พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1554/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหาและการสอบสวนความผิดฐานฉ้อโกงทางการค้า จำเลยให้การรับสารภาพ
เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จับกุมจำเลยได้แจ้งข้อหาว่าจำเลยมีเครื่องชั่งผิดอัตราไว้ในความครอบครองเพื่อเอาเปรียบทางการค้า พนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยในวันเดียวกัน จำเลยให้การรับสารภาพ แม้บันทึกคำให้การของจำเลยจะไม่มีข้อความว่าได้แจ้งข้อหาในความผิดเกี่ยวกับการค้า แต่ก็ได้แจ้งข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด อันเป็นเรื่องประธานแล้วจึงถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดเกี่ยวกับการค้าด้วยแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนความผิดฐานทำร้ายร่างกาย การแจ้งข้อหา และอำนาจฟ้องของโจทก์
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาจำเลยฐานชกต่อยผู้เสียหายแล้ว แม้ทางสอบสวนจะได้ความว่าจำเลยใช้มีดฟันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายด้วย พนักงานสอบสวนก็ไม่จำต้องแจ้งข้อหาจำเลยอีกว่าจำเลยใช้มีดฟันทำร้ายร่างกายผู้เสียหายเพราะเป็นรายละเอียดในการสอบสวน และเป็นการกระทำในข้อหาฐานทำร้ายร่างกายกระทงเดียวกัน ถือได้ว่าการสอบสวนได้กระทำโดยชอบ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกเปลี่ยนเป็นกักขัง จำเลยจะฎีกาขอให้ลงโทษปรับแต่สถานเดียวไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำคุกจำเลย 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกเปลี่ยนเป็นกักขัง จำเลยจะฎีกาขอให้ลงโทษปรับแต่สถานเดียวไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 ตรี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 630/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงต้องยึดถือระยะเวลาการแจ้งข้อหาใหม่ หากเปลี่ยนข้อหาเดิมเป็นข้อหาใหม่ภายหลัง
บทบัญญัติในมาตรา 9 และมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง ที่ห้ามมิให้ผู้ว่าคดีฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามมาตรา 7 เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการก่อน นั้น หมายความเฉพาะคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้
ชั้นแรกพนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดที่จะพิจารณาพิพากษา พนักงานสอบสวนสอบสวนแล้วเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง พนักงานอัยการสั่งให้ฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 พนักงานสอบสวน จึงแจ้งข้อหาตามมาตรา 334 ให้จำเลยทราบ และยื่นฟ้องต่อศาลแขวงในวันเดียวกันกรณีนี้ย่อมถือว่าจำเลยถูกจับในข้อหาของคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตั้งแต่วันแจ้งข้อหาตามมาตรา 334เมื่อได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงภายในกำหนดเวลา 72 ชั่วโมงแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะต้องขอผัดฟ้องหรือขออนุญาตจาก อธิบดีกรมอัยการก่อนฟ้อง
ชั้นแรกพนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับจำเลยในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ซึ่งเป็นคดีอยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดที่จะพิจารณาพิพากษา พนักงานสอบสวนสอบสวนแล้วเห็นควรสั่งไม่ฟ้อง พนักงานอัยการสั่งให้ฟ้องในข้อหาลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 พนักงานสอบสวน จึงแจ้งข้อหาตามมาตรา 334 ให้จำเลยทราบ และยื่นฟ้องต่อศาลแขวงในวันเดียวกันกรณีนี้ย่อมถือว่าจำเลยถูกจับในข้อหาของคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตั้งแต่วันแจ้งข้อหาตามมาตรา 334เมื่อได้ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแขวงภายในกำหนดเวลา 72 ชั่วโมงแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะต้องขอผัดฟ้องหรือขออนุญาตจาก อธิบดีกรมอัยการก่อนฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การสั่งจับด้วยวาจาโดยมิได้ออกหมายจับ และการปล่อยตัวผู้ต้องหาโดยไม่แจ้งข้อหา
พนักงานสอบสวนสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยด้วยวาจาโดยไม่ได้ออกหมายจับ และเจ้าพนักงานตำรวจที่ไปจับจำเลยนั้นไม่ได้เป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งจะจับจำเลยได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีหมายจับเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้แล้วได้ส่งมอบตัวจำเลยต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อหาแก่จำเลย และไม่ได้ควบคุมตัวจำเลยไว้หรือให้ประกันตัวไป เพียงแต่นัดให้จำเลยมาสถานีตำรวจในวันรุ่งขึ้นเท่านั้นพฤติการณ์เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยได้ถูกจับตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การจับกุมต้องแจ้งข้อหาและควบคุมตัว หากไม่เป็นไปตามนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการจับกุม
พนักงานสอบสวนสั่งให้เจ้าพนักงานตำรวจไปจับกุมจำเลยด้วยวาจาโดยไม่ได้ออกหมายจับ และเจ้าพนักงานตำรวจที่ไปจับจำเลยนั้นไม่ได้เป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งจะจับจำเลยได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีหมายจับเมื่อเจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยได้แล้วได้ส่งมอบตัวจำเลยต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนไม่ได้แจ้งข้อหาแก่จำเลย และไม่ได้ควบคุมตัวจำเลยไว้หรือให้ประกันตัวไป เพียงแต่นัดให้จำเลยมาสถานีตำรวจในวันรุ่งขึ้นเท่านั้นพฤติการณ์เช่นนี้ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยได้ถูกจับตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนผู้ต้องหา, การแจ้งข้อหา, และความผิดของเจ้าพนักงาน, รวมถึงการกระทำหน้าที่พ้นตำแหน่ง
ป.วิ.อาญา ม.134 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบก่อนทำการสอบสวน หมายความว่า กฎหมายต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนสอบสวนว่าตนต้องถูกสอบสวนเรื่องอันใดเป็นประธานที่ต้องทำการสอบสวน มิได้หมายความว่าจะต้องแจ้งทุก ๆ กะทงความผิดแม้เดิมจะตั้งข้อหาฐานหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าเป็นความผิดฐานอื่นด้วย ก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นด้วยแล้ว
เดิมพยานโจทก์ถูกสอบสวนในฐานผู้ต้องหา ต่อมาอัยการผู้สอบสวนพูดว่าจะให้การตามความจริงได้ไหม ถ้าให้การตามความจริงจะเอาเป็นพยาน ๆ โจทก์ปากนี้เกรงว่าจะตกเป็นผู้ต้องหาจึงให้การใหม่ และกลับให้การใหม่เปลี่ยนข้อเท็จจริงโยนบรรดาการกระทำผิดทั้งหลายที่ให้การไว้เดิมอันเป็นข้อพิรุธของตนนั้นให้เป็นการกระทำของจำเลยโดยสิ้นเชิง เช่นนี้เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการสอบสวนตาม ป.วิ.อาญา ม.133
จำเลยเป็นอัยการแต่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับคดี แม้จะฟังว่าจำเลยเป็นผู้บอกให้พยานกลับ เมื่อพยานนั้นเป็นพยานที่ศาลหมายเรียกมา ไม่ใช่อัยการนำไปให้ศาลสืบ ดังนั้นการที่จะให้พยานรอเพื่อเบิกความหรือให้กลับย่อมเป็นเรื่องของศาล ทั้งได้ความจากพยานโจทก์ว่าการบอกให้พยานกลับไม่จำเป็นต้องเฉพาะอัยการเป็นผู้บอกทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยแสดงต่อพยานนั้นว่าจำเลยเป็นอัยการคงทำหน้าที่นั้นอยู่ ดังนี้จึงเรียกไม่ได้ว่าจำเลยยังขืนกระทำการตามตำแหน่งหน้าที่อัยการอันเป็นความผิดตาม ก.ม.อาญา ม.127 วรรค 2.
เดิมพยานโจทก์ถูกสอบสวนในฐานผู้ต้องหา ต่อมาอัยการผู้สอบสวนพูดว่าจะให้การตามความจริงได้ไหม ถ้าให้การตามความจริงจะเอาเป็นพยาน ๆ โจทก์ปากนี้เกรงว่าจะตกเป็นผู้ต้องหาจึงให้การใหม่ และกลับให้การใหม่เปลี่ยนข้อเท็จจริงโยนบรรดาการกระทำผิดทั้งหลายที่ให้การไว้เดิมอันเป็นข้อพิรุธของตนนั้นให้เป็นการกระทำของจำเลยโดยสิ้นเชิง เช่นนี้เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการสอบสวนตาม ป.วิ.อาญา ม.133
จำเลยเป็นอัยการแต่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับคดี แม้จะฟังว่าจำเลยเป็นผู้บอกให้พยานกลับ เมื่อพยานนั้นเป็นพยานที่ศาลหมายเรียกมา ไม่ใช่อัยการนำไปให้ศาลสืบ ดังนั้นการที่จะให้พยานรอเพื่อเบิกความหรือให้กลับย่อมเป็นเรื่องของศาล ทั้งได้ความจากพยานโจทก์ว่าการบอกให้พยานกลับไม่จำเป็นต้องเฉพาะอัยการเป็นผู้บอกทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยแสดงต่อพยานนั้นว่าจำเลยเป็นอัยการคงทำหน้าที่นั้นอยู่ ดังนี้จึงเรียกไม่ได้ว่าจำเลยยังขืนกระทำการตามตำแหน่งหน้าที่อัยการอันเป็นความผิดตาม ก.ม.อาญา ม.127 วรรค 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อหา, การสอบสวนพยาน, และความผิดของเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา134 ที่บัญญัติให้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาให้ผู้ต้องหาทราบก่อนทำการสอบสวนหมายความว่า กฎหมายต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนสอบสวนว่าตนต้องถูกสอบสวนเรื่องอันใดเป็นประธานที่ต้องทำการสอบสวนมิได้หมายความว่าจะต้องแจ้งทุกๆ กระทงความผิด แม้เดิมจะตั้งข้อหาฐานหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฏว่าเป็นความผิดฐานอื่นด้วย ก็เรียกว่าได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นด้วยแล้ว
เดิมพยานโจทก์ถูกสอบสวนในฐานผู้ต้องหา ต่อมาอัยการผู้สอบสวนพูดว่าจะให้การตามความจริงได้ไหม ถ้าให้การตามความจริงจะเอาเป็นพยานพยานโจทก์ปากนี้เกรงว่าจะตกเป็นผู้ต้องหาจึงให้การใหม่ และกลับให้การใหม่เปลี่ยนข้อเท็จจริงโยนบรรดาการกระทำผิดทั้งหลายที่ให้การไว้เดิมอันเป็นข้อพิรุธของตนนั้นให้เป็นการกระทำของจำเลยโดยสิ้นเชิงเช่นนี้เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา133
จำเลยเป็นอัยการแต่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับคดีนี้แม้จะฟังว่าจำเลยเป็นผู้บอกให้พยานกลับเมื่อพยานนั้นเป็นพยานที่ศาลหมายเรียกมา ไม่ใช่อัยการนำไปให้ศาลสืบดังนั้นการที่จะให้พยานรอเพื่อเบิกความหรือให้กลับย่อมเป็นเรื่องของศาลทั้งได้ความจากพยานโจทก์ว่าการบอกให้พยานกลับไม่จำเป็นต้องเฉพาะอัยการเป็นผู้บอกทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยแสดงต่อพยานนั้นว่าจำเลยเป็นอัยการคงทำหน้าที่นั้นอยู่ดังนี้จึงเรียกไม่ได้ว่าจำเลยยังขืนกระทำการตามตำแหน่งหน้าที่อัยการอันเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา127 วรรคสองฎีกาที่ 1121/2494 ฎีกาที่ 545/2496
เดิมพยานโจทก์ถูกสอบสวนในฐานผู้ต้องหา ต่อมาอัยการผู้สอบสวนพูดว่าจะให้การตามความจริงได้ไหม ถ้าให้การตามความจริงจะเอาเป็นพยานพยานโจทก์ปากนี้เกรงว่าจะตกเป็นผู้ต้องหาจึงให้การใหม่ และกลับให้การใหม่เปลี่ยนข้อเท็จจริงโยนบรรดาการกระทำผิดทั้งหลายที่ให้การไว้เดิมอันเป็นข้อพิรุธของตนนั้นให้เป็นการกระทำของจำเลยโดยสิ้นเชิงเช่นนี้เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีการสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา133
จำเลยเป็นอัยการแต่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับคดีนี้แม้จะฟังว่าจำเลยเป็นผู้บอกให้พยานกลับเมื่อพยานนั้นเป็นพยานที่ศาลหมายเรียกมา ไม่ใช่อัยการนำไปให้ศาลสืบดังนั้นการที่จะให้พยานรอเพื่อเบิกความหรือให้กลับย่อมเป็นเรื่องของศาลทั้งได้ความจากพยานโจทก์ว่าการบอกให้พยานกลับไม่จำเป็นต้องเฉพาะอัยการเป็นผู้บอกทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยแสดงต่อพยานนั้นว่าจำเลยเป็นอัยการคงทำหน้าที่นั้นอยู่ดังนี้จึงเรียกไม่ได้ว่าจำเลยยังขืนกระทำการตามตำแหน่งหน้าที่อัยการอันเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา มาตรา127 วรรคสองฎีกาที่ 1121/2494 ฎีกาที่ 545/2496
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 545/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนความผิดฐานอื่นที่มิได้แจ้งข้อหาเดิม การสอบสวนถือว่าสมบูรณ์
การสอบสวนความผิดทางอาญานั้น แม้เดิมจะตั้งข้อหาฐานหนึ่ง แต่เมื่อสอบสวนแล้วปรากฎว่า เป็นความผิดฐานอื่น ด้วย ก็เรียกได้ว่า ได้มีการสอบสวนในความผิดฐานอื่นนั้นด้วยแล้ว ไม่จำเป็นต้องแจ้งข้อหาในความผิดฐานอื่นนั้น แก่ผู้ต้องหาอีก ก็ถือว่าการสอบสวนนั้นสมบูรณ์แล้ว./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสอบสวนคดีทหาร และการแจ้งข้อหาผู้ต้องหา: การพิจารณาตามกฎหมายและระเบียบทหาร
ประมวลกฎหมายอาญาทหาร ม.4 + 30 ถึง 33 แสดงให้เห็นว่า " ผู้ซื่งบังคับบัญชาทหาร " ย่อมออกคำสั่งหรือข้อบังคับให้ใช้บังคับทหาร เช่นกฎหมายของเขาเหล่านั้นได้ ปัญหาเรื่องอำนาจหน้าที่และวิธีการสอบสวนคดีอาญาของฝ่ายทหารศาลต้องพิจารณาแปลความหมายในบรรดาคำสั่งหรือข้อบังคับของฝ่ายทหารประกอบด้วยประมวลวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อบังคับทหารที่ 9/10909/2477 ว่าด้วยระเบียบจัดการทางคดี ไม่มีข้อความใดที่บังคับว่าการไต่สวนคดีที่เกิดนอกกรุงเทพ+จะให้ศาลทหารพิจารณา บุคคลอื่นนอกจากอัยการจะกระทำไม่ได้ คำว่า " ไต่สวน " ในข้อบังคับนั้น มุ่งหมายเพียงแต่ว่าจะให้ใครไต่สวนได้ เพราะการฟ้องร้องในสมัยก่อนใช้ประมวลก.ม.วิธีพิจารณาความอาญา ไม่จำต้องมีการไต่สวนมาก่อน การดำเนินคดีในกรณีทีทหารเป็นผู้ต้องหาเป็นเรื่องกึ่ง+นัยกึ่งอาญาแผ่นดิน การสอบสวนที่ผู้บังคับทหารมณฑลทหารบกที่ 2 สั่งตั้งกรรมการสอบสวนโดยมิได้สั่งให้อัยการในทหารนอกกรุงเทพเป็นผู้สอบสวนตามข้อบังคับนั้น จึงชอบด้วย ก.ม.เพื่อฟ้องคดีต่อศาลทหารแล้ว
ป.วิ.อาญาม.134 หมายความเพียงว่า ก.ม.ต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนต้องถูกสอบสวนในคดีอาญา เรื่องใดอันเปนประธานมิได้หมายความความว่าต้องแจ้งกะทงความผิดทุกกะทง เช่นแจ้งข้อหาฐานลักทรัพย์ ปรากฎว่าผู้ต้องหาทำลายตราและไม่ทำตามข้อบังคับด้วยในการลักทรัพย์นั้น โจทก์ย่อมฟ้องฐานรวมไปได้ทุกฐาน ฎีกา 99/81 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องฐานอื่นเพิ่มเติมโดยปรากฎขึ้นในการพิจารณาของศาล หาได้อาศัยจากการสอบสวนไม่ จึงฟ้องไม่ได้เพราะไม่มีการสอบสวน
ข้อบังคับทหารที่ 9/10909/2477 ว่าด้วยระเบียบจัดการทางคดี ไม่มีข้อความใดที่บังคับว่าการไต่สวนคดีที่เกิดนอกกรุงเทพ+จะให้ศาลทหารพิจารณา บุคคลอื่นนอกจากอัยการจะกระทำไม่ได้ คำว่า " ไต่สวน " ในข้อบังคับนั้น มุ่งหมายเพียงแต่ว่าจะให้ใครไต่สวนได้ เพราะการฟ้องร้องในสมัยก่อนใช้ประมวลก.ม.วิธีพิจารณาความอาญา ไม่จำต้องมีการไต่สวนมาก่อน การดำเนินคดีในกรณีทีทหารเป็นผู้ต้องหาเป็นเรื่องกึ่ง+นัยกึ่งอาญาแผ่นดิน การสอบสวนที่ผู้บังคับทหารมณฑลทหารบกที่ 2 สั่งตั้งกรรมการสอบสวนโดยมิได้สั่งให้อัยการในทหารนอกกรุงเทพเป็นผู้สอบสวนตามข้อบังคับนั้น จึงชอบด้วย ก.ม.เพื่อฟ้องคดีต่อศาลทหารแล้ว
ป.วิ.อาญาม.134 หมายความเพียงว่า ก.ม.ต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนต้องถูกสอบสวนในคดีอาญา เรื่องใดอันเปนประธานมิได้หมายความความว่าต้องแจ้งกะทงความผิดทุกกะทง เช่นแจ้งข้อหาฐานลักทรัพย์ ปรากฎว่าผู้ต้องหาทำลายตราและไม่ทำตามข้อบังคับด้วยในการลักทรัพย์นั้น โจทก์ย่อมฟ้องฐานรวมไปได้ทุกฐาน ฎีกา 99/81 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องฐานอื่นเพิ่มเติมโดยปรากฎขึ้นในการพิจารณาของศาล หาได้อาศัยจากการสอบสวนไม่ จึงฟ้องไม่ได้เพราะไม่มีการสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1121/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการสอบสวนคดีอาญาของทหาร และการแจ้งข้อหา
ประมวลกฎหมายอาญาทหาร มาตรา 430ถึง 33 แสดงให้เห็นว่า"ผู้ซึ่งบังคับบัญชาทหาร" ย่อมออกคำสั่งหรือข้อบังคับให้ใช้บังคับทหาร เช่นกฎหมายของเขาเหล่านั้นได้ ปัญหาเรื่องอำนาจหน้าที่และวิธีการสอบสวนคดีอาญาของฝ่ายทหารศาลต้องพิจารณาแปลความหมายในบรรดาคำสั่งหรือข้อบังคับของฝ่ายทหารประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อบังคับทหารที่ 9/10909/2477 ว่าด้วยระเบียบจัดการทางคดีไม่มีข้อความใดที่บังคับว่าการไต่สวนคดีที่เกิดนอกกรุงเทพที่จะให้ศาลทหารพิจารณานั้น บุคคลอื่นนอกจากอัยการจะกระทำไม่ได้ คำว่า "ไต่สวน" ในข้อบังคับนั้นมุ่งหมายเพียงแต่ว่าจะให้ใครไต่สวนได้ เพราะการฟ้องร้องในสมัยก่อนใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่จำต้องมีการไต่สวนมาก่อน การดำเนินคดีในกรณีที่ทหารเป็นผู้ต้องหาเป็นเรื่องกึ่งวินัยกึ่งอาญาแผ่นดิน การสอบสวนที่ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 2 สั่งตั้งกรรมการสอบสวนโดยมิได้สั่งให้อัยการในหน่วยทหารนอกกรุงเทพเป็นผู้สอบสวนตามข้อบังคับนั้น จึงชอบด้วยกฎหมายเพื่อฟ้องคดีต่อศาลทหารแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 หมายความเพียงว่ากฎหมายต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนต้องถูกสอบสวนในคดีอาญาเรื่องใดอันเป็นประธาน มิได้หมายความว่าต้องแจ้งกะทงความผิดทุกกระทง เช่นแจ้งข้อหาฐานลักทรัพย์ ปรากฏว่าผู้ต้องหาทำลายตราและไม่ทำตามข้อบังคับด้วยในการลักทรัพย์นั้น โจทก์ย่อมฟ้องฐานรวมไปได้ทุกฐาน ฎีกา 99/81 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องฐานอื่นเพิ่มเติมโดยปรากฏขึ้นในการพิจารณาของศาลหาได้อาศัยจากการสอบสวนไม่ จึงฟ้องไม่ได้เพราะไม่มีการสอบสวน
ข้อบังคับทหารที่ 9/10909/2477 ว่าด้วยระเบียบจัดการทางคดีไม่มีข้อความใดที่บังคับว่าการไต่สวนคดีที่เกิดนอกกรุงเทพที่จะให้ศาลทหารพิจารณานั้น บุคคลอื่นนอกจากอัยการจะกระทำไม่ได้ คำว่า "ไต่สวน" ในข้อบังคับนั้นมุ่งหมายเพียงแต่ว่าจะให้ใครไต่สวนได้ เพราะการฟ้องร้องในสมัยก่อนใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่จำต้องมีการไต่สวนมาก่อน การดำเนินคดีในกรณีที่ทหารเป็นผู้ต้องหาเป็นเรื่องกึ่งวินัยกึ่งอาญาแผ่นดิน การสอบสวนที่ผู้บังคับการมณฑลทหารบกที่ 2 สั่งตั้งกรรมการสอบสวนโดยมิได้สั่งให้อัยการในหน่วยทหารนอกกรุงเทพเป็นผู้สอบสวนตามข้อบังคับนั้น จึงชอบด้วยกฎหมายเพื่อฟ้องคดีต่อศาลทหารแล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 หมายความเพียงว่ากฎหมายต้องการให้ผู้ต้องหารู้ตัวก่อนว่าตนต้องถูกสอบสวนในคดีอาญาเรื่องใดอันเป็นประธาน มิได้หมายความว่าต้องแจ้งกะทงความผิดทุกกระทง เช่นแจ้งข้อหาฐานลักทรัพย์ ปรากฏว่าผู้ต้องหาทำลายตราและไม่ทำตามข้อบังคับด้วยในการลักทรัพย์นั้น โจทก์ย่อมฟ้องฐานรวมไปได้ทุกฐาน ฎีกา 99/81 เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องฐานอื่นเพิ่มเติมโดยปรากฏขึ้นในการพิจารณาของศาลหาได้อาศัยจากการสอบสวนไม่ จึงฟ้องไม่ได้เพราะไม่มีการสอบสวน