คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เจ้าอาวาส

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกเงินวัด: อำนาจหน้าที่เจ้าอาวาสและผู้เสียหาย
เจ้าอาวาสรับเงินผลประโยชน์ของวัดไปเพื่อใช้ซ่อมแซมกุฏิแล้วยักยอกเงินนั้นคงมีผิดฐานยักยอกตามมาตรา 114 ไม่ใช่มาตรา 319
กรมการอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงธรรมการให้เป็นผู้ดูแลรักษาเงินผลประโยชน์ของวัดนั้น เมื่อมีผู้ยักยอกเงินนั้น กรมการย่อมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกและแจ้งความเท็จของเจ้าอาวาสที่รับเงินซ่อมแซมวัด โดยอำเภอมีสิทธิร้องทุกข์
เจ้าอาวาสรับมอบเงินผลประโยชน์ของวัดไปเพื่อใช้ซ่อมแซมกุฏิ แล้วยักยอกเงินนั้น คงมีผิดฐานยักยอกตามมาตรา 114 ไม่ใช่มาตรา 319
เจ้าอาวาสรับเงินไปซ่อมแซมกฏิจากกรมการอำเภอแล้ว+บัญชีรายการการใช้จ่ายต่ออำเภอด้วยความเท็จ เป็นผิดฐานแจ้งความเท็จ กรมการอำเภอที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวงธรรมการให้เป็นผู้ดูแลรักษาผลประโยชน์ของวัดนั้น เมื่อมีผู้ยักยอกเงินนั้น กรมการอำเภอย่อมเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจร้องทุกข์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกวัด: กระทรวงธรรมการมอบอำนาจโจทก์ได้, เจ้าอาวาสไม่มีอำนาจให้เช่า
เจ้าอาวาศมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่เข้าอยู่ในที่วัดได้ แต่ไม่มีอำนาจให้เช่า.
ที่วัดเป็นสมบัติพระสาสนาอยู่ในความดูแลของกระทรวงธรรมการ ๆ มอบอำนาจให้ตัวแทนให้ทำสัญญาเช่าและฟ้องขับไล่เช่าได้ ผู้เช่าจะอ้างอำนาจเจ้าอาวาศขึ้นต่อสู้ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311/2480

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเวยยาวัจจกรฟ้องแทนวัด: การมอบหมายผู้ทำการแทนเจ้าอาวาสและการฟ้องเรียกทรัพย์มรดก
กฎกระทรวงยุตติธรรมที่ 15 พระภิกษุผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าคณะจังหวัดให้เป็นผู้ทำการแทนเจ้าอาวาศวัดราษฎร์ที่ถึงแก่มรณภาพ ย่อมีอำนาจตั้งเวยยาวัจจกรฟ้องความแทนวัดได้ ย้อนสำนวน ค่าธรรมเนียม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของวัด: เจ้าอาวาสมีอำนาจจัดการศาสนสมบัติและฟ้องคดีได้ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 บัญญัติว่า ...ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกรณีทั่วไป มาตรา 37 บัญญัติว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้ (1) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี... และมาตรา 40 บัญญัติว่า ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท (1) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง (2) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง ดังนั้น เจ้าอาวาสจึงเป็นผู้แทนของวัด และมีหน้าที่บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี ซึ่งคำว่า จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดนั้น หมายถึง การบริหารจัดการวัดและศาสนสมบัติของวัดนั่นเอง โจทก์โดยเจ้าอาวาสจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อยู่ในที่ดิน ซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัดโจทก์โดยละเมิดได้ ส่วนบทบัญญัติมาตรา 40 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น เป็นเรื่องของการกำหนดวิธีการในการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับอำนาจฟ้อง
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเพียงตัวแทนของโจทก์ในการนำที่ดินศาสนสมบัติของวัดโจทก์ออกให้เช่า ซึ่งการตั้งตัวแทนให้กระทำการต่าง ๆ นั้น หาตัดสิทธิตัวการที่กระทำการนั้นด้วยตนเองไม่ อีกทั้งคดีนี้เป็นการฟ้องให้รับผิดในข้อหาละเมิด เมื่อโจทก์หรือเจ้าอาวาสมีอำนาจฟ้องขับไล่แล้ว โจทก์ย่อมมอบอำนาจให้ พ. หรือ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20664/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องขับไล่ของเจ้าอาวาส กรณีที่ดินศาสนสมบัติ และการมอบอำนาจฟ้องคดี
เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัด มีหน้าที่บำรุงรักษาวัด การบริหารจัดการกิจการและศาสนสมบัติของวัด โจทก์โดยเจ้าอาวาสจึงย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ ซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัดโดยละเมิดได้ ส่วนการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น เป็นเรื่องของการกำหนดวิธีการในการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับเรื่องอำนาจฟ้อง
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเพียงตัวแทนโจทก์ในการนำที่ดินศาสนสมบัติของวัดโจทก์ออกให้เช่า ซึ่งการตั้งตัวแทนให้กระทำการต่าง ๆ นั้นหาตัดสิทธิตัวการที่จะกระทำการนั้นด้วยตนเองไม่ และโจทก์โดยเจ้าอาวาสมีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจที่ขีดฆ่าอากรแสตมป์โดยไม่ลงวันที่ ยังใช้เป็นหลักฐานได้ และเจ้าอาวาสมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 103 ให้ความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" หมายความว่า "การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก โดยในกรณีแสตมป์ปิดทับได้ลงลายมือชื่อหรือลงชื่อห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลงวัน เดือน ปี ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย..." การระบุวัน เดือน ปี พร้อมขีดฆ่าอากรแสตมป์ ก็เพียงมุ่งหมายให้ทราบว่าได้มีการปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์เมื่อใดเท่านั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์มิให้นำไปใช้ได้อีก เมื่อหนังสือมอบอำนาจได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ครบถ้วนแล้ว แม้จะไม่ได้ลงวันที่ เดือน ปี กำกับด้วย ก็ถือว่าหนังสือมอบอำนาจรับฟังพยานหลักฐานได้ ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
โจทก์เป็นนิติบุคคล โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของโจทก์ในกิจการทั่วไปตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 31 แม้กฎกระทรวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 จะมิได้กำหนดวิธีจัดการศาสนสมบัติของวัดเกี่ยวกับการฟ้องคดีไว้ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามทางนำสืบแล้วว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับลงโดยโจทก์แจ้งให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับจำเลย อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 40 วรรคสาม ว่าด้วยการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงในเรื่องการเช่าแล้ว และเมื่อสัญญาเช่าที่ดินเลิกกัน โจทก์ในฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของโจทก์ในกิจการทั่วไป ผู้แทนของโจทก์ย่อมมีอำนาจดำเนินกิจการใด ๆ อันเกี่ยวกับการจัดการศาสนสมบัติของวัดแทนโจทก์ได้ การจัดการทรัพย์สินของวัดซึ่งรวมทั้งการฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ จึงเป็นอำนาจของเจ้าอาวาสวัดโจทก์ที่จะดำเนินการได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยในฐานะเจ้าอาวาสและประธานมูลนิธิ
ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าอาวาสวัด ส. และเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของคณะกรรมการมูลนิธิ ห. กับเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิดังกล่าว เมื่อมูลนิธิมีวัตถุประสงค์เผยแผ่พระพุทธศาสนาและรับเด็กยากจนมาอาศัยอยู่ที่วัด ส. เพื่อส่งเสียให้ได้รับการศึกษา การอบรมให้เด็กเหล่านั้นประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดีตามหลักพุทธศาสนาและตั้งใจศึกษาเล่าเรียนย่อมอยู่ในวัตถุประสงค์ของมูลนิธิด้วย แม้การเงินของมูลนิธิแยกออกจากวัดเพราะมีฐานะป็นนิติบุคคลแตกต่างกัน แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิย่อมต้องอบรมสั่งสอนผู้เสียหายทั้งแปดซึ่งอยู่ในความดูแลของตนให้ปฏิบัติดีเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั้นมิให้เงินที่ผู้บริจาคเพื่อการศึกษาของเด็กยากจนสิ้นเปลืองเปล่า เมื่อมูลนิธิมาก่อตั้งภายในอาณาเขตวัด ส. เด็กๆ รวมทั้งผู้เสียหายทั้งแปดย่อมต้องเชื่อฟังจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าอาวาสวัด ส. ดังเช่นที่เป็นศิษย์วัดอีกสถานหนึ่ง กล่าวได้ว่า จำเลยที่ 1 ดูแลผู้เสียหายทั้งแปดในฐานะเป็นครูอาจารย์ดูแลนักเรียนในปกครองกับฐานะเจ้าอาวาสดูแลศิษย์ไปพร้อมๆ กัน ดังนั้นผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 8 จึงเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความปกครองดูแลของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 277/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงในความดูแลของเจ้าอาวาสและประธานมูลนิธิ: ศาลฎีกายืนโทษจำเลย
ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าอาวาสและเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของคณะกรรมการมูลนิธิซึ่งมีวัตถุประสงค์เผยแผ่พระพุทธศาสนาและรับเด็กยากจนมาอาศัยอยู่ที่วัดเพื่อส่งเสียให้ได้รับการศึกษา ดังนั้น การอบรมให้เด็กเหล่านั้นประพฤติอยู่ในศีลธรรมอันดีตามหลักพุทธศาสนาและตั้งใจศึกษาเล่าเรียนย่อมอยู่ในวัตถุที่ประสงค์ของมูลนิธิด้วย แม้ด้านการเงินของมูลนิธิแยกออกจากวัดเพราะมีฐานะเป็นนิติบุคคลแตกต่างกัน แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะประธานกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิย่อมต้องอบรมสั่งสอนผู้เสียหาย ซึ่งเป็นเด็กหญิงชาวเขาที่จำเลยที่ 1 รับมาอยู่ในความดูแลของตนที่วัดให้ปฏิบัติดีเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั้น ทั้งมูลนิธิก็ตั้งอยู่ในอาณาเขตของวัด ผู้เสียหายย่อมต้องเชื่อฟังจำเลยที่ 1 ในฐานะเจ้าอาวาสดังเช่นที่เป็นศิษย์วัดอีกสถานหนึ่ง เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ดูแลผู้เสียหายในฐานะเป็นครูอาจารย์ดูแลเด็กนักเรียนในปกครองกับในฐานะเจ้าอาวาสดูแลศิษย์ไปพร้อมๆ กัน การที่จำเลยที่ 1 กระทำชำเราผู้เสียหาย ถือว่าจำเลยที่ 1 กระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล
of 5