พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายอาญาและการลงโทษตามบทบัญญัติที่แก้ไข ศาลไม่ถือว่าเป็นการนอกฟ้อง
การที่ฟ้องของโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม มาตรา 104 และศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็พิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตราที่ฟ้อง แต่ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อ้างพระราชบัญญัติที่แก้ไขมาตราที่กล่าวมานั้นต่างกันเช่นนี้หาใช่เป็นการตัดสินนอกฟ้องไม่ เพราะบทบัญญัติของการแก้ไขแต่ละคราวก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของมาตราเดิมนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายอาญาหลังกระทำผิด: ผลกระทบต่อการลงโทษจำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานกักกันข้าวในเขตต์ห้ามกักกันข้าว ในระหว่างพิจารณาได้มี พระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าว (ฉะบับที่ 2) 2489 ออกใช้ ซึ่งบัญญัติว่าผู้มีข้าวเกินปริมาณจะมีผิดต่อเมื่อไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดซึ่งเป็นการแก้ไขกฎหมายฉะบับเดิมและเป็นคุณแก่จำเลย เมื่อการกระทำของจำเลยไม่มีผิดตาม ก.ม.ฉะบับหลัง ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ ตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 8
(อ้างฎีกาที่ 621-622 / 2491)
(อ้างฎีกาที่ 621-622 / 2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 354/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายหลังกระทำผิดและการยกฟ้องอาญาเนื่องจากกฎหมายใหม่เป็นคุณแก่จำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานกักกันข้าวในเขตห้ามกักกันข้าวในระหว่างพิจารณาได้มีพระราชบัญญัติสำรวจและห้ามกักกันข้าว(ฉบับที่ 2)2489 ออกใช้ ซึ่งบัญญัติว่าผู้มีข้าวเกินปริมาณจะมีผิดต่อเมื่อไม่แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดซึ่งเป็นการแก้ไขกฎหมายฉบับเดิมและเป็นคุณแก่จำเลย เมื่อการกระทำของจำเลยไม่มีผิดตามกฎหมายฉบับหลัง ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 8 (อ้างฎีกาที่ 621-622/2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเลิกสัญญาเช่าและการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า แม้มีการแก้ไขกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี สิทธิเดิมยังคงมีผล
ควรบอกเลิกสัญญาเช่าเคหะหรือขับไล่ผู้เช่าออกจากเคหะได้หรือไม่นั้น ต้องอยุ่ในบังคับของ ก.ม.ที่ตัดรอนสิทธิอยู่ในขณะนั้น
โจทก์บอกเลิกการเช่าเคหะระหว่างที่ใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน 2486 แม้ระหว่างพิจารณาคดี จะได้ใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน 2489 แล้วก็ตาม พ.ร.บ.ที่ออกไหม่นี้ก็หาอาจกระทบกระเทือนสิทธิเลิกสัญญาการเช่าที่โจทก์ได้ใช้ไปแล้วก่อนนั้นไม่.
โจทก์บอกเลิกการเช่าเคหะระหว่างที่ใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน 2486 แม้ระหว่างพิจารณาคดี จะได้ใช้ พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าในภาวะคับขัน 2489 แล้วก็ตาม พ.ร.บ.ที่ออกไหม่นี้ก็หาอาจกระทบกระเทือนสิทธิเลิกสัญญาการเช่าที่โจทก์ได้ใช้ไปแล้วก่อนนั้นไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 679/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการแก้ไขกฎหมายต่อคดีที่ฟ้องร้องแล้ว โจทก์อ้างอิงกฎหมายเดิมได้
เมื่อมีกฎหมายใหม่แก้ไขความในกฎหมายเก่าเฉพาะบางบทมาตรา. โดยบัญญัติให้ยกเลิกบทมาตราเก่าและให้ใช้ความตามกฎหมายใหม่แทนเช่นนี้. โจทก์ฟ้องอ้างมาตราตามเก่าก็ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 627/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์โดยเจ้าพนักงาน: ศาลลงโทษได้แม้ฟ้องอ้างเพียงมาตราเดิม แม้มีการแก้ไขอัตราโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามกฎหมายอาญา ม.131 และ พ.ร.บ.แก้ไขข้างต้น+ศาลย่อมลงโทษจำเลยได้แม้แต่อ้างมาตรา 131 อย่างเดียวศาลก็ลงโทษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกบุตรติดมารดา และผลกระทบจากการแก้ไขกฎหมายมรดก
มฤดก กฎหมายลักษณมฤดก บทที่ 14 ยกเลิกโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมมฤดก ร.ศ.121 ม.1 ข้อ 1 แล้ว
บุตร์ติดมารดาได้รับมฤดกส่วนของมารดาเท่ากันกับบุตร์ที่เกิดด้วยบิดาใหม่ พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์พ.ศ. 2461 ม.6 แก้มาก
บุตร์ติดมารดาได้รับมฤดกส่วนของมารดาเท่ากันกับบุตร์ที่เกิดด้วยบิดาใหม่ พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์พ.ศ. 2461 ม.6 แก้มาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13294/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กหญิง: การรับฟังพยานหลักฐาน, ความน่าเชื่อถือ, และการแก้ไขกฎหมาย
ผู้เสียหายเบิกความยืนยันว่า จำเลยข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายสองครั้ง การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองครั้ง จำเลยกระทำที่บ้านพักผู้เสียหาย การกระทำแต่ละครั้งเป็นการกระทำที่คล้ายกัน ลักษณะการเบิกความของผู้เสียหายเป็นการเบิกความที่ต่อเนื่องเกี่ยวพันกันระหว่างการกระทำความผิดในครั้งแรกและครั้งหลังของจำเลย การที่ผู้เสียหายเบิกความถึงพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยโดยละเอียดในครั้งแรก แล้วเบิกความถึงการกระทำความผิดในครั้งหลังต่อเนื่องไปในคราวเดียวกันว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายอีกครั้ง เมื่อฟังคำเบิกความย่อมเข้าใจได้ว่าผู้เสียหายถูกจำเลยกระทำชำเรารวมสองครั้ง ด้วยพฤติการณ์ที่เหมือนกัน ดังนั้น แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้โอนคดีของจำเลยในส่วนการกระทำความผิดของจำเลยในครั้งแรกไปพิจารณาที่ศาลจังหวัดชุมพรแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว เนื่องจากขณะกระทำผิดในครั้งแรกจำเลยอายุ 17 ปี ยังถือเป็นเยาวชนอยู่ก็ตาม ก็ไม่ทำให้คำเบิกความของผู้เสียหายที่เกี่ยวกับรายละเอียดของพฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยต้องรับฟังแยกกันจนถือว่าเหตุการณ์ครั้งหลังโจทก์นำสืบโดยไม่มีรายละเอียดของพฤติการณ์ในการกระทำผิดของจำเลยและเป็นการนำสืบไม่สมตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุผู้กระทำความผิดและการใช้กฎหมายอาญาที่แก้ไขใหม่ ศาลต้องใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด
กรณีที่กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 เมื่อปรากฏว่าขณะกระทำความผิดในคดีนี้ จำเลยที่ 1 อายุ 17 ปีเศษ จึงต้องใช้บทบัญญัติมาตรา 75 ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดอันเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณบังคับ แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12008/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คดีอาญาเด็ก – ศาลใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน – การจำกัดสิทธิอุทธรณ์ – การแก้ไขบทกฎหมายอาญา
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 121 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะจำเลยยื่นอุทธรณ์ กำหนดว่า จำเลยจะอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดโดยมิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนได้หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอย่างคดีธรรมดา ซึ่งเมื่อนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาประกอบแล้ว ก็คือ บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ ซึ่งห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 157 ซึ่งระวางโทษปรับตั้งแต่สี่ร้อยบาทถึงหนึ่งพันบาท และศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 157 ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุ 12 ปีเศษ ยังไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 74 (1) (2) (3) ศาลชั้นต้นได้ว่ากล่าวตักเตือนจำเลยแล้วมอบตัวให้ผู้ปกครองรับไปอบรมดูแล โดยวางข้อกำหนดผู้ปกครองต้องระวังมิให้จำเลยก่อเหตุร้ายอีกภายใน 2 ปี นับแต่วันพิพากษา มิฉะนั้นผู้ปกครองของจำเลยต้องชำระเงินต่อศาลครั้งละ 3,000 บาท และให้คุมความประพฤติจำเลยไว้มีกำหนด 1 ปี อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลย ไม่เป็นการลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 18 อันจะเข้ากรณียกเว้นที่จะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยไม่ได้กระทำโดยประมาท เป็นอุทธรณ์โต้แย้งการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น มิใช่อุทธรณ์เกี่ยวกับดุลพินิจกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงอันต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยยื่นอุทธรณ์โดยขอให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ แต่ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวไม่ได้มีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ ก็เป็นการชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 122 เพราะผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจะอนุญาตให้อุทธรณ์ได้เฉพาะในคดีซึ่งห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 121 เท่านั้น มิได้ให้ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวอนุญาตให้อุทธรณ์ในกรณีดังกล่าวได้ แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาจะรับอุทธรณ์ของจำเลยก็ตาม แต่ก็มิได้มีข้อความที่จะจับใจความได้ว่าได้ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้อุทธรณ์ได้และจำเลยก็มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ตรี จึงถือว่าคดีไม่มีการอนุญาตหรือรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์มานั้นชอบแล้ว ไม่มีเหตุที่จะย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำพิพากษาใหม่อีก ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21) มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 74 วรรคแรก แห่ง ประมวลกฎหมายอาญาและให้ใช้ข้อความใหม่แทน มาตรา 74 (2) (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิดกำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่า บิดา มารดา หรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้ ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 3 ปี และกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น โดยตาม มาตรา 74 (2) ที่แก้ไขใหม่ กำหนดไว้ว่า ให้ศาลกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ 10,000 บาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น ดังนั้นกฎหมายเดิมจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 ที่ศาลชั้นต้นนำมาตรา 74 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่แก้ไขใหม่มาบังคับแก่จำเลยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ได้มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 21) มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 74 วรรคแรก แห่ง ประมวลกฎหมายอาญาและให้ใช้ข้อความใหม่แทน มาตรา 74 (2) (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะกระทำความผิดกำหนดไว้ว่า ถ้าศาลเห็นว่า บิดา มารดา หรือผู้ปกครองสามารถดูแลเด็กนั้นได้ ศาลจะมีคำสั่งให้มอบตัวเด็กนั้นให้แก่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้ายตลอดเวลาที่ศาลกำหนด ซึ่งต้องไม่เกิน 3 ปี และกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น โดยตาม มาตรา 74 (2) ที่แก้ไขใหม่ กำหนดไว้ว่า ให้ศาลกำหนดจำนวนเงินตามที่เห็นสมควร ซึ่งบิดา มารดา หรือผู้ปกครองต้องชำระต่อศาลไม่เกินครั้งละ 10,000 บาท ในเมื่อเด็กนั้นก่อเหตุร้ายขึ้น ดังนั้นกฎหมายเดิมจึงเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าจึงต้องใช้กฎหมายเดิมบังคับแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3 ที่ศาลชั้นต้นนำมาตรา 74 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายที่แก้ไขใหม่มาบังคับแก่จำเลยนั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225