คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,035 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2147/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: สิทธิคงอยู่แม้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดถูกเพิกถอนและมีคำสั่งใหม่
เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลล้มละลายกลางและให้ศาลล้มละลายกลางดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานจำเลยทั้งสองต่อไป คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดย่อมถูกเพิกถอนไป และต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่เฉพาะในส่วนที่ผิดพลาดและถูกเพิกถอนเท่านั้น กระบวนพิจารณาในส่วนนี้ย่อมนำ ป.วิ.พ. มาใช้ได้แต่ในคดีล้มละลายยังมีกระบวนพิจารณาโดยเฉพาะซึ่งมีความแตกต่างไปจากคดีแพ่งทั่วไปตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 6 บัญญัติไว้ ซึ่งอาจกระทำโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือเริ่มต้นที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ได้หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วเมื่อคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องไม่มีส่วนใดที่ผิดกฎหมาย จึงไม่ถูกเพิกถอนและยังคงมีผลใช้ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะยกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลล้มละลายกลางแล้วต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งใหม่โดยมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเช่นเดิม คำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องที่ยื่นไว้เดิมจึงยังคงมีผลใช้ได้โดยไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ใหม่
ในคดีล้มละลายเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ได้ก็แต่โดยยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติไว้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามคำสั่งศาลล้มละลายกลางอีกครั้งหนึ่งนั้น การโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในครั้งที่สองนี้มีความประสงค์เพียงเพื่อให้เจ้าหนี้ที่จำเลยทั้งสองไปก่อหนี้สินขึ้นภายหลังวันที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของศาลล้มละลายกลาง จนถึงวันก่อนวันอ่านคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดครั้งที่สองของศาลล้มละลายกลางมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้เท่านั้นเมื่อผู้ร้องซึ่งได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้วในคราวโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ครั้งแรกจึงถือได้ว่ายื่นคำขอใว้แล้วก่อนระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดครั้งที่สองสิ้นสุดลง ผลของการยื่นคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้องจึงยังคงมีอยู่โดยไม่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สิทธิในที่ดิน และอำนาจศาลในการเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่ชอบ
แม้ที่ดินพิพาทจะมีการออกโฉนดที่ดินเป็นชื่อของจำเลยก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทเท่านั้น การนำสืบเพื่อพิสูจน์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ใดและการออกโฉนดที่ดินพิพาทชอบหรือไม่ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง อีกทั้งมิใช่การนำสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในโฉนดที่ดินพิพาท จึงสามารถนำสืบพยานบุคคลได้ว่าโฉนดที่ดินพิพาทออกโดยชอบหรือไม่ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโฉนดที่ดินพิพาทของจำเลยออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะมิได้ขอให้ศาลเพิกถอน ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ คำพิพากษาที่ให้เพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาท มิใช่เป็นการบังคับผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นบุคคลภายนอก แต่เป็นการบังคับเฉพาะคู่ความในคดีนี้เท่านั้น ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดที่ดินได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7757/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนสูติบัตรเท็จที่ไม่กระทบสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ จึงไม่เป็นเหตุให้ต้องใช้สิทธิทางศาล
ตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองที่อ้างว่า โจทก์ที่ 1 เป็นบุตรนาย บ. และโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ของนาย บ. จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องและแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนท้องถิ่นของจำเลยที่ 2 ว่า เด็กหญิง ญ. เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 กับนาย บ. เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 หลงเชื่อจึงออกสูติบัตรของเด็กหญิง ญ. ให้นั้น ไม่มีข้อความตอนใดที่พาดพิงถึงโจทก์ทั้งสอง สูติบัตรที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ออกให้ก็ไม่มีข้อความเกี่ยวพันถึงโจทก์ทั้งสองแต่อย่างใด การยื่นคำร้องและการแจ้งข้อความขอออกสูติบัตรที่จำเลยที่ 1 กระทำต่อเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ก็ดี การที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ออกสูติบัตรของเด็กหญิง ญ. ก็ดี ไม่เป็นกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองตามกฎหมายแพ่ง และไม่เป็นกรณีที่โจทก์ทั้งสองจะต้องใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนบัญชีระบุพยานที่ยื่นไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง และมาตรา 87(2) บัญญัติวางหลักเบื้องต้นของกฎหมายไว้ ก็เพื่อให้คู่ความแต่ละฝ่ายมีโอกาสทราบว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะอ้างพยานหลักฐานใดบ้าง ป้องกันไม่ให้เกิดการจู่โจมทางพยาน จึงเป็นบทบัญญัติที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมการที่จำเลยมิได้ปฏิบัติเช่นนั้นและศาลเห็นสมควร ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคหนึ่ง แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดขอก็ตาม สำหรับกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ต้องเสียหายเป็นผู้ยกขึ้นอ้าง จึงจะตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคสอง ดังนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสองจึงไม่เกี่ยวกับกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจ เมื่อจำเลยทั้งสามยื่นบัญชีระบุพยานฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ทั้งจำเลยทั้งสามมิได้ดำเนินการแก้ไขข้อผิดหลงของจำเลยทั้งสามขอให้ศาลรับบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสุดท้าย หรือขอให้ศาลสืบพยานหลักฐานจำเลยทั้งสามโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 88 วรรคหนึ่ง ตามมาตรา 87(2) ศาลชั้นต้นชอบที่จะเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ไม่รวมคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
ก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 เจ้าพนักงานที่ดิน และจำเลยที่ 2 กรมที่ดินให้เพิกถอนคำสั่งจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท โจทก์ทราบอยู่แล้วว่า ส. และธนาคาร ก. ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวมาก่อน แต่โจทก์กลับฟ้องเพียงจำเลยทั้งสองเท่านั้น มิได้ฟ้องหรือเรียก ส. และธนาคาร ก. ผู้ทำนิติกรรมจำนองที่ดินเข้ามาเป็นคู่ความด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทจึงเป็นการขอให้ศาลพิพากษากระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 โจทก์มิอาจฟ้องบังคับได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และการละเมิดเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีการลวงขาย
เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2524 อันเป็นเวลาที่ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ใช้บังคับอยู่ การโต้แย้งสิทธิอันเกิดจากการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าย่อมต้องนำ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มาใช้บังคับ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องตกอยู่ในบังคับของมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 มิใช่บทบัญญัติของมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เมื่อบทบัญญัติในมาตรา 41 มิได้กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเหมือนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่ ซึ่งมีกำหนด 10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยต้องเริ่มนับอายุความขณะที่อาจบังคับสิทธินั้นได้เป็นต้นไป ตามมาตรา 169 เดิม หรือมาตรา 193/12 ใหม่ คือนับแต่วันที่ 14 กันยายน 2524 อันเป็นวันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีนี้วันที่ 2 กรกฎาคม 2539 จึงเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 คำฟ้องโจทก์ที่ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงขาดอายุความ
โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สำหรับสินค้าในจำพวกที่ 7 ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ชนิดสินค้าเครื่องฉีดพ่นที่ใช้กำลังเครื่องจักรและส่วนของเครื่องดังกล่าวซึ่งอยู่ในจำพวกนี้ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2520 ตามทะเบียนเลขที่ 62856 ส่วนจำเลยที่ 1 ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สำหรับสินค้าในจำพวกที่ 6 ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ชนิดสินค้า เครื่องสูบน้ำ เครื่องสูบฉีดน้ำ และเครื่องฉีดยาฆ่าแมลง (ที่มีมอเตอร์) เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2524 ตามทะเบียนเลขที่ 76857 โจทก์จึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าตราเพชรที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าในจำพวกที่ 6 ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารูปเพชรตามทะเบียนเลขที่ 76857 กับสินค้าท่อน้ำและสายยางมาตั้งแต่ปลายปี 2511 การที่จำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้ารูปเพชรกับสินค้าเครื่องพ่นยาฆ่าแมลงและเครื่องสูบน้ำตรงตามรูปเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าดังกล่าวและระบุชื่อจำเลยที่ 1 ไว้ที่ตัวสินค้าให้เห็นได้อย่างชัดเจนโดยเฉพาะสินค้าของจำเลยที่ 1 ได้ระบุหมายเลข "76857" ซึ่งเป็นเลขทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปเพชรของจำเลยที่ 1 ไว้ที่ใต้รูปเครื่องหมายการค้าเพชรติดไว้ที่ตัวสินค้าด้วย จำเลยที่ 1 มิได้เอาชื่อบริษัทโจทก์มาติดไว้ที่ตัวสินค้าของจำเลยที่ 1 ทั้งมิได้นำเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้แต่อย่างใด พฤติการณ์และลักษณะการใช้เครื่องหมายการค้ารูปเพชรของจำเลยที่ 1 กับสินค้าของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวยังไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำการลวงขายสินค้าของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นสินค้าของโจทก์อันจะเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปเพชรของโจทก์ที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าเครื่องพ่นยาฆ่าแมลงที่มีมอเตอร์ โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเนื่องจากการลวงขายตามฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเพิกถอนการโอนสิทธิเช่าสร้างและชดใช้ค่าเสียหาย แม้ทรัพย์สินถูกเวนคืน ก็ต้องบังคับคดีตามส่วนที่เหลือ
ศาลฎีกาพิพากษากลับให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ถ้าไม่สามารถเพิกถอน การโอนสิทธิการเช่าสร้างและสัญญาเช่าสร้างดังกล่าวไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันชดใช้เงิน 3,200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ หากเพิกถอนการ โอนสิทธิการเช่าสร้างและสัญญาเช่าสร้างดังกล่าวได้แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ไม่สามารถโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้โจทก์ได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ ให้จำเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวชดใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยตามจำนวนที่กำหนดไว้ข้างต้นแก่โจทก์ จำเลย ทั้งสามมิได้ปฏิบัติตามคำบังคับของศาล แต่ก่อนที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาดังกล่าว ที่ดินแปลงที่จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 3 เช่าสร้างอาคารถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ เมื่อที่ดินตามสัญญาเช่าสร้างดังกล่าวถูกเวนคืนทำให้ไม่มีทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาให้เพิกถอนเพื่อโอนให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าสภาพแห่งการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาไม่เปิดช่อง ให้กระทำได้ กรณีจึงต้องดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาในลำดับต่อมา คือ จำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องร่วมกัน ชดใช้เงิน 3,200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ การที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยที่ 3 ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้โจทก์จึงเป็นการปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนของคำพิพากษาศาลฎีกาและเป็นการบังคับคดีที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3809/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการขายทอดตลาด: การยกเว้นการเพิกถอนการขายทอดตลาดเนื่องจากราคาที่ไม่สอดคล้องกับราคาประเมิน
จำเลยยื่นคำร้องว่า โจทก์เคยประเมินราคาที่ดินทั้งสองแปลงไว้ประมาณ8,000,000 บาท แต่ขายทอดตลาดไปในราคา 5,600,000 บาท โดยโจทก์ซื้อที่ดินแปลงแรกในราคาต่ำกว่าที่ดินแปลงที่สองถึง 1,000,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ติดกันและก่อนขายทอดตลาดจำเลยก็ได้ยื่นคำคัดค้านการประเมินราคาที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้เป็นเงิน 5,432,700 บาท ว่าเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาที่โจทก์ประเมินไว้และต่ำกว่าราคาตามความเป็นจริงในท้องตลาด เป็นการขายโดยไม่สุจริตและชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นธรรมแก่จำเลย ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด ข้ออ้างตามคำร้องดังกล่าวเป็นเรื่องโต้แย้งราคาขายซึ่งอาจแตกต่างจากการซื้อขายกันตามปกติได้ ส่วนการประเมินราคาก็เป็นการกำหนดราคาไว้ในเบื้องต้นซึ่งไม่แน่นอนแล้วแต่ภาวะเศรษฐกิจ คำร้องของจำเลยจึงมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งดังที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง หรือเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลหรือความไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรวัสดุรองรับแรงกระแทก: การประดิษฐ์ที่ไม่เป็นของใหม่ ทำให้สิทธิบัตรไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วยลักษณะการประดิษฐ์ 3 ข้อ คือ เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และสามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ทั้งนี้ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า การประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มตามสิทธิบัตรของจำเลยไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ การประดิษฐ์ของจำเลยจึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของจำเลยย่อมไม่ชอบด้วยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จึงเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้ตามมาตรา 54

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2703/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบัตรวัสดุรองรับแรงกระแทก: ไม่อินโนเวต-ใช้แล้วก่อนขอรับสิทธิบัตร ศาลฎีกายืนเพิกถอน
จำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะเชื่อว่าได้มีการละเมิดสิทธิบัตรของจำเลย การที่จำเลยร้องทุกข์เพื่อให้ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์เป็นการขอรับความคุ้มครองเพื่อให้มีการบังคับตามสิทธิบัตรที่จำเลยได้รับอยู่เป็นการใช้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมาย ส่วนเจ้าพนักงานตำรวจจะดำเนินการแก่โจทก์อย่างไรต่อไปเป็นดุลพินิจของเจ้าพนักงานตำรวจการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายหรือใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์อันจะเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 421
การประดิษฐ์ที่จะขอรับสิทธิบัตรได้ต้องประกอบด้วย (1) เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่(2) เป็นการประดิษฐ์ที่มีขั้นสูงขึ้น และ (3) เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มาตรา 5 เมื่อการประดิษฐ์วัสดุรองรับแรงกระแทกบนหัวเสาเข็มตามสิทธิบัตรของจำเลยไม่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ จึงไม่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรของจำเลยที่ได้ออกไปโดยไม่ชอบด้วยมาตรา 5 จึงเป็นสิทธิบัตรไม่สมบูรณ์และเพิกถอนได้ตามมาตรา 54
of 104