คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุพิเศษ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 50 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกความผิดฐานลักทรัพย์ตามเหตุพิเศษและลักษณะการกระทำ
ในเรื่องลักทรัพย์ กฎหมายจำแนกความผิดและกำหนดโทษหนักเบาต่างกันสุดแต่ว่าจะมีเหตุพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เมื่อจำเลยลักทรัพย์ของนายจ้างในเวลาค่ำคืน การกระทำของจำเลยต้องด้วยม.294 ข้อ 5 ซึ่งเป็นเหตุพิเศษประกอบกับตัวทรัพย์ที่ถูกลักและประกอบกับตัวทรัพย์ที่ถูกลักและประกอบด้วย ม.293 ข้อ 1 อันเป็นเหตุพิเศษประกอบอาการแห่งการลักทรัพย์นั้นด้วย จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 294 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1752/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำแนกความผิดฐานลักทรัพย์ตามเหตุพิเศษและโทษที่แตกต่างกัน
ในเรื่องลักทรัพย์ กฎหมายจำแนกความผิดและกำหนดโทษหนักเบาต่างกันสุดแต่ว่าจะมีเหตุพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดไว้
เมื่อจำเลยลักทรัพย์ของนายจ้างในเวลาค่ำคืน การกระทำของจำเลยต้องด้วยมาตรา 294 ข้อ 5 ซึ่งเป็นเหตุพิเศษประกอบกับตัวทรัพย์ที่ถูกลักและประกอบด้วย มาตรา 293 ข้อ 1 อันเป็นเหตุพิเศษประกอบอาการแห่งการลักทรัพย์นั้นด้วย จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 294 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 906/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและผลกระทบจากการอุทิศทรัพย์สินให้วัด ผู้ให้เช่าต้องรับผิดเมื่อผู้เช่าเสียหายจากเหตุพิเศษ
ทำสัญญาให้ผู้อื่นเช่าตึกของตน ซึ่งได้อุทิศถวายเป็นของวัดแล้วแต่ผู้เช่าไม่รู้เรื่องถวายวัด เมื่อทางวัดไม่ยินยอมให้เช่า ตนจึงต้องบอกเลิกการเช่าเสียก่อนที่ผู้เช่าได้เขามาใช้สถานที่ตามสัญญานั้น ผู้ให้เช่าต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เช่าที่ต้องเสียหายไปในการบูรณะดัดแปลงตึกนั้น
ผลกำไรอันจะได้จากการใช้ทรัพย์ที่เช่านั้น นับว่าเป็นค่าเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ถ้าผู้เช่ามิได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์พิเศษเช่นนั้นล่วงหน้าแล้ว ผู้ให้เช่าก็ไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2489 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางค่าธรรมเนียมอุทธรณ์: ต้องมีเหตุพิเศษและสั่งก่อนสิ้นระยะเวลา
การสั่งขยายระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จะสั่งได้ต่อเมื่อมีพฤตติการณ์พิเศษ และสั่งก่อนสิ้นระยะเวลา เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย
การที่ผู้อุทธรณ์ไม่วางเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องเสียแทนอีกฝ่าย 1 ในอายุความอุทธรณ์โดยไม่รู้เท่าถึงการนั้น ไม่นับว่าเป็นพฤตติการณ์พิเศษ ที่ศาลจะสั่งขยายเวลาวางเงินได้
ศาลสั่งรับอุทธรณ์ไว้แล้ว แต่ผู้อุทธรณ์วางเงินค่าธรรมเนียมที่จะใช้แทนอีกฝ่าย 1 เมื่อพ้นอายุอุทธรณ์ก็ถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 51/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมอุทธรณ์: ต้องมีเหตุพิเศษและสั่งก่อนสิ้นระยะเวลา
การสั่งขยายระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จะสั่งได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และสั่งก่อนสิ้นระยะเวลา เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัย
การที่ผู้อุทธรณ์ไม่วางเงินค่าธรรมเนียมที่จะต้องเสียแทนอีกฝ่ายหนึ่ง ในอายุความอุทธรณ์โดยไม่รู้เท่าถึงการนั้น ไม่นับว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะสั่งขยายเวลาวางเงินได้
ศาลสั่งรับอุทธรณ์ไว้แล้ว แต่ผู้อุทธรณ์วางเงินค่าธรรมเนียมที่จะใช้แทนอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อพ้นอายุอุทธรณ์ก็ถือว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อจากสำนวนเดิม: หลักการทั่วไปและการพิจารณาเหตุพิเศษ
การขอไห้นับโทสต่อจากอีกสำนวนหนึ่งนั้น เมื่อไม่ปรากตว่ามีเหตุพิเสสอะไรก็ต้องนับโทสต่อจากสำนวนที่โจทอ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 936/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อจากสำนวนอื่น - ต้องนับจากสำนวนที่โจทก์อ้างหากไม่มีเหตุพิเศษ
การขอให้นับโทษต่อจากอีกสำนวนหนึ่งนั้น. เมื่อไม่ปรากฏว่ามีเหตุพิเศษอะไรก็ต้องนับโทษต่อจากสำนวนที่โจทก์อ้าง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16889/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาฎีกาต้องมีเหตุพิเศษ มิใช่ความบกพร่องของคู่ความ และศาลไม่ต้องพิจารณาคำร้องหากพ้นกำหนด
แม้การที่ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของโจทก์เมื่อพ้นระยะเวลาฎีกาแล้วจะทำให้โจทก์เสียสิทธิในการยื่นฎีกาภายในกำหนดเวลาที่ยังเหลืออยู่ก็ตาม โจทก์ย่อมคาดหมายได้ว่าศาลชั้นต้นอาจสั่งไม่อนุญาตก็ได้ กรณีไม่อาจนำเหตุที่ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องของโจทก์หลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้ว 4 วัน มาเป็นเหตุที่จะอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาฎีกาได้
การพิจารณาว่ามีเหตุที่จะอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาฎีกาได้หรือไม่ ต้องพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ว่า เหตุที่โจทก์อ้างตามคำร้องเป็นพฤติการณ์พิเศษหรือไม่ การที่โจทก์ไม่สามารถยื่นฎีกาได้ภายในกำหนดเพราะกรรมการบริษัทโจทก์ซึ่งอาศัยต่างประเทศยังไม่เดินทางกลับประเทศไทยเพื่อสั่งจ่ายเช็คค่าฤชาธรรมเนียมที่จะต้องชำระและนำมาวางศาล เป็นความบกพร่องของตัวโจทก์และทนายโจทก์เอง ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4306/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายระยะเวลาบังคับคดีประกัน: ศาลมีอำนาจพิจารณาเหตุพิเศษได้ แม้มีข้อจำกัดทางกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้คัดค้านขยายระยะเวลาบังคับคดีเนื่องจากเจ้าหน้าที่ศาล ได้ทำรายงานเสนอต่อศาลชั้นต้นขอให้ขยายระยะเวลาการบังคับคดี เนื่องจากระยะเวลาการบังคับคดีใกล้จะครบกำหนดแล้ว รายงานดังกล่าวถือว่าเป็นเพียงรายงานเบื้องต้นของเจ้าหน้าที่ศาลที่เสนอต่อศาลว่า คดีนี้ใกล้จะครบระยะเวลาการบังคับคดีเท่านั้น ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจพิจารณาข้อเท็จจริงต่างๆ ภายในสำนวนและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่จะปรากฏให้เห็นว่ามีเหตุผลใดที่จะต้องขยายระยะเวลาการบังคับคดีออกไป หากมีข้อเท็จจริงที่มีพฤติการณ์พิเศษ ศาลชั้นต้นก็สามารถอนุญาตให้ผู้คัดค้านขยายระยะเวลาบังคับคดีออกไปได้ ไม่จำเป็นต้องถือข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามรายงานของเจ้าหน้าที่ศาลเท่านั้น
ผู้คัดค้านในฐานะหัวหน้าสำนักงานศาลยุติธรรมตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกัน ซึ่งมีการแก้ไขให้อำนาจผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในกรณีนี้เมื่อปี 2547 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 แต่ตามกฎหมายเดิมและกฎหมายปัจจุบันก็ยังให้อำนาจพนักงานอัยการในการบังคับคดีแก่นายประกันที่ผิดสัญญาประกันตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498มาตรา 11 (8) ในคดีนี้ผู้ร้องทั้งสองผิดสัญญาประกันตั้งแต่ปี 2541 ไม่ปรากฏว่ามีการบังคับคดีแก่ผู้ร้องทั้งสองก่อนหน้านี้ เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงให้เห็นว่า เกิดจากการที่ผู้คัดค้านไม่เร่งรีบบังคับคดีหรือปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด แต่เหตุที่ไม่มีการบังคับคดีเนื่องจากผู้คัดค้านเพิ่งมีอำนาจตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ทั้งยังมีคดีทำนองเดียวกันที่ใกล้จะครบระยะเวลาการบังคับอีกจำนวนหลายร้อยคดี หากปล่อยให้เลยกำหนดระยะเวลาการบังคับคดีก็จะเกิดความเสียหายต่อประโยชน์ราชการส่วนรวมได้ ดังนั้น พฤติการณ์ต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นย่อมถือมีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลชั้นต้นสามารถที่จะอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการบังคับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6770/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษและดำเนินการภายในกรอบเวลาที่ศาลอนุญาต หากไม่ดำเนินการตามขั้นตอน ศาลไม่รับวินิจฉัย
การขอขยายหรือย่นระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย เมื่อคดีนี้ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและโจทก์ร่วมประสงค์จะให้อัยการสูงสุดรับรองให้ใช้สิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ โจทก์ร่วมชอบที่จะดำเนินการภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ทันที แต่โจทก์ร่วมก็ไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด เมื่อใกล้วันครบกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์โจทก์ร่วมกลับยื่นคำร้องให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเท่านั้น ภายหลังเมื่อผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ร่วมจึงยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์อ้างว่า เพื่อจะดำเนินการขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นความบกพร่องของโจทก์ร่วมเอง ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ศาลฎีกาใช้อำนาจทั่วไปขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์ร่วมและให้โอกาสโจทก์ร่วมได้ใช้สิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลได้อย่างเต็มที่นั้น เมื่อตามคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมอ้างเหตุเพื่อขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง มิได้ขอให้ศาลใช้อำนาจทั่วไปตามกฎหมาย ฎีกาของโจทก์ร่วมจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์ร่วมในข้อนี้มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 5