พบผลลัพธ์ทั้งหมด 135 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอย่างคนอนาถา การเพิกถอนคำสั่งรับคำฟ้อง และการกำหนดเวลาชำระค่าขึ้นศาล
เมื่อศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์และศาลฎีกามีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์แล้วคำสั่งดังกล่าวจึงถึงที่สุดโจทก์จะขอต่อศาลให้อนุญาตโจทก์นำกรรมการบริษัทของโจทก์เข้าสาบานตัวให้คำชี้แจงว่าโจทก์ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาลประกอบคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์โดยมิได้ร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคสี่หาได้ไม่ศาลภาษีอากรกลางจึงชอบที่จะเพิกถอนคำสั่งที่ให้รับคำร้องไว้ไต่สวนแล้วมีคำสั่งใหม่ให้ยกคำร้องของโจทก์ได้แต่เนื่องจากโจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวก่อนครบกำหนดเวลาที่ต้องนำเงินค่าขึ้นศาลมาชำระตามคำสั่งศาลฎีกาเมื่อศาลภาษีอากรกลางสั่งรับคำร้องและนัดไต่สวนจึงหลงผิดว่ายังไม่ต้องชำระค่าขึ้นศาลและมิได้ชำระค่าขึ้นศาลตามกำหนดเวลาที่ศาลฎีกากำหนดไว้เมื่อศาลภาษีอากรกลางเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวแล้วจึงต้องกำหนดเวลาให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลมาชำระในเวลาอันสมควรจะอ้างว่าโจทก์ไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามคำสั่งศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ทันทีหาชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม, การตัดทายาท, ผู้จัดการมรดก, การไม่มีส่วนได้เสีย, การเพิกถอนคำสั่งศาล
ตามพินัยกรรมเอกสารหมายค.9และค.11ทั้งสองฉบับกำหนดให้ผู้คัดค้านที่1เป็นผู้จัดการมรดกและให้ผู้คัดค้านที่2เป็นผู้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียวแม้จะฟังว่าพินัยกรรมเอกสารหมายค.11ไม่มีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1686เพราะมีข้อกำหนดในการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นก็ตามพินัยกรรมฉบับนี้ย่อมไม่มีผลเป็นการเพิกถอนพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.9ซึ่งไม่มีข้อกำหนดในการก่อตั้งทรัสต์ขึ้นทั้งไม่ปรากฏว่าคู่ความได้โต้แย้งว่าเป็นพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ใช้บังคับไม่ได้แต่อย่างใดพินัยกรรมตามเอกสารหมายค.9จึงสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตามกฎหมายเมื่อพินัยกรรมดังกล่าวกำหนดให้ผู้คัดค้านที่2เป็นผู้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียวเช่นนี้ย่อมต้องถือว่าผู้ร้องทั้งสองซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1608วรรคท้ายผู้ร้องทั้งสองจึงเป็นทายาทที่ไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713วรรคหนึ่งจึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องทั้งสองออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1727วรรคหนึ่ง ปัญหาว่ามีเหตุที่จะตั้งผู้คัดค้านที่1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่1ได้ดำเนินการโอนเงินของผู้ตายซึ่งมีอยู่ในธนาคารในประเทศไทยไปเข้ากองมรดกของผู้ตายหมดแล้วและหุ้นของผู้ตายในบริษัทในประเทศไทยบริษัทดังกล่าวก็ถูกพิพากษาให้ล้มละลายแล้วจึงไม่มีทรัพย์สินของผู้ตายในประเทศไทยให้จัดการมรดกได้ผู้คัดค้านที่1เชื่อว่าไม่มีความจำเป็นแล้วที่จะมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทยดังนี้เมื่อผู้คัดค้านที่1ยืนยันชัดแจ้งว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้จัดการมรดกของผู้ตายในประเทศไทยย่อมไม่มีเหตุที่จะตั้งให้ผู้คัดค้านที่1เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5086/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี: ต้องยื่นคำขอภายใน 8 วันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนหลังรับเงินแล้วถือขาดสิทธิ
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่แก้ไขบัญชีแสดงหนี้คงเหลือตามคำขอของโจทก์ซึ่งได้ยื่นไว้ก่อนหน้านั้น เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งลักษณะ2 ภาค 4 ของ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งโจทก์ชอบที่จะทำได้โดยยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนการบังคับคดีเสร็จลงแต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 เมื่อโจทก์ทราบและรับเงินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายตามบัญชีแสดงหนี้คงเหลือไปแล้ว โดยมิได้ยื่นคำขอภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว โจทก์เพิ่งมาแถลงคัดค้านบัญชีดังกล่าวและยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไม่แก้ไขบัญชีแสดงหนี้คงเหลือภายหลังจึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทกฎหมายข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีที่ไม่ถูกต้องและการแก้ไขคำฟ้องที่ไม่กระทบสิทธิคู่ความ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเพิกถอนคำสั่งได้
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถึงชั้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2531 แล้ว ก่อนวันนัดดังกล่าว โจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7เมษายน 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ให้ปิด" ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3 ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่11 เมษายน 2531 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปวันที่ 15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มานำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 มิถุนายน 2531ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นผลให้คดีเสร็จไปจากศาล โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี นอกเหนือจากการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีใดนั้น ย่อมเป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 132 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีนี้เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 เป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 132 (1) และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว มีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้นการที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531 ซ้ำอีกจึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531จึงไม่มีผลใช้บังคับ คงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ไม่ชอบ โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ และมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 180, 181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจน และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (1) แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 180, 181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจน และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (1) แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีเนื่องจากทิ้งฟ้อง การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี และอำนาจศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน2531 ก่อนวันนัดโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7 เมษายน 2531ขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ ให้ปิด"ขณะเดียวกันจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไป วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานว่า โจทก์ไม่นำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่า โจทก์ทิ้งฟ้อง ให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดี เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม2531 เป็นกรณีการอ้างเหตุตามมาตรา 132(1)แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้ว มีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้นดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นกลับดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์ซ้ำอีก จึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีผลใช้บังคับคงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่19 พฤษภาคม 2531 เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ไม่ชอบโจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่า คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามมาตรา 27 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่เป็นผลทำให้จำเลยเสียประโยชน์ จำเลยย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษา ของศาลอุทธรณ์ในกรณีที่ให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้น ที่ผิดระเบียบให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาพิพากษาใหม่ ตามรูปคดีหาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลย จึงฎีกาในข้อนี้ได้ ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องขอแก้จากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหาย นับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้เอาประกันภัย เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ ประสงค์จะแก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์ เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันนับแต่วันที่ใช้เงินไปมิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180,181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น และเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามมาตรา 174(1) แล้ว บทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์อันจะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5589/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีและการเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีเนื่องจากกระบวนการพิจารณาคดีที่ไม่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาถึงชั้นนัดสืบพยานโจทก์นัดแรก เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2531 แล้ว ก่อนวันนัดดังกล่าวโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 7 เมษายน 2531 ขอแก้ไขคำฟ้องจากเดิมที่ขอเรียกค่าเสียหายนับแต่วันทำละเมิดเป็นนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต และสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องต่อไปว่า "สำเนาให้จำเลย ส่งธรรมดาไม่ได้ให้ปิด" ขณะเดียวกันจำเลยที่ 3ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่11 เมษายน 2531 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปวันที่15 มิถุนายน 2531 ต่อมาเจ้าหน้าที่ศาลรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า โจทก์ไม่มานำส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ว่า ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องให้จำหน่ายคดี และเมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 15 มิถุนายน 2531 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดพิจารณา ให้จำหน่ายคดีของโจทก์อีกครั้งหนึ่ง ดังนี้คำสั่งจำหน่ายคดีเป็นผลให้คดีเสร็จไปจากศาล โดยไม่ต้องมีคำวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี นอกเหนือจากการวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยทำเป็นคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีในกรณีใดนั้น ย่อมเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีนี้เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 เป็นการอ้างเหตุตามมาตรา 132(1) และเมื่อมีคำสั่งจำหน่ายคดีแล้วมีผลทำให้คดีเสร็จไปจากศาลชั้นต้น การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา และมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531ซ้ำอีกจึงเป็นการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2531จึงไม่มีผลใช้บังคับ คงเหลือเพียงคำสั่งจำหน่ายคดีเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531 ดังนั้น เมื่อโจทก์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2531ไม่ชอบ โจทก์ย่อมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ และมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเป็นการพิจารณาผิดระเบียบศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ยกคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นโดยให้เพิกถอนการพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ผิดระเบียบ ให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น เป็นผลทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เสียประโยชน์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามหลักทั่วไป และคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในกรณีนี้ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติให้เป็นที่สุดไม่ จำเลยที่ 1ที่ 2 จึงฎีกาในข้อนี้ได้ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีนี้เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์ประสงค์แก้ไขให้ถูกต้องตามสิทธิของโจทก์ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยที่มีสิทธิเรียกเอาเงินที่ตนได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยนับแต่วันที่ใช้เงินไป มิใช่นับแต่วันที่มีการละเมิด ทั้งการแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นคุณแก่โจทก์ คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเช่นนี้จึงไม่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180,181 คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งให้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยก็เป็นเพียงเพื่อให้รับทราบเท่านั้น ทั้งการสั่งให้ปิดหมายนัดก็มิได้สั่งให้โจทก์ปฏิบัติเช่นใดให้ชัดเจนและเมื่อมิใช่คำฟ้องตั้งต้นคดีซึ่งโจทก์มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(1)แล้วบทบัญญัตินี้ก็จะนำมาใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3538/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลคดีล้มละลาย: การเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเมื่อศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดี
จำเลยไปอยู่อาศัยและประกอบอาชีพที่จังหวัดภูเก็ตตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2531 การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2533 โดยส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่าจำเลยไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้อง ต้องถือว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณา กรณีมีเหตุสมควรให้พิจารณาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมิใช่ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตหรือประกอบธุรกิจอยู่ในเขตในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องหรือภายในกำหนดเวลา 1 ปี ก่อนนั้นรับคำฟ้องไว้พิจารณาในตอนแรกย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 และเมื่อคำสั่งศาลจังหวัดเชียงใหม่ที่อนุญาตให้พิจารณาใหม่เป็นคำสั่งที่ชอบต้องถือว่าคดีกลับไปอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดเชียงใหม่อีกครั้ง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้อง กับคืนคำฟ้องให้โจทก์เพื่อไปยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบมาตรา 209และพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงวันนัดพยานโดยมิชอบ โจทก์มีสิทธิขอเพิกถอนคำสั่ง
ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องของโจทก์ในตอนแรกว่า นัดสืบพยานโจทก์ตามขอ ซึ่งหมายถึงวันที่ 16 มีนาคม 2533 เวลา 13.30 นาฬิกา ดังนั้นการที่ศาลหรือเจ้าพนักงานศาลมาเปลี่ยนวันนัดสืบพยานโจทก์ใหม่เป็นวันที่ 2มีนาคม 2533 เวลา 9 นาฬิกา เป็นการกำหนดหรือปฏิบัติผิดไปจากคำสั่งเดิมของศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้วโดยชัดแจ้ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งดังกล่าวหรือได้มีการออกหรือส่งหมายนัดดังกล่าวไปให้โจทก์ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและไม่มีพยานมาสืบให้ยกฟ้องโจทก์และจำหน่ายคดีออกจากสารบบความจึงยังไม่ชอบ โจทก์ย่อมมีอำนาจขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3269/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงวันนัดพยานโดยไม่แจ้ง ทำให้โจทก์ขาดนัดโดยไม่ได้ตั้งใจ ศาลต้องเพิกถอนคำสั่ง
ศาลชั้นต้นสั่งคำร้อง ของ โจทก์ในตอนแรกว่านัดสืบพยานโจทก์ตามขอ ซึ่งหมายถึงวันที่ 16 มีนาคม 2533เวลา 13.30 นาฬิกา ดังนั้นการที่ศาลหรือเจ้าพนักงานศาลมาเปลี่ยนวันนัดสืบพยานโจทก์ใหม่เป็นวันที่ 2 มีนาคม 2533เวลา 9 นาฬิกา เป็น การกำหนดหรือปฏิบัติผิดไปจากคำสั่งเดิมของศาลชั้นต้นดังกล่าวแล้วโดยชัดแจ้ง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งดังกล่าวหรือได้มีการออกหรือส่งหมายนัดดังกล่าวไปให้โจทก์ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาและไม่มีพยานมาสืบให้ยกฟ้องโจทก์และจำหน่ายคดีออกจากสารบบความจึงยังไม่ชอบ โจทก์ย่อมมีอำนาจขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3500/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีไม่มีข้อพิพาทและการมีอำนาจร้องขอเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งกรรมการมูลนิธิ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งบัญญัติให้ศาลชั้นต้นที่รับคำฟ้องต้องส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยเฉพาะในการดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาท หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องมีการส่งหมายและสำเนาคำร้องขอให้แก่ผู้ใดในการดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทไม่ การที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้องโดยประกาศคำร้องขอและกำหนดนัดไต่สวนคำร้องในหนังสือพิมพ์รายวันและได้ไต่สวนคำร้องหลังจากครบกำหนดประกาศดังกล่าว 15 วัน โดยไม่ได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำร้องขอของผู้ร้องให้ผู้คัดค้านทั้งห้าก่อนไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบแล้ว
เมื่อผู้คัดค้านทั้งห้ามิได้ยื่นคำคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้องในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไต่สวนและมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิเกริกมังคละพฤกษ์ขึ้นใหม่ตามคำร้องขอของผู้ร้อง และคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้คัดค้านทั้งห้าจะมีอำนาจร้องขอเป็นคดีนี้ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลดังกล่าวในคดีก่อนได้ต่อเมื่อมีกฎหมายให้สิทธิผู้คัดค้านทั้งห้าร้องขอต่อศาลได้เช่นนั้น แต่กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิผู้ใดร้องขอต่อศาลเช่นนั้นได้ ผู้คัดค้านทั้งห้าจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลที่แต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิเกริกมังคละพฤกษ์ขึ้นใหม่ในคดีนี้ได้ หากคำสั่งศาลดังกล่าวทำให้สิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายของผู้คัดค้านทั้งห้าถูกโต้แย้ง ก็ชอบที่ผู้คัดค้านทั้งห้าจะฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
เมื่อผู้คัดค้านทั้งห้ามิได้ยื่นคำคัดค้านคำร้องขอของผู้ร้องในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นซึ่งไต่สวนและมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิเกริกมังคละพฤกษ์ขึ้นใหม่ตามคำร้องขอของผู้ร้อง และคดีถึงที่สุดแล้ว ผู้คัดค้านทั้งห้าจะมีอำนาจร้องขอเป็นคดีนี้ขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลดังกล่าวในคดีก่อนได้ต่อเมื่อมีกฎหมายให้สิทธิผู้คัดค้านทั้งห้าร้องขอต่อศาลได้เช่นนั้น แต่กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้สิทธิผู้ใดร้องขอต่อศาลเช่นนั้นได้ ผู้คัดค้านทั้งห้าจึงไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งศาลที่แต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิเกริกมังคละพฤกษ์ขึ้นใหม่ในคดีนี้ได้ หากคำสั่งศาลดังกล่าวทำให้สิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายของผู้คัดค้านทั้งห้าถูกโต้แย้ง ก็ชอบที่ผู้คัดค้านทั้งห้าจะฟ้องผู้ที่โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของผู้คัดค้านทั้งห้าเป็นคดีอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก