คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เอกสาร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 567 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4124/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานสรุปยอดเอกสารที่ไม่ลงรายการกู้เงิน ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.บริษัทจำกัด
พ.ศ. 2499 มาตรา 42
โจทก์กับ ภ. ฝ่ายหนึ่งกับจำเลยทั้งสองอีกฝ่ายหนึ่งเข้าหุ้นกันทำธุรกิจส่งผักสดให้แก่บริษัท ก. จำกัด (มหาชน) ในนามบริษัท พ. มีระยะเวลาตั้งแต่กลางเดือนมกราคม 2538 ถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2538 เมื่อครบกำหนดสัญญาได้ชวน ต. เข้าร่วมหุ้นอีกฝ่ายหนึ่งทำธุรกิจนี้ต่อไป โดยลงทุนเป็นเงินจำนวนฝ่ายละ 1,000,000 บาท แล้วจดทะเบียนเพิ่มทุนและเปลี่ยนแปลงกรรมการให้โจทก์กับจำเลยทั้งสอง และ ต. เป็นกรรมการของบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการในนามบริษัท คือจำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท หรือจำเลยที่ 2 กับ ต. ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัท จำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่รับจ่ายและเก็บรักษาเงิน จำเลยที่ 2 มีหน้าที่จัดทำบัญชีและเอกสารอื่น ๆ บริษัท พ. ประมูลส่งผักสดให้บริษัท ก. จำกัด (มหาชน) ครั้งต่อไปได้ มีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2538 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2538 จำเลยทั้งสองร่วมกันทำสัญญากู้เงินและสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารในนามบริษัท พ. โดยยอมให้หักชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากของบริษัท พ. ที่เปิดไว้ที่ธนาคารดังกล่าวมีการรับเงินที่กู้กับเบิกเงินเกินบัญชีไป และธนาคารหักชำระหนี้จากบัญชีเงินฝากแล้ว ต่อมาวันที่ 19 มีนาคม 2539 จำเลยทั้งสองร่วมกันทำรายงานสรุปยอดเอกสารฉบับพิพาทโดยไม่ได้ลงรายการกู้เงินและเบิกเงินเกินบัญชีดังกล่าวไว้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยทั้งสองทำรายงานสรุปยอดเอกสารฉบับพิพาทเพื่อแสดงรายรับรายจ่ายให้ทราบผลกำไรขาดทุนต่อฝ่ายโจทก์กับฝ่าย ต. เท่านั้น มิใช่เพื่อให้เป็นหลักฐานทางบัญชีหรืองบดุลของบริษัท จึงไม่จำเป็นต้องลงรายการกู้เงินและเบิกเงินเกินบัญชีซึ่งเป็นแหล่งที่มาของการนำเงินมาเป็นรายจ่ายด้วย รายการดังกล่าวมิใช่ข้อความสำคัญในเอกสารรายการสรุปยอดเอกสารฉบับพิพาทของบริษัท แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ลงไว้ ก็ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 มาตรา 42 และ ป.อ. มาตรา 83

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2650/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันมีผลผูกพัน แม้คู่สัญญาไม่ได้ลงลายมือชื่อพร้อมกัน และเอกสารมีชื่อบริษัทอื่นปรากฏ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680 วรรคสองบัญญัติเพียงว่า "อนึ่งสัญญาค้ำประกันนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่" การที่จำเลยลงลายมือชื่อในเอกสารหนังสือสัญญาค้ำประกันพิพาทแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อและประทับตราบริษัทโจทก์เป็นคู่สัญญาด้วยก็หาทำให้จำเลยพ้นจากความผูกพันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันดังกล่าวที่มีอยู่กับโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9277/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเกี่ยวกับเอกสารและการฉ้อโกง การแก้ไขโทษปรับที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
++ เรื่อง ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ฉ้อโกง ++
++
++
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า สมควรลงโทษจำเลยทั้งสามสถานเบาและรอการลงโทษหรือไม่
++ เห็นว่า จากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ จำเลยในคดีหมายเลขดำที่ 278/2541 เป็นตัวการสำคัญในการกระทำความผิดโดยเป็นผู้ลักหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิของมารดามาขูดชื่อมารดาออกแล้วพิมพ์ชื่อของตนเองแทน โดยจำเลยทั้งสามมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องมาตั้งแต่แรก การที่จำเลยทั้งสามไปติดต่อขอกู้ยืมเงินจากผู้เสียหายให้จำเลยในคดีหมายเลขดำที่278/2541 และเป็นพยานรับรองว่าเอกสารสิทธิดังกล่าวเป็นของจำเลยในคดีหมายเลขดำที่ 278/2541 ก็เพื่อมุ่งหวังจะได้ค่านายหน้าเท่านั้นพฤติการณ์แห่งคดีของจำเลยทั้งสามจึงไม่ร้ายแรงนัก ประกอบกับจำเลยทั้งสามได้บรรเทาผลร้ายให้แก่โจทก์ร่วม โดยยอมร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายจำนวน 20,000 บาท ให้แก่โจทก์ร่วมตามจำนวนที่โจทก์ร่วมประสงค์เรียกร้องเอาจากจำเลยทั้งสามแล้ว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 แก้โทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสามสถานเบาและรอการลงโทษ แต่คุมประพฤติจำเลยทั้งสามไว้เพื่อให้โอกาสจำเลยทั้งสามได้กลับตัวเป็นพลเมืองดี จึงนับว่าเป็นดุลพินิจที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วยในส่วนนี้
++ แต่สำหรับโทษปรับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 266 นั้น มีระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ลงโทษปรับจำเลยทั้งสามคนละ 8,000 บาท จึงเป็นการลงโทษปรับต่ำกว่าอัตราขั้นต่ำตามกฎหมายและเบาเกินไป โจทก์ร่วมฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ถือได้ว่าโจทก์ร่วมฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษจำเลยทั้งสามให้หนักขึ้นอยู่ในตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212ประกอบด้วยมาตรา 225 ศาลฎีกาจึงแก้ไขโทษปรับสำหรับจำเลยทั้งสามให้ถูกต้องเหมาะสมได้ ฎีกาของโจทก์ร่วมฟังขึ้นบางส่วน
อนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสามด้วยโดยมิได้กล่าวถึงการบังคับให้ชำระค่าปรับนั้น เป็นการไม่ถูกต้องศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษปรับจำเลยทั้งสามคนละ30,000 บาท ลดโทษให้คนละกึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 แล้ว คงปรับคนละ 15,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7355/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินอากรศุลกากร การสำแดงราคาสินค้าต่ำกว่าราคาตลาด และการตรวจค้นยึดเอกสารเพื่อใช้ในการประเมิน
ตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 112 ในกรณีที่มีปัญหาค่าอากรสำหรับของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ผู้นำเข้าสามารถนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางแทนการวางเงินเพิ่มเติมเป็นประกันก็ได้ และนำสินค้าออกไปจากอารักขาของศุลกากร ทั้งนี้ ก็เพื่อความสะดวกแก่ผู้นำเข้าเองโดยไม่ต้องนำของนั้นไปยังศุลกสถานหรือเก็บไว้ในที่มั่นคงแห่งใด ส่วนการที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะชักตัวอย่างของไว้วินิจฉัยปัญหาเพื่อเปรียบเทียบราคาตลาดกับสินค้าที่มีชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก อย่างเดียวกัน แม้พนักงานเจ้าหน้าที่จะมิได้ชักตัวอย่างสินค้าไว้ ก็เป็นภาระของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่จะต้องพิสูจน์ให้ได้ความว่าจำเลยที่ 1 สำแดงราคาสินค้าพิพาทต่ำกว่าราคาตลาด หามีผลทำให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปโดยมิชอบไม่
จำเลยทั้งสองมิได้ให้การว่า การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นสำนักงานจำเลยที่ 1 แล้วยึดเอกสารมาประเมินสินค้านั้น เป็นกรณีไม่มีเหตุที่จะออกหมายค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 69 หมายค้นที่ออกไม่ชอบด้วยกฎหมาย พยานหลักฐานที่ได้มาจากการตรวจค้นจึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้การที่จำเลยทั้งสองเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่า พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นสำนักงานจำเลยที่ 1 แล้วยึดเอกสารมาประเมินราคาสินค้า เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ในการพิจารณาสืบพยานนั้น เป็นดุลพินิจของศาลในการจดบันทึกคำพยานข้อความที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ศาลจดบันทึกนั้นเป็นรายละเอียดที่มีอยู่ในเอกสารแล้วศาลจึงไม่จำต้องบันทึกอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความอธิบายเอกสารสัญญาเช่าซื้อ การรวมค่าเบี้ยประกันภัยในค่างวด ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
หนังสือสัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทระบุว่า ผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อวันละ 433.65 บาท และผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถยนต์โดยผู้เช่าซื้อเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและค่าเบี้ยประกันภัยเองทั้งหมด ดังนี้การชำระเงินแต่ละงวดจำเลยจึงต้องชำระค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ด้วย การที่พยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่บัญชีของโจทก์มาเบิกความอธิบายในส่วนนี้ว่า การชำระค่างวดของจำเลย โจทก์ได้รวมค่าเบี้ยประกันภัยและค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไว้ในแต่ละงวดด้วย โดยค่างวดเช่าซื้อตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ออกให้จำเลยระบุว่าจำนวนเงิน 620 บาท แยกเป็นค่าเช่าซื้อ 433.65 บาท ค่าเบี้ยประกันภัย 145.79 บาท และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม40.56 บาท เพราะโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้ออกเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยผู้เช่าซื้อไปก่อนแล้วให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยคืนโจทก์พร้อมกับค่างวด มิใช่ค่าเช่าซื้ออย่างเดียวกรณีเป็นการเบิกความอธิบายข้อความในเอกสารใบเสร็จรับเงินที่จำเลยอ้าง มิใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5540/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความใบเสร็จรับเงินค่าเช่าซื้อ และการเบิกความอธิบายเอกสาร มิใช่การเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร
หนังสือสัญญาเช่าซื้อฉบับพิพาทระบุว่า ผู้เช่าซื้อตกลงชำระค่าเช่าซื้อวันละ 433.65 บาท และผู้เช่าซื้อมีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถยนต์โดยผู้เช่าซื้อเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและค่าเบี้ยประกันภัยเองทั้งหมด ดังนี้การชำระเงินแต่ละงวดจำเลยจึงต้องชำระค่าเบี้ยประกันภัยให้โจทก์ด้วย การที่พยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่บัญชีของโจทก์มาเบิกความอธิบายในส่วนนี้ว่า การชำระค่างวดของจำเลย โจทก์ได้รวมค่าเบี้ยประกันภัยและค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไว้ในแต่ละงวดด้วย โดยค่างวดเช่าซื้อตามใบเสร็จรับเงินที่โจทก์ออกให้จำเลยระบุว่าจำนวนเงิน620 บาท แยกเป็นค่าเช่าซื้อ 433.65 บาท ค่าเบี้ยประกันภัย 145.79 บาท และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 40.56 บาท เพราะโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อได้ออกเบี้ยประกันภัยแทนจำเลยผู้เช่าซื้อไปก่อนแล้วให้จำเลยชำระค่าเบี้ยประกันภัยคืนโจทก์พร้อมกับค่างวด มิใช่ค่าเช่าซื้ออย่างเดียวกรณีเป็นการเบิกความอธิบายข้อความในเอกสารใบเสร็จรับเงินที่จำเลยอ้าง มิใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตรวจพิสูจน์เอกสารและการพิสูจน์การกู้ยืมเงินในสัญญาที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
เมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้ว โจทก์แถลงขอส่งสัญญากู้เงินเอกสารฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ว่าข้อความหมึกสีดำกับข้อความหมึกสีน้ำเงินเป็นลายมือของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต พันตำรวจโท ก. ผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจพิจารณาแล้วลงความเห็นว่า ไม่ใช่ลายมือของบุคคลคนเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้มีการตรวจพิสูจน์เอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญตามความประสงค์ของโจทก์ และผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจและทำความเห็นโดยละเอียดชัดแจ้งแล้ว เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นไม่สมความประสงค์ของโจทก์ ย่อมไม่เป็นเหตุพอที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์เอกสารอีกเพราะเป็นการตรวจพิสูจน์ซ้ำ จึงไม่น่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงจากเดิม เป็นการฟุ่มเฟือย และประวิงคดีให้ล่าช้า จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์ใหม่อีก
จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ฉบับพิพาทในช่องผู้กู้และเขียนข้อความอื่นซึ่งเขียนด้วยหมึกสีดำส่วนจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินจำเลยไม่ได้เขียน แต่มีการกรอกข้อความที่ระบุจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืน และดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินซึ่งจำนวนเงินเกินไปจากความจริง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้เงินฉบับพิพาทจึงเป็นเอกสารปลอม ถือว่าการกู้ยืมเงินคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยมิชอบ และการคำนวณเงินเพิ่มจากประมาณการกำไรสุทธิ กรณีผู้เสียภาษีไม่ส่งเอกสารตรวจสอบ
การที่จำเลยไม่มาพบและส่งบัญชีเอกสารสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ตามหมายเรียกให้แก่เจ้าพนักงานตรวจสอบ ทำให้จำเลยต้อง เสียภาษีเงินได้โดยคำนวณจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆในอัตราร้อยละ 5 คิดเป็นภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาทเมื่อนำภาษีจำนวนดังกล่าวมาคำนวณกลับเป็นกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวจำเลยจะมีกำไรสุทธิจำนวน 33,324,460.33 บาท กึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิเท่ากับ16,662,230.07 บาท เมื่อคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว คิดเป็นภาษีที่จำเลยต้องชำระสำหรับรอบระยะเวลาหกเดือนตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ทวิ จำนวน 4,997,669.05 บาท อันถือได้ว่า เป็นการคำนวณภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนที่ถูกต้องแล้วเมื่อจำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลา หกเดือนระบุว่า ไม่มีรายได้และภาษีที่ต้องชำระจึงเป็นกรณี ที่จำเลยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยไม่มีเหตุสมควร จำเลยจึงต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี ได้กำหนดบทลงโทษโดยให้ ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้จำเลยชำระเบี้ยปรับ อีกจึงเป็นการซ้ำซ้อน ประกอบกับการเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 จะต้องเป็นกรณีการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและมีการตรวจสอบไต่สวนแล้วจึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมินจึง ไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 แห่ง ประมวลรัษฎากร อีกต้องเพิกถอนการประเมินในส่วนของเบี้ยปรับนี้เสีย แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่ศาล จะวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อเห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยศาลอาจสืบพยาน ตามที่เห็นจำเป็นอันเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ และจะยกขึ้นอ้าง โดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของ ประชาชนก็ได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 205 วรรคแรก ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษาเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโจทก์ในส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโดยมิชอบ และการคำนวณภาษีจากรายรับเมื่อไม่ส่งเอกสาร ทำให้การประเมินเบี้ยปรับเป็นไปโดยมิชอบ
การที่จำเลยไม่มาพบและส่งบัญชีเอกสารสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2538 ตามหมายเรียกให้แก่เจ้าพนักงานตรวจสอบของกรมสรรพากรโจทก์ทำให้เจ้าพนักงานตรวจสอบไม่สามารถคำนวณกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวได้ เจ้าพนักงานประเมินจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 71(1) แห่งประมวลรัษฎากร ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของจำเลยในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีพิพาทแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่านั้น ย่อมทำให้จำเลยไม่มีสิทธิเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยคำนวณจากยอดกำไรสุทธิ แต่ต้องเสียโดยคำนวณจาก ยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ในอัตราร้อยละ 5คิดเป็นภาษีจำนวน 9,997,338.10 บาท เมื่อนำภาษีจำนวน9,997,338.10 บาท มา คำนวณกลับเป็นกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชี ดังกล่าว จำเลยจะมีกำไรสุทธิจำนวน 33,324,460.33 บาท กึ่งหนึ่งของกำไรสุทธิเท่ากับ 16,662,230.17 บาทเมื่อคูณด้วยอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วคิดเป็นภาษีที่ จำเลยต้องชำระสำหรับรอบระยะเวลาหกเดือนตามประมวลรัษฎากรมาตรา 67 ทวิ จำนวน 4,998,669.05 บาท ถือได้ว่าเป็นการคำนวณภาษีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีหกเดือนที่ถูกต้องแล้วและเมื่อปรากฏว่าจำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาหกเดือน (แบบ ภ.ง.ด. 51) ระบุว่าไม่มีรายได้และภาษีที่ต้องชำระจึงเป็นกรณีที่จำเลยแสดง ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำใน รอบระยะเวลาบัญชีดังกล่าวโดยไม่มีเหตุสมควร จำเลยจึงต้อง เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษี ที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรี คิดเป็นเงินเพิ่ม 999,733.81 บาทส่วนเบี้ยปรับตามที่เจ้าพนักงานประเมินเนื่องจากการที่จำเลยมิได้ชำระภาษีของรอบระยะเวลาหกเดือนตาม มาตรา 22 จำนวน 4,998,669.05 บาท นั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 67 ตรีได้กำหนดบทลงโทษโดยให้ผู้เสียภาษีชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 20 ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว การที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับอีกจึงเป็นการซ้ำซ้อนประกอบกับการเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22 จะต้องเป็นกรณีการยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องและมีการตรวจสอบไต่สวนแล้ว จึงประเมินภาษีเพิ่มตามที่ตรวจพบดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 และ 20 เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินให้จำเลยเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 22แห่งประมวลรัษฎากร อีก การที่จำเลยได้รับแจ้งการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วไม่เคยโต้แย้งคัดค้านยังถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับการประเมินดังกล่าว ทั้งเมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มีอำนาจ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ แม้คดีนี้ จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา แต่ศาลจะ วินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อเห็นว่า ข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยศาลอาจสืบพยานตามที่เห็นจำเป็นอันเกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์และจะยกขึ้นอ้างโดยลำพังซึ่งข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนก็ได้ ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 205 วรรคแรกประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 เมื่อปรากฏว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินโดยไม่มี อำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจพิพากษา เพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินโจทก์ในส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารสัญญากู้เงินและค้ำประกันที่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับความยินยอม ทำให้สัญญาเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพัน
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน โดยจำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญากู้เงินในหนังสือสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไว้การที่โจทก์มากรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินและค้ำประกันในภายหลังผิดไปจากความเป็นจริงตามที่ตกลงทำสัญญากันไว้ในภายหลัง เกินกว่าความเป็นจริง โดยไม่ได้รับความยินยอมของจำเลยทั้งสอง สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์ และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้โจทก์เพียง 30,000 บาท และได้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ปลอมแปลงเอกสารสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินเป็น 300,000บาท โดยจำเลยทั้งสองมิได้ยินยอม แม้ตามสัญญาทั้งสองจะระบุจำนวนเงินไว้ 300,000บาท และสัญญากู้จะระบุว่าได้รับเงินครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย
of 57