อโจทก์ แม้ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เด็ดขาดและโจทก์ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน เพราะจำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. แต่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลย
แม้จำเลยจะทำสัญญาค้ำประกันไว้ต่อโจทก์เมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลากว่า 10 ปี แต่เมื่อขณะทำสัญญาค้ำประกันโจทก์ยังไม่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ โจทก์ฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. เป็นคดีล้มละลายเท่ากับเป็นการฟ้องคดีเพื่อให้ชำระหนี้อย่างหนึ่งตามวิธีการที่ พระราชบัญญัติล้มละลายฯ บัญญัติไว้โดยเฉพาะ มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) เป็นโทษแก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฤ. และย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย ตามมาตรา 692 และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในภายหลัง ก็ยังไม่พ้นกำหนดอายุความ 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้สินและการสะดุดหยุดของอายุความจากการดำเนินการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแจ้งให้ผู้ร้องทราบว่าผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ แต่ผู้ร้องปฏิเสธหนี้ ผู้คัดค้านสอบสวนแล้วมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องจากบัญชีลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ยื่นคำร้องว่าตนได้รับความเสียหายจากคำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าว ขอให้ศาลมีคำสั่งกลับความเห็นของผู้คัดค้านตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา146 ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้าน ศาลชั้นต้นเห็นว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้ลูกหนี้อยู่ คำสั่งนี้เป็นคำสั่งที่วินิจฉัยว่าคำสั่งของผู้คัดค้านไม่ถูกต้อง มีผลเท่ากับผู้คัดค้านมีความเห็นว่าผู้ร้องเป็นหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง ผู้คัดค้านจึงต้องปฏิบัติตามโดยต้องแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องทราบ และต้องแจ้งไปด้วยว่าถ้าจะคัดค้านให้ร้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วัน เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องคัดค้านตามมาตรา 119 วรรคสาม ผู้ร้องย่อมสามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบว่ามิได้เป็นหนี้ได้อีกทั้งในการพิจารณาคดีที่ขอให้แก้คำสั่งของผู้คัดค้านนี้ ผู้ร้องไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความคำสั่งของศาลชั้นต้นในครั้งแรกดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องให้ต้องปฏิบัติตาม
ผู้ร้องรับเงิน 38,000,000 บาท ไปจากลูกหนี้ เพื่อดำเนินการซื้อที่ดินให้แก่โครงการพัฒนาที่ดินและก่อสร้างบ้านพัก แต่ต่อมาภายหลังไม่ได้มีการดำเนินการตามโครงการนี้ ผู้ร้องจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้ลูกหนี้ และในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 ผู้ร้องนำเช็คลงวันที่ 15 มีนาคม 2528 และวันที่ 16 เมษายน 2528ของลูกหนี้ไปเรียกเก็บเงินได้แล้ว อายุความที่ลูกหนี้จะเรียกเงินคืนเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป อายุความ 10 ปี จึงครบกำหนดวันที่ 15 มีนาคม 2538 และวันที่ 16 เมษายน 2538 ตามลำดับ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระเงินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ซึ่งผู้คัดค้านมีอำนาจกระทำได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) แล้ว มิใช่ว่าต้องรอให้มีการออกหนังสือยืนยันหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง เสียก่อนเมื่อผู้คัดค้านมีหนังสือทวงถามให้ผู้ร้องชำระเงินและผู้ร้องได้รับแล้วยังไม่เกิน10 ปี คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคยมีความเห็นว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นหนี้และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแล้ว แต่คำสั่งของผู้คัดค้านยังไม่ถึงที่สุดเนื่องจากเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งแก้ไขคำสั่งของผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้อยู่อันมีผลให้ผู้คัดค้านต้องมีหนังสือแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง อายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงจะนำ ป.พ.พ.มาตรา 193/17 และ 193/18 มาใช้โดยถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีลูกหนี้-เจ้าหนี้ การแจ้งหนี้โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผลของการแก้ไขคำสั่งศาล
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านแจ้งให้ผู้ร้องทราบว่าผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้แต่ผู้ร้องปฏิเสธหนี้ ผู้คัดค้านสอบสวนแล้วมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อผู้ร้องจากบัญชีลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง การที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ยื่นคำร้องว่าตนได้รับความเสียหายจากคำสั่งของผู้คัดค้านดังกล่าวขอให้ศาลมีคำสั่งกลับความเห็นของผู้คัดค้านตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 146 ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้าน ศาลชั้นต้นเห็นว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้ลูกหนี้อยู่ คำสั่งนี้เป็นคำสั่งที่วินิจฉัยว่าคำสั่งของผู้คัดค้านไม่ถูกต้องมีผลเท่ากับผู้คัดค้านมีความเห็นว่าผู้ร้องเป็นหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง ผู้คัดค้านจึงต้องปฏิบัติตามโดยต้องแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องทราบ และต้องแจ้งไปด้วยว่า ถ้าจะคัดค้านให้ร้องคัดค้านต่อศาลภายใน 14 วัน เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องคัดค้านตามมาตรา 119 วรรคสาม ผู้ร้องย่อมสามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบว่ามิได้เป็นหนี้ได้อีกทั้งในการพิจารณาคดีที่ขอให้แก้คำสั่งของผู้คัดค้านนี้ ผู้ร้องไม่ได้เข้ามาเป็นคู่ความคำสั่งของศาลชั้นต้นในครั้งแรกดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องให้ต้องปฏิบัติตาม
ผู้ร้องรับเงิน 38,000,000 บาท ไปจากลูกหนี้ เพื่อดำเนินการซื้อที่ดินให้แก่โครงการพัฒนาที่ดินและก่อสร้างบ้านพัก แต่ต่อมาภายหลังไม่ได้มีการดำเนินการตามโครงการนี้ ผู้ร้องจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้ลูกหนี้และในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 ผู้ร้องนำเช็ค ลงวันที่ 15มีนาคม 2528 และวันที่ 16 เมษายน 2528 ของลูกหนี้ไปเรียกเก็บเงินได้แล้วอายุความที่ลูกหนี้จะเรียกเงินคืนเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป อายุความ 10 ปีจึงครบกำหนดวันที่ 15 มีนาคม 2538 และวันที่ 16 เมษายน 2538 ตามลำดับ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งความเป็นหนังสือไปยังผู้ร้องให้ชำระเงินคืนแก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคหนึ่ง เป็นการบังคับตามสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ซึ่งผู้คัดค้านมีอำนาจกระทำได้โดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าเป็นการกระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(5) แล้ว มิใช่ว่าต้องรอให้มีการออกหนังสือยืนยันหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง เสียก่อน เมื่อผู้คัดค้านมีหนังสือทวงถามให้ผู้ร้องชำระเงินและผู้ร้องได้รับแล้วยังไม่เกิน 10 ปี คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
ผู้คัดค้านในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เคยมีความเห็นว่า ผู้ร้องไม่ได้เป็นหนี้และมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีแล้ว แต่คำสั่งของผู้คัดค้านยังไม่ถึงที่สุด เนื่องจากเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวของผู้คัดค้านและศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งแก้ไขคำสั่งของผู้คัดค้านโดยวินิจฉัยว่าผู้ร้องยังคงเป็นหนี้อยู่อันมีผลให้ผู้คัดค้านต้องมีหนังสือแจ้งจำนวนหนี้ยืนยันให้ผู้ร้องชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง อายุความจึงยังคงสะดุดหยุดลงจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/17และ 193/18 มาใช้โดยถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 948/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อจำเลยล้มละลาย: สิทธิในการฎีกา
คดีนี้มีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทว่าเป็นของโจทก์หรือไม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและให้ขับไล่จำเลยทั้งสองออกไปจากที่ดินและอาคารพิพาท จำเลยยื่นฎีกาว่า โจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาท จึงเป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยตรง เมื่อศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาจำเลย โดยวินิจฉัยว่า จำเลยถูกฟ้องล้มละลายและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดไปก่อนจำเลยยื่นฎีกาคดีนี้ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 22 ฎีกาของจำเลยเป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยจำเลยจึงไม่อาจยื่นฎีกาได้ คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวย่อมถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 147 และจำเลยย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกายกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ในชั้นศาลฎีกาได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายล้มละลายเดิม แม้มีการปิดคดีชั่วคราว เนื่องจากยังมีอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542 มาตรา 34 บัญญัติว่า บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คดีนี้โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2538 ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2538 และพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่19 มิถุนายน 2539 จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด คดีจึงมิได้ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย อนึ่งแม้ตามหนังสือของผู้ปฏิบัติราชการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง รายงานศาลปิดคดี ได้ความว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไม่ได้และไม่มีการงานอย่างใดจะต้องกระทำต่อไป กับเจ้าหนี้ไม่คัดค้านที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลปิดคดี และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดคดีก็ตาม แต่ตามข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ขัดขืนไม่ไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน จนเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยที่ 2 หากจับจำเลยที่ 2 ได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะต้องสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 117เพื่อประโยชน์แก่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะใช้เป็นหลักฐานในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ประกอบกับคำสั่งปิดคดีมีผลเพียงให้ระงับการจัดการต่าง ๆไว้เป็นการชั่วคราว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ยังคงมีอำนาจหน้าที่บางประการตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 134 และ 160 กรณียังอยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต้องบังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ จำเลยที่ 2 จึงร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 35ไม่ได้ และไม่มีเหตุให้เพิกถอนหมายจับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: การบังคับใช้กฎหมายล้มละลายเดิม แม้มีการปิดคดี หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมีอำนาจหน้าที่อยู่
พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 34 บัญญัติว่า บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คดีนี้โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2538 ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2538 และพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539 จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด คดีจึงมิได้ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย อนึ่งแม้ตามหนังสือของผู้ปฏิบัติราชการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง รายงานศาลปิดคดี ได้ความว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไม่ได้และไม่มีการงานอย่างใดจะต้องกระทำต่อไป กับเจ้าหนี้ไม่คัดค้านที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลปิดคดี และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดคดีก็ตาม แต่ตามข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ขัดขืนไม่ไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน จนเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยที่ 2 หากจับจำเลยที่ 2 ได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะต้องสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 117 เพื่อประโยชน์แก่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะใช้เป็นหลักฐานในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ประกอบกับคำสั่งปิดคดีมีผลเพียงให้ระงับการจัดการต่าง ๆ ไว้เป็นการชั่วคราว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ยังคงมีอำนาจหน้าที่บางประการตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 134 และ 160 กรณียังอยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต้องบังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ จำเลยที่ 2 จึงร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 35 ไม่ได้ และไม่มีเหตุให้เพิกถอนหมายจับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: แม้ศาลสั่งปิดคดี แต่หากเจ้าหนี้ยังต้องสอบสวนทรัพย์สิน คดีอยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 34 กำหนดให้บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองวันที่ 28 เมษายน2538 ก่อนวันที่ พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดวันที่ 4 ตุลาคม2538 และพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายวันที่ 19 มิถุนายน 2538โดยจำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุดทำให้คดีมิได้ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย
แม้การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไม่ได้และไม่มีการงานอย่างใดจะต้องกระทำต่อไปกับเจ้าหนี้ไม่คัดค้านที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลปิดคดีและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดคดีก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ขัดขืนไม่ไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินจนเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยที่ 2 ซึ่งหากจับจำเลยที่ 2 ได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 117 เพื่อประโยชน์แก่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะใช้เป็นหลักฐานในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ประกอบกับคำสั่งปิดคดีมีผลเพียงให้ระงับการจัดการต่าง ๆ ไว้เป็นการชั่วคราวและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังคงมีอำนาจหน้าที่บางประการตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 134 และ 160 กรณีจึงยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องบังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542ใช้บังคับ จำเลยที่ 2 จะร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 35 ไม่ได้รวมทั้งไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายจับจำเลยที่ 2 ด้วย
of 36