คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เลิกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,045 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7683-7693/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีเครื่องจักร ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่จำเลยนำผงชูรสกึ่งสำเร็จรูปที่ซื้อมาใช้ในการผลิตผงชูรสสำเร็จรูปแทนการผลิตผงชูรสกึ่งสำเร็จรูปจากกากน้ำตาลด้วยตนเองดังที่เคยกระทำมา เป็นการตัดทอนขั้นตอนการผลิตเดิมตั้งแต่การหมักกากน้ำตาล เลี้ยงเชื้อ ต้มน้ำตาล ในกระบวนการผลิตขั้นตอนที่ 1 ของขั้นตอนเพาะเชื้อ ถึงกระบวนการในห้องแยกน้ำแยกเนื้อผงชูรสกึ่งสำเร็จรูปที่ห้องเอสดีซีซึ่งอยู่ในกระบวนการผลิตขั้นตอนที่ 2 ออก การปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยตัดทอนขั้นตอนการผลิตด้วยวิธีนี้จำเลยไม่ได้นำเครื่องจักรมาใช้ จำเลยมีวัตถุประสงค์ผลิตผงชูรส การนำน้ำที่เหลือจากการผลิตมารีไซเคิลเป็นเพียงการนำของเหลือที่จะทิ้งมาใช้อีกครั้ง สิ่งที่ได้เป็นผงชูรสกึ่งสำเร็จรูปจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับกำลังการผลิตต่อวันของจำเลย และเป็นการทำให้น้ำที่เหลือจากการผลิตสะอาดขึ้นก่อนปล่อยเป็นน้ำทิ้ง ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ในการผลิตของจำเลย ผงชูรสกึ่งสำเร็จรูปที่ได้จากการรีไซเคิลน้ำเป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น การที่จำเลยนำเครื่องโม่มาใช้ในการรีไซเคิลน้ำจึงไม่ใช่การที่นายจ้างปรับปรุงกระบวนการผลิตเนื่องจากการนำเครื่องจักรมาใช้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 121 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7675/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชยกรณีหยุดกิจการชั่วคราว ลูกจ้างทำงานอื่นได้ไม่ถือละทิ้งหน้าที่
ประกาศของโจทก์ที่แจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงความจำเป็นของโจทก์ที่ต้องหยุดกิจการทั้งหมดลงชั่วคราวและจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่โจทก์หยุดกิจการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 75 มิใช่หนังสือเลิกจ้างลูกจ้าง แม้ในประกาศจะระบุให้ลูกจ้างพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานไปทันทีที่ไปทำงานประจำกับนิติบุคคลอื่น ก็เป็นเพียงเงื่อนไขที่โจทก์จะใช้สิทธิเลิกจ้างลูกจ้างเท่านั้น การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างไปทำงานกับนิติบุคคลอื่นจึงมิใช่เป็นการตกลงเลิกสัญญาจ้างกับโจทก์ จำเลยที่ 2 ยังคงเป็นลูกจ้างโจทก์ ระหว่างที่โจทก์ประกาศหยุดกิจการชั่วคราว โจทก์มิได้มอบหมายงานให้จำเลยที่ 2 ทำ ส่วนเงินที่โจทก์จ่ายให้ในอัตราร้อยละห้าสิบของค่าจ้างก็มิใช่ค่าจ้าง แต่เป็นเงินที่ต้องจ่ายตาม มาตรา 75 และบทมาตราดังกล่าวก็มิได้บัญญัติห้ามลูกจ้างไปทำงานกับบุคคลอื่นในระหว่างที่นายจ้างประกาศหยุดกิจการชั่วคราว การที่จำเลยที่ 2 ไปทำงานกับนิติบุคคลอื่นจึงมิใช่การละทิ้งหน้าที่หรือทำผิดสัญญาจ้าง เมื่อโจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 2 โดยที่จำเลยที่ 2 มิได้กระทำผิดตาม มาตรา 119 โจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่จำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7390/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ค่าจ้างกับหนี้เช่าซื้อหลังเลิกจ้าง: ศาลฎีกาแก้ไขคำสั่งให้โจทก์ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างตามคำสั่งเดิม
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 76 ที่บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างนำหนี้อื่นนอกจากหนี้ตาม (1) ถึง (5) มาหักกับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุดที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนเพราะถูกหักเงินดังกล่าวในระหว่างที่ลูกจ้างยังไม่พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างเท่านั้น โจทก์ขอหักกลบลบหนี้เงินค่าจ้าง เงินรางวัลจากการขายฯ ที่โจทก์จะต้องจ่ายให้แก่จำเลยที่ 1 กับค่าเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระให้แก่โจทก์หลังจากจำเลยที่ 1 พ้นสภาพการเป็นลูกจ้างแล้ว และการหักกลบลบหนี้กระทำได้ด้วยการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย โจทก์จึงขอหักกลบลบหนี้ได้ แต่การหักกลบลบหนี้จะกระทำได้เฉพาะกับสิทธิเรียกร้องหรือหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้ ซึ่งในชั้นสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยที่ 1 โต้แย้งว่าหนี้ค่าเช่าซื้อพร้อมดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ต่อมาในชั้นพิจารณาของศาลโจทก์จึงยอมรับว่าหนี้ค่าเช่าซื้อเป็นดังที่จำเลยที่ 1 โต้แย้ง หนี้ค่าเช่าซื้อที่โจทก์ขอหักกลบลบหนี้ในชั้นสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงานจึงยังเป็นหนี้ที่มีข้อต่อสู้ ไม่สามารถหักกลบลบหนี้ได้ ที่พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินต่าง ๆ ที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิได้รับแก่จำเลยที่ 1 จึงมิได้ฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แต่เมื่อในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานโจทก์และจำเลยที่ 1 แถลงรับจำนวนหนี้ค่าเช่าซื้อพร้อมดอกเบี้ยโดยมิได้โต้แย้งกันอีก หนี้ค่าเช่าซื้อพร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแก่โจทก์จึงเป็นอันยุติ มิได้เป็นหนี้ที่มีข้อต่อสู้ต่อไป โจทก์จึงขอนำไปหักกลบลบหนี้กับเงินต่าง ๆ ที่โจทก์ต้องชำระให้แก่จำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจ หากกิจการยังไม่ขาดทุน การเลิกจ้างเพราะกำไรลดลงถือว่าไม่สมควร
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ คดีนี้กิจการของจำเลยยังมีกำไรอยู่ เพียงแต่กำไรลดลงในปีที่ล่วงมาจำนวนมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่กำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุอันควร จึงถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมมิใช่เป็นการที่ลูกจ้างเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจ และอายุความของคดี
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่ง
การเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ ดังนั้นเมื่อกิจการของจำเลยยังมีกำไรอยู่ เพียงแต่กำไรลดลงในปีที่ล่วงมาจำนวนมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุกำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุสมควร จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มิใช่ลูกจ้างเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจำนวน 193,650 บาท แก่โจทก์โดยคำนวณตามระยะเวลาทำงานของโจทก์ แต่ไม่พิจารณาเรื่องค่าเสียหายที่จำเลยผิดสัญญาจ้างนั้นชอบหรือไม่ เป็นการอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลาง ถือเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุผลทางธุรกิจอย่างสมควร หากกำไรลดลงแต่ยังไม่ขาดทุน การเลิกจ้างถือว่าไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิเคราะห์ถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจำเป็นหรือเหตุสมควรในการเลิกจ้างหรือไม่ ปรากฏผลการดำเนินงานของจำเลยในปี 2543 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากปี 2542 ร้อยละ 26.8 ปี 2544 ถึง 2546 ผลการดำเนินงานเป็นกำไรอยู่ เพียงแต่ในปี 2546 กำไรลดลงมาก ยังไม่ได้ความว่าจำเลยขาดทุนจนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุที่กำไรของจำเลยลดลง ย่อมเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควรจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม มิใช่เป็นกรณีที่ลูกจ้างฟ้องเรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นจากนายจ้าง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) ที่มีอายุความ 2 ปี แต่เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6936/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างโดยไม่ระบุเหตุผล นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้ลูกจ้างประมาทเลินเล่อ
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 นายจ้างจะอ้างเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 ขึ้นต่อสู้ได้หรือไม่นั้น ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 17 วรรคสาม แม้โจทก์กระทำความผิดฐานประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงซึ่งเข้าข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 (3) แต่เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ได้ระบุเหตุผลในการเลิกจ้างไว้ จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดได้ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6788/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีแรงงาน: การฟ้องเรียกค่าตอบแทนจากกองทุนเกษียณอายุซ้ำ หลังฟ้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไปแล้ว
โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกเงินค่าตอบแทนตามกองทุนเกษียณอายุในการจ้างโดยกล่าวในคำฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนดังกล่าวเนื่องจากโจทก์ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดและไม่เป็นธรรม อันเป็นมูลคดีเดียวกับคดีก่อนซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี เงินสะสม ตามคดีหมายเลขแดงที่ 9638/2545 ของศาลแรงงานกลาง ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ คดีหมายเลขแดงที่ 9638/2545 ของศาลแรงงานกลางยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าตอบแทนตามกองทุนเกษียณอายุในการจ้างที่โจทก์ฟ้องคดีนี้มีมูลมาจากการเลิกจ้างของจำเลย ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยเมื่อโจทก์ฟ้องคดีก่อน แต่โจทก์มิได้ฟ้องรวมไปในคดีก่อน กลับมาฟ้องใหม่ในคดีนี้อีกโดยอาศัยเหตุแห่งการเลิกจ้างคราวเดียวกันในระหว่างที่คดีก่อนยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6786/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง: สิทธิที่เกิดหลังสัญญาจ้างสิ้นสุดมีอายุความ 10 ปี
คำว่า "ค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่น" ที่ลูกจ้างใช้สิทธิเรียกร้องเอาจากนายจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) หมายถึงสินจ้างตามมาตรา 575 ซึ่งเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นตามสัญญาจ้าง แต่สิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่ลูกจ้างเรียกร้องเอาจากนายจ้าง อันเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการเลิกจ้างภายหลังสัญญาจ้างสิ้นสุดแล้ว ไม่ใช่สิทธิตามสัญญาจ้าง ไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 193/34 (9) จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6774/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องพิจารณาเหตุผลความสามารถและมาตรฐานการทำงานของลูกจ้าง
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ ศาลจะต้องพิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอให้เลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยได้วางหลักเกณฑ์ของมาตรฐานการทำงานไว้ และโจทก์ได้รับการประเมินผลงานในเกณฑ์ดีกว่ามาตรฐานตลอดมา ไม่มีช่วงใดเลยที่อยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุงหรือต่ำกว่ามาตรฐาน ดังนั้น แม้ประสิทธิภาพการทำงานของโจทก์จะลดลงไปบ้าง แต่ต้องถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของจำเลย ที่จำเลยอ้างว่าโจทก์มีความรู้ความสามารถไม่เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบจึงฟังไม่ขึ้น การที่จำเลยมีรายได้ลดลงตั้งแต่ปี 2543 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแข่งขันทางธุรกิจของโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือมือถือ และบริการโทรทางไกลราคาประหยัดขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แม้โจทก์ซึ่งมีหน้าที่เสนอกลยุทธ์ในการตลาดเพื่อแข่งขันกับภายนอก และโจทก์ไม่มีแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อแข่งขันกับธุรกิจภายนอกให้เป็นผลสำเร็จดังที่จำเลยอ้าง แต่โจทก์ก็ยังทำงานได้เกณฑ์ตามมาตรฐานของจำเลย ดังนั้น การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์มีความรู้ความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง จำเลยไม่สามารถเสนองานในตำแหน่งที่เหมาะสมให้แก่โจทก์ได้ จึงยังไม่ใช่เหตุผลสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างได้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
of 205