คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุเลิกจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1987/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกจ้างต้องตรงกับที่ระบุในหนังสือเลิกจ้าง ศาลไม่รับฟังเหตุอื่นนอกเหนือจากนั้น
หนังสือเลิกจ้างระบุเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพียง 2 ประการคือ โจทก์ยักยอกเงินของจำเลย โดยใช้ใบเสร็จของบริษัท อ. และโจทก์ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบในการกู้ยืมเงิน พ. มิได้อ้างเหตุว่าโจทก์ยักยอกหรือโจทก์ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบครั้งอื่นจำเลยจึงยกเหตุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ยักยอกหรือโจทก์ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบครั้งอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไม่ได้ จำเลยหาได้เลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุนั้นไม่ คดีจึงไม่มีประเด็นที่ศาลแรงงานกลางจะวินิจฉัยว่าโจทก์ยักยอกและโจทก์ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบครั้งอื่นหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6462/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องใช้เหตุตามหนังสือเลิกจ้างเท่านั้น แม้มีการกระทำผิดอื่น ก็ใช้เป็นเหตุเลิกจ้างเพิ่มเติมไม่ได้
จำเลยเลิกจ้างลูกจ้างโดยทำเป็นหนังสือ และระบุเหตุเลิกจ้างไว้ชัดแจ้งเมื่อจำเลยถูกลูกจ้างฟ้องร้องต่อศาล จำเลยจะยกเอาเหตุเลิกจ้างอื่นนอกเหนือจากหนังสือเลิกจ้างเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่เมื่อเหตุเลิกจ้างตามหนังสือเลิกจ้างไม่ต้องด้วย ข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และป.พ.พ.มาตรา 583 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ จำเลยเลิกจ้างโจทก์ เพราะโจทก์ลักสีที่ใช้ทาผนังโรงงานของจำเลย ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่น่าระแวงสงสัยและไม่เป็นที่ไว้วางใจจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควรไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2037/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้าง: การป่วยของลูกจ้างไม่ใช่เหตุให้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหากไม่ได้เกิดจากการกระทำของลูกจ้างเอง
ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(2)และ (5) ที่แก้ไขใหม่ ระบุว่านายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้ รับความเสียหายหรือลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้ รับความเสียหายอย่างร้ายแรงดังนี้การที่โจทก์ป่วยไม่สามารถปฏิบัติงานตาม หน้าที่ได้ ตาม ปกตินั้นเป็นเหตุที่เกิดขึ้นตาม สภาพร่างกายโดย ธรรมชาติ มิใช่เกิดจากการกระทำของโจทก์ ถือ ไม่ได้ว่าโจทก์จงใจทำให้จำเลยได้ รับความเสียหายหรือเป็นการกระทำโดย ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้ รับความเสียหาย เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึงต้อง จ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย: คำตักเตือนต้องไม่เก่าเกินไปและต้องเป็นเหตุเดียวกัน
จำเลยผู้เป็นนายจ้างตักเตือนโจทก์ผู้เป็นลูกจ้างเป็นหนังสือครั้งแรกเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันมิให้ทรัพย์สินของพนักงานที่เก็บไว้ในสำนักงานสูญหาย ไม่ใช่เป็นการตักเตือนเรื่องดื่มสุราใช้ถ้อยคำไม่สุภาพและก้าวร้าวต่อผู้บังคับบัญชา อันเป็นความผิดที่จำเลยกระทำครั้งหลังและจำเลยถือเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการตักเตือนในความผิดคนละเหตุกัน กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ที่จะทำให้จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยสำหรับคำตักเตือนโจทก์ครั้งที่สอง แม้จะเป็นการตักเตือนในเหตุเดียวกับการกระทำผิดในครั้งหลัง แต่ได้ความว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหลังจากที่จำเลยมีหนังสือตักเตือนโจทก์ 1 ปี 2 เดือน 27 วัน เช่นนี้คำตักเตือนดังกล่าวเนิ่นนานเกินควรที่จะนำมาเป็นข้อพิจารณาสำหรับการเลิกจ้างในการฝ่าฝืนข้อบังคับครั้งหลังได้ ดังนั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดร้ายแรงกระทบต่อการทำงาน แม้ไม่มีระเบียบข้อบังคับ ก็สามารถอ้างเหตุได้
เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วจะต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์หรือไม่ แม้ไม่มีระเบียบข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ก็สามารถพิจารณาได้จากการกระทำของโจทก์ว่า เป็นการกระทำความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 หรือไม่ โจทก์ซึ่งมีอาการมึนเมาสุราได้ขอให้ ป.ผู้ร่วมงานช่วยตามหาภรรยาซึ่งหนีไป เมื่อ ป. ไปกับโจทก์ โจทก์ถือโอกาสพา ป. เข้าโรงแรมแล้วปลุกปล้ำแต่ ป. หนีมาได้ การกระทำของโจทก์นอกจากจะเป็นความผิดอาญา เป็นการประพฤติผิดศีลธรรมอันดี เป็นการประพฤติชั่วแล้ว ยังก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างเพื่อนร่วมงาน อันเป็นผลเสียกระทบกระเทือนถึงการงานของจำเลยด้วย ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้าง แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3156/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่ต้องระบุเหตุ และสิทธิของนายจ้างในการอ้างเหตุในคำให้การ
การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเป็นเรื่องที่นายจ้างใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับว่าจะต้องระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างนั้นด้วย เมื่อลูกจ้างนำคดีมาฟ้อง นายจ้างก็มีสิทธิที่จะอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ในคำให้การ ซึ่งก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3156/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลิกจ้างของนายจ้างไม่ต้องระบุเหตุในคำสั่งเลิกจ้าง เหตุผลสามารถยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การได้
การที่ นายจ้าง เลิกจ้างลูกจ้าง เป็นเรื่องที่ นายจ้าง ใช้สิทธิเลิกสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายบังคับว่าจะต้องระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างนั้นด้วย เมื่อลูกจ้างนำคดีมาฟ้อง นายจ้างก็มีสิทธิที่จะอ้างเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ในคำให้การ ซึ่งก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทขึ้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงเหตุเลิกจ้างก่อนวินิจฉัยการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การงดสืบพยานโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงเป็นวิธีพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่าโจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและผิดวินัยตามระเบียบของจำเลยโดยทุจริตและจงใจทำให้จำเลยเสียหาย การเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้ ศาลจำต้องฟังข้อเท็จจริงถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเป็นเพราะเหตุใด และเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ส่วนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนจะชอบด้วยระเบียบของจำเลยหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับการที่ศาลจะวินิจฉัยในกรณีนี้ การที่ศาลแรงงานกลางเพียงแต่ฟังคำแถลงด้วยวาจาของฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นการแถลงของแต่ละฝ่ายโดยอีกฝ่ายมิได้ยอมรับข้อเท็จจริงด้วย แล้วมีคำสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยว่าการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนไม่ชอบด้วยระเบียบของจำเลย การเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้น เป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณาพิพากษาศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงเหตุเลิกจ้างก่อนวินิจฉัยการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การสอบสวนไม่ชอบด้วยระเบียบไม่ใช่ประเด็นหลัก
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรม จำเลยให้การว่า โจทก์กระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับและผิดวินัยตามระเบียบของจำเลยโดยทุจริตและจงใจทำให้จำเลยเสียหาย การเลิกจ้างโจทก์จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้ ศาลจำต้องฟังข้อเท็จจริงถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่าเป็นเพราะเหตุใด และเหตุดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ส่วนการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนจะชอบด้วยระเบียบของจำเลยหรือไม่ไม่เกี่ยวกับการที่ศาลจะวินิจฉัยในกรณีนี้ การที่ศาลแรงงานกลางเพียงแต่ฟังคำแถลงด้วยวาจาของฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นการแถลงของแต่ละฝ่ายโดยอีกฝ่ายมิได้ยอมรับข้อเท็จจริงด้วย แล้วมีคำสั่งงดสืบพยานและวินิจฉัยว่าการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนไม่ชอบด้วยระเบียบของจำเลย การเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นั้น เป็นเรื่องที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายวิธีพิจารณาความว่าด้วยการพิจารณาพิพากษา ศาลฎีกาให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 838/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนทางวินัยต้องระบุการกระทำผิดชัดเจน การเลิกจ้างโดยอ้างผิดซ้ำจึงไม่ชอบ หากแต่การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งก็เป็นเหตุเลิกจ้างได้
คำสั่งของนายจ้างที่ลงโทษและภาคทัณฑ์ลูกจ้างระบุว่าลูกจ้างทำผิดวินัย และมีคำเตือนว่าหากลูกจ้างกระทำผิดวินัยข้อใดอีกนายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แต่คำสั่งดังกล่าวมิได้ระบุว่าลูกจ้างกระทำการใดที่ถือว่าเป็นการผิดวินัย ทั้งได้ระบุข้อวินัยที่อ้างว่าลูกจ้างทำผิดไว้ถึง 5 ข้อ เช่นนี้ จึงเป็นการเตือนที่กว้างเกินไป ลูกจ้างย่อมไม่อาจทราบและปรับปรุงตนเองเพื่อมิให้กระทำผิดซ้ำคำเตือนนี้ได้ นายจ้างจะอ้างว่าลูกจ้างทำผิดซ้ำคำเตือนดังกล่าวและเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) มิได้ ลูกจ้างซึ่งเป็นพนักงานบริการมีหน้าที่ทำงานในลักษณะทั่วไปที่ใช้แรงงาน เช่น รักษาความสะอาด ยาม พนักงานเดินหนังสือได้รับคำสั่งให้มาทำหน้าที่เปิดปิดประตูสำนักงาน มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยเคร่งครัด โดยมักจะมาเปิดประตูไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดเช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
of 9