พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน: อายุผู้กระทำผิดและลักษณะความผิดร้ายแรงเป็นตัวกำหนด
ศาลคดีเด็กและเยาวชนมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีที่เด็กหรือเยาวชนถูกฟ้องคดีอาญาทุกประเภท เว้นแต่เยาวชนที่มีอายุเกินกว่าสิบหกปีบริบูรณ์ในขณะกระทำความผิดได้กระทำความผิดอาญาในลักษณะร้ายแรงตามมาตราต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนพ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 163ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2515 ศาลคดีเด็กและเยาวชนจึงจะไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดี เมื่อปรากฏว่าขณะกระทำความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ จำเลยอายุไม่เกินกว่า 16 ปีบริบูรณ์ แม้ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยมีอายุ 16 ปี 3 เดือนเศษ โจทก์ก็ต้องฟ้องต่อศาลคดีเด็กและเยาวชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 527/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชนเมื่อถูกจับในคดีอื่น
จำเลยเป็นเยาวชนถูกจับกุมในคดีอื่น ภายหลังพนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาในคดีนี้ให้จำเลยทราบ โดยจำเลยถูกควบคุมตัวระหว่างสอบสวนในคดีอื่นมาโดยตลอด ดังนี้ การคำนวณระยะเวลาในการให้พนักงานสอบสวนส่งสำนวนไปยังพนักงานอัยการเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนภายใน 30 วัน มิฉะนั้นต้องขอผัดฟ้องต่อศาลในคดีนี้จึงยังไม่เริ่มต้นนับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการสั่งอนุญาตให้ทนายความเข้าพบเยาวชนที่ถูกควบคุมตัว: ต้องรอการฟ้องต่อศาล
ผู้ร้องซึ่งเป็นที่ปรึกษากฎหมายยื่นคำร้องต่อหัวหน้ากองแรกรับ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางเพื่อเข้าพบเยาวชนซึ่งถูกควบคุมตัว ณ กองแรกรับ หัวหน้ากองแรกรับจะอนุญาตหรือไม่ เป็นเรื่องธุรการซึ่งต้องปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของกองแรกรับ หากผู้ร้องไม่พอใจคำสั่งดังกล่าว ก็ชอบที่จะร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาชั้นสูงขึ้นไป หามีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้สั่งหัวหน้ากองแรกรับอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าพบลูกความตามที่ต้องการไม่ ศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางจะมีอำนาจสั่งได้เมื่อเยาวชนนั้นถูกฟ้องต่อศาลแล้ว
กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บทเป็นหลักในการปกครอง ศาลจะมีอำนาจสั่งการใด ๆ ก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายเฉพาะเรื่อง
กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่บทเป็นหลักในการปกครอง ศาลจะมีอำนาจสั่งการใด ๆ ก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายเฉพาะเรื่อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเด็กและเยาวชนต้องยื่นฟ้องภายใน 30 วัน หรือขอผัดฟ้อง หากพ้นกำหนดต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
การฟ้องคดีเด็กและเยาวชนจะต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 ทั้งสิ้น กล่าวคือจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับกุม หรือได้รับอนุญาตจากศาลให้ผัดฟ้องได้เป็นคราว ๆ ไป หากพ้นกำหนดนี้แล้วจะฟ้องคดีได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการแม้จะเป็นการฟ้องคดีตามคำชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการก็ตาม (อ้างฎีกาที่ 10/2522)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชน, การผัดฟ้อง, และการขออนุญาตฟ้องหลังพ้นกำหนด
พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีเด็กหรือเยาวชนไม่ทันภายในกำหนด30 วันนับแต่วันที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม พนักงานสอบสวนจึงยื่นคำร้องต่อศาลขอผัดฟ้องไว้ถึง 3 คราวโดยเฉพาะคราวที่ 3 ศาลอนุญาตให้ผัดฟ้องได้จนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2521 แต่พนักงานสอบสวนขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2521 อ้างว่าพนักงานสอบสวนสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ต่อจากนั้นพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ได้ขอผัดฟ้องคดีอีกต่อไปจนวันที่ 3 เมษายน 2521 พนักงานอัยการจึงยื่นฟ้องผู้ต้องหาเช่นนี้ ถือว่าพ้นระยะเวลายื่นฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24ทวิ แล้ว โจทก์ยื่นฟ้องโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24จัตวา ไม่ได้
ไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาหรือมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24ทวิ ทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้
ไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาหรือมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24ทวิ ทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 796-797/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยเยาวชนในคดีข่มขืนกระทำชำเรา ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษตามกฎหมายเฉพาะ ทำให้ไม่อาจฎีกาได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ให้จำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงอย่างเดียวกับศาลชั้นต้น แต่เห็นว่าจำเลยอายุ 16 ปี พิพากษาแก้ โดยลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ให้จำคุก 5 ปี ดังนี้เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1498/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลดโทษจำเลยเยาวชนตามมาตรา 75 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยอายุ 17 ปี ศาลลงโทษตามมาตรา 339 ต้องลดมาตราส่วนโทษกึ่งหนึ่งตามมาตรา 75 คงจำคุก 6 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1642/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาลงโทษจำคุกเยาวชนเป็นส่งตัวไปฝึกอบรม และการฎีกาของโจทก์เมื่อศาลแก้ไขคำพิพากษามาก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสอง แต่มีอายุ 15 ปี ลดมาตราส่วนโทษกึ่งหนึ่งตามมาตรา75แล้วพิพากษา6ปีลดตามมาตรา 78 อีก 1 ใน 3 คงจำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์เห็นว่ายังไม่สมควรพิพากษาลงโทษจำคุกพิพากษาแก้เป็นว่าให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรม ณ สถานเยาวชนฯจนกว่าจะมีอายุ 18 ปี ตามมาตรา 75, 74(5) ดังนี้ เป็นการพิพากษาแก้มาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 212/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคำสั่งศาลกรณีเยาวชนกระทำผิด – อำนาจแก้ไขเมื่อพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง
ศาลพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยซึ่งมีอายุ 15 ปีไปสถานฝึกและอบรมจนกว่าจะมีอายุครบ 18 ปีบริบูรณ์. ต่อมาบิดาจำเลยร้องขอรับจำเลยไปดูแลเอง โดยยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆที่ศาลจะกำหนด. ถือได้ว่าเป็นกรณีที่พฤติการณ์เกี่ยวกับคำสั่งเดิมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ศาลมีอำนาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งเดิมได้. ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 วรรคท้าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน: การรับสารภาพและการไม่โต้แย้งรายงานสถานพินิจถือเป็นการไม่ติดใจสืบพยาน
ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กฯ พ.ศ. 2494 มาตรา 5 นั้น ในการพิจารณาคดีศาลย่อมดำเนินการไปตามวิธีพิจารณา การที่ศาลได้แจ้งให้จำเลยทราบเกี่ยวกับรายงานของสถานพินิจฯ จำเลยได้ทราบแล้ว มิได้แถลงต่อสู้หรือจะขอนำพยานมาสืบหักล้างเมื่อศาลสอบถามคำให้การ จำเลยก็รับสารภาพแถลงว่า ไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาในวันเดียวกันนั้น ดังนี้ ถูกต้องด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว