พบผลลัพธ์ทั้งหมด 74 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับเวลาพินัยกรรมและผลต่อการเพิกถอนพินัยกรรมเดิม การแก้ไขพินัยกรรมโดยเจ้ามรดก
พินัยกรรมทั้งฉบับของโจทก์และจำเลยต่างลงวันเดือนปีที่ทำตรงกันคือ วันที่ 12 มกราคม 2502 ของจำเลยนั้นผู้ทำพินัยกรรมเขียนชื่อผู้รับไว้เรียบร้อยครบถ้วนแล้วแต่วันที่ลงในพินัยกรรม จึงถือเป็นอันสมบูรณ์แต่วันนั้นส่วนพินัยกรรมของโจทก์ปรากฏว่าชื่อผู้รับพินัยกรรมเว้นว่างไว้ เจ้ามรดกเพิ่งกรอกชื่อโจทก์เป็นผู้รับเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2506 จึงถือได้ว่าพินัยกรรมฉบับของโจทก์ได้ทำเสร็จเป็นพินัยกรรมเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2506 อันเป็นวันภายหลังจากพินัยกรรมจำเลย พินัยกรรมของโจทก์จึงเป็นพินัยกรรมฉบับหลังซึ่งมีผลเพิกถอนพินัยกรรมฉบับของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1697
พินัยกรรมฉบับของโจทก์ได้เว้นชื่อผู้รับพินัยกรรมว่างไว้ เจ้ามรดกเพิ่งกรอกชื่อโจทก์เป็นผู้รับภายหลัง กรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการขูดลบตกเติมหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรม จึงหาจำเป็นต้องเซ็นชื่อกำกับไว้ไม่
เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลยแสดงความเห็นไม่สมตามความประสงค์ของจำเลย ไม่เป็นเหตุพอที่จะให้ผู้อื่นตรวจเอกสารหรือเรียกตัวผู้เชี่ยวชาญของจำเลยมาเบิกความในข้อที่ได้แสดงความเห็นไว้ชัดเจนแล้วนั้นอีก
พินัยกรรมฉบับของโจทก์ได้เว้นชื่อผู้รับพินัยกรรมว่างไว้ เจ้ามรดกเพิ่งกรอกชื่อโจทก์เป็นผู้รับภายหลัง กรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการขูดลบตกเติมหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรม จึงหาจำเป็นต้องเซ็นชื่อกำกับไว้ไม่
เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลยแสดงความเห็นไม่สมตามความประสงค์ของจำเลย ไม่เป็นเหตุพอที่จะให้ผู้อื่นตรวจเอกสารหรือเรียกตัวผู้เชี่ยวชาญของจำเลยมาเบิกความในข้อที่ได้แสดงความเห็นไว้ชัดเจนแล้วนั้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต ส่งผลต่ออายุความสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้
ทายาทของลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ตาย ถือได้ว่าเป็นการรับสภาพนี้
เมื่อมีการรับสภาพหนี้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ซึ่งมิให้เจ้าหนี้ฟ้องเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกก็สะดุดหยุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้ หากเป็นมูลหนี้เงินกู้ก็มีอายุความ 10 ปี
(อ้างฎีกาที่ 1887/2506)
เมื่อมีการรับสภาพหนี้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ซึ่งมิให้เจ้าหนี้ฟ้องเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกก็สะดุดหยุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้ หากเป็นมูลหนี้เงินกู้ก็มีอายุความ 10 ปี
(อ้างฎีกาที่ 1887/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต และผลกระทบต่ออายุความของหนี้เงินกู้
ทายาทของลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ตาย ถือได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้
เมื่อมีการรับสภาพหนี้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ซึ่งมิให้เจ้าหนี้ฟ้องเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกก็สดุดหยุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้หากเป็นมูลหนี้เงินกู้ก็มีอายุความ 10 ปี (อ้างฎีกาที่ 1887/2506)
เมื่อมีการรับสภาพหนี้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ซึ่งมิให้เจ้าหนี้ฟ้องเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกก็สดุดหยุดลง อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้หากเป็นมูลหนี้เงินกู้ก็มีอายุความ 10 ปี (อ้างฎีกาที่ 1887/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1156/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้หลังเจ้ามรดกเสียชีวิต ส่งผลต่ออายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ทายาทของลูกหนี้ชำระดอกเบี้ยให้แก่เจ้าหนี้ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ตาย. ถือได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้.
เมื่อมีการรับสภาพหนี้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ซึ่งมิให้เจ้าหนี้ฟ้องเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกก็สดุดหยุดลง. อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้หากเป็นมูลหนี้เงินกู้ก็มีอายุความ 10 ปี. (อ้างฎีกาที่ 1887/2506).
เมื่อมีการรับสภาพหนี้ อายุความสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ซึ่งมิให้เจ้าหนี้ฟ้องเมื่อพ้น 1 ปีนับแต่ความตายของเจ้ามรดกก็สดุดหยุดลง. อายุความสำหรับสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้จึงต้องตั้งต้นนับใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้หากเป็นมูลหนี้เงินกู้ก็มีอายุความ 10 ปี. (อ้างฎีกาที่ 1887/2506).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสละมรดกทำก่อนเจ้ามรดกเสียชีวิตเป็นโมฆะตามกฎหมาย
หนังสือมีข้อความว่า "แต่นี้ต่อไปนางนวนจะไม่เกี่ยวข้องสมบัติกับแม่อีก" ไม่ใช่หนังสือสละมรดก จะถือว่าเป็นการสละสิทธิรับมรดกในภายหน้าก็ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1452/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสละมรดกต้องทำหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต การสละสิทธิรับมรดกก่อนเสียชีวิตเป็นโมฆะ
หนังสือมีข้อความว่า "แต่นี้ต่อไปนางนวนจะไม่เกี่ยวข้องสมบัติกับแม่อีก" ไม่ใช่หนังสือสละมรดก จะถือว่าเป็นการสละสิทธิรับมรดกในภายหน้าก็ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินโดยทายาท: การเปลี่ยนสถานะจากครอบครองแทนเป็นครอบครองเพื่อตนเองหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต
จำเลยซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกผู้ตายได้อาศัยสิทธิของเจ้ามรดกผู้ตายครอบครองที่พิพาทมา เมื่อเจ้ามรดกตาย การครอบครองที่พิพาทของจำเลยโดยอาศัยสิทธิของผู้ตายต้องยุติลงนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย และถือได้ว่าจำเลยได้ครอบครองเพื่อตนนับแต่เวลานั้นตลอดมา เพราะสิทธิครอบครองของผู้ตายเป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599
ที่พิพาทส่วนหนึ่งเป็นมรดกของผู้ตายตกได้แก่ทายาทและยังไม่ได้แบ่งปันกัน จำเลยเป็นทายาทคนหนึ่งได้ครอบครองที่พิพาทนับแต่วันเจ้ามรดกตายตลอดมา จำเลยย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของที่พิพาทส่วนหนึ่งด้วยโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ และเมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยได้ครอบครองเกินส่วนของตนไปเท่าใด โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ที่พิพาทส่วนหนึ่งเป็นมรดกของผู้ตายตกได้แก่ทายาทและยังไม่ได้แบ่งปันกัน จำเลยเป็นทายาทคนหนึ่งได้ครอบครองที่พิพาทนับแต่วันเจ้ามรดกตายตลอดมา จำเลยย่อมมีส่วนเป็นเจ้าของที่พิพาทส่วนหนึ่งด้วยโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ และเมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยได้ครอบครองเกินส่วนของตนไปเท่าใด โจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กฎหมายที่ใช้บังคับกับมรดก: ใช้กฎหมาย ณ เวลาที่เจ้ามรดกเสียชีวิต
มรดกหรือการแบ่งมรดกจะมีขึ้นได้ต่อเมื่อบุคคลถึงแก่ความตาย ฉะนั้น เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายในขณะใช้กฎหมายใด ก็ต้องตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น
เป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5-6 แต่ตายจากกันภายหลังใช้ บรรพ 5-6 แล้วต้องแบ่งมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6.
เป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5-6 แต่ตายจากกันภายหลังใช้ บรรพ 5-6 แล้วต้องแบ่งมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายมรดกตามช่วงเวลาที่เจ้ามรดกเสียชีวิต
มรดกหรือการแบ่งมรดกจะมีขึ้นได้ต่อเมื่อบุคคลถึงแก่ความตายฉะนั้นเมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายในขณะใช้กฎหมายใด ก็ต้องตกอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายซึ่งใช้อยู่ในขณะนั้น
เป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5-6แต่ตายจากกันภายหลังใช้ บรรพ 5-6 แล้ว ต้องแบ่งมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6
เป็นสามีภริยากันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5-6แต่ตายจากกันภายหลังใช้ บรรพ 5-6 แล้ว ต้องแบ่งมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในลูกสุกรเกิดหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: ดอกผลของทรัพย์มรดกและค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู
ลูกสุกรเกิดจากสุกรพ่อและสุกรแม่ซึ่งเลี้ยงไว้ในระหว่างเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่แต่เกิดเมื่อเจ้ามรดกตายแล้วลูกสุกรและเงินที่ขายลูกสุกรได้ก็เป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับภรรยาส่วนของเจ้ามรดกตกเป็นมรดก ทายาทมีส่วนแบ่งในสุกรพ่อและสุกรแม่อย่างไรก็มีส่วนแบ่งในลูกสุกรหรือเงินที่ขายได้อย่างนั้น
แม้จะขายลูกสุกรเหล่านี้ไปหลังจากเจ้ามรดกตาย 2 ปีเศษทายาทก็มีสิทธิขอแบ่งมรดกตามราคาที่ขายได้ (ไม่ใช่ตามราคาของลูกสุกรเมื่อแรกเกิด) ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสุกรจนกระทั่งขายไปนั้น ทายาทผู้เป็นเจ้าของรวมต้องช่วยกันออกตามส่วนของตน ในเวลาแบ่งเจ้าของรวมผู้เป็นเจ้าหนี้จะเรียกให้เอาส่วนซึ่งจะได้แก่ลูกหนี้ชำระหนี้เสียก่อนก็ได้ ทายาทที่อ้างว่าตนออกค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสุกรคนเดียว เมื่อถูกทายาทอื่นฟ้องขอแบ่งมรดกเงินค่าขายสุกรชอบที่จะขอหักค่าใช้จ่ายนี้มาในคำให้การ
แม้จะขายลูกสุกรเหล่านี้ไปหลังจากเจ้ามรดกตาย 2 ปีเศษทายาทก็มีสิทธิขอแบ่งมรดกตามราคาที่ขายได้ (ไม่ใช่ตามราคาของลูกสุกรเมื่อแรกเกิด) ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสุกรจนกระทั่งขายไปนั้น ทายาทผู้เป็นเจ้าของรวมต้องช่วยกันออกตามส่วนของตน ในเวลาแบ่งเจ้าของรวมผู้เป็นเจ้าหนี้จะเรียกให้เอาส่วนซึ่งจะได้แก่ลูกหนี้ชำระหนี้เสียก่อนก็ได้ ทายาทที่อ้างว่าตนออกค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสุกรคนเดียว เมื่อถูกทายาทอื่นฟ้องขอแบ่งมรดกเงินค่าขายสุกรชอบที่จะขอหักค่าใช้จ่ายนี้มาในคำให้การ