พบผลลัพธ์ทั้งหมด 143 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า แม้ผู้กระทำผิดไม่ใช่กรรมการบริษัท แต่เป็นผู้ดำเนินการกิจการก็ต้องรับผิดทางอาญา
แถบป้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่จดทะเบียนไว้แล้วใช้ผ้าพื้นสีกรมท่าตัวอักษรคำว่า KIKADA สีเหลือง แต่ที่จำเลยทำขึ้นใช้ผ้าพื้นสีขาว ตัวอักษรคำว่า KIKDA สีดำ ซึ่งต่างกันแต่เพียงสีของแถบป้ายกับสีของตัวอักษรและลีลาการเขียนอักษรเท่านั้นแต่ชื่อที่เรียกขานเป็นอย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันแล้ว อาจทำให้ผู้ซื้อหลงผิดได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้น ในความรับผิดทางอาญานั้น หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลนั้นจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดนั้นย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลนั้นหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัท ก. ที่กระทำความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น จำเลยจึงมีความผิดด้วย แม้จำเลยจะมีหนังสือรับรองการจดทะเบียนมาแสดงว่าจำเลยมิใช่กรรมการของบริษัทก. ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนผู้ซื้อหลงเชื่อ แม้สีและลีลาการเขียนต่างกัน แต่ชื่อเหมือนกัน ถือเป็นความผิดทางอาญา
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมและที่จำเลยทำขึ้นใช้คำว่า"KIKADA" เช่นเดียวกัน โดยแถบป้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมใช้ผ้าพื้นสีกรมท่า ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีเหลือง ส่วนที่จำเลยทำขึ้นใช้ผ้าพื้นสีขาว ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีดำ ซึ่งต่างกันแต่เพียงสีของแถบป้ายกับสีของตัวอักษรและลีลาการเขียนตัวอักษรเท่านั้นแต่ชื่อที่เรียกขานเป็นชื่ออย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำขึ้นจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม เมื่อนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันแล้วอาจทำให้ผู้ซื้อหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมได้ ในความรับผิดทางอาญา หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลหรือไม่เมื่อจำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทก. จำกัดที่ยึดได้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบโจทก์ร่วมเป็นของกลางจำเลยย่อมมีความผิดทางอาญาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายที่คล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน ถือเป็นการเลียนแบบและละเมิดสิทธิ
เครื่องหมายการค้า 7-ELEVEn ของโจทก์และ 7-BIGSEVEnของจำเลยต่างมีเลข 7 อารบิคเป็นส่วนสำคัญ เพราะเลข 7มีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรมากสามารถเห็นได้เด่นชัด แม้เลข 7 อารบิคของจำเลยจะมีลายเส้นซ้อนกัน 4 ตัว ต่างกับเลข 7 อารบิคของโจทก์ซึ่งมีลักษณะทึบเพียงตัวเดียวก็เป็นแต่เพียงรายละเอียดไม่น่าจะเป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ส่วนอักษรโรมันคำว่า ELEVEnของโจทก์ และคำว่า BIGSEVEn ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เหมือนกันโดยเฉพาะอักษร 4 ตัวท้ายเขียนเหมือนกัน และอักษรตัว n ท้ายสุดก็เป็นตัวพิมพ์เล็กเช่นเดียวกันลักษณะการวางรูปแบบของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกัน กล่าวคืออักษรโรมันคำว่า ELEVEn ของโจทก์พาดกลางตัวเลข 7 ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยนั้น อักษรโรมันคำว่า BIGSEVEnก็พาดกลางตัวเลข 7 อารบิคเช่นเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจึงคล้ายกัน และเมื่อคำนึงถึงว่าสาธารณชนจำนวนมากมิได้มีความรู้ในภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมันดีพอที่จะแยกได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างกันจึงถือได้ว่าการที่จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิด เมื่อโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้มาก่อนจำเลย จนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยการที่จำเลยประกอบกิจการค้าเช่นเดียวกับโจทก์และใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ก็เห็นได้ว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าของจำเลยเป็นกิจการค้าของโจทก์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตอันเป็นการลวงสาธารณชน และเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าถือเป็นการให้สัตยาบันสิทธิ โจทก์มีสิทธิฟ้องผู้เลียนแบบได้
บริษัทเจ้าของเครื่องหมายการค้าในต่างประเทศทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในภายหลัง แสดงว่าบริษัทดังกล่าวได้ให้สัตยาบันการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ในประเทศไทยแล้ว โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย มีอำนาจฟ้องผู้เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรโรมันว่า FRITOS อ่านว่าไฟรทอสหรือฟรีโดส์หรือฟรีโตส์ ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมันว่า FREEDOS อ่านว่า ฟรีโดส์ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 6 ตัว ส่วนของจำเลยมี 7 ตัวแต่ซ้ำกันกับของโจทก์ถึง 4 ตัว คือ F,R,O,S, ตัวอักษรเครื่องหมายการค้าของจำเลย จึงมีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกับตัวอักษรในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ส่วนการออกเสียงนั้นแม้คำของโจทก์จะสามารถอ่านออกเสียงได้หลายอย่าง ส่วนของจำเลยอ่านออกเสียงได้อย่างเดียว แต่ก็มีเสียงเพียง 2 พยางค์เกือบเหมือนหรือคล้ายกับของโจทก์ ทำให้สาธารณชนหลงผิดสับสนได้ว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนสับสน ศาลเพิกถอนทะเบียนและห้ามใช้เครื่องหมายการค้า
จำเลยนำสืบผู้ใช้สินค้าของจำเลย 2 ปาก และนำผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาเบิกความเป็นพยานจำเลยแล้ว พยานจำเลยอีก 2 ปาก ซึ่งเป็นผู้ใช้สินค้าของจำเลย 2 ปากและเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตัดจึงเป็นพยานที่จะนำสืบในข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน เป็นการสืบพยานที่ฟุ่มเฟือยและทำให้การพิจารณาคดีล่าช้า ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจตัดพยานจำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายในเรื่องการรับฟังพยานหลักฐาน เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปช้างยืนอยู่ภายในรูปหกเหลี่ยมหันหน้าไปทางซ้ายมือปล่อยงวงลงมาและยกเท้าหน้าซ้ายขึ้นเล็กน้อย กับมีเส้นลากไขว้ตัดกันจากมุมหนึ่งไปจดอีกมุมหนึ่งรอบตัวช้างลักษณะเด่นของเครื่องหมายคือรูปช้างยืนอยู่ภายในกรอบรูปหกเหลี่ยมและมีเส้นไขว้ตัดกันรอบตัวช้างสำหรับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปช้างยืนอยู่ภายในกรอบรูปหกเหลี่ยมหันหน้าไปทางซ้ายมือ กับมีเส้นโค้งลากจากมุมหนึ่งจดอีกมุมหนึ่งรอบตัวช้างลักษณะเด่นของเครื่องหมายอยู่ที่รูปช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายมืออยู่ภายในรูปหกเหลี่ยมและมีเส้นโค้งรอบตัวช้างรวม3ประการซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเด่นคล้ายคลึงกัน แม้จะมีข้อแตกต่างอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นช้างชูงวงขึ้นขาช้างทั้งคู่หน้าหลังแยกจากกันและขาด้านหน้าซ้ายงอเหยียบถังปูนซึ่งเป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้นและจำเลยใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าเครื่องมือสำหรับใช้ในการก่อสร้างเช่น กระบะถือปูน ถังพลาสติกใส่ปูน เกรียงฉาบปูน เป็นต้นซึ่งเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์นอกจากนี้โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้านี้ตั้งแต่ปี 2517 และได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์วิทยุและโทรทัศน์เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป จำเลยเพิ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยหลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ถึง 10 ปี แสดงว่าจำเลยเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลชอบที่จะเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบลักษณะสำคัญจนสับสน และเจตนาเลียนแบบ
จำเลยนำสืบผู้ใช้สินค้าของจำเลย 2 บาท และนำผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาเบิกความเป็นพยานจำเลยแล้ว พยานจำเลยอีก 3 ปาก ซึ่งเป็นผู้ใช้สินค้าของจำเลย 2 ปากและเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ตัดจึงเป็นพยานที่จะนำสืบในข้อเท็จจริงอย่างเดียวกัน เป็นการสืบพยานที่ฟุ่มเฟือยและทำให้การพิจารณาคดีล่าช้า ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจตัดพยานจำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว ไม่ขัดต่อหลักกฎหมายในเรื่องการรับฟังพยานหลักฐาน เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นรูปช้างยืนอยู่ภายในรูปหกเหลี่ยมหันหน้าไปทางซ้ายมือ ปล่อยงวงลงและยกเท้าหน้าซ้ายขึ้นเล็กน้อย กับมีเส้นลากไขว้ตัดกันจากมุ่งหนึ่งไปจดอีกมุมหนึ่งรอบตัวช้างลักษณะเด่นของเครื่องหมายการค้าคือรูปช้างยืนอยู่ภายใต้ในกรอบรูปหกเหลี่ยมและมีเส้นไขว้ตัดกันรอบตัวช้างสำหรับเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปช้างยืนอยู่ภายในรูปหกเหลี่ยมหันหน้าไปทางซ้ายมือกับมีเส้นโค้งลากจากมุมหนึ่งจดอีกมุมหนึ่งรอบตัวช้างลักษณะเด่น ของเครื่องหมายอยู่ที่รูปช้างยืนหันหน้าไปทางซ้ายมืออยู่ภายในรูปหกเหลี่ยมและมีเส้นโค้งรอบตัวช้าง รวม 3 ประการ ซึ่งเครื่องหมายการค้าทั้งสองมีลักษณะเด่น คล้ายคลึงกัน แม้จะมีข้อแตกต่างอยู่บ้างตรงที่รูปเครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นช้างชูงวงขึ้นขาช้างทั้งคู่หน้าหลังแยกจากกัน และขาด้านหน้าซ้ายงอเหยียบถังปูนซึ่งเป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น และจำเลยใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้าเครื่องมือสำหรับใช้ในการก่อสร้างเช่น กระบะถือปูนถังพลาสติกใส่ปูน เกรียงฉาบปูนเป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับสินค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์ นอกจากนี้โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้านี้ตั้งแต่ปี 2517 และได้โฆษณาทางหนังสือพิมพ์วิทยุและโทรทัศน์เป็นที่แพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไป จำเลยเพิ่งจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยหลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ถึง 10 ปี แสดงว่าจำเลยเจตนาเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าและสินค้าของโจทก์เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตศาลชอบที่จะเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละเครื่องหมายการค้าและการเลียนแบบรูปลักษณ์สินค้า ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่มีการเลียนแบบจนก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสละรูปภาชนะบรรจุสินค้าและข้อความที่บรรยายทางการค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขาย ตามที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าได้มีคำสั่งแล้วนั้น ย่อมหมายรวมถึงการวางรูปของเครื่องหมายการค้าและข้อความที่บรรยายในทางการค้าหรือสิ่งอื่นใดในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ยินยอมสละแล้วด้วย ดังนั้น โจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่อาจถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในรูปลักษณะภาชนะบรรจุยาขัดล้างรถยนต์และข้อความบรรยายทั้งการวางรูปของเครื่องหมายการค้าและคำบรรยายที่ภาชนะเช่นนี้การที่จำเลยที่ 1 ผลิตสินค้า มีรูปลักษณะของภาชนะและคำบรรยายเกี่ยวกับสินค้าอย่างเดียวกับสินค้าของโจทก์ โจทก์จึงอ้างไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิไม่สุจริต เครื่องหมายการค้าอักษรโรมัน คำว่า "CARGLO" หรือ "คาร์โกล้"ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า "DINCO" หรือ "ดิงโก้"ของจำเลยที่ 1 แตกต่างกันทั้งตัวอักษรที่เขียนและสำเนียงเรียกขานแม้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวใช้กับสินค้าจำพวกยาขัดล้างรถยนต์เหมือนกัน แต่บุคคลบางประเภทเท่านั้นที่ใช้สินค้าดังกล่าว ไม่ใช่สินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้สอย จึงเป็นไปได้ยากที่ผู้ใช้จะมาหลงผิดเข้าใจว่ายาขัดล้างรถยนต์ภายใต้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1เป็นยาขัดล้างรถยนต์ภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงไม่เหมือน หรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดในความเป็นเจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า: ความเหมือนของคำเรียกขานและเจตนาเลียนแบบมีผลต่อสิทธิในเครื่องหมายการค้า
แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยจะมีลักษณะและลีลาการเขียนแตกต่างกัน แต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยใช้ภาษาต่างประเทศที่มีสำเนียงเรียกขานเหมือนกันและใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ผู้ซื้อย่อมถือคำเรียกขานและหลงผิดได้ว่าสินค้าทั้งสองเครื่องหมายเป็นอย่างเดียวกัน ดังนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีลักษณะเหมือนกัน สินค้าของจำเลยได้ผลิตและจำหน่ายยังประเทศต่าง ๆ เกือบทั่วโลกมาก่อนโจทก์ มีการโฆษณาเผยแพร่ตลอดจนนำไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศต่าง ๆ หลายประเทศ ทั้งยังมีตัวแทนจำเลยที่ต่างประเทศส่งสินค้าของจำเลยเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยโจทก์ซึ่งมีอาชีพเป็นตัวแทนขายรองเท้าต่างประเทศ ย่อมรู้ว่าสินค้ารองเท้าของจำเลยภายใต้เครื่องหมายการค้าพิพาทเป็นที่นิยมแพร่หลาย ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ส่อให้เห็นเจตนาของโจทก์ที่จะเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งใช้มาก่อนโจทก์ทำให้ประชาชนหลงเชื่อว่าสินค้าของโจทก์เป็นสินค้าของจำเลยจำเลยจึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของเครื่องหมายการค้า
เมื่อนำเครื่องหมายการค้าซึ่งปรากฏที่ฉลากกล่องกระดาษสำหรับใส่ขวดน้ำมันทาถูนวดของจำเลยเปรียบเทียบกับของโจทก์ปรากฏว่ากล่องของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ทั้งหกด้านรูปร่างของกล่องตลอดจนฝากล่องก็เหมือนกัน สีสรรและลวดลายของภาพต่าง ๆ บนกล่องมีลักษณะคล้ายกันและอยู่ในตำแหน่งเดียวกันขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็เท่ากันนอกจากนี้ด้านหน้าของกล่องมีตัวอักษรที่เด่นชัดเหมือนกันคือคำว่า "น้ำมัน" แม้จะมีตัวอักษรที่ต่างกันคือ ของโจทก์ใช้คำว่า"น้ำมันมวย" ของจำเลยใช้คำว่า "น้ำมันกีฬา" แต่ตัวหนังสือดังกล่าวต่างก็เป็นตัวสีขาวและอยู่ในพื้นสีน้ำเงินเหมือนกัน โดยเฉพาะกล่องของจำเลยอยู่ในกรอบแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ด้วย สำหรับด้านหลังของกล่องซึ่งมีอักษรโรมัน แม้จะมีคำต่างกันกล่าวคือ ของโจทก์ใช้คำว่า "BOXINGLINIMENT"ของจำเลยใช้คำว่า "SPORTSOIL" แต่คำทั้งสองเป็นตัวสีขาวและอยู่ในกรอบสีน้ำเงินแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากัน สีและลวดลายอื่น ๆ ของกล่องมีลักษณะคล้ายกันและมีขนาดเท่ากัน สำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดังกล่าวก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้เลย ส่วนที่ฝากล่องกระดาษของโจทก์ด้านบนมีรูปดอกไม้และมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ดอกไม้"แต่ที่ฝากล่องของจำเลยด้านบนมีรูปสิงห์ 5 ตัว เหยียบอยู่บนลูกโลกและมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ตราหน้าสิงห์เหยียบโลก" นั้น ก็มีลักษณะเล็กมาก มองในระยะห่าง 1 เมตร จะอ่านตัวอักษรดังกล่าวของทั้งโจทก์และจำเลยไม่ออก อย่างไรก็ตาม รูปและอักษรดังกล่าวอยู่ในรูปวงกลมล้อมรอบ 3 ชั้นเหมือนกัน โดยเฉพาะวงกลมชั้นนอกเป็นวงกลมที่มีรอยหยักในลักษณะเหมือนกัน และภาพนักมวยกำลังชกต่อยกันบนกล่องของโจทก์ซึ่งของจำเลยไม่มีก็เป็นเพียงภาพเงาและไม่เด่นชัด ไม่ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์จดทะเบียนในประเทศไว้ตั้งแต่พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อ พ.ศ. 2527 ถึง 30 ปี จึงเป็นการที่จำเลยมีเจตนาผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ การโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าให้แก่กันจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการโอนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474และต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พ.ศ. 2474(ฉบับที่ 1) ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2474 ข้อ 12 ซึ่งบังคับว่าต้องใช้แบบ ค.ม.8ก. เมื่อปรากฏว่าเอกสารที่จำเลยอ้างว่าโจทก์โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ท.ไม่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้า และข้อความในเอกสารดังกล่าวก็มิได้ระบุว่าเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ท.แต่ระบุว่าโจทก์ให้ ท.เป็นผู้ถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้แทนโจทก์ โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทตลอดมาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้เต็มจำนวนนับแต่วันที่จำเลยทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นทำให้สับสนและเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
เมื่อนำเครื่องหมายการค้าซึ่งปรากฏที่ฉลากกล่องกระดาษสำหรับใส่ขวดน้ำมันทาถูนวดของจำเลยเปรียบเทียบกับของโจทก์ ปรากฏว่ากล่องของจำเลยมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ทั้งหกด้าน รูปร่างของกล่องตลอดจนฝากล่องก็เหมือนกัน สีสรรและลวดลายของภาพต่าง ๆ บนกล่องมีลักษณะคล้ายกันและอยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ขนาดของภาพและตัวอักษรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันก็เท่ากัน นอกจากนี้ด้านหน้าของกล่องมีตัวอักษรที่เด่นชัดเหมือนกันคือคำว่า "น้ำมัน" แม้จะมีตัวอักษรที่ต่างกันคือ ของโจทก์ใช้คำว่า "มวย" ของจำเลยใช้คำว่า "กีฬา"กล่าวคือรวมแล้วของโจทก์ใช้คำว่า "น้ำมันมวย" ของจำเลยใช้คำว่า"น้ำมันกีฬา" แต่ตัวหนังสือดังกล่าวต่างก็เป็นตัวสีขาว และอยู่ในพื้นสีน้ำเงินเหมือนกัน โดยเฉพาะกล่องของจำเลยอยู่ในกรอบแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากับกล่องของโจทก์ด้วย สำหรับด้านหลังของกล่องซึ่งมีอักษรโรมัน แม้จะมีคำต่างกันกล่าวคือ ของโจทก์ใช้คำว่า "BOXINGLINIMENT" ของจำเลยใช้คำว่า "SPORTOIL" ก็ตาม แต่คำทั้งสองเป็นตัวสีขาวและอยู่ในกรอบสีน้ำเงินแบบเดียวกันและมีขนาดเท่ากันสีและลวดลายอื่น ๆ ของกล่องมีลักษณะคล้ายกันและมีขนาดเท่ากันสำหรับผู้ที่อ่านอักษรโรมันไม่ได้ หากได้เห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดังกล่าวก็น่าจะไม่สามารถสังเกตเห็นข้อแตกต่างของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้เลย ส่วนที่ฝากล่องกระดาษของโจทก์ด้านบนมีรูปดอกไม้และมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ดอกไม้" แต่ที่ฝากล่องของจำเลยด้านบนมีรูปสิงห์ 5 ตัว เหยียบอยู่บนลูกโลกและมีอักษรภาษาไทยคำว่า "ตราห้าสิงห์เหยียบโลก" นั้น ก็มีลักษณะเล็กมากมองในระยะห่าง 1 เมตร จะอ่านตัวอักษรดังกล่าวของทั้งโจทก์และจำเลยไม่ออก อย่างไรก็ตาม รูปและอักษรดังกล่าวอยู่ในรูปวงกลมล้อมรอบ3 ชั้นเหมือนกัน โดยเฉพาะวงกลมชั้นนอกเป็นวงกลมที่มีรอยหยักในลักษณะเหมือนกันและภาพนักมวยกำลังชกต่อยกันบนกล่องของโจทก์ซึ่งของจำเลยไม่มีก็เป็นเพียงภาพเงาและไม่เด่นชัด ไม่ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยต่างกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ เมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์จดทะเบียนในประเทศไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะเริ่มดำเนินกิจการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเมื่อ พ.ศ. 2527 ถึง30 ปี จึงเป็นการที่จำเลยมีเจตนาผลิตสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ การโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าให้แก่กันจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการโอนต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474และต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พ.ศ. 2474(ฉบับที่ 1)ลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2474 ข้อ 12 ซึ่งบังคับว่าต้องใช้แบบค.ม. 8 ก. เมื่อปรากฏว่าเอกสารที่จำเลยอ้างว่าโจทก์โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ก. ไม่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าและข้อความในเอกสารดังกล่าวก็มิได้ระบุว่าเป็นการโอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทให้ ท.แต่ระบุว่าโจทก์ให้ท. เป็นผู้ถือสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไว้แทนโจทก์โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าพิพาทตลอดมาและมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้เต็มจำนวนนับแต่วันที่จำเลยทำละเมิด จำนวนเงินค่าทนายความที่ศาลกำหนดให้จำเลยใช้แทนโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งเป็นดุลพินิจของแต่ละศาลที่จะกำหนดให้ โดยคำนึงถึงเหตุผลสมควรและความสุจริตในการสู้ ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคหนึ่ง โดยศาลต้องกำหนดค่าทนายความระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูงดังที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.