พบผลลัพธ์ทั้งหมด 121 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ – ความเสียหาย – การพิสูจน์ความเสียหายต่อเทศบาล – หลักฐานฟังไม่ได้
จำเลยที่1เป็นพนักงานโรงฆ่าสัตว์ของเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมการฆ่าสัตว์ให้ถูกต้องและเป็นไปตามใบควบคุมอาชญาบัตรไม่ควบคุมตรวจนับการฆ่าสุกรเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบแต่ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายคือเทศบาลนั้นทางนำสืบพยานโจทก์ได้ความว่าเทศบาลไม่ได้รับความเสียหายประชาชนเป็นผู้ที่อาจได้รับความเสียหายจากการแพร่โรคจากสุกรที่ฆ่าโดยมิได้ตรวจโรคก่อนซึ่งเป็นการนำสืบนอกคำฟ้องการกระทำของจำเลยที่1จึงไม่เป็นความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่เทศบาล ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่1มิได้เป็นผู้สั่งฆ่าหรือจัดการฆ่าจำเลยที่1จึงไม่มีความผิดฐานร่วมกับจำเลยที่2ฆ่าสุกรตามฟ้องโจทก์มิได้อุทธรณ์ข้อหาตามความผิดนี้ย่อมยุติโจทก์ฎีกาไม่ได้ว่าจำเลยที่1ร่วมกับจำเลยที่2ฆ่าสุกร.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สมาชิกสภาเทศบาลขาดสมาชิกภาพหลังอุปสมบท และอำนาจการยื่นคำร้องของเทศบาล
พ.ร.บ.เทศบาลพ.ศ.2496มาตรา7วรรคสองบัญญัติให้เทศบาลเป็นทบวงการเมืองมีอำนาจหน้าที่ตามพ.ร.บ.ดังกล่าวและกฎหมายอื่นเทศบาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงที่จะต้องดูแลว่าสมาชิกสภาเทศบาลผู้ใดขาดจากสมาชิกภาพหรือไม่เทศบาลจึงมีอำนาจหน้าที่ที่จะยื่นคำร้องให้ศาลวินิจฉัยว่าสมาชิกสภาเทศบาลขาดจากสมาชิกภาพของสภาเทศบาลการยื่นคำร้องไม่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของหน้าที่เทศบาลและเทศบาลมีอำนาจยื่นคำร้องได้เองโดยไม่ต้องให้นายกเทศมนตรีทำการแทนในนามของนายกเทศมนตรี เมื่อการเป็นพระภิกษุเป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งลาไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุเพียงชั่วคราวหลังวันเลือกตั้งจึงมีลักษณะต้องห้ามสำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งตามความหมายของพ.ร.บ.เทศบาลพ.ศ.2496มาตรา19(4)เป็นผลให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาลผู้นั้นสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่อุปสมบทโดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นการอุปสมบทเพียงชั่วคราวและได้ลาอุปสมบทแล้วหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเทศบาลในการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อวินิจฉัยสมาชิกสภาเทศบาลขาดคุณสมบัติ
พระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ.2496มาตรา7วรรคสองบัญญัติให้เทศบาลเป็นทบวงการเมืองมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวและกฎหมายอื่นเทศบาลเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงที่จะต้องดูแลว่าสมาชิกสภาเทศบาลผู้ใดขาดจากสมาชิกสภาพหรือไม่เทศบาลจึงมีอำนาจหน้าที่ที่จะยื่นคำร้องให้ศาลวินิจฉัยว่าสมาชิกสภาเทศบาลขาดจากสมาชิกภาพของสภาเทศบาลการยื่นคำร้องไม่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของหน้าที่เทศบาลและเทศบาลมีอำนาจยื่นคำร้องได้เองโดยไม่ต้องให้นายกเทศมนตรีทำการแทนในนามของนายกเทศมนตรี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2975/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับสัญญาเช่าช่วงกระทบสิทธิบุคคลภายนอก - เทศบาล, สิทธิทำสัญญาโดยตรง, ไม่สามารถบังคับจำเลยทำสัญญาซ้ำได้
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากับเทศบาลเมืองขอนแก่นตกลงให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้ที่ดินราชพัสดุเพื่อทำการก่อสร้างอาคารพาณิชย์แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้แก่เทศบาลเมืองขอนแก่นโดยจำเลยที่ 1 มีสิทธิเช่าที่ดินกับอาคารดังกล่าวทั้งหมดและมีสิทธิให้เช่าช่วงได้ ซึ่งทางปฏิบัติจำเลยที่ 1 จะจัดการให้ผู้จองเช่าช่วงอาคารทำสัญญาเช่าโดยตรงกับเทศบาลเมืองขอนแก่น ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้จัดการให้จำเลยที่ 4 ทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับเทศบาลเมืองขอนแก่นแล้ว และโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าดังกล่าว ศาลย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่1ทำสัญญาให้โจทก์เช่าช่วงอาคารพิพาทอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเทศบาลเมืองขอนแก่นซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2975/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเช่าช่วงอาคาร: ศาลไม่อาจบังคับทำสัญญาเช่าช่วงหากมีสัญญาเช่าโดยตรงกับเทศบาลแล้ว
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากับเทศบาลเมืองขอนแก่นตกลงให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้ที่ดินราชพัสดุเพื่อทำการก่อสร้างอาคารพาณิชย์แล้วยกกรรมสิทธิ์ให้แก่เทศบาลเมืองขอนแก่นโดยจำเลยที่ 1 มีสิทธิเช่าที่ดินกับอาคารดังกล่าวทั้งหมดและมีสิทธิให้เช่าช่วงได้ ซึ่งทางปฏิบัติจำเลยที่ 1จะจัดการให้ผู้จองเช่าช่วงอาคารทำสัญญาเช่าโดยตรงกับ เทศบาลเมืองขอนแก่น ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1ได้จัดการให้จำเลยที่ 4 ทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับ เทศบาลเมืองขอนแก่นแล้ว และโจทก์มิได้ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าดังกล่าว ศาลย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่1 ทำสัญญาให้โจทก์เช่าช่วงอาคารพิพาทอันเป็นการกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเทศบาลเมืองขอนแก่นซึ่งเป็นบุคคลนอกคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3332/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเทศบาลต่อหนี้จากสัญญาซื้อขายสินค้าโดยหน่วยงานภายใน และอายุความของหนี้
ตอนต้นของพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 61 บัญญัติบังคับไว้ว่า เทศพานิชย์ของเทศบาลให้ตราเป็นเทศบัญญัติแต่ในตอนลำดับต่อมาบัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า กิจการใดที่เทศบาลมีรายได้หรือผลพลอยได้อันเกิดจากการกระทำตามอำนาจหน้าที่จะไม่ตราเป็นเทศบัญญัติก็ได้เมื่อระเบียบของกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินงานของสำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพ พ.ศ. 2507 ตราไว้ว่า ผลกำไร อันเป็นรายได้จากการค้าปุ๋ยของสำนักงานปุ๋ย ๆ ส่วนหนึ่งให้ตกเป็นรายได้ ของเทศบาลนครกรุงเทพด้วย และเทศบาลนครกรุงเทพได้ตราเทศบัญญัติงบประมาณค่าใช้จ่ายประจำปีสำหรับสำนักงานปุ๋ย ๆ ไว้อีกด้วยสำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพจึงเป็นเทศพาณิชย์ที่เทศบาลนครกรุงเทพมีรายได้อันเกิดจากการดำเนินกิจการได้รับการยกเว้นไม่ต้องตราเป็นเทศบัญญัติตามมาตรา 61 นอกจากนี้ต่อมาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 224 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2515 ข้อ 1 รองรับเทศพาณิชย์ที่เทศบาลได้จัดตั้งขึ้นก่อนนั้นให้ถือว่าเทศพาณิชย์นั้นได้ตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายว่าด้วย เทศบาลตั้งแต่วันเริ่มก่อตั้งสำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพจึงได้ก่อตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 39 บัญญัติห้ามมิให้ทำการมอบอำนาจให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นพนักงานเทศบาลทำการแทนนายกเทศมนตรีเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการของเทศบาลอันเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรีตามกฎหมายนั้นเท่านั้นส่วนการดำเนินกิจการของสำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพนั้นได้มีระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินงานของสำนักงานปุ๋ย เทศบาลนครกรุงเทพ พ.ศ. 2507 ตราไว้เป็นระเบียบต่างหากว่าให้ตั้ง คณะกรรมการบริหารขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีผู้อำนวยการฯ เป็นผู้บริหาร สำนักงานปุ๋ยซึ่งการตั้งคณะกรรมการบริหารแยกออกต่างหากจากการ บริการกิจการของนายกเทศมนตรี หรือ คณะเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพ นี้ ได้รับการเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทยแล้วรวมทั้งได้มีมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานปุ๋ยฯด้วยการอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยให้สำนักงานปุ๋ยฯ โดยผู้อำนวยการ ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการค้าปุ๋ยอันเป็นวัตถุประสงค์ที่ตราไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินงานของสำนักงานปุ๋ย พ.ศ. 2507 นั้นได้ จำเลยที่ 3 ในฐานะนายกเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการควบคุมดูแลกิจการสำนักงานปุ๋ยฯ ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 4 ซึ่งมิได้เป็นพนักงานของเทศบาลนครกรุงเทพดำเนินกิจการดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามหรือขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
สำนักงานปุ๋ยฯ เป็นเทศพาณิชย์และเป็นหน่วยงานหนึ่งของ เทศบาลนครกรุงเทพ แม้วัตถุประสงค์จะเป็นไปในรูปการค้าปุ๋ยก็ตาม ก็ไม่ถือว่าอยู่นอกวัตถุประสงค์ของเทศบาลนครกรุงเทพเพราะได้ตรา ไว้ แล้วในระเบียบของกระทรวงมหาดไทยซึ่งให้อำนาจเทศบาลนครกรุงเทพ ตั้งสำนักงานปุ๋ยฯ นี้ขึ้น การค้าปุ๋ยจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินงานไป นอกวัตถุประสงค์ของเทศบาลนครกรุงเทพ
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์มีวัตถุประสงค์ในทางการค้าตามวิธีการของธนาคารพาณิชย์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์หนี้ตามสัญญาเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต สัญญาทรัสต์รีซีทและตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งธนาคารโจทก์ค้ำประกันเป็นอาวัล เป็นการดำเนินธุรกิจการค้าตามวิธีการของธนาคารพาณิชย์อย่างหนึ่งซึ่งแตกต่างกับบุคคลผู้เป็นพ่อค้าหรือผู้ค้าที่ได้ซื้อและขายสินค้าอันเป็นปกติธุระตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(7) จึงไม่อาจนำเอาอายุความสองปีหรือห้าปีมาใช้บังคับได้ เมื่อหนี้อันเกิดจากสัญญาดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำเอาบทบัญญัติว่าด้วยอายุความทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 164 ซึ่งกำหนดไว้สิบปีมาใช้บังคับ
หนี้เงินซึ่งในสัญญาได้ตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เพียงแต่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ปรากฏว่านับตั้งแต่วันผิดนัดจำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เลย จึงถือว่าดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากเงินที่ค้างชำระดังกล่าวเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระให้แก่โจทก์นั้นด้วย ซึ่งตามมาตรา 166 บัญญัติไว้ให้สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยที่ค้างส่งนี้ได้ในอายุความเพียงห้าปี โจทก์หามีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เกินกว่า 5 ปีไม่
พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 39 บัญญัติห้ามมิให้ทำการมอบอำนาจให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นพนักงานเทศบาลทำการแทนนายกเทศมนตรีเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับการบริหารกิจการของเทศบาลอันเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรีตามกฎหมายนั้นเท่านั้นส่วนการดำเนินกิจการของสำนักงานปุ๋ยเทศบาลนครกรุงเทพนั้นได้มีระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินงานของสำนักงานปุ๋ย เทศบาลนครกรุงเทพ พ.ศ. 2507 ตราไว้เป็นระเบียบต่างหากว่าให้ตั้ง คณะกรรมการบริหารขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีผู้อำนวยการฯ เป็นผู้บริหาร สำนักงานปุ๋ยซึ่งการตั้งคณะกรรมการบริหารแยกออกต่างหากจากการ บริการกิจการของนายกเทศมนตรี หรือ คณะเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพ นี้ ได้รับการเห็นชอบของกระทรวงมหาดไทยแล้วรวมทั้งได้มีมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานปุ๋ยฯด้วยการอนุมัติจากกระทรวงมหาดไทยให้สำนักงานปุ๋ยฯ โดยผู้อำนวยการ ดำเนินกิจการเกี่ยวกับการค้าปุ๋ยอันเป็นวัตถุประสงค์ที่ตราไว้ในระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการดำเนินงานของสำนักงานปุ๋ย พ.ศ. 2507 นั้นได้ จำเลยที่ 3 ในฐานะนายกเทศมนตรีเทศบาลนครกรุงเทพซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายในการควบคุมดูแลกิจการสำนักงานปุ๋ยฯ ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 4 ซึ่งมิได้เป็นพนักงานของเทศบาลนครกรุงเทพดำเนินกิจการดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามหรือขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
สำนักงานปุ๋ยฯ เป็นเทศพาณิชย์และเป็นหน่วยงานหนึ่งของ เทศบาลนครกรุงเทพ แม้วัตถุประสงค์จะเป็นไปในรูปการค้าปุ๋ยก็ตาม ก็ไม่ถือว่าอยู่นอกวัตถุประสงค์ของเทศบาลนครกรุงเทพเพราะได้ตรา ไว้ แล้วในระเบียบของกระทรวงมหาดไทยซึ่งให้อำนาจเทศบาลนครกรุงเทพ ตั้งสำนักงานปุ๋ยฯ นี้ขึ้น การค้าปุ๋ยจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินงานไป นอกวัตถุประสงค์ของเทศบาลนครกรุงเทพ
โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์มีวัตถุประสงค์ในทางการค้าตามวิธีการของธนาคารพาณิชย์ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติธนาคารพาณิชย์หนี้ตามสัญญาเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต สัญญาทรัสต์รีซีทและตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งธนาคารโจทก์ค้ำประกันเป็นอาวัล เป็นการดำเนินธุรกิจการค้าตามวิธีการของธนาคารพาณิชย์อย่างหนึ่งซึ่งแตกต่างกับบุคคลผู้เป็นพ่อค้าหรือผู้ค้าที่ได้ซื้อและขายสินค้าอันเป็นปกติธุระตามนัยที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)(7) จึงไม่อาจนำเอาอายุความสองปีหรือห้าปีมาใช้บังคับได้ เมื่อหนี้อันเกิดจากสัญญาดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำเอาบทบัญญัติว่าด้วยอายุความทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 164 ซึ่งกำหนดไว้สิบปีมาใช้บังคับ
หนี้เงินซึ่งในสัญญาได้ตกลงให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เพียงแต่ไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ในสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 ยังค้างชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ปรากฏว่านับตั้งแต่วันผิดนัดจำเลยที่ 1 ไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เลย จึงถือว่าดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดจากเงินที่ค้างชำระดังกล่าวเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระให้แก่โจทก์นั้นด้วย ซึ่งตามมาตรา 166 บัญญัติไว้ให้สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยที่ค้างส่งนี้ได้ในอายุความเพียงห้าปี โจทก์หามีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เกินกว่า 5 ปีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารผิดแบบ การปฏิบัติตามกฎหมาย และความรับผิดของผู้กระทำ
จำเลยถูกฟ้องว่าปลูกสร้างอาคารไม่ตรงตามแบบที่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯลฯ อันจะทำให้ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดเช่นนี้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบแห่งความผิดครบถ้วนแล้ว และเป็นหน้าที่ของจำเลย ที่จะต้องนำสืบว่าการกระทำของจำเลยเข้าข้อยกเว้นข้ออุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ข้อบัญญัติส่วนท้องถิ่นเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่คนทั่วประเทศมิใช่บังคับเฉพาะแต่คนในท้องถิ่นเท่านั้น จึงเป็น ข้อกฎหมายที่ศาลจะต้องทราบเอง โดยโจทก์มิต้องนำสืบความในข้อบัญญัติดังกล่าว
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่า "ก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากคณะเทศมนตรีเมืองปทุมธานี" เช่นนี้เป็นการแจ้งข้อหาชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 พนักงานสอบสวนหาจำต้องแจ้งชื่อพระราชบัญญัติด้วยไม่การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยทราบอยู่แล้วว่าการก่อสร้างอาคารในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาล ซึ่งมีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี ฯ แล้ว การที่จำเลยก่อสร้างฝ่าฝืนต่อเติมอาคารผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต จึงจะยกเป็นเหตุอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อไม่ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 ไม่ได้
ข้อบัญญัติส่วนท้องถิ่นเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่คนทั่วประเทศมิใช่บังคับเฉพาะแต่คนในท้องถิ่นเท่านั้น จึงเป็น ข้อกฎหมายที่ศาลจะต้องทราบเอง โดยโจทก์มิต้องนำสืบความในข้อบัญญัติดังกล่าว
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่า "ก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากคณะเทศมนตรีเมืองปทุมธานี" เช่นนี้เป็นการแจ้งข้อหาชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 พนักงานสอบสวนหาจำต้องแจ้งชื่อพระราชบัญญัติด้วยไม่การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยทราบอยู่แล้วว่าการก่อสร้างอาคารในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาล ซึ่งมีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี ฯ แล้ว การที่จำเลยก่อสร้างฝ่าฝืนต่อเติมอาคารผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต จึงจะยกเป็นเหตุอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อไม่ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เทศบาลมีหน้าที่บำรุงรักษาทาง ไม่มีหน้าที่รับถนนยกให้ การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้ว่าฯ และไม่ลงชื่อรับรองแนวเขต ไม่เป็นความผิดอาญา
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 53 เทศบาลไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับถนนที่มีผู้ยกให้ และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่มีอำนาจสั่งให้เทศบาลรับถนนที่มีผู้ยกให้ดังกล่าวนอกจากมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมายดังบัญญัติไว้ในมาตรา 71 เท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่สั่งให้จำเลยรับถนนที่โจทก์กับผู้มีชื่อยกให้การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 165
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (2), 53 เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาล หรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 70 ไม่ ฉะนั้น แม้จำเลยจะไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (2), 53 เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาล หรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 70 ไม่ ฉะนั้น แม้จำเลยจะไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจหน้าที่เทศบาลในการรับถนนและระวังแนวเขตที่ดิน: นายกเทศมนตรีไม่ต้องรับผิดตามกฎหมายอาญา
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 53 เทศบาลไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องรับถนนที่มีผู้ยกให้และผู้ว่าราชการจังหวัดก็ไม่มีอำนาจสั่งให้เทศบาลรับถนนที่มีผู้ยกให้ดังกล่าวนอกจากมีอำนาจควบคุมดูแลเทศบาลให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมายดังบัญญัติไว้ในมาตรา 71 เท่านั้น ฉะนั้น ถึงแม้จำเลยซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่สั่งให้จำเลยรับถนนที่โจทก์กับผู้มีชื่อยกให้ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา165
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50(2),53 เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาล หรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 70ไม่ ฉะนั้นแม้จำเลยจะไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 50(2),53 เทศบาลมีหน้าที่จัดให้มีการบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ หาได้บัญญัติให้เทศบาล หรือจำเลยมีหน้าที่ต้องระวังแนวเขตและลงชื่อรับทราบแนวเขตตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 70ไม่ ฉะนั้นแม้จำเลยจะไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตทางสาธารณะ การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 860/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน: การประเมินค่ารายปีจากค่าเช่าหอพัก และอำนาจพิจารณาของเทศบาล
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 8 ให้ผู้รับประเมินชำระภาษีตามค่ารายปีของทรัพย์สิน ซึ่งหมายถึงจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้นสมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ ถ้าทรัพย์สินนั้นให้เช่า ก็ให้ถือเอาค่าเช่าเป็นหลักคำนวณค่ารายปีมิใช่จะต้องคำนวณค่ารายปีจากค่าเช่าที่เจ้าของโรงเรือนให้เช่าเท่านั้น โรงเรือนของโจทก์แบ่งเป็นห้องๆใช้ทำเป็นหอพักโดยได้รับค่าตอบแทนจากผู้มาพัก เป็นรายได้ที่แน่นอนการประเมินค่ารายปีจากรายได้นี้ จำเลยย่อมคิดค่าภาษีโดยวิธีคำนวณจากรายได้ที่โจทก์ได้รับเป็นเกณฑ์ เท่ากับที่สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆ ได้
โรงเรือนของโจทก์ใช้เป็นหอพักโดยได้รับค่าตอบแทนจากผู้มาพักแม้โจทก์จะอยู่อาศัยในหอพักด้วยก็ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียวจึงไม่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
การติดตั้งเครื่องมิเตอร์ปั๊มน้ำและมิเตอร์ประปา กับเครื่องปั๊มลมและอื่น ๆ ในโรงเรือนของโจทก์ ก็เพื่อความสะดวกและเป็นเพียงบริการแก่ผู้มาพักเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเจ้าของโรงเรือนติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องกระทำเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมตามความหมายของมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จึงไม่ได้รับลดหย่อนภาษีโรงเรือนและที่ดิน
พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ.2497 มาตรา 4 บัญญัติให้เทศบาลจัดเก็บภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดินในเขตเทศบาลเป็นของเทศบาลเอง และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 36 และมาตรา 39 บัญญัติให้มีเทศมนตรีขึ้นคณะหนึ่ง มีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลดังนั้น อำนาจชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ซึ่งเดิมพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475 มาตรา 25 ให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรจึงตกมาเป็นอำนาจและความรับผิดชอบของคณะเทศมนตรีอธิบดีกรมสรรพากรจึงไม่มีอำนาจชี้ขาดคำร้องขอพิจารณาการประเมินค่าภาษีโรงเรือน
โรงเรือนของโจทก์ใช้เป็นหอพักโดยได้รับค่าตอบแทนจากผู้มาพักแม้โจทก์จะอยู่อาศัยในหอพักด้วยก็ไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยเพียงอย่างเดียวจึงไม่ได้รับยกเว้นการเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
การติดตั้งเครื่องมิเตอร์ปั๊มน้ำและมิเตอร์ประปา กับเครื่องปั๊มลมและอื่น ๆ ในโรงเรือนของโจทก์ ก็เพื่อความสะดวกและเป็นเพียงบริการแก่ผู้มาพักเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเจ้าของโรงเรือนติดตั้งส่วนควบที่สำคัญมีลักษณะเป็นเครื่องกระทำเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมตามความหมายของมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 จึงไม่ได้รับลดหย่อนภาษีโรงเรือนและที่ดิน
พระราชบัญญัติรายได้เทศบาล พ.ศ.2497 มาตรา 4 บัญญัติให้เทศบาลจัดเก็บภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดินในเขตเทศบาลเป็นของเทศบาลเอง และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 มาตรา 36 และมาตรา 39 บัญญัติให้มีเทศมนตรีขึ้นคณะหนึ่ง มีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลดังนั้น อำนาจชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ซึ่งเดิมพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475 มาตรา 25 ให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรจึงตกมาเป็นอำนาจและความรับผิดชอบของคณะเทศมนตรีอธิบดีกรมสรรพากรจึงไม่มีอำนาจชี้ขาดคำร้องขอพิจารณาการประเมินค่าภาษีโรงเรือน