คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าหนี้มีประกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 104 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้และการเปลี่ยนแปลงสถานะเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย
ปัญหาว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันซึ่งเมื่อฟ้องคดีต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 10(2) หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยเพิ่งยกขึ้นมาเป็นประเด็นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยได้ แม้เดิมโจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกันเพราะเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือใบหุ้น ซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลย แต่เมื่อโจทก์และจำเลยได้ตกลงแปลงหนี้ใหม่โดยทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความหนี้มีประกันเดิมของโจทก์ย่อมระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ตามผลของ ป.พ.พ. มาตรา 349 และเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ให้สิทธิโจทก์ยึดถือใบหุ้นไว้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกันอีกต่อไป โจทก์จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1815/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากเจ้าหนี้มีประกันเป็นหนี้ไม่มีประกัน ส่งผลต่อข้อกำหนดการฟ้องคดีล้มละลาย
การฟ้องคดีล้มละลายในกรณีที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้มีประกัน ปัญหาว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 หรือไม่ เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกเป็นประเด็นต่อสู้ไว้ เพิ่งมีประเด็นขึ้นในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยได้ โจทก์ออกเงินชำระหนี้ค่าซื้อหุ้นในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยเมื่อจำเลยไม่ชำระเงินค่าซื้อหุ้น โจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นดังกล่าวที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ไว้ได้จนกว่าจะได้รับเงินที่ค้างชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 819 ดังนี้โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันเพราะเป็นผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงเหนือใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์ของจำเลยตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 6 แต่เมื่อโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิขายใบหุ้นที่โจทก์ยึดหน่วงไว้เพื่อชำระหนี้โจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ หนี้มีประกันเดิมจึงระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์จึงไม่ต้องบอกกล่าวในฟ้องตามที่ระบุไว้ในมาตรา 10(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3756/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: ผลของการไม่บังคับจำนองตามคำพิพากษาเดิม
ในคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยกับพวกให้ร่วมกันรับผิดใช้เงินแก่ผู้ร้อง มิฉะนั้นให้นำทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ผู้ร้องนั้น ศาลเพียงแต่พิพากษาให้จำเลยร่วมกับพวกชำระหนี้แก่ผู้ร้องเท่านั้น มิได้กล่าวถึงการบังคับจำนองด้วย จึงต้องถือว่าคำฟ้องที่ผู้ร้องขอให้บังคับจำนอง ศาลนั้นพิพากษายกฟ้อง เมื่อผู้ร้องไม่อุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษานั้นจึงผูกพันผู้ร้องมิให้บังคับจำนองตามสัญญาจำนองรายนี้ต่อไป ดังนั้นผู้ร้องจึงหามีสิทธิเหนือทรัพย์สินในฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันในทางจำนองตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 95 อีกไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247 และ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้มีประกันกับการขอเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์แทน: ไม่เกิดประโยชน์และเป็นผลร้ายต่อลูกหนี้
การที่จะอนุญาตให้เจ้าหนี้มีประกันผู้ร้อง ซึ่ง จ.พ.ท. มีคำสั่งอนุญาตให้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนองในฐานะเจ้าหนี้มีประกันโดยเจ้าหนี้ผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้าเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์แทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เดิม ซึ่งไม่ยอมรับหน้าที่นั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้มีประกัน เพราะเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิเฉพาะเหนือทรัพย์สินอันลูกหนี้ได้ให้ไว้เป็นหลักประกันเท่านั้น หาอาจจะบังคับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นของลูกหนี้ได้ไม่ ทั้งจะเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่หมดโอกาสในการที่จะหลุดพ้นจากสภาพที่ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลายอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: การขอเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์แทน
การที่จะอนุญาตให้เจ้าหนี้มีประกันผู้ร้องซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ มีคำสั่งอนุญาตให้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนองในฐานะเจ้าหนี้มีประกันโดยผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้าเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์แทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เดิม ซึ่งไม่ยอมรับหน้าที่นั้น ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ร้อง เพราะเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิเฉพาะเหนือทรัพย์สินอันลูกหนี้ได้ให้ไว้เป็นหลักประกันเท่านั้น หาอาจจะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินอย่างอื่นของลูกหนี้ได้ไม่ ทั้งจะเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่หมดโอกาสในการที่จะหลุดพ้นจากสภาพที่ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลายอีกด้วยผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะขอเข้าเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์แทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3283/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: การขอเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์แทนไม่เป็นประโยชน์และเป็นผลร้ายต่อลูกหนี้
การที่จะอนุญาตให้เจ้าหนี้มีประกันผู้ร้อง ซึ่ง จ.พ.ท. มีคำสั่งอนุญาตให้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์ที่จำนองในฐานะเจ้าหนี้มีประกันโดยเจ้าหนี้ผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เข้าเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์แทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์เดิม ซึ่งไม่ยอมรับหน้าที่นั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เจ้าหนี้มีประกันเพราะ เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิเฉพาะเหนือทรัพย์สินอันลูกหนี้ได้ให้ไว้เป็นหลักประกันเท่านั้น หาอาจจะบังคับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นของลูกหนี้ได้ไม่ ทั้งจะเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่หมดโอกาสในการที่จะหลุดพ้นจากสภาพที่ต้องตกเป็นบุคคลล้มละลายอีกด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5744/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิบังคับคดีทรัพย์สินหลักประกัน แม้มีการสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองของจำเลยได้ฟ้องบังคับจำนองและทำการบังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองเพื่อขายทอดตลาดแล้วศาลจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลย ดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์ดังกล่าวมาไว้ในคดีล้มละลายไม่ได้ เพราะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันโดยตรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3732/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์และการสิ้นสุดคดีล้มละลาย ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุพลั้งเผลอ
การยื่นคำร้องขอแก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีประกันที่ไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกัน โดยอ้างว่าเกิดขึ้นเพราะความพลั้งเผลอตามความในพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 97 ซึ่งศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขโดยกำหนดให้คืนส่วนแบ่งหรือกำหนดการอย่างอื่นตามที่เห็นสมควรนั้น คำว่าให้คนส่วนแบ่ง แสดงว่าผู้ขอได้รับชำระหนี้ไปแล้ว จึงต้องมีการคืน และการได้รับชำระหนี้ แสดงว่าศาลได้สั่งอนุญาตให้รับชำระหนี้แล้ว ดังนั้น การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้ย่อมทำได้จนกว่าจะได้จัดการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุด แม้คำสั่งให้รับชำระหนี้จะถึงที่สุดไปแล้ว หรือเจ้าหนี้ผู้นั้นจะได้เคยยื่นคำขอแก้ไขมาแล้วและได้ขอถอนคำร้องไปก็ตาม
ความพลั้งเผลออันเกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ของผู้ร้อง และเกิดขึ้นในระหว่างมีการสับเปลี่ยนหน่วยงานของผู้ร้อง โดยไม่มีเหตุผลที่ผู้ร้องจะต้องปกปิดเพื่อเอาเปรียบเจ้าหนี้อื่น จึงไม่เหตุผลสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้แก้ไขข้อความในรายการแห่งคำขอรับชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงหุ้นและการฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามมาตรา 10(2) พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายอ้างว่าโจทก์เป็นตัวแทนซื้อหุ้นของบริษัทให้แก่จำเลยผู้เป็นตัวการ โจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นดังกล่าวแทนจำเลยไปก่อน เช่นนี้โจทก์ก็ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นสำหรับหุ้นที่โจทก์ซื้อแทนจำเลยและยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ทดรองออกแทนจำเลยไปก่อน ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 241, 244 และ 819 แม้การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 ก็เป็นเรื่องจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์เท่านั้น สิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หาได้เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ เมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลย โจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 6 (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1725/2528) ฉะนั้นการที่ฟ้องให้จำเลยล้มละลายโจทก์จึงต้องปฏิบัติตาม มาตรา 10 (2) โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย หรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วย เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว ฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 175/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงและการฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีประกันต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
โจทก์ได้ออกเงินทดรองชำระค่าหุ้นแทนจำเลยไปในฐานะตัวแทนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นตัวการโจทก์ย่อมมีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นเหล่านั้นที่ยังคงอยู่ในความครอบครองของโจทก์ได้จนกว่าจำเลยจะชำระเงินที่โจทก์ออกทดรองแทนจำเลยไปตาม ป.พ.พ.มาตรา241,244และ819 การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามพ.ร.บ.ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้นไม่ทำให้สิทธิยึดหน่วงของโจทก์ตาม ป.พ.พ.เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใดไม่ดังนั้นเมื่อโจทก์มีสิทธิยึดหน่วงใบหุ้นซึ่งเป็นทรัพย์สินของจำเลยโจทก์จึงเป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายมาตรา6และในการฟ้องให้จำเลยล้มละลายนั้นโจทก์จะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ล้มละลายมาตรา10(2)โดยกล่าวมาในฟ้องว่าถ้าจำเลยล้มละลายแล้วโจทก์ยอมสละหุ้นของจำเลยแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายหรือตีราคาหุ้นดังกล่าวมาในฟ้องด้วยมิฉะนั้นแล้วฟ้องของโจทก์ย่อมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณา.
of 11