พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าในคดีล้มละลาย แม้ไม่สามารถกลับสู่ฐานะเดิมได้ แต่ผู้รับโอนต้องชดใช้ราคา
การที่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าระหว่างจำเลยกับผู้คัดค้านแต่มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านใช้เงินแทนด้วยเหตุที่โดยสภาพแล้วมิอาจให้จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเป็นผู้เช่าดังเดิมได้นั้น เป็นการสั่งเพิกถอนการโอนแล้ว ขณะที่จำเลยโอนสิทธิการเช่าให้ผู้คัดค้าน สิทธิการเช่าตามสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับผู้ให้เช่ายังไม่ครบกำหนด ยังมีประโยชน์สามารถตีราคาเป็นทรัพย์สินของจำเลย เมื่อผู้คัดค้านรับโอนไปย่อมเป็นการรับโอนทรัพย์สินจากจำเลยและย่อมได้รับประโยชน์ตลอดเวลาแห่งสิทธิการเช่าดังกล่าวซึ่งคำนวณราคาเป็นเงินได้ การเพิกถอนการโอนจึงอาจบังคับได้โดยให้ผู้คัดค้านชดใช้เงินแทนตามราคาที่คำนวณได้นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2279/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากการเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย เริ่มนับแต่วันศาลมีคำสั่งเพิกถอน ไม่ใช่วันยื่นคำร้อง
คดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่างบุคคลล้มละลายกับบุคคลภายนอก หากศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน และให้บุคคลภายนอกโอนที่ดินสู่กองทรัพย์สินของบุคคลล้มละลายถ้าไม่สามารถโอนได้ให้ใช้ราคาแทนพร้อมดอกเบี้ยนั้น ให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน มิใช่นับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการโอน เพราะตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่และยังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องขอให้เพิกถอน และปัญหาว่าผู้ร้องมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่เมื่อใดเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนและจำนองในคดีล้มละลาย และขอบเขตความรับผิดของผู้รับจำนองเมื่อไม่สามารถกลับสู่ฐานะเดิม
การร้องขอเพิกถอนการโอนหรือการกระทำตามมาตรา 114แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นอำนาจของผู้ร้องโดยเฉพาะที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่ง เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนแล้ว ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทุกคน และประชาชนเพื่อที่ผู้ร้องจะจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลายต่อไป การที่ผู้ร้องขออนุญาตแก้ไขคำร้องเดิมโดยเพิ่มคำว่า "สิ่งปลูกสร้าง" ลงในส่วนคำขอท้ายคำร้องขอเพิกถอนนั้น จึงเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่จำต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขก่อนวันสืบพยานและเมื่อผู้คัดค้านไม่หลงผิดในคำร้องเดิมโดยได้คัดค้านและนำสืบพยานไว้แล้ว ผู้คัดค้านย่อมไม่เสียเปรียบและไม่จำต้องส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพื่อให้คัดค้านและนำสืบอีก การที่ผู้ร้องนำสืบว่า พ.เป็นตัวแทนของลูกหนี้ซื้อที่ดินแทนลูกหนี้นั้นเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงระหว่างกันในกรณีเป็นตัวแทนไม่ใช่นำสืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาหรือเกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาจะขายที่ดินโดยอาศัยสัญญาตัวแทนเป็นมูลกรณี จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ประกอบพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 เมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอนการจำนองแล้ว ก็เท่ากับไม่มีการจำนองรายที่ถูกเพิกถอนอีกต่อไป คู่กรณีตามสัญญาจำนองย่อมกลับสู่ฐานะเดิมเสมือนไม่มีการจำนองกัน ไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะต้องสั่งให้มีการชดใช้ราคาทรัพย์ในกรณีที่ไม่สามารถกลับคืนสู่ฐานะเดิมอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการนำสืบพยานเพิ่มเติมในคดีล้มละลาย & การเพิกถอนการโอนสิทธิเช่าโดยสุจริต
การที่คู่กรณีฝ่ายใดได้ให้ถ้อยคำหรือแสดงพยานหลักฐานอย่างใดต่อผู้ร้องในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้แล้ว เมื่อมีปัญหาเป็นประเด็นข้อพิพาทขึ้นสู่ศาล คู่กรณีฝ่ายนั้นย่อมมีสิทธินำสืบข้อเท็จจริงในประเด็นนั้น ๆ ได้ แม้จะเป็นการเพิ่มเติมข้อเท็จจริงก็ตาม หามีกฎหมายห้ามไว้ไม่ เมื่อกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการสืบพยานหลักฐานเป็นไปโดยชอบแล้วพยานหลักฐานที่นำสืบก็ย่อมรับฟังได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้คัดค้านรับโอนสิทธิการเช่าอาคารและที่ดินราชพัสดุมาจากลูกหนี้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เป็นกรณีที่จะเพิกถอนการโอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3450/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริตและเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ ศาลเพิกถอนการโอนและให้ชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยที่ 2 มีอาชีพค้าขายที่ดินและบ้านจัดสรรมาหลายปีแล้วทั้งจำเลยที่ 2 เห็นรั้วอิฐบล็อกที่กั้นที่ดินพิพาทจากทางทิศใต้ไปทางทิศเหนือรวม 2 แนวซึ่งไปจดรั้วของบ้านจำเลยที่ 2 และเห็นการถมดินและอาคารซึ่งเทพื้นคอนกรีตโดยมีโครงหลังคาเหล็กก่อสร้างในที่ดินพิพาทเช่นนี้ จำเลยที่ 2 น่าจะรู้ราคาจริงของที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างว่าเป็นเงินเท่าใด และราคาซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยที่ 2 รับซื้อไว้จากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 900,000 กว่าบาทนั้น ต่ำกว่าราคาซื้อขายที่แท้จริงเพียงใดหรือไม่เพราะตามปกติราคาซื้อขายที่แท้จริงของที่ดินจะสูงกว่าราคาที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม แต่ได้ความตามคำเบิกความของจำเลยที่ 2 เองว่าราคาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นเงิน 900,000 กว่าบาท ส่วนราคาที่ดินพิพาทซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินประเมินไว้เป็นเงินถึง 1,480,000 บาทดังนั้นถ้าถือตามราคาที่ดินพิพาทที่ซื้อขายกันดังคำเบิกความของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมินมากเมื่อพิเคราะห์ประกอบกับการที่จำเลยที่ 2 รู้จักกับจำเลยที่ 1 มาเป็นเวลาหลายปีและจำเลยที่ 2 มีที่ดินติดต่อกันด้วยแล้ว จึงฟังได้ว่าการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นไปโดยไม่สุจริตโดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาท ให้จำเลยทั้งสองโอนที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ หากโอนไม่ได้จึงให้ชำระค่าเสียหายนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่ จึงถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าว คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ก่อนล้มละลาย: กรรมสิทธิ์ยังเป็นของจำเลย การโอนเพื่อเอื้อประโยชน์เจ้าหนี้
ก่อนมีการขอให้จำเลยล้มละลาย 1 วัน จำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามแม้จะฟังว่าก่อนหน้านั้นจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทให้แก่ ท.ท. ชำระราคาครบถ้วนแล้วแต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เนื่องจาก ท. ประสงค์จะขายต่อและจะให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อไปทีเดียวเพื่อประหยัดค่าธรรมเนียม ต่อมา ท. ตกลงจะขายที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1โดยให้ผู้คัดค้านที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายกับจำเลยมีข้อความระบุว่าเป็นการขายภายใต้ความยินยอมของ ท. เมื่อผู้คัดค้านที่ 1ชำระราคาให้ ท. ครบถ้วนแล้ว จำเลยจึงโอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามตามความประสงค์ของผู้คัดค้านที่ 1 แต่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้โอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้แก่ ท. การซื้อขายที่พิพาทระหว่างจำเลยกับ ท. ก็ยังไม่เป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคแรก ต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในที่พิพาทยังเป็นของจำเลยอยู่ จำเลยจึงมิใช่ผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแทน ท. ผลตามสัญญาจะซื้อขายทั้งสองฉบับคงมีแต่เพียงว่าหากจำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1โดย ท.ยินยอมไม่ถือว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายกับท. เท่านั้นการที่จำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่ผู้คัดค้านทั้งสามจึงหาใช่เป็นการโอนที่พิพาทแทน ท. ไม่ เมื่อการโอนขายที่ดินดังกล่าวเป็นการโอนในระหว่างสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายโดยขณะนั้นจำเลยมีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ ต้องถือว่าเป็นการโอนโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านทั้งสามได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 การเพิกถอนการโอนทรัพย์พิพาทเป็นไปโดยผลของคำพิพากษาตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบอยู่กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้อง อันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในดอกเบี้ยตามขอ ผู้ร้องมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย ผู้รับโอนต้องคืนเงินให้กองทรัพย์สิน หากการโอนไม่สุจริต
การโอนทรัพย์สินซึ่งลูกหนี้ได้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามปีก่อนล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 นั้นเป็นหน้าที่ของผู้รับโอนจะต้องนำสืบแสดงให้เป็นที่พอใจศาลว่าการโอนนั้นได้กระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ผู้คัดค้านและจำเลยที่ 1 ต่างเป็นบริษัทประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ด้วยกัน จำเลยที่ 1 ติดต่อกู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านตั้งแต่ พ.ศ. 2523 เป็นต้นมา จนถึงเดือนธันวาคม 2526จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ผู้คัดค้าน 5,000,000 บาทโดยไม่มีหลักประกันแสดงว่าผู้คัดค้านกับจำเลยที่ 1 ติดต่อสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาตลอดเป็นเวลาหลายปี จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งธนาคารแห่งประเทศไทยขอหยุดทำการจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินโดยอ้างว่าเริ่มประสบวิกฤติการณ์ทางภาวะการเงินมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2526 ซึ่งผู้คัดค้านน่าจะทราบดีถึงภาวะการเงินของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่ผู้คัดค้าน2 ฉบับ ๆ แรกจำนวน 969,408 บาท ผู้คัดค้านได้รับเงินแล้ว ฉบับที่2 จำนวน 4,453,812 บาท ตั๋วถึงกำหนดใช้เงินวันที่ 22 ธันวาคม2527 แต่จำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อแก่ผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2526 เพื่อชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวก่อนตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดชำระถึง 1 ปี พฤติการณ์ดังกล่าวฟังไม่ได้ว่าผู้คัดค้านได้รับโอนสิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริต และเป็นการโอนซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนล้มละลาย ศาลจึงมีอำนาจเพิกถอนการโอนนั้นได้ ผู้คัดค้านต้องคืนเงินที่ได้รับจากการรับโอนสิทธิเรียกร้องเข้ากองทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 โดยให้ผู้คัดค้านหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นซึ่งผู้คัดค้านได้จ่ายไปเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องที่รับโอนมาได้ ผู้คัดค้านออกเงินค่าใช้จ่ายก็เพื่อบังคับตามสัญญาเช่าซื้อตามสิทธิเรียกร้องที่รับโอนมา มิใช่เป็นการจัดการงานนอกสั่งสัญญาเช่าซื้อระบุแต่เพียงว่าจำเลยที่ 1 ยอมออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการบังคับตามสัญญาเช่าซื้อ โดยมิได้กำหนดว่าจำเลยที่ 1ยอมชดใช้ดอกเบี้ยในส่วนค่าใช้จ่ายที่ผู้คัดค้านจ่ายไป ผู้คัดค้านจึงไม่อาจหักดอกเบี้ยในส่วนนี้จากจำนวนเงินที่ต้องชดใช้แก่ผู้ร้อง ส่วนดอกเบี้ยของเงินจำนวนที่ผู้คัดค้านต้องชดใช้ให้แก่ผู้ร้องนั้น ในวันยื่นคำร้องยังถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านผิดนัดผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนขายที่ดิน: ดอกเบี้ยเริ่มนับจากคำสั่งศาล
การเพิกถอนการโอนขายที่ดินพิพาทเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามขอ ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: ดอกเบี้ยเริ่มนับจากคำพิพากษา
การเพิกถอนการโอนขายที่ดินพิพาทเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามขอ ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องเป็นการโอนที่ทำให้เจ้าหนี้รายอื่นเสียเปรียบ และผู้รับโอนไม่ใช่เจ้าหนี้เดิม
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ร้องขอเพิกถอนในกรณีที่จำเลยที่ 1มุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ซึ่งมีความหมายว่าการโอนทรัพย์นั้นต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ เนื่องจากบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นต่างก็จะไม่ได้ชำระหนี้หรือไม่ได้ชำระหนี้เต็มจำนวนจากจำเลยที่ 1เพราะสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้น ได้รับความเสียหายอยู่ก่อนแล้วจากการที่ลูกหนี้มีทรัพย์สินน้อยกว่าหนี้สินซึ่งจะทำให้บรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นได้รับชำระหนี้เพียงส่วนเฉลี่ยในทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1นำทรัพย์สินเท่าที่มีไปชำระให้เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเป็นการให้เปรียบแก่เจ้าหนี้คนนั้นและทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบเพราะได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่มีโอกาสได้รับชำระโดยเฉลี่ยจากทรัพย์สินที่โอนไป กฎหมายจึงมุ่งคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ด้วยกัน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนมิให้ได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน และอาจให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนการโอนหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นการให้เปรียบเช่นนี้ได้ แต่กรณีการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และพันธบัตรโทรศัพท์พิพาทอันเป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 มาก่อน ไม่มีปัญหาเรื่องผู้รับโอนจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นหรือไม่ หากจะถือว่าการโอนของจำเลยที่ 1 เป็นการให้เปรียบแก่ผู้โอนเหนือเจ้าหนี้ที่มีอยู่แล้ว ย่อมจะทำให้ผู้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนซึ่งไม่รู้ถึงสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยที่ 1 ต้องเสียหายไม่เป็นธรรมต่อผู้รับโอนอันไม่ใช่วัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ประสงค์จะคุ้มครองผู้สุจริตและต้องเสียค่าตอบแทน กรณีนี้จึงไม่อาจเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และพันธบัตรโทรศัพท์พิพาทแก่ผู้คัดค้านซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 มาก่อนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115 ได้