พบผลลัพธ์ทั้งหมด 353 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4813/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยเช่า ไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ครอบครองเกิน 10 ปี
ผู้ร้องอยู่ในที่ดินพิพาทโดยการเช่าจากผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดจึงเป็นการครอบครองที่ดินแทนผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดตลอดมาจนถึงผู้คัดค้าน แม้ผู้ร้องจะครอบครองที่ดินพิพาทมาเกิน 10 ปี ก็หาได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3749/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ กรณีผู้เช่าเดิมให้บุคคลอื่นใช้พื้นที่ก่อนสัญญาเช่าใหม่ สิทธิของผู้ให้เช่าในการรอนสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2529 โจทก์ได้เช่าที่ดินราชพัสดุ บริเวณพื้นที่โดยรอบตลาดสดเทศบาล 3 จากเทศบาลเมืองขอนแก่นเพื่อเข้าดำเนินการจัดหาประโยชน์ด้วยตนเองหรือจัดแบ่งให้บุคคลอื่นเช่าช่วงเพื่อประกอบการค้ามีกำหนด 20 ปี ก่อนที่โจทก์จะได้รับสิทธิการเช่าพื้นที่ดังกล่าวนั้น เมื่อประมาณปี 2524ช. ซึ่งเป็นผู้เช่าคนเดิมได้อนุญาตให้จำเลยทั้งหมดซึ่งเป็นพ่อค้าและแม่ค้าเข้ามาวางขายสินค้าชั่วคราวที่ถนนบริเวณรอบนอกอาคารตลาดสดเทศบาล 3 โดยจำเลยทั้งหมดมิได้เสียค่าเช่าหรือผลประโยชน์ให้แก่บุคคลใด เมื่อโจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าในพื้นที่ทั้งหมดจาก ช. นับแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2529 จำเลยทั้งหมดคงอยู่และตั้งแผงขายสินค้าในที่ดินดังกล่าวจนบัดนี้ โจทก์ได้มีหนังสือให้จำเลยทั้งหมดร่วมกันขนย้ายสัมภาระและสิ่งกีดขวางต่าง ๆ ที่ได้ปลูกสร้างลงในพื้นที่พิพาทและห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องแต่อย่างใดทั้งสิ้นแล้ว แต่จำเลยทั้งหมดเพิกเฉย ทำให้โจทก์เสียหาย จึงขอให้บังคับจำเลยทั้งหมดพร้อมบริวารขนย้ายสิ่งปลูกสร้างและสัมภาระออกไปจากพื้นที่พิพาท ดังนี้ เห็นว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องได้ความว่าจำเลยทั้งหมดได้เข้าไปครอบครองใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาททำการค้าตลอดมาก่อนที่โจทก์จะทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองขอนแก่น ซึ่งโจทก์ยังไม่ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่า จำเลยทั้งหมดไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ รูปคดีเป็นความรับผิดของผู้ให้เช่าในการรอนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 549ประกอบด้วยมาตรา 477 โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยเองโดยลำพังไม่ได้โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างฟังยุติแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองฎีกาว่าการเช่าอสังหาริมทรัพย์กฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ แต่ศาลล่างทั้งสองกลับฟังว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาททั้งที่โจทก์ไม่มีหลักฐานการเช่ามาแสดง จึงเป็นการฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบเพราะขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 และ 94ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการโต้เถียงว่าจำเลยทั้งสองมิได้เช่าที่พิพาท ซึ่งเป็นการเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังเป็นยุติแล้วว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาท เมื่อคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำวินิจฉัย คชก. ในข้อพิพาทซื้อขายที่ดินเช่า หากผู้รับโอนไม่ปฏิบัติตาม
เมื่อ คกช.ตำบลวินิจฉัยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์ผู้เช่านากับจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนที่ดินจากผู้ให้เช่านา โดยให้จำเลยที่ 2 ขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง โจทก์จึงนำคดีมาสู่ศาลขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ขายที่ดินดังกล่าวตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 58 วรรคหนึ่ง กรณีย่อมอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 ซึ่งศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่ยอมพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ถ้าเห็นว่าคำชี้ขาดนั้นขัดต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 218 วรรคสุดท้ายเมื่อจำเลยที่ 2 เพียงแต่ต่อสู้ว่าโจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ คชก.ตำบล แต่มิได้ให้การต่อสู้ว่าคำวินิจฉัยของ คชก.ตำบลไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 2 ตามคำวินิจฉัยดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1637/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณสมบัติ: โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง-ฟ้องขับไล่ไม่ได้ แม้เคยให้เช่าก่อน
โจทก์ทั้งสามฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยแต่ละคนรวม 47 สำนวน ออกไปจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหาย โดยบรรยายฟ้องว่า ที่ดินที่จำเลยแต่ละสำนวนบุกรุกนั้นให้เช่าได้ไม่เกิน เดือนละ 5,000 บาท จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลในกรณีอื่นออกจากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ และมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คดีทั้ง 47 สำนวน จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ทั้งสามยื่นฎีกาที่โจทก์ทั้งสามฎีกาว่า โจทก์ทั้งสามมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและได้ครอบครองตลอดมา โจทก์ทั้งสามเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน โจทก์หรือผู้ใดก็หามีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองไม่ แม้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และท. จะได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาก่อนแล้วให้ ก. เช่าก็จะถือว่าโจทก์ทั้งสามมอบให้ ก. ครอบครองแทนมิได้เพราะโจทก์ทั้งสามและ ท. ไม่มีสิทธิจะให้เช่าหรือมอบให้ผู้ใดครอบครองแทน การที่โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ท. ให้ ก.เช่าที่ดินพิพาททำประโยชน์ก็เท่ากับโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และ ท. สละการครอบครองที่ดินที่ตนไม่มีสิทธินั้นให้แก่ ก.แล้ว ดังนั้นระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลย เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทอยู่โจทก์ทั้งสามย่อมไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลย โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ ปัญหาข้อนี้จำเลยส่วนใหญ่ได้ให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ทั้งสามแต่เป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยจึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นและปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยบางคนจะไม่ได้ให้การต่อสู้ให้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดลิขสิทธิ์ทางอ้อม: จำเลยต้องพิสูจน์ได้ว่างานที่นำออกให้เช่าไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยทางตรงตามมาตรา 24 และละเมิดลิขสิทธิ์โดยทางอ้อมตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษตามพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27 คำขออื่นให้ยกจำเลยอุทธรณ์ฝ่ายเดียวความผิดตามมาตรา 24 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องตามข้อความในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯมาตรา 42 ว่า "ฯลฯ และกฎหมายของประเทศนั้นได้ให้ความคุ้มครองเช่นเดียวกันแก่งานอันลิขสิทธิ์ของภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวฯลฯ" แต่กล่าวในฟ้องเพียงว่าทั้งประเทศไทยและฮ่องกงซึ่งเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษต่างให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าว โดยไม่มีคำว่า "กฎหมาย"อยู่หน้าประเทศก็ตาม การกล่าวว่าทั้งสองประเทศต่างให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของประเทศภาคีอื่น ๆ แห่งอนุสัญญาดังกล่าวก็มีความหมายว่ากฎหมายของทั้งสองประเทศได้ให้ความคุ้มครองแก่งานอันมีลิขสิทธิ์นั้นแล้ว เพราะทุกประเทศต้องปกครองโดยกฎหมาย ฟ้องของโจทก์ส่วนนี้จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 แล้ว แต่ที่โจทก์ฟ้องว่า ในวันเวลาเกิดเหตุจำเลยโดยรู้อยู่แล้วว่าภาพยนต์วีดีโอเทปตามฟ้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ร่วมได้บังอาจนำเอาภาพยนต์วีดีโอเทปดังกล่าวออกให้เช่าเสนอให้เช่าแก่ประชาชนทั่วไปเพื่อการค้าอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยไม่ปรากฏว่าภาพยนต์วีดีโอเทปที่จำเลยนำออกให้เช่า เสนอให้เช่านั้นได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น จำเลยอาจนำเอางานที่ได้ทำขึ้นโดยชอบออกให้เช่า เสนอให้เช่าก็ได้อันหาใช่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยทางอ้อมตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 27แต่อย่างไรไม่ ฟ้องของโจทก์ไม่เป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3707/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องภาระจำยอมหลังคดีเช่าถึงที่สุด ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เหตุต่างกันในมูลฐาน
เดิมโจทก์และนาง ล. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดิน ต่อมาได้แบ่งแยกเป็นสองโฉนด มีอาคารและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ล้ำเข้าไปในที่ดินของนาง ล. ต่อมานาง ล.ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้นาย ฮ. นาย ฮ.ได้ฟ้องขับไล่โจทก์ออกจากที่ดินที่รุกล้ำ โจทก์ยอมรับว่าที่ดินเป็นของนาย ฮ. ตกลงเช่าที่ดินพิพาทเป็นเวลา 5 ปี แต่ไม่จดทะเบียนการเช่า เมื่อนาย ฮ.ตายที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยโดยทางมรดก จำเลยฟ้องขับไล่โจทก์อ้างว่าสัญญาเช่าไม่จดทะเบียนมีผลเพียง 3 ปี ในคดีดังกล่าวโจทก์อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านเฉพาะประเด็นที่ว่าสัญญาเช่าบังคับกันได้ 3 ปีหรือ 5 ปี คดีถึงที่สุดแล้วโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาเช่าบังคับได้ 3 ปี พ้นกำหนดแล้ว ให้โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทโจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้อ้างว่าได้ปลูกสร้างอาคารโดยสุจริต และได้ครอบครองโดยสงบเปิดเผยตลอดมา ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนภาระจำยอม ข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับของโจทก์คดีนี้มุ่งไปที่เรื่องปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตและได้ภาระจำยอมโดยโจทก์เป็นเจ้าของโรงเรือนและมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทจึงเป็นคนละเหตุกับคดีก่อนซึ่งเป็นเรื่องเช่าทรัพย์ และกรณีนี้มิใช่เรื่องที่เนื่องมาจากมูลฐานเดียวกันหรือติดต่อกันจากเรื่องเช่าทรัพย์ซึ่งโจทก์ต้องยกขึ้นอ้างหรือต่อสู้เสียในคดีก่อน การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3691/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาผู้ให้เช่าสำคัญกว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าเมื่อครบกำหนด หากมีหนังสือทักท้วงแล้ว ไม่ถือเป็นการเช่าใหม่ไม่มีกำหนด
การที่จะถือว่าเมื่อสิ้นกำหนดการเช่าแล้วมีการเช่ากันใหม่ต่อไป ไม่มีกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570นั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าผู้ให้เช่ามีหน้าที่จะต้องบอกเลิกการเช่าหรือบอกกล่าวให้ผู้เช่าทราบก่อนหรือในวันครบกำหนดการเช่าว่าจะไม่ให้เช่าต่อไป หากแต่ให้ดูเจตนาของผู้ให้เช่าว่ามีการยินยอมให้ผู้เช่าอยู่ต่อไปหรือไม่ ซึ่งการยินยอมนั้นรวมถึงการไม่ทักท้วงเมื่อรู้ว่าผู้เช่าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าต่อมหลังจากสิ้นกำหนดเวลาเช่าแล้ว สัญญาเช่าที่ดินมีกำหนดเวลาแน่นอน โจทก์มีหนังสือบอกเลิกการเช่าไปยังจำเลยในวันครบกำหนดการเช่า แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์ว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปนับแต่วันครบกำหนดการเช่าแล้ว และหนังสือดังกล่าวนั้นจำเลยได้รับแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้ทักท้วงในการที่จำเลยจะอยู่ในที่เช่าต่อไป ดังนี้ การที่จำเลยอยู่ในที่เช่า ต่อมาภายหลังสัญญาเช่าครบกำหนดแล้ว จึงไม่ใช่การเช่ากันใหม่โดยไม่มีกำหนดเวลาตามมาตรา 570 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องบอกเลิกการเช่าตามมาตรา 566 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีเช่า: การโต้แย้งข้อเท็จจริงแตกต่างจากศาลชั้นต้นต้องห้ามตามมาตรา 224
คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท จำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายของข้อความในสัญญาเช่าต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่ากรณีที่จำเลยก่อสร้างต่อเติมตึกแถวพิพาทที่เช่าจากโจทก์ ก็เพื่อความสะดวกในการอยู่อาศัยและทำการค้าของจำเลยเอง ถือไม่ได้ว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จำเลยอุทธรณ์ว่าที่โจทก์ยินยอมให้จำเลยก่อสร้างต่อเติมตึกแถวพิพาท ก็เพื่อให้ตึกแถวพิพาทซึ่งมีลักษณะชำรุดทรุดโทรมมากให้มีลักษณะกลับคืนดีขึ้นใหม่ จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เป็นการโต้เถียงเกี่ยวกับการก่อสร้างต่อเติมตึกแถวพิพาทว่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา โดยอ้างข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่ที่ดินพิพาทที่จำเลยอ้างสิทธิเช่าและซื้อตามพ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องคดีส่วนแพ่งขอให้ห้ามจำเลยเข้าไปในที่ดินพิพาทของโจทก์ถือได้ว่าเป็นประเภทเดียวกับฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้ข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ เมื่อที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 5,000 บาท คดีส่วนแพ่งจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาในคดีส่วนแพ่งว่าจำเลยที่ 1 ได้เช่าที่ดินพิพาทจาก ม. และ บ.เจ้าของที่ดินพิพาทเดิม เมื่อโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโจทก์ต้องรับโอนทั้งสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องให้จำเลยที่ 1 เช่าหรือจำเลยที่ 1 มีสิทธิที่จะซื้อที่ดินพิพาทจาก บ. หรือโจทก์ ตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จำเลยที่ 1จึงมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทได้นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่ฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เช่าที่ดินพิพาทจาก ม. หรือบ. เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกา