พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาเช็คต้องระบุวันปฏิเสธการจ่ายเงินชัดเจน หากฟ้องไม่สมบูรณ์แก้ไขไม่ได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค โดยบรรยายฟ้องแต่เพียงวันเดือนปีที่จำเลยออกเช็ค และบรรยายต่อไปว่า เมื่อเช็คถึงกำหนดสั่งจ่าย โจทก์นำไปขึ้นเงินและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งไม่อาจชี้ชัดหรือคาดคะเนได้ว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินวันใด เป็นฟ้องที่ไม่ปรากฏวันที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิด จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
การขอแก้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 นั้น ฟ้องเดิมจะต้องสมบูรณ์อยู่แล้ว หากมีข้อที่จะต้องแก้หรือเพิ่มเติมอีก ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ฟ้องเดิมไม่สมบูรณ์ แต่โจทก์มาขอแก้ให้สมบูรณ์เช่นนี้หาได้ไม่
การขอแก้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 นั้น ฟ้องเดิมจะต้องสมบูรณ์อยู่แล้ว หากมีข้อที่จะต้องแก้หรือเพิ่มเติมอีก ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ฟ้องเดิมไม่สมบูรณ์ แต่โจทก์มาขอแก้ให้สมบูรณ์เช่นนี้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3674/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีแรงงานหลังชี้สองสถาน ศาลต้องยกคำร้องหากโจทก์ทราบสิทธิเรียกร้องแต่แรก
โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างและฟ้องเรียกค่าชดเชยที่ขาดจากจำเลยหลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องเพิ่มเติมข้อหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรม ขอให้ใช้ค่าเสียหายด้วยดังนี้ มูลกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยที่ขาดกับค่าเสียหายเนื่องจากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นมูลกรณีเดียวกัน โจทก์ย่อมทราบถึงสิทธิเรียกร้องทั้งสองประเภทดีอยู่แล้วขณะยื่นฟ้องจึงอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน และเมื่อคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การแก้ไขฟ้องดังกล่าวจึงไม่ชอบเมื่อศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3674/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้องคดีแรงงานหลังชี้สองสถาน ศาลต้องยกคำร้องหากสิทธิเรียกร้องทราบตั้งแต่แรก
โจทก์ถูกจำเลยเลิกจ้างและฟ้องเรียกค่าชดเชยที่ขาดจากจำเลยหลังจากศาลชั้นต้นชี้สองสถานแล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องเพิ่มเติมข้อหาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เป็นธรรม ขอให้ใช้ค่าเสียหายด้วยดังนี้ มูลกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าชดเชยที่ขาดกับค่าเสียหายเนื่องจากเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เป็นมูลกรณีเดียวกันโจทก์ย่อมทราบถึงสิทธิเรียกร้องทั้งสองประเภทดีอยู่แล้วขณะยื่นฟ้องจึงอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขฟ้องได้ก่อนวันชี้สองสถาน และเมื่อคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การแก้ไขฟ้องดังกล่าวจึงไม่ชอบเมื่อศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งของศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2722/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเช็ค – ตัวแทน/ตัวการ – อายุความ – การแก้ไขฟ้อง
โจทก์มิได้โอนไปซึ่งบรรดาสิทธิอันเกิดแต่เช็คนั้นให้ แก่สามีโจทก์ หากเป็นเพียงฝากเช็คพิพาทให้สามีโจทก์ นำเข้าบัญชีธนาคารเพื่อ เรียกเก็บเงินถือว่าสามีโจทก์เป็นตัวแทนของโจทก์ เมื่อธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ซึ่งเป็นตัวการจึงยังเป็นผู้เสียหายและ มีอำนาจฟ้อง ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริง ที่กล่าวในฟ้องในรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่กระทำความผิดและ จำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการพิพากษาเกินคำขอ, ค่าจ้าง, โบนัส, และผลของการไม่อนุญาตแก้ไขฟ้องในคดีแรงงาน
ศาลแรงงานพิพากษาไปตามคำขอบังคับของโจทก์เป็นการปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับแล้ว ส่วนการพิพากษาเกินคำขอนั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 มิได้บังคับให้ศาลแรงงานจำต้องปฏิบัติแต่ให้อยู่ในดุลพินิจที่จะกระทำได้เมื่อเห็นสมควรเท่านั้น
ค่าน้ำมันรถที่ลูกจ้างจะเบิกได้ต้องมีใบเสร็จไปแสดงและเบิกได้ไม่เกินที่นายจ้างกำหนดไว้ เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานหาใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานไม่ ค่าน้ำมันรถจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
ระเบียบของนายจ้างกำหนดว่า "การจ่ายเงินโบนัสจะทำการจ่ายในเดือนธันวาคมของทุก ๆ ปีปฏิทิน " แสดงว่าลูกจ้างผู้มีสิทธิรับเงินโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในเดือนธันวาคมซึ่งมีการจ่ายโบนัส ด้วยโจทก์ถูกเลิกจ้างก่อนเดือนธันวาคมจึงไม่มีสิทธิรับเงินโบนัส
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง ศาลแรงงานกลางสั่งว่า "สำเนาให้จำเลยสั่งในวันนัด" แต่จนกระทั่งมีคำพิพากษาศาลแรงงานกลางก็มิได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง ทั้งคู่ความก็มิได้แถลงประการใดต่อศาล ดังนี้ จึงมีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางมิได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง
ค่าน้ำมันรถที่ลูกจ้างจะเบิกได้ต้องมีใบเสร็จไปแสดงและเบิกได้ไม่เกินที่นายจ้างกำหนดไว้ เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานหาใช่จ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานไม่ ค่าน้ำมันรถจึงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของค่าจ้าง
ระเบียบของนายจ้างกำหนดว่า "การจ่ายเงินโบนัสจะทำการจ่ายในเดือนธันวาคมของทุก ๆ ปีปฏิทิน " แสดงว่าลูกจ้างผู้มีสิทธิรับเงินโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในเดือนธันวาคมซึ่งมีการจ่ายโบนัส ด้วยโจทก์ถูกเลิกจ้างก่อนเดือนธันวาคมจึงไม่มีสิทธิรับเงินโบนัส
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้อง ศาลแรงงานกลางสั่งว่า "สำเนาให้จำเลยสั่งในวันนัด" แต่จนกระทั่งมีคำพิพากษาศาลแรงงานกลางก็มิได้มีคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง ทั้งคู่ความก็มิได้แถลงประการใดต่อศาล ดังนี้ จึงมีผลเท่ากับศาลแรงงานกลางมิได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3860/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยศาล, การแก้ไขฟ้อง, และคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่สามารถอุทธรณ์ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 มิใช่บทบังคับให้ศาลต้องทำการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำขอของคู่ความทุกเรื่อง ถ้าเห็นว่าการวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าว ไม่เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายที่ขอ หรือคดีจำเป็นต้องดำเนินการพิจารณาต่อไป ก็อาจมีคำสั่งให้รอไว้วินิจฉัยในคำพิพากษาได้
ฟ้องเดิมบรรยายว่า "จดทะเบียนโอนมาเป็นของโจทก์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2520 ตามสำเนาภาพถ่ายเอกสารท้ายฟ้อง" ปรากฏว่าสำเนาภาพถ่ายเอกสารท้ายฟ้อง จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินวันที่ 2 มิถุนายน 2520 โจทก์จึงขอแก้ไขฟ้องก่อนวันชี้สองสถาน เฉพาะวันที่เป็นวันที่ 2 มิถุนายน 2520 ให้ตรงกับความจริงเป็นเรื่องการขอแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อยอันเป็นรายละเอียดแห่งคำฟ้องมิใช่ในสารสำคัญ ศาลมีอำนาจอนุญาตให้แก้ไขได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180
การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้มีการเผชิญสืบสภาพที่พิพาทภายหลังการสืบพยานจำเลยตามคำขอของโจทก์ ซึ่งได้ยื่นภายหลังโจทก์สืบพยานฝ่ายตนเสร็จแล้ว 1 วัน เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2)
ข้อที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฟ้องเดิมบรรยายว่า "จดทะเบียนโอนมาเป็นของโจทก์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2520 ตามสำเนาภาพถ่ายเอกสารท้ายฟ้อง" ปรากฏว่าสำเนาภาพถ่ายเอกสารท้ายฟ้อง จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินวันที่ 2 มิถุนายน 2520 โจทก์จึงขอแก้ไขฟ้องก่อนวันชี้สองสถาน เฉพาะวันที่เป็นวันที่ 2 มิถุนายน 2520 ให้ตรงกับความจริงเป็นเรื่องการขอแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อยอันเป็นรายละเอียดแห่งคำฟ้องมิใช่ในสารสำคัญ ศาลมีอำนาจอนุญาตให้แก้ไขได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 180
การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้มีการเผชิญสืบสภาพที่พิพาทภายหลังการสืบพยานจำเลยตามคำขอของโจทก์ ซึ่งได้ยื่นภายหลังโจทก์สืบพยานฝ่ายตนเสร็จแล้ว 1 วัน เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2)
ข้อที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3860/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจศาลในการวินิจฉัยฟ้องเคลือบคลุม, การแก้ไขฟ้อง, และคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 มิใช่บทบังคับให้ศาลต้องทำการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามคำขอของคู่ความทุกเรื่อง ถ้าเห็นว่าการวินิจฉัยชี้ขาดดังกล่าว ไม่เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายที่ขอ หรือคดีจำเป็นต้องดำเนินการพิจารณาต่อไป ก็อาจมีคำสั่งให้รอไว้วินิจฉัยในคำพิพากษาได้
ฟ้องเดิมบรรยายว่า 'จดทะเบียนโอนมาเป็นของโจทก์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2520 ตามสำเนาภาพถ่ายเอกสารท้ายฟ้อง' ปรากฏว่าสำเนาภาพถ่ายเอกสารท้ายฟ้อง จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินวันที่ 2 มิถุนายน 2520 โจทก์จึงขอแก้ไขฟ้องก่อนวันชี้สองสถาน เฉพาะวันที่เป็นวันที่ 2มิถุนายน 2520 ให้ตรงกับความจริงเป็นเรื่องการขอแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อยอันเป็นรายละเอียดแห่งคำฟ้องมิใช่ในสารสำคัญ ศาลมีอำนาจอนุญาตให้แก้ไขได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้มีการเผชิญสืบสภาพที่พิพาทภายหลังการสืบพยานจำเลยตามคำขอของโจทก์ ซึ่งได้ยื่นภายหลังโจทก์สืบพยานฝ่ายตนเสร็จแล้ว 1 วัน เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2)
ข้อที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฟ้องเดิมบรรยายว่า 'จดทะเบียนโอนมาเป็นของโจทก์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2520 ตามสำเนาภาพถ่ายเอกสารท้ายฟ้อง' ปรากฏว่าสำเนาภาพถ่ายเอกสารท้ายฟ้อง จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินวันที่ 2 มิถุนายน 2520 โจทก์จึงขอแก้ไขฟ้องก่อนวันชี้สองสถาน เฉพาะวันที่เป็นวันที่ 2มิถุนายน 2520 ให้ตรงกับความจริงเป็นเรื่องการขอแก้ไขความผิดพลาดเล็กน้อยอันเป็นรายละเอียดแห่งคำฟ้องมิใช่ในสารสำคัญ ศาลมีอำนาจอนุญาตให้แก้ไขได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
การที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้มีการเผชิญสืบสภาพที่พิพาทภายหลังการสืบพยานจำเลยตามคำขอของโจทก์ ซึ่งได้ยื่นภายหลังโจทก์สืบพยานฝ่ายตนเสร็จแล้ว 1 วัน เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านไว้จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226(2)
ข้อที่จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีและการแก้ไขฟ้อง: ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีได้ และแก้ฟ้องได้แม้หลังวันสืบพยาน
การที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุที่โจทก์ไม่มาศาล ไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดี ดังนั้นแม้โจทก์จะได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่สั่งจำหน่ายคดีโดยผิดพลาด และศาลสั่งยกคำร้องไปครั้งหนึ่งแล้วก็ตามโจทก์ก็มีสิทธิยื่นคำร้องใหม่ได้ ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
โจทก์ขอแก้ฟ้องจากคำว่า "เช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาวัดไทร" เป็น "เช็คสหธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาวัดไทร" เป็นการขอแก้ถ้อยคำที่พิมพ์ผิดพลาดตกหล่นไปเล็กน้อย ย่อมแก้ได้เสมอแม้หลังวันสืบพยาน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
โจทก์ขอแก้ฟ้องจากคำว่า "เช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาวัดไทร" เป็น "เช็คสหธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาวัดไทร" เป็นการขอแก้ถ้อยคำที่พิมพ์ผิดพลาดตกหล่นไปเล็กน้อย ย่อมแก้ได้เสมอแม้หลังวันสืบพยาน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีและการแก้ไขฟ้องหลังวันสืบพยาน ศาลฎีกาวินิจฉัยไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือเป็นการไม่ชอบ
การที่ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี เพราะเหตุที่โจทก์ไม่มาศาล ไม่ใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดี ดังนั้นแม้โจทก์จะได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่สั่งจำหน่ายคดีโดยผิดพลาด และศาลสั่งยกคำร้องไปครั้งหนึ่งแล้วก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิยื่นคำร้องใหม่ได้ ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
โจทก์ขอแก้ฟ้องจากคำว่า 'เช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาวัดไทร' เป็น 'เช็คสหธนาคารกรุงเทพจำกัดสาขาวัดไทร' เป็นการขอแก้ถ้อยคำที่พิมพ์ผิดพลาดตกหล่นไปเล็กน้อย ย่อมแก้ได้เสมอแม้หลังวันสืบพยาน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
โจทก์ขอแก้ฟ้องจากคำว่า 'เช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาวัดไทร' เป็น 'เช็คสหธนาคารกรุงเทพจำกัดสาขาวัดไทร' เป็นการขอแก้ถ้อยคำที่พิมพ์ผิดพลาดตกหล่นไปเล็กน้อย ย่อมแก้ได้เสมอแม้หลังวันสืบพยาน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2909/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฟ้อง, การเลิกจ้าง, และข้อยกเว้นค่าชดเชย: กรณีลูกจ้างเคยถูกจำคุกก่อนเข้าทำงาน
เมื่อคดีไม่ปรากฏว่าศาลแรงงานกลางได้ทำการชี้สองสถาน หรือทำการสืบพยานโจทก์ย่อมยื่นคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องได้ก่อนศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษา
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์มิได้จงใจทำความเสียหายให้จำเลย จำเลยจะอุทธรณ์ว่าการกระทำของโจทก์ย่อมเล็งเห็นผลทำให้จำเลยเสียหายอันเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยในข้อเท็จจริงมิได้ อุทธรณ์จำเลยต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคแรก
ข้อยกเว้นซึ่งนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างตามประกาศกระทราวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หมายถึง ได้รับโทษตามคำพิพากษาของศาลให้จำคุกคดีถึงที่สุดขณะที่เป็นลูกจ้าง หาใช่ได้รับโทษและพ้นโทษมาแล้วจึงมาเป็นลูกจ้างไม่
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังว่าโจทก์มิได้จงใจทำความเสียหายให้จำเลย จำเลยจะอุทธรณ์ว่าการกระทำของโจทก์ย่อมเล็งเห็นผลทำให้จำเลยเสียหายอันเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยในข้อเท็จจริงมิได้ อุทธรณ์จำเลยต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคแรก
ข้อยกเว้นซึ่งนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างตามประกาศกระทราวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก หมายถึง ได้รับโทษตามคำพิพากษาของศาลให้จำคุกคดีถึงที่สุดขณะที่เป็นลูกจ้าง หาใช่ได้รับโทษและพ้นโทษมาแล้วจึงมาเป็นลูกจ้างไม่