พบผลลัพธ์ทั้งหมด 67 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3745/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหลังการนัดหยุดงาน: สิทธิเรียกร้องของลูกจ้างและการวินิจฉัยค่าเสียหาย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การที่โจทก์ทั้งเจ็ดออกมาร่วมนัดหยุดงานภายหลังจากที่สหภาพแรงงานได้นัดหยุดงานไปแล้วย่อมเป็นการนัดหยุดงานโดยชอบ เมื่อจำเลยที่ 15 เลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ด จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 121 คำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 14 ซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่ชอบ ให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แต่เนื่องจากโจทก์มีคำขอให้จำเลยที่ 15 รับโจทก์กลับเข้าทำงานและจ่ายค่าเสียหายหรือให้จ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างค้างจ่าย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายเนื่องจากถูกเลิกจ้างซึ่งเป็นดุลพินิจอันเป็นข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยได้ พิพากษายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาวินิจฉัย เช่นนี้ เป็นเรื่องที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าการเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ซึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดมีสิทธิเรียกร้องให้รับโจทก์ทั้งเจ็ดกลับเข้าทำงานหรือให้จ่ายค่าเสียหายได้ตาม มาตรา 41(4) หาใช่เป็นกรณีที่ศาลฎีกาให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 49 ไม่ ดังนั้น เมื่อย้อนสำนวนไปแล้วศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยว่าการเลิกจ้างโจทก์ทั้งเจ็ดของจำเลยที่ 15 เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและกำหนดค่าเสียหายตามหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 49 จึงไม่ถูกต้อง จึงต้องย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3594/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ได้รับความยินยอม เป็นเหตุเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย
ลูกจ้างทำหน้าที่เลขานุการกรรมการผู้จัดการของนายจ้าง ทำงานวันจันทร์ถึงวันเสาร์ระหว่างเวลา 8.30 นาฬิกาถึง 17 นาฬิกา เป็นประจำและได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน นายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานเป็นพนักงานต้อนรับผู้โดยสารบนรถยนต์โดยสารและมีฐานะเป็นลูกจ้างรายวันค่าจ้างวันละ 73 บาท ต้องออกไปทำงานนอกสถานที่ในวันจันทร์ อังคาร และพุธ ตั้งแต่เวลาประมาณ 9 นาฬิกาถึง 18 นาฬิกาหรือกว่านั้น จึงเป็นคำสั่งเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างอันไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างโดยลูกจ้างมิได้ตกลงยินยอมด้วย คำสั่งจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายลูกจ้างไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าลูกจ้างกระทำผิดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: ศาลสั่งให้รับกลับเข้างาน หรือจ่ายค่าเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
กรณีที่มีการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนั้น ศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานโดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างต่อไปในอัตราที่เคยได้รับอยู่ในขณะที่จะมีการเลิกจ้างประการหนึ่ง แต่ถ้าเห็นว่าลูกจ้าง นายจ้างไม่อาจที่จะร่วมงานกันต่อไปได้ด้วยดี ก็มีอำนาจสั่งไม่ให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ แต่ต้องให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายชดใช้ให้ลูกจ้างจำนวนหนึ่ง การที่ลูกจ้างจะได้รับค่าเสียหายจึงมีเพียงกรณีที่ศาลแรงงานมิได้มีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานเท่านั้นในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน กฎหมายหาได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าเสียหายหรือค่าจ้างนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันที่นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานไว้ด้วยไม่เนื่องจากลูกจ้างได้รับประโยชน์จากการกลับเข้าทำงานแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: สิทธิลูกจ้างคืนเข้าทำงาน vs. ค่าเสียหาย กรณีศาลสั่งให้กลับเข้าทำงาน ลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างระหว่างขาดงาน
กรณีที่มีการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนั้น ศาลแรงงานมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานโดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างต่อไปในอัตราที่เคยได้รับอยู่ในขณะที่มีการเลิกจ้างประการหนึ่ง แต่ถ้าเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจที่จะร่วมงานกันต่อไปได้ด้วยดี ก็มีอำนาจสั่งไม่ให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้ แต่ต้องให้นายจ้างจ่ายค่าเสียหายชดใช้ให้ลูกจ้างจำนวนหนึ่ง การที่ลูกจ้างจะได้รับค่าเสียหายจึงมีเพียงกรณีที่ศาลแรงงานมิได้มีคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานเท่านั้น ในกรณีที่ศาลแรงงานสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน กฎหมายหาได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าเสียหายหรือค่าจ้างนับแต่วันเลิกจ้างจนถึงวันที่นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานไว้ด้วยไม่ เนื่องจากลูกจ้างได้รับประโยชน์จากการกลับเข้าทำงานแล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมต้องพิจารณา'เหตุ'เลิกจ้างที่แท้จริง แม้การสอบสวนจะผิดวิธีก็ไม่ถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหากมีเหตุผลในการเลิกจ้าง
แม้การสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนจะฝ่าฝืนข้อบังคับของจำเลยจะถือเป็นเหตุว่าการเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหาได้ไม่ เพราะการเลิกจ้างจะเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมจะต้องพิจารณาถึง 'เหตุ' แห่งการเลิกจ้างที่แท้จริงว่าได้มีได้เกิดขึ้นหรือไม่ หากมีจึงจะพึงพิจารณาต่อไปว่าการกระทำนั้น ๆ เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานและมีเหตุผลเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่ เป็นสำคัญ.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง, การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, และขอบเขตการพิจารณาคดีแรงงานที่ไม่ผูกพันคดีอาญา
การฟ้องคดีเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน มาตรา 49 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติส่วนหนึ่งที่เกี่ยวด้วยการคุ้มครองแรงงาน หาใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2525 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165 (9)
จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2525 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165 (9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2133/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้าง, การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม, และขอบเขตการพิจารณาคดีแรงงานที่แยกจากคดีอาญา
การฟ้องคดีเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นการฟ้องตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 49 ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติส่วนหนึ่งที่เกี่ยวด้วยการคุ้มครองแรงงาน หาใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ศาลแรงงานกลางไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา จำเลยจ่ายค่าจ้างเดือนละสองครั้ง กลางเดือนกับสิ้นเดือนโจทก์ถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2525 วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างได้ย่อมเริ่มนับแต่วันที่ 31 ตุลาคม2525 เป็นต้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169สิทธิเรียกร้องค่าจ้างเช่นว่านี้เกิดแต่สัญญาจ้างแรงงานและเกิดแต่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีกำหนดอายุความสองปีตามมาตรา 165(9)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต้องเป็นธรรมและปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การเลิกจ้างก่อนเกษียณอายุเป็นเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ประกาศของจำเลยเรื่องการลาออกเนื่องจากเกษียณอายุกำหนดให้พนักงานตั้งแต่หัวหน้าแผนกขึ้นไปที่มีอายุครบ 60 ปีเกษียณอายุในวันสิ้นรอบปีบัญชีของจำเลย เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 10 การที่จำเลยออกระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฉบับต่อมากำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณเมื่ออายุครบ 45 ปี เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหญิง และจำเลยมิได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 13ถึงมาตรา 19 ระเบียบและข้อบังคับฉบับหลังจึงไม่มีผลบังคับเพราะขัดกับมาตรา 20 จำเลยจะให้โจทก์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกของจำเลยออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุก่อนโจทก์มีอายุครบ 60 ปีหาได้ไม่ การเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเอกสารท้ายฟ้องและที่คู่ความส่งต่อศาลกับคำแถลงของคู่ความเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงสั่งงดสืบพยานคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพิพากษายกฟ้อง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำนวนเงินประเภทต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้พิจารณาศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ในส่วนนี้.
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเอกสารท้ายฟ้องและที่คู่ความส่งต่อศาลกับคำแถลงของคู่ความเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงสั่งงดสืบพยานคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพิพากษายกฟ้อง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำนวนเงินประเภทต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้พิจารณาศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ในส่วนนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5833/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานสั่งเยียวยา: เลิกจ้างไม่เป็นธรรม สั่งกลับเข้างานได้ ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์เสียหายและเสื่อมเสียชื่อเสียง ขอให้ใช้ค่าเสียหาย โบนัสเงินเดือน เงินบำเหน็จและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ย หรือให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานในตำแหน่งและเงินเดือนที่ไม่น้อยกว่าที่โจทก์ได้รับในขณะถูกเลิกจ้างเมื่อศาลเห็นว่าโจทก์กับจำเลยสามารถทำงานร่วมกันต่อไปได้และใช้ดุลพินิจสั่งให้จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงาน ศาลก็มีอำนาจที่จะสั่งไม่ให้จำเลยใช้ค่าเสียหายตามฟ้องให้โจทก์อีกตามความในมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน ซึ่งให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจสั่งให้จำเลยปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควร ไม่เป็นการพิพากษาไม่ครบตามข้อหาในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างกำหนดให้สหภาพแรงงานต้องมีส่วนร่วมในการสอบสวนทางวินัย การเลิกจ้างโดยไม่ปฏิบัติตามถือเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งโจทก์เป็นสมาชิกอยู่ มีว่าเมื่อจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนพนักงานของจำเลย กรณีที่มีการกล่าวหาว่าพนักงานของจำเลยถูกกล่าวหาหรือมีความผิดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาค จำเลยต้องให้ผู้แทนของสหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาคเข้าร่วมเป็นกรรมการสอบสวนด้วย โดยให้สหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาคเป็นผู้เสนอชื่อผู้แทนไม่น้อยกว่า 1 คน ดังนั้น การออกคำสั่งของจำเลยหรือทำการสอบสวนพนักงาน จำเลยต้องปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยเคร่งครัด การที่จำเลยแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นสอบสวนโจทก์ทางวินัยโดยไม่มีผู้แทนของสหภาพแรงงานการประปาส่วนภูมิภาคเข้าร่วมเป็นกรรมการสอบสวนและจำเลยสั่งให้โจทก์ออกจากงานนั้น เป็นคำสั่งที่ขัดต่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบและกรณีต้องถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยมีการสอบสวนที่ไม่ชอบอันเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)