พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำฟ้องหลังกำหนดเวลา: ศาลไม่อนุญาตหากทราบข้อเท็จจริงก่อนฟ้อง แม้อ้างเพิ่งทราบผลอุทธรณ์
++ เรื่อง คดีปกครอง (เรียกค่าทดแทนที่ดิน) (ชั้นขอแก้ไขคำฟ้อง) ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเนื้อที่ 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เพิ่มขึ้นอีกตารางวาละ 3,000 บาท กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์อีกส่วนหนึ่งที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกัน เนื้อที่ดิน 4 ไร่ 2 งาน ซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยทั้งสองคิดเป็นเงินตารางวาละ 8,000 บาท จำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพียง 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เท่านั้น ซึ่งโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหมาะสมไปแล้วในอัตราตารางวาละ 5,000 บาท ส่วนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน เป็นที่ดินแนวเขตชลประทานซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ และโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มต่อจำเลยที่ 1 ภายใน 60 วัน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสืบพยานโจทก์เสร็จ และสืบพยานจำเลยทั้งสองได้ 2 ปาก คดีอยู่ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง โดยขอเพิ่มเติมข้อความเป็นข้อ 2.1 ว่า จำเลยที่ 2 กับเจ้าหน้าที่จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง โดยมิได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่มีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421 และตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงคัดค้าน
++ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180แล้ว จึงไม่อนุญาต ให้ยกคำร้องขอ ค่าคำร้องขอเป็นพับ ++
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
++ โจทก์ฎีกา ++
++
++ ศาลฎีกาคณะคดีปกครองตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ได้รับไปแล้วกับให้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน ที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกันซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงิน หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินอีกส่วนหนึ่งให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์เพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไขนี้ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถาน และเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องหลังวันชี้สองสถานหรือไม่ ++
++ เห็นว่า คำฟ้องของโจทก์แสดงอยู่ว่า โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน นี้ตั้งแต่ก่อนฟ้องแล้ว จำเลยที่ 2หรือเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้ใดกระทำละเมิดอย่างไร โจทก์ควรจะต้องทราบอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนฟ้อง ไม่ใช่ว่าเพิ่งทราบ ที่อ้างว่าเพิ่งทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดิน เพราะทนายจำเลยทั้งสองเพิ่งส่งสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2541 ตามสำเนาเอกสารท้ายคำร้อง เห็นได้จากเอกสารดังกล่าวว่าการอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ในเรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับเรื่องละเมิดที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องหลังกำหนดเวลาตามกฎหมายเลย การที่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์นั้นจำเลยที่ 2 อ้างเหตุว่า เป็นแนวเขตชลประทานอันเป็นที่สาธารณะที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ มีมติว่า สำหรับส่วนที่ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนให้กรมทางหลวงตรวจสอบ จึงน่าจะมีความหมายเพียงว่าให้ตรวจสอบเรื่องการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แน่ชัดเท่านั้น มิใช่ตรวจสอบการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 หรือเจ้าหน้าที่ เพราะที่ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่แรกไม่มีเรื่องละเมิดนี้อยู่ ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไข ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถานฟังไม่ขึ้น และที่โจทก์อ้างว่าที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน เป็นของโจทก์นั้นก็เห็นอยู่ว่า เป็นการอ้างสิทธิจะเอาที่ดินดังกล่าวเป็นของตน แม้จะพิพาทกับทางราชการ และมีประเด็นที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะมิได้กระทบกระเทือนต่อคนส่วนมาก
++ ในเรื่องนี้มิใช่ว่าถ้าสิ่งที่พิพาทกันนั้นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วจะต้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไปเสียทั้งหมด
++ กรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายมาตราดังกล่าวไม่อาจยื่นภายหลังได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอของโจทก์ชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ คดีสืบเนื่องมาจากโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้ร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเนื้อที่ 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เพิ่มขึ้นอีกตารางวาละ 3,000 บาท กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์อีกส่วนหนึ่งที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกัน เนื้อที่ดิน 4 ไร่ 2 งาน ซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินจากจำเลยทั้งสองคิดเป็นเงินตารางวาละ 8,000 บาท จำเลยทั้งสองให้การว่า ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนเพียง 43 ไร่ 3 งาน79 ตารางวา เท่านั้น ซึ่งโจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เหมาะสมไปแล้วในอัตราตารางวาละ 5,000 บาท ส่วนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน เป็นที่ดินแนวเขตชลประทานซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนนี้ให้แก่โจทก์ และโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มต่อจำเลยที่ 1 ภายใน 60 วัน จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นชี้สองสถานสืบพยานโจทก์เสร็จ และสืบพยานจำเลยทั้งสองได้ 2 ปาก คดีอยู่ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้อง โดยขอเพิ่มเติมข้อความเป็นข้อ 2.1 ว่า จำเลยที่ 2 กับเจ้าหน้าที่จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้อง โดยมิได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่มีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421 และตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงคัดค้าน
++ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180แล้ว จึงไม่อนุญาต ให้ยกคำร้องขอ ค่าคำร้องขอเป็นพับ ++
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
++ โจทก์ฎีกา ++
++
++ ศาลฎีกาคณะคดีปกครองตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกให้จำเลยทั้งสองจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ได้รับไปแล้วกับให้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินอีก 4 ไร่ 2 งาน ที่ถูกเวนคืนในคราวเดียวกันซึ่งโจทก์ยังไม่ได้รับเงิน หลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว ในระหว่างสืบพยานจำเลยทั้งสอง โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่า จำเลยที่ 2จงใจหรือประมาทเลินเล่อละเว้นไม่กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินอีกส่วนหนึ่งให้แก่โจทก์ โดยอ้างว่าโจทก์เพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไขนี้ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถาน และเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า มีเหตุตามกฎหมายที่โจทก์จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องหลังวันชี้สองสถานหรือไม่ ++
++ เห็นว่า คำฟ้องของโจทก์แสดงอยู่ว่า โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน นี้ตั้งแต่ก่อนฟ้องแล้ว จำเลยที่ 2หรือเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ผู้ใดกระทำละเมิดอย่างไร โจทก์ควรจะต้องทราบอยู่แล้วตั้งแต่ก่อนฟ้อง ไม่ใช่ว่าเพิ่งทราบ ที่อ้างว่าเพิ่งทราบผลการพิจารณาอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดิน เพราะทนายจำเลยทั้งสองเพิ่งส่งสำเนาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2541 ตามสำเนาเอกสารท้ายคำร้อง เห็นได้จากเอกสารดังกล่าวว่าการอุทธรณ์ของโจทก์เป็นการอุทธรณ์ในเรื่องเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับเรื่องละเมิดที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องหลังกำหนดเวลาตามกฎหมายเลย การที่จำเลยที่ 2 ไม่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน ให้แก่โจทก์นั้นจำเลยที่ 2 อ้างเหตุว่า เป็นแนวเขตชลประทานอันเป็นที่สาธารณะที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ มีมติว่า สำหรับส่วนที่ยังไม่ได้รับเงินค่าทดแทนให้กรมทางหลวงตรวจสอบ จึงน่าจะมีความหมายเพียงว่าให้ตรวจสอบเรื่องการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แน่ชัดเท่านั้น มิใช่ตรวจสอบการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 2 หรือเจ้าหน้าที่ เพราะที่ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่แรกไม่มีเรื่องละเมิดนี้อยู่ ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบเนื้อหาสาระในเรื่องที่ขอแก้ไข ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ก่อนวันชี้สองสถานฟังไม่ขึ้น และที่โจทก์อ้างว่าที่ดินในส่วน 4 ไร่ 2 งาน เป็นของโจทก์นั้นก็เห็นอยู่ว่า เป็นการอ้างสิทธิจะเอาที่ดินดังกล่าวเป็นของตน แม้จะพิพาทกับทางราชการ และมีประเด็นที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่าเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ก็มิใช่ปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนเพราะมิได้กระทบกระเทือนต่อคนส่วนมาก
++ ในเรื่องนี้มิใช่ว่าถ้าสิ่งที่พิพาทกันนั้นเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้วจะต้องเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไปเสียทั้งหมด
++ กรณีของโจทก์ไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 โจทก์จะต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายมาตราดังกล่าวไม่อาจยื่นภายหลังได้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องขอของโจทก์ชอบแล้ว ++
++ พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ.++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, สิทธิบังคับตามสัญญาซื้อขาย, และการเรียกค่าเสียหายจากเจ้าของรวม
ตามข้อตกลงของโจทก์และจำเลยในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและเรียกค่าเสียหายเป็นค่าปรับที่คำนวณจากราคาที่ดินพิพาทกับค่าเสียหายอื่น ๆ ได้ เมื่อโจทก์ขอเพิ่มเติมคำฟ้องเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องดังกล่าวของโจทก์จึงเป็นการเรียกค่าเสียหายอันเกิดจากข้อตกลงในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องให้บริบูรณ์ และคำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งจำเลยก็มีโอกาสที่จะซักค้านพยานโจทก์และนำสืบพยานของตนเต็มที่ แม้โจทก์จะขอแก้ไขเพิ่มเติมหลังจากจำเลยยื่นคำให้การต่อสู้คดีแล้ว ก็ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบและหลงข้อต่อสู้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องดังกล่าวจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 179
คดีเดิมศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทบริเวณติดถนนสุวินทวงศ์ด้านทิศใต้อันเป็นการโอนตัวทรัพย์ซึ่งรวมถึงส่วนที่มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยด้วยแก่โจทก์ และระบุไว้ชัดเจนว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องบังคับตามสิทธิของโจทก์หรือเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่ง ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แม้จะอ้างสิทธิตามสัญญาซื้อขายฉบับเดิม แต่ก็เป็นการขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะในส่วนของตนตามจำนวนในสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวแก่โจทก์ มิใช่เป็นการขอให้โอนตัวทรัพย์ดังเดิม ตลอดทั้งการเรียกค่าเสียหายและเงินค่าที่ดินที่จำเลยได้รับไปแล้วคืนแก่โจทก์ หากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในส่วนของตนดังกล่าวแก่โจทก์ ก็ล้วนแต่เป็นการใช้สิทธิฟ้องตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว คำฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 (3)
แม้ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนตามที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้อง อันเป็นการขายตัวทรัพย์แก่โจทก์ เนื่องจากผลการบังคับคดีย่อมไม่ผูกพัน ฉ. เจ้าของรวมในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้เข้ามาเป็นคู่ความให้จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวก็ยังคงมีผลผูกพันจำเลยในฐานะคู่สัญญาที่เป็นเจ้าของรวมให้ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของตน โดยไม่เจาะจงว่าต้องเป็นบริเวณใดอันเป็นการขายเฉพาะส่วนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง แก่โจทก์ หากจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวจึงชอบที่โจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คดีเดิมศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำขอของโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทบริเวณติดถนนสุวินทวงศ์ด้านทิศใต้อันเป็นการโอนตัวทรัพย์ซึ่งรวมถึงส่วนที่มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยด้วยแก่โจทก์ และระบุไว้ชัดเจนว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องบังคับตามสิทธิของโจทก์หรือเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่ง ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แม้จะอ้างสิทธิตามสัญญาซื้อขายฉบับเดิม แต่ก็เป็นการขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะในส่วนของตนตามจำนวนในสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวแก่โจทก์ มิใช่เป็นการขอให้โอนตัวทรัพย์ดังเดิม ตลอดทั้งการเรียกค่าเสียหายและเงินค่าที่ดินที่จำเลยได้รับไปแล้วคืนแก่โจทก์ หากจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในส่วนของตนดังกล่าวแก่โจทก์ ก็ล้วนแต่เป็นการใช้สิทธิฟ้องตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว คำฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 (3)
แม้ศาลไม่อาจบังคับให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนตามที่ระบุไว้ในสัญญาจะซื้อจะขายตามฟ้อง อันเป็นการขายตัวทรัพย์แก่โจทก์ เนื่องจากผลการบังคับคดีย่อมไม่ผูกพัน ฉ. เจ้าของรวมในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้เข้ามาเป็นคู่ความให้จำต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวก็ยังคงมีผลผูกพันจำเลยในฐานะคู่สัญญาที่เป็นเจ้าของรวมให้ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในส่วนของตน โดยไม่เจาะจงว่าต้องเป็นบริเวณใดอันเป็นการขายเฉพาะส่วนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361 วรรคหนึ่ง แก่โจทก์ หากจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวจึงชอบที่โจทก์จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2403-2430/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชย-การแก้ไขคำฟ้อง: กำหนดระยะเวลาของงาน, การปฏิเสธข้อกล่าวหา, กระบวนการยุติธรรม
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง แต่ในวรรคสามบัญญัติว่า "ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น" และวรรคสี่บัญญัติว่า "การจ้างที่มีกำหนดเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง ซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง" จะเห็นได้ว่า ในวรรคสามกำหนดเรื่องระยะเวลาการจ้างซึ่งต้องกำหนดไว้แน่นอน ส่วนวรรคสี่เป็นเรื่องกำหนดประเภทของงานที่สามารถจะทำสัญญาจ้างให้มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนได้ ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท โดยในตอนท้ายของวรรคสี่ที่กำหนดประเภทของงานนั้นได้กำหนดไว้ด้วยว่างานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี คำว่า งานนั้น ย่อมหมายถึงงานทั้งสามประเภทที่กำหนดไว้นั่นเองจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี กำหนดระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ดังกล่าวจึงหาได้หมายถึงระยะเวลาการจ้างที่นายจ้างทำสัญญาจ้างลูกจ้างไม่
การขอแก้ไขคำฟ้องนั้นไม่อาจกระทำได้แต่ฝ่ายเดียวศาลแรงงานกลางต้องส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ให้จำเลยทั้งสี่ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน และให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสคัดค้านเสียก่อนที่จะพิจารณาสั่งอนุญาต และเมื่ออนุญาตให้โจทก์ที่ 1 แก้ไขคำฟ้องได้แล้วก็จะต้องให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสบริบูรณ์ในอันที่จะตรวจโต้แย้งและหักล้างข้ออ้างที่โจทก์ที่ 1 กล่าวไว้ในคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อน จึงจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดในประเด็นที่โจทก์ที่ 1 ได้แก้ไขคำฟ้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21, 181 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานกลางนำข้ออ้างตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 มาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 อ้างว่าได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 117,150 บาท จำเลยทั้งสี่ไม่ให้การปฏิเสธ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ยอมรับ แล้วคำนวณค่าชดเชยจากค่าจ้างสุดท้ายตามอัตราดังดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ
การขอแก้ไขคำฟ้องนั้นไม่อาจกระทำได้แต่ฝ่ายเดียวศาลแรงงานกลางต้องส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ให้จำเลยทั้งสี่ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน และให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสคัดค้านเสียก่อนที่จะพิจารณาสั่งอนุญาต และเมื่ออนุญาตให้โจทก์ที่ 1 แก้ไขคำฟ้องได้แล้วก็จะต้องให้จำเลยทั้งสี่มีโอกาสบริบูรณ์ในอันที่จะตรวจโต้แย้งและหักล้างข้ออ้างที่โจทก์ที่ 1 กล่าวไว้ในคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเสียก่อน จึงจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งชี้ขาดในประเด็นที่โจทก์ที่ 1 ได้แก้ไขคำฟ้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 21, 181 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 การที่ศาลแรงงานกลางนำข้ออ้างตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 มาวินิจฉัยว่า โจทก์ที่ 1 อ้างว่าได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 117,150 บาท จำเลยทั้งสี่ไม่ให้การปฏิเสธ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสี่ยอมรับ แล้วคำนวณค่าชดเชยจากค่าจ้างสุดท้ายตามอัตราดังดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องโดยการเพิ่มชื่อโจทก์ และสถานะคู่ความของคณะบุคคลตามกฎหมายภาษีอากร
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์เป็นการเพิ่มเติมชื่อโจทก์ที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 เข้ามาในภายหลัง จึงเป็นการเพิ่มจำนวนผู้เป็นโจทก์เข้ามาในคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้องตามนัยบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่มีผลแต่อย่างใด เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าโจทก์เป็นคณะบุคคลตามกฎหมายใช้ชื่อว่า "คณะบุคคลกำชัย-มณฑา" ซึ่งเป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตามประมวลรัษฎากรเท่านั้น มิใช่นิติบุคคลตามกฎหมาย โจทก์จึงมิใช่บุคคลธรรมดาและมิใช่นิติบุคคลอันอาจเป็นคู่ความในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของคณะบุคคลทางภาษี: การแก้ไขคำฟ้องและการเป็นบุคคลตามกฎหมาย
การแก้ไขคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาข้ออ้างที่มีต่อจำเลยอันกล่าวไว้ในคำฟ้อง ที่เสนอต่อศาลแต่แรกโดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิมหรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ แต่คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์เป็นการเพิ่มเติมชื่อโจทก์ที่จะต้องระบุ ไว้แน่ชัดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 67 เข้ามาในภายหลัง จึงเป็นการเพิ่มจำนวนผู้เป็นโจทก์เข้ามาในคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้องตามนัยบทกฎหมายดังกล่าว คำสั่งศาลภาษีอากรกลางที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผลแต่อย่างใด
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีจะต้องเป็นบุคคลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ซึ่งคำว่า "บุคคล" ตาม ป.พ.พ. ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โจทก์เป็นเพียงคณะบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตาม ป.รัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ทั้งยังไม่ปรากฏว่าเป็นการฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่ใช่ทั้งบุคคลธรรมดาและมิใช่นิติบุคคล จึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ผู้ที่จะเป็นคู่ความในคดีจะต้องเป็นบุคคลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) ซึ่งคำว่า "บุคคล" ตาม ป.พ.พ. ได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โจทก์เป็นเพียงคณะบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตาม ป.รัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีเท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย ทั้งยังไม่ปรากฏว่าเป็นการฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงไม่ใช่ทั้งบุคคลธรรมดาและมิใช่นิติบุคคล จึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของคณะบุคคลทางภาษีอากร: การแก้ไขคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการขาดคุณสมบัติเป็นคู่ความ
การแก้ไขคำฟ้องนั้นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและ วิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากรพ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17
การแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาข้ออ้างที่มีต่อจำเลยอันกล่าวไว้ในคำฟ้องที่เสนอต่อศาลแต่แรก โดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขคำฟ้องจากชื่อโจทก์ว่า "คณะบุคคลบังอร-พงศ์วิทย์โดยนางบังอรลำยองเสถียร ผู้จัดการคณะบุคคล" เป็น "คณะบุคคล บังอร-พงศ์วิทย์โดยนางบังอรลำยองเสถียรผู้จัดการคณะบุคคลในฐานะส่วนตัว และในฐานะผู้รับมอบอำนาจของนายพงศ์วิทย์พนาพิศาล" และขอแก้ไขข้อความในคำฟ้องเดิมเพิ่มเติมว่า"ในการยื่นฟ้องนี้นางบังอรกระทำในฐานะผู้จัดการคณะบุคคล ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจของนายพงศ์วิทย์ด้วยโดยนายพงศ์วิทย์มอบอำนาจให้นางบังอรเป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน" เป็นการเพิ่มเติมชื่อโจทก์ที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตามมาตรา 67 เข้ามาในภายหลังจึงเป็นการเพิ่มจำนวนผู้เป็นโจทก์เข้ามาในคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้อง การที่ศาลภาษีอากรมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผล
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติถึงผู้ที่จะเป็นคู่ความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตาม มาตรา 1(11)"คู่ความ" หมายความว่า บุคคลผู้อื่นคำฟ้อง หรือถูกฟ้องต่อศาล และคำว่า บุคคล นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล คณะบุคคลบังอร-พงศ์วิทย์ โจทก์ เป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตาม ประมวลรัษฎากรมีหน้าที่ยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมิน เพื่อเสียภาษีเสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว โดยบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินของ คณะบุคคลนั้นเพื่อเสียภาษีอีก เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการจดทะเบียน ตาม บทบัญญัติแห่งลักษณะ 22 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1015โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่านางบังอรและนายพงศ์วิทย์ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว ผู้เป็นโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่บุคคลธรรมดาด้วยเช่นกัน จึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การแก้ไขคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179 จะต้องเป็นการแก้ไขข้อหาข้ออ้างที่มีต่อจำเลยอันกล่าวไว้ในคำฟ้องที่เสนอต่อศาลแต่แรก โดยการเพิ่มหรือลดทุนทรัพย์หรือราคาทรัพย์สินที่พิพาทในฟ้องเดิม หรือสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อหรือเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ที่ขอแก้ไขคำฟ้องจากชื่อโจทก์ว่า "คณะบุคคลบังอร-พงศ์วิทย์โดยนางบังอรลำยองเสถียร ผู้จัดการคณะบุคคล" เป็น "คณะบุคคล บังอร-พงศ์วิทย์โดยนางบังอรลำยองเสถียรผู้จัดการคณะบุคคลในฐานะส่วนตัว และในฐานะผู้รับมอบอำนาจของนายพงศ์วิทย์พนาพิศาล" และขอแก้ไขข้อความในคำฟ้องเดิมเพิ่มเติมว่า"ในการยื่นฟ้องนี้นางบังอรกระทำในฐานะผู้จัดการคณะบุคคล ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจของนายพงศ์วิทย์ด้วยโดยนายพงศ์วิทย์มอบอำนาจให้นางบังอรเป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน" เป็นการเพิ่มเติมชื่อโจทก์ที่จะต้องระบุไว้แน่ชัดตามมาตรา 67 เข้ามาในภายหลังจึงเป็นการเพิ่มจำนวนผู้เป็นโจทก์เข้ามาในคำฟ้องเดิม มิใช่เป็นเรื่องขอแก้ไขคำฟ้อง การที่ศาลภาษีอากรมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำสั่งดังกล่าวจึงไม่มีผล
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติถึงผู้ที่จะเป็นคู่ความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตาม มาตรา 1(11)"คู่ความ" หมายความว่า บุคคลผู้อื่นคำฟ้อง หรือถูกฟ้องต่อศาล และคำว่า บุคคล นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล คณะบุคคลบังอร-พงศ์วิทย์ โจทก์ เป็นเพียงคณะบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รวมกันเป็นหน่วยภาษีตาม ประมวลรัษฎากรมีหน้าที่ยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมิน เพื่อเสียภาษีเสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียว โดยบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินของ คณะบุคคลนั้นเพื่อเสียภาษีอีก เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการจดทะเบียน ตาม บทบัญญัติแห่งลักษณะ 22 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1015โจทก์จึงไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่านางบังอรและนายพงศ์วิทย์ฟ้องคดีในฐานะส่วนตัว ผู้เป็นโจทก์ในคดีนี้จึงมิใช่บุคคลธรรมดาด้วยเช่นกัน จึงไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำฟ้องและการแก้ไขคำฟ้องในศาลภาษีอากรกลาง การไม่ยกคำฟ้องเดิม แม้จะปฏิเสธคำร้องดำเนินคดีอนาถา
เมื่อไม่ปรากฏว่าคำฟ้องมีข้อบกพร่องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 18 ศาลภาษีอากรกลางก็ต้องจดแจ้งแสดงการรับคำคู่ความนั้นไว้ การที่ศาลภาษีอากรกลางให้โจทก์ทำคำฟ้องใหม่โดยไม่ปรากฏเหตุดังที่กล่าวข้างต้นจึงไม่ชอบ
ศาลภาษีอากรกลางเพียงแต่ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์เท่านั้น หาได้มีคำสั่งยกคำฟ้องหรือไม่รับคำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นพร้อมกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ คำฟ้องเดิมของโจทก์ยังคงมีอยู่เช่นเดิม
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่ามีข้อความในลักษณะเป็นการขอแก้ไขโดยสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือลดจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมที่ศาลจะพิจารณาสั่งให้แก้ไขคำฟ้องได้ ชอบที่จะให้โจทก์ยื่นคำร้องใหม่ให้ถูกต้อง
ศาลภาษีอากรกลางเพียงแต่ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์เท่านั้น หาได้มีคำสั่งยกคำฟ้องหรือไม่รับคำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นพร้อมกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ คำฟ้องเดิมของโจทก์ยังคงมีอยู่เช่นเดิม
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่ามีข้อความในลักษณะเป็นการขอแก้ไขโดยสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือลดจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมที่ศาลจะพิจารณาสั่งให้แก้ไขคำฟ้องได้ ชอบที่จะให้โจทก์ยื่นคำร้องใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับคำฟ้องกรณีคำฟ้องไม่สมบูรณ์และการแก้ไขคำฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
เมื่อไม่ปรากฏว่าคำฟ้องมีข้อบกพร่องตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18ศาลภาษีอากรกลางก็ต้องจดแจ้งแสดงการรับคำคู่ความนั้นไว้ การที่ศาลภาษีอากรกลางให้โจทก์ทำคำฟ้องใหม่โดยไม่ปรากฏเหตุดังที่กล่าวข้างต้นจึงไม่ชอบ
ศาลภาษีอากรกลางเพียงแต่ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์เท่านั้น หาได้มีคำสั่งยกคำฟ้องหรือไม่รับคำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นพร้อมกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ คำฟ้องเดิมของโจทก์ยังคงมีอยู่เช่นเดิม
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่ามีข้อความในลักษณะเป็นการขอแก้ไขโดยสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือลดจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมที่ศาลจะพิจารณาสั่งให้แก้ไขคำฟ้องได้ชอบที่จะให้โจทก์ยื่นคำร้องใหม่ให้ถูกต้อง
ศาลภาษีอากรกลางเพียงแต่ให้ยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์เท่านั้น หาได้มีคำสั่งยกคำฟ้องหรือไม่รับคำฟ้องของโจทก์ที่ยื่นพร้อมกับคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ คำฟ้องเดิมของโจทก์ยังคงมีอยู่เช่นเดิม
คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่ามีข้อความในลักษณะเป็นการขอแก้ไขโดยสละข้อหาในฟ้องเดิมเสียบางข้อ หรือลดจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในฟ้องเดิมที่ศาลจะพิจารณาสั่งให้แก้ไขคำฟ้องได้ชอบที่จะให้โจทก์ยื่นคำร้องใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2079/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่รับคำฟ้องหลังศาลให้แก้ไขคำฟ้องโดยมิได้ตรวจพบข้อบกพร่องเดิม เป็นการกระทำที่ไม่ชอบ
คำสั่งของศาลภาษีอากรกลางที่ให้โจทก์ทำคำฟ้องใหม่ซึ่งไม่ปรากฏว่าศาลตรวจพบคำฟ้องของโจทก์ว่ามีข้อบกพร่องตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 บัญญัติไว้ศาลจึงต้องจดแจ้งแสดงการรับคำคู่ความนั้นไว้ ดังนั้น การที่ศาลภาษีอากรกลางให้โจทก์ทำคำฟ้องใหม่โดยไม่ปรากฏเหตุดังกล่าวและมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ ต่อมาจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, สิทธิในการฟ้องคดีหลังแปรสภาพบริษัท, และการยกข้อโต้แย้งใหม่ในชั้นฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์โดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยและมิได้ฟังคำคัดค้านของจำเลยก่อนเป็นการไม่ชอบเป็นการกล่าวอ้างว่าศาลชั้นต้นพิจารณาคดีผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27เมื่อปรากฏว่าจำเลยย่อมทราบว่าศาลชั้นต้นสั่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์แล้วแต่จำเลยมิได้ยื่นคำคัดค้านเสียภายในแปดวันนับแต่วันที่จำเลยทราบ จำเลยจึงยกปัญหาดังกล่าวขึ้นโต้แย้งในชั้นฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อโจทก์ไม่ได้เพราะเป็นนิติบุคคลคนละคน มิใช่เป็นการแก้ชื่อให้ถูกต้องแต่จำเลยมิได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ไว้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การที่โจทก์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเป็นเพียงเปลี่ยนสภาพตามกฎหมายจากบริษัทจำกัดตาม ป.พ.พ. เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 ถึงแม้ว่าบริษัทจำกัดเดิมหมดสภาพไปตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 184 แต่บริษัทมหาชนจำกัดที่เกิดจากการแปรสภาพก็ได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของบริษัทจำกัดเดิมทั้งหมดตามมาตรา 185 การฟ้องคดีเป็นการใช้สิทธิ โจทก์ซึ่งจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดจึงได้รับสิทธิในการฟ้องคดีของบริษัทจำกัดเดิม โจทก์จึงไม่ต้องมอบอำนาจในการฟ้องคดีและแต่งทนายความใหม่อีก
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับชื่อโจทก์ไม่ได้เพราะเป็นนิติบุคคลคนละคน มิใช่เป็นการแก้ชื่อให้ถูกต้องแต่จำเลยมิได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้ไว้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การที่โจทก์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดเป็นเพียงเปลี่ยนสภาพตามกฎหมายจากบริษัทจำกัดตาม ป.พ.พ. เป็นบริษัทมหาชนจำกัด ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 ถึงแม้ว่าบริษัทจำกัดเดิมหมดสภาพไปตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มาตรา 184 แต่บริษัทมหาชนจำกัดที่เกิดจากการแปรสภาพก็ได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ และความรับผิดของบริษัทจำกัดเดิมทั้งหมดตามมาตรา 185 การฟ้องคดีเป็นการใช้สิทธิ โจทก์ซึ่งจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดจึงได้รับสิทธิในการฟ้องคดีของบริษัทจำกัดเดิม โจทก์จึงไม่ต้องมอบอำนาจในการฟ้องคดีและแต่งทนายความใหม่อีก