พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตแก้ไขคำให้การและการเลื่อนคดีในคดีแรงงาน ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
ศาลแรงงานสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การ แม้มีผลเป็นการสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(3) จำเลยย่อมอุทธรณ์คำสั่งได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 แต่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลแรงงานดังกล่าวในระหว่างพิจารณาของศาลแรงงานเพื่อให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลแรงงานมีคำสั่งรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การดังกล่าวของจำเลยไว้พิจารณานั้น เมื่อปรากฏว่าหลังจากศาลแรงงานสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยไว้ และมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลย และจำเลยได้อุทธรณ์ประเด็นข้อนี้รวมมากับอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลแรงงาน ซึ่งศาลแรงงานได้สั่งรับอุทธรณ์ข้อนี้ไว้แล้วศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ให้ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าเพิ่งตรวจพบเอกสารและได้รับแจ้งจากการไฟฟ้านครหลวงหลังจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วจึงขอเพิ่มเติมคำให้การว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 3 จงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหายและขณะที่โจทก์ทั้งสามเป็นลูกจ้างจำเลย โจทก์ที่ 1 และที่ 3มาทำงานสายเป็นประจำอันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ฟ้องโจทก์ทั้งสามเคลือบคลุมและโจทก์ทั้งสามได้ร้องต่อเจ้าหน้าที่แรงงานเขตบางเขน จึงไม่มีอำนาจฟ้องนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีนี้ข้อเท็จจริงเป็นยุติตามที่ศาลแรงงานรับฟังว่า อ. พยานจำเลยเป็นผู้แจ้งการเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามว่าเหตุที่จำเลยเลิกจ้างเนื่องจากจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ทั้งสามทำ ดังนั้น ขณะจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามจำเลยมิได้ติดใจหรือถือว่าโจทก์ทั้งสามกระทำความผิดจำเลยย่อมไม่อาจยกเหตุซึ่งอ้างว่าเพิ่งทราบการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งสามหลังจากเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามแล้วขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดในการจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ แม้ศาลฎีกาจะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงได้จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำให้การตามที่จำเลยอ้าง ศาลแรงงานไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานจำเลยเนื่องจากจำเลยขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งแล้ว ทั้งจำเลยเคยแถลงต่อศาลว่าจะสืบพยานจำเลยให้เสร็จภายในกำหนด หากไม่อาจสืบพยานได้ทันภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจสืบพยานจำเลยอีกต่อไป อุทธรณ์ของจำเลยเช่นนี้เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจของศาลแรงงานในการพิจารณาว่าสมควรจะอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6695/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีสินสมรสต้องยื่นก่อนวันสืบพยาน เว้นแต่มีเหตุผลอันสมควร
ป.วิ.พ.มาตรา 180 บัญญัติหลักเกณฑ์กำหนดระยะเวลาแก้ไขคำให้การไว้ว่า ต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ดวันหรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณี มีข้อยกเว้น 3 กรณี คือ กรณีที่หนึ่งมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นประการหนึ่ง กรณีที่สองเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอีกประการหนึ่ง และกรณีที่สามเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอีกประการหนึ่ง
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า"มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้เป็นสินสมรสที่โจทก์และสามีทำมาหาได้ร่วมกันมา จึงต้องจัดการทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้รับความยินยอมจากสามีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1476 (4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องดำเนินคดีนี้กับจำเลยทั้งสอง" แต่เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา 1477 บัญญัติว่า สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรสได้ ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรส โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากสามี ฉะนั้นเมื่อคำร้องของจำเลยที่ขอแก้คำให้การไม่เกี่ยวกับข้อที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นให้จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ดังกล่าว
จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า"มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้เป็นสินสมรสที่โจทก์และสามีทำมาหาได้ร่วมกันมา จึงต้องจัดการทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้รับความยินยอมจากสามีตาม ป.พ.พ.มาตรา 1476 (4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องดำเนินคดีนี้กับจำเลยทั้งสอง" แต่เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา 1477 บัญญัติว่า สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรสได้ ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรส โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากสามี ฉะนั้นเมื่อคำร้องของจำเลยที่ขอแก้คำให้การไม่เกี่ยวกับข้อที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นให้จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังวันสืบพยานตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6695/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยาน: เหตุผลความจำเป็นและข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 บัญญัติหลักเกณฑ์กำหนดระยะเวลาแก้ไขคำให้การไว้ว่า ต้องยื่นก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่ายี่สิบเอ็ด วันหรือก่อนวันสืบพยานแล้วแต่กรณี มีข้อยกเว้น 3 กรณี คือ กรณีที่หนึ่งมีเหตุอันสมควรที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้นประการหนึ่ง กรณีที่สองเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอีกประการหนึ่ง และกรณีที่สามเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอีกประการหนึ่ง จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่า"มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสองนี้เป็นสินสมรสที่โจทก์และสามีทำมาหาได้ร่วมกันมา จึงต้องจัดการทรัพย์สินดังกล่าวร่วมกัน เมื่อโจทก์มิได้รับความยินยอมจากสามีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476(4) โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องดำเนินคดีนี้กับจำเลยทั้งสอง" แต่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1477 บัญญัติว่าสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรสได้ ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ยืมเงินเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับการสงวนสินสมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากสามีฉะนั้นเมื่อคำร้อง ของ จำเลยที่ขอแก้คำให้การไม่เกี่ยวกับข้อที่จะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นให้จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การหลังวันสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5757/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีได้เมื่อพยานหลักฐานเพียงพอ แม้มีการแก้ไขคำให้การ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการที่จำเลยจ้างโจทก์ให้เลี้ยงไก่ของจำเลยเป็นจำนวนเงิน 48,000 บาท จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การปฏิเสธว่า จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์ เพราะเมื่อครั้งที่โจทก์รับเลี้ยงไก่ให้จำเลย โจทก์ก็เป็นหนี้จำเลยจากการที่จำเลยจ่ายค่าอุปกรณ์การเลี้ยงไก่เป็นจำนวนเงิน 17,715 บาท จำนวนหนึ่ง ต่อมาโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยใหม่เป็นว่าโจทก์จะเป็นผู้ซื้อลูกไก่ อาหารไก่ อุปกรณ์การเลี้ยงไก่จากจำเลย โดยจำเลยจะต้องเป็นผู้ซื้อไก่จากโจทก์ ครั้งนี้โจทก์เป็นหนี้จำเลยเป็นเงิน 136,283 บาทการที่จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การดังกล่าว เท่ากับว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์อีกเช่นกัน ประเด็นที่จำเลยต่อสู้ตามคำให้การที่ขอแก้ไขใหม่จึงเป็นไปตามประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้เดิมนั่นเอง ทั้งในชั้นพิจารณาจำเลยก็ได้นำสืบปฏิเสธตามคำให้การและคำร้องขอแก้ไขคำให้การแล้วดังที่ศาลอุทธรณ์อนุญาต ดังนี้เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาให้คดีเสร็จไปได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5757/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การและการพิจารณาคดีโดยไม่ต้องย้อนสำนวนเมื่อพยานหลักฐานเพียงพอ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้อันเกิดจากการที่จำเลยจ้างโจทก์ให้เลี้ยงไก่ของจำเลยเป็นจำนวนเงิน 48,000 บาท จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การปฏิเสธว่า จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์เพราะเมื่อครั้งที่โจทก์รับเลี้ยงไก่ให้จำเลย โจทก์ก็เป็นหนี้จำเลยจากการที่จำเลยจ่ายค่าอุปกรณ์การเลี้ยงไก่เป็นจำนวนเงิน 17,715 บาท จำนวนหนึ่ง ต่อมาโจทก์ได้ตกลงกับจำเลยใหม่เป็นว่าโจทก์จะเป็นผู้ซื้อลูกไก่ อาหารไก่ อุปกรณ์การเลี้ยงไก่จากจำเลย โดยจำเลยจะต้องเป็นผู้ซื้อไก่จากโจทก์ครั้งนี้โจทก์เป็นหนี้จำเลยเป็นเงิน 136,283 บาท การที่จำเลยให้การและแก้ไขคำให้การดังกล่าว เท่ากับว่าจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์อีกเช่นกัน ประเด็นที่จำเลยต่อสู้ตามคำให้การที่ขอแก้ไขใหม่จึงเป็นไปตามประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้เดิมนั่นเอง ทั้งในชั้นพิจารณาจำเลยก็ได้นำสืบปฏิเสธตามคำให้การและคำร้องขอแก้ไขคำให้การแล้วดังที่ศาลอุทธรณ์อนุญาต ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วเห็นว่าพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนเพียงพอแก่การวินิจฉัย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาให้คดีเสร็จไปได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6843/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การหลังศาลเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ และผลกระทบต่อค่าขึ้นศาล
คดีนี้ไม่มีการชี้สองสถานและการสืบพยานเนื่องจากศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วเห็นว่า คดีพอวินิจฉัยได้ ให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย ดังนั้นตราบใดที่ศาลชั้นต้นยังมิได้พิพากษา ถือว่าอยู่ในระยะเวลาที่จำเลยที่ 2แก้ไขคำให้การได้ หาเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 180 ไม่ แต่ที่ศาลอุทธรณ์ให้ศาลชั้นต้นปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.มาตรา 181 ซึ่งหมายถึงให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 เสียใหม่นั้น เมื่อโจทก์ได้รับสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำให้การทั้งสองครั้งและมีโอกาสคัดค้านทั้งในชั้นอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาจึงเห็นควรสั่งคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 ไปเสียทีเดียว โดยไม่ต้องให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งอีก และเมื่อจะต้องรับคำร้องขอแก้ไขคำให้การและดำเนินคดีต่อไปเช่นนี้แล้ว ก็เป็นอันยังไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีซึ่งโจทก์ฎีกาขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ตามคำขอท้ายฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ยังไม่รับวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีเช่นเดียวกัน ดังนั้น ที่จำเลยที่ 2 เสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์ตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดี และโจทก์ก็เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในคดีเช่นเดียวกัน จึงเป็นการเสียค่าขึ้นศาลเกินมา ซึ่งที่ถูกจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียงชั้นศาลละ 200 บาท เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การ, อายุความ, และผลผูกพันตามหนังสือผ่อนชำระหนี้: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทและขอบเขตอำนาจ
การที่ศาลชั้นต้นจ่ายสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยให้โจทก์ในวันชี้สองสถาน โดยไม่กำหนดวันพิจารณาคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยออกไป เพื่อจะได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยให้โจทก์ทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวัน แม้จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ โดยไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 181(1) แต่การแก้ไขคำให้การนั้นกฎหมายมิได้บัญญัติว่าข้อความที่แก้ไขใหม่จะต้องเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือข้ออ้างเดิม คงบัญญัติเฉพาะเรื่องคำฟ้องเท่านั้น ฉะนั้น การแก้ไขคำให้การจะยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับคำให้การเดิมหรือไม่จึงไม่สำคัญทั้งเรื่องอายุความก็เป็นข้อตัดฟ้องโจทก์ จำเลยอ้างเหตุผลมาด้วยว่า มูลหนี้ตามฟ้องโจทก์กล่าวอ้างการเช่าและใช้บริการซึ่งตามกฎหมายโจทก์ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนดอายุความสองปีดังนั้น คดีของโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องร้องตามกฎหมายแล้ว ซึ่งเป็นคำให้การที่ชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แล้วส่วนอายุความที่จำเลยต่อสู้นั้นต้องด้วยบทกฎหมายลักษณะใดเป็นหน้าที่ของศาลที่จะยกขึ้นวินิจฉัยเอง และโจทก์สามารถนำสืบว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความเพราะเหตุใดได้อยู่แล้ว จึงไม่เสียเปรียบเชิงคดีแต่อย่างใด หากจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบใหม่ ผลก็เหมือนเดิม คือต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่เช่นเดิม เมื่อปรากฏว่าโจทก์จำเลยได้สืบพยานหลักฐานในท้องสำนวนเสร็จสิ้น พอแก่การวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นแก้ไขกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ว.กรรมการจำเลยได้มีหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ต่อโจทก์ แต่หนังสือดังกล่าว ว.ลงลายมือชื่อไว้เพียงผู้เดียวโดยไม่ประทับตราจำเลย ซึ่งตามหนังสือรับรองนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครได้ระบุจำนวนและอำนาจของกรรมการจำเลยไว้ว่า ให้กรรมการสองนายร่วมกันลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราสำคัญของจำเลย จึงมีอำนาจทำการแทนจำเลยได้ การที่ ว.กระทำการดังกล่าวโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาอ้างอิงให้เห็นว่า จำเลยได้มอบหมายหรือเชิดให้ ว. เป็นตัวแทนจำเลยมีหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ต่อโจทก์ดังนั้นการที่ ว. ลงชื่อในหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลย การที่โจทก์จัดให้มีการบริการพูดโทรศัพท์ทางไกลติดต่อไปต่างประเทศ และเรียกเก็บเงินค่าบริการในการพูดโทรศัพท์นั้นถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ และเรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้นตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) ดังนั้น สิทธิเรียกร้องสำหรับค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ไปต่างประเทศของโจทก์จึงมีอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6314/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการแก้ไขคำให้การก่อนศาลพิพากษา และการปรับบทลงโทษอาวุธปืนไม่มีทะเบียน
ในคดีอาญา จำเลยย่อมยื่นคำร้องขอแก้หรือเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยก่อนศาลพิพากษา ศาลมีอำนาจจะอนุญาตหรือไม่ก็ได้สุดแต่ศาลจะเห็นสมควร ในตอนแรกจำเลยให้การปฏิเสธหลังจากศาลชั้นต้นได้สืบพยานโจทก์ไปแล้ว 2 ปาก จำเลยก็ขอเพิกถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ทุกประการ โจทก์จึงแถลงไม่ติดใจสืบพยานที่เหลืออีกต่อไปและศาลชั้นต้นสั่งว่าคดีเสร็จการพิจารณา ให้รอฟังคำพิพากษาในวันเดียวกัน แต่ต่อมาจำเลยกลับขอให้การใหม่อีก เป็นรับสารภาพเพียงข้อหาเดียวเท่านั้น ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำให้การดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์บรรยายฟ้องในข้อหามีอาวุธปืนว่า จำเลยได้มีอาวุธปืนสั้นขนาด .38 ไม่ปรากฏว่ามีเครื่องหมายทะเบียนประจำอาวุธปืนของเจ้าพนักงานประทับไว้หรือไม่จำนวน 1 กระบอก ไว้ในครอบครองของจำเลยโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ตามกฎหมายจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยฟังคำรับสารภาพของจำเลย ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ซึ่งไม่เป็นการแน่นอนว่า อาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองนั้นเป็นอาวุธปืนมีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้หรือไม่ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงในส่วนนี้ให้เป็นคุณแก่จำเลยว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองและพาไปโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้นเป็นอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4874/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การที่เกินกรอบประเด็นข้อพิพาทเดิม ศาลไม่อนุญาต เพราะไม่เป็นสาระต่อคดี
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นมารดาของ ส. จำเลยที่ 2 ที่ 3เป็นบิดามารดาและผู้ดูแลปกครองจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์และจำเลยที่ 1 กับพวกได้ทำร้าย ส.เป็นเหตุให้ส. ถึงแก่ความตายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสามให้การว่า โจทก์มิได้เป็นมารดาหรือผู้ปกครองโดยชอบธรรมของ ส. ฟ้องโจทก์ขาดอายุความจำเลยที่ 1 เป็นผู้เยาว์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 1 เป็นผู้ใหญ่มีความรับผิดชอบตนเองแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำละเมิดต่อ ส.ค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ฟ้องสูงเกินไป คดีอยู่ในระหว่างการดำเนินคดีอาญายังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กระทำผิด และฟ้องโจทก์เคลือบคลุมขอให้ยกฟ้อง ในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่า "จำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่" และปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นในภายหลังว่า "คู่ความแถลงขอให้รอฟังผลคดีอาญาจนถึงที่สุดโดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ยอมรับผลของคดีอาญาดังกล่าวเมื่อถึงที่สุด คดีมีประเด็นเรื่องค่าเสียหายเท่านั้น" ดังนี้คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3มิใช่บิดามารดาของจำเลยที่ 1 ในขณะเกิดเหตุ เพราะมีบุคคลภายนอกได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมก่อนเกิดเหตุแล้วจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่ใช่ผู้แทนโดยชอบธรรมในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองจำเลยที่ 1 ในขณะเกิดเหตุ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทข้อดังกล่าว ซึ่งคู่ความได้สละประเด็นไปแล้ว คงเหลือประเด็นเรื่องค่าเสียหายเท่านั้น แม้ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขคำให้การก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ และข้ออื่น ๆ เว้นแต่เรื่องค่าเสียหายเปลี่ยนแปลงไปคำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีจึงชอบที่ศาลจะไม่รับคำร้องขอแก้ไขคำให้การนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4874/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การที่ไม่เป็นสาระต่อคดี เมื่อประเด็นข้อพิพาทหลักได้สละไปแล้ว คงเหลือเฉพาะประเด็นค่าเสียหาย
คำร้องขอแก้ไขคำให้การของจำเลยเป็นเรื่องเกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทที่ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หรือไม่ซึ่งคู่ความได้สละแล้ว คงเหลือประเด็นค่าเสียหายเท่านั้น แม้ศาลจะอนุญาตก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปจึงไม่เป็นสาระแก่คดี ศาลล่างทั้งสองไม่อนุญาตให้แก้ไขคำให้การชอบแล้ว