พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1129/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องได้โดยไม่ต้องบอกเลิกก่อน
การที่โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีอ้างว่า มีเหตุอื่นใดๆ ทำให้ห้างหุ้นส่วนเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) อันก่อสิทธิฟ้องคดีได้โดยสมบูรณ์หาใช่กรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนของห้างหุ้นส่วนที่ตั้งขึ้นโดยไม่มีกำหนดการอย่างหนึ่งอย่างใดเป็นยุติประสงค์จะเลิกห้างหุ้นส่วนสามัญโดยไม่มีเหตุอันจะต้องดำเนินการตามมาตรา 1056 ประกอบมาตรา 1055 (4) ไม่ โจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องโดยหาต้องดำเนินการตามมาตรา 1056 ก่อน
การที่จำเลยและโจทก์ที่ 3 หย่าขาดกันตามคำพิพากษาตามยอมนั้น หาอาจหมายความว่า โจทก์ทั้งสามและจำเลยตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน อันเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1061 ได้ไม่
การที่จำเลยและโจทก์ที่ 3 หย่าขาดกันตามคำพิพากษาตามยอมนั้น หาอาจหมายความว่า โจทก์ทั้งสามและจำเลยตกลงกันให้จัดการทรัพย์สินโดยวิธีอื่นในระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน อันเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1061 ได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8680/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วน และอำนาจในการฟ้องเลิกห้างโดยตรง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีผู้เป็นหุ้นส่วนเพียง 2 คน คือ โจทก์และจำเลย และเกิดมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับการเงินของห้าง โดยโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยไม่ได้นำเงินค่าเวนคืนที่ดินที่ห้างได้รับจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยในงวดที่ 3 ลงบัญชีเป็นรายรับของห้าง โจทก์จึงฟ้องจำเลยในข้อหาความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดฯและยักยอกทรัพย์ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ แม้คดีที่โจทก์ฟ้อง ศาลอาญากรุงเทพใต้พิพากษายกฟ้อง และห้างยังมีทรัพย์สินอยู่เป็นจำนวนมากก็ตาม แต่จากพฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ไว้วางใจกัน มีกรณีพิพาทเกี่ยวกับการเงินของห้างจนถึงขั้นฟ้องร้องกล่าวหากันเป็นคดีอาญาไม่ปรองดองกัน หากจะเปลี่ยนตัวหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่มีทางทำได้ เพราะมีจำเลยคนเดียวที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด จึงมีเหตุทำให้ห้างเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) ประกอบมาตรา 1080 ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันเสียได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นจำเลยด้วย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 คน โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดกับจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่เนื่องจากโจทก์กับจำเลยไม่ไว้วางใจกัน และมีกรณีพิพาทขัดแย้งกันอยู่ หากตั้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือให้ร่วมกันเป็นผู้ชำระบัญชีคงไม่ร่วมมือกัน และเป็นอุปสรรคแก่การชำระบัญชีแน่นอน จึงสมควรตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นคนกลางทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เป็นจำเลยด้วย
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 คน โจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดกับจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด และเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ แต่เนื่องจากโจทก์กับจำเลยไม่ไว้วางใจกัน และมีกรณีพิพาทขัดแย้งกันอยู่ หากตั้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือให้ร่วมกันเป็นผู้ชำระบัญชีคงไม่ร่วมมือกัน และเป็นอุปสรรคแก่การชำระบัญชีแน่นอน จึงสมควรตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดีกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเป็นคนกลางทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8680/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด: ความขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วน, ขาดความไว้วางใจ, และการดำเนินงานที่เหลือวิสัย
ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองคน คือโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำเลยเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของห้างจนถึงขั้นฟ้องร้องเป็นคดีอาญา ไม่ปรองดองกัน หากจะเปลี่ยนตัวหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่มีทางทำได้ เพราะมีจำเลยคนเดียวที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด จึงมีเหตุทำให้ห้างเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) ประกอบมาตรา 1080 ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นจำเลยด้วย
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นจำเลยด้วย