พบผลลัพธ์ทั้งหมด 546 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6858/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเพื่อออกเอกสารใหม่ ไม่ทำให้ผู้อื่นเสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจอันเป็นเจ้าพนักงานว่าจำเลยทำสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์ และบัตร เอ.ที.เอ็ม ที่ธนาคารออกให้แก่จำเลยสูญหายไป ก็เพื่อประสงค์จะให้เจ้าพนักงานออกหลักฐานเพื่อจะนำไปเป็นหลักฐานขอสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์ และบัตร เอ.ที.เอ็ม.ใหม่จากธนาคารเท่านั้น อันเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานโดยตรง แม้ความจริงจำเลยมิได้ทำสูญหาย หากแต่จำเลยได้มอบสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์และบัตร เอ.ที.เอ็ม.ดังกล่าวให้ไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินก็ตาม และการแจ้งความดังกล่าวจำเลยมิได้เจาะจงว่ากล่าวถึงโจทก์ โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง ทั้งโจทก์ก็ไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่จะบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมจากสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์และบัตรเอ.ที.เอ็ม.ดังกล่าว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ.มาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6858/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเพื่อออกเอกสารใหม่ แม้โจทก์ไม่เสียหายโดยตรง ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจอันเป็นเจ้าพนักงานว่าจำเลยทำสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์ และบัตร เอ.ที.เอ็มที่ธนาคารออกให้แก่จำเลยสูญหายไป ก็เพื่อประสงค์จะให้เจ้าพนักงานออกหลักฐานเพื่อจะนำไปเป็นหลักฐานขอสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์ และบัตร เอ.ที.เอ็ม ใหม่จากธนาคารเท่านั้น อันเป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานโดยตรงแม้ความจริงจำเลยมิได้ทำสูญหาย หากแต่จำเลยได้มอบสมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์และบัตร เอ.ที.เอ็ม ดังกล่าว ให้ไว้แก่โจทก์เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินก็ตาม และการแจ้งความดังกล่าวจำเลยมิได้เจาะจงว่ากล่าวถึงโจทก์ โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง ทั้งโจทก์ก็ไม่มีสิทธิ ตามกฎหมายที่จะบังคับชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมจาก สมุดคู่ฝากเงินออมทรัพย์และบัตร เอ.ที.เอ็ม. ดังกล่าว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ: การแจ้งข้อเท็จจริงตามที่รับรู้ ไม่ใช่ความผิด แม้ต่อมาพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง
จำเลยนำความไปแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า โจทก์ขับรถยนต์ เฉี่ยวชนจำเลยได้รับบาดเจ็บเป็นการแจ้งความตามข้อเท็จจริง ที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่ จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะการแจ้งข้อความ ย่อมหมายถึงแจ้งข้อเท็จจริง ไม่เกี่ยวกับกฎหมาย แม้ต่อมา พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องโจทก์ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความ ดังกล่าวเป็นความเท็จจำเลยไม่มีความผิดฐานแจ้งความเท็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3550/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อมูลรถหายเพื่อเก็บรักษา ไม่ถือเป็นความผิดแจ้งความเท็จ
รถยนต์ที่จำเลยดูแลรับผิดชอบได้หายไป จำเลยจึงไปแจ้งต่อพันตำรวจโท ม.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจในท้องที่ที่จำเลยไปพบรถยนต์ที่จำเลยดูแลรับผิดชอบ เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจนำรถยนต์มาเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจเพื่อป้องกันมิให้สูญหาย โดยจำเลยไม่ประสงค์ที่จะให้เจ้าพนักงานดำเนินคดีแก่โจทก์ร่วมหรือผู้ใดผู้หนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องสืบให้ได้แน่ชัดก่อนแล้วจึงจะไปร้องทุกข์ดำเนินคดีภายหลัง เมื่อข้อความที่จำเลยแจ้งแก่พันตำรวจโท ม.เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และจำเลยมิได้แจ้งว่ารถยนต์หายไป ไม่ว่าจะเป็นการโดยการลักทรัพย์หรือยักยอกทรัพย์อย่างใด และไม่ปรากฏข้อความที่แจ้งว่ามีการกระทำความผิด แม้โจทก์ร่วมจะได้แนะนำให้จำเลยไปแจ้งความดำเนินคดีในท้องที่เกิดเหตุก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยไปแจ้งความดำเนินคดีเพราะเหตุมีการกระทำความผิดแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยที่ไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจเพื่อให้นำรถมาเก็บรักษาไว้ที่สถานีตำรวจจึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 173
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานแจ้งความเท็จ ต้องรู้ข้อเท็จจริงเป็นเท็จและเจตนาทำให้ผู้อื่นต้องรับโทษ
การที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 173 และ 174นอกจากจะต้องแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อแกล้งให้ผู้อื่นต้องรับโทษแล้ว ผู้กระทำจะต้องรู้ว่าข้อความที่แจ้งนั้นเป็นเท็จด้วย จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนโดยมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจว่าต้องดำเนินคดีแก่โจทก์ ส่วนการจะตั้งข้อหาดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่ ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน หาได้เกิดจากการกระทำของจำเลยโดยตรง กรณียังไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จต้องรู้ว่าเท็จและเจตนาให้ผู้อื่นรับโทษ การแจ้งความตามเหตุการณ์ที่เข้าใจไม่ถือเป็นความผิด
การที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 และ 174 นอกจากจะต้องแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเพื่อแกล้งให้ ผู้อื่นต้องรับโทษแล้ว ผู้กระทำจะต้องรู้ว่าข้อความที่ แจ้งนั้นเป็นเท็จด้วย จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน โดยมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจว่าต้องดำเนินคดีแก่โจทก์ ส่วนการจะตั้งข้อหาดำเนินคดีแก่โจทก์หรือไม่ ก็เป็นอำนาจ หน้าที่ของพนักงานสอบสวน หาได้เกิดจากการกระทำของจำเลย โดยตรง กรณียังไม่พอฟังว่าจำเลยกระทำความผิดฐานแจ้งข้อความ อันเป็นเท็จดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับบัตรประชาชนและการมีส่วนร่วมทางอาญา: จำเลยไม่มีส่วนร่วมโดยตรง
การที่มีผู้ไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานปกครองผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนว่า บัตรประจำตัวประชาชนของ ด.สูญหายไป และผู้ที่มาร้องขอทำบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่สูญหายไป คือ ด. ความจริงบัตรประจำตัวประชาชนของ ด.ไม่ได้สูญหายไป และผู้ที่แจ้งไม่ใช่ ด. ทำให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่และทำให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จไป เมื่อปรากฏว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทางทะเบียนทั่วไปและบัตรประจำตัวประชาชน ได้ตรวจสอบคำร้องขอและสอบสวนผู้ร้องขอแล้วจึงได้มีคำสั่งอนุมัติให้ทำบัตรใหม่ได้ แม้ว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปที่ที่ว่าการอำเภอที่เกิดเหตุ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนร่วมในการที่ผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการออกบัตรประจำตัวประชาชน ออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ใหม่อันเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานดังกล่าว หรือมีส่วนร่วมในการแจ้งให้เจ้าพนักงานดังกล่าวจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่แต่อย่างใด และแม้ว่าในวันเกิดเหตุ จำเลยได้พาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ.ลงชื่อรับรองว่าเป็น ด.เพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชน และจ.ได้รับรองให้ก็ตาม แต่ จ.มีตำแหน่งเป็นพัฒนาการอำเภอที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นเพียงข้าราชการเท่านั้น จ.มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนประจำที่ว่าการอำเภอที่เกิดเหตุ ทั้ง จ.มิได้สังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จ.จึงมิใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมาย การที่จำเลยพาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ.รับรองในการขอทำบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวจึงไม่ถือว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ส่วนการที่ จ.จะรับรองบุคคลที่มาขอทำบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชนใหม่หรือไม่ เป็นเรื่องที่ จ.จะต้องมีวิจารณญาณและความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเพื่อออกบัตรประชาชนปลอม จำเลยไม่มีส่วนร่วมโดยตรงในการแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน
การที่มีผู้ไปแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานปกครอง ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนว่า บัตรประจำตัวประชาชนของด.สูญหายไป และผู้ที่มาร้องขอทำบัตรประชาชนฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่สูญหายไปคือ ด.ความจริงบัตรประจำตัวประชาชนของด.ไม่ได้สูญหายไป และผู้ที่แจ้งไม่ใช่ ด. ทำให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่และทำให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จไป เมื่อปรากฏว่าผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทางทะเบียนทั่วไปและบัตรประจำตัวประชาชนได้ตรวจสอบคำร้องขอและสอบสวนผู้ร้องขอแล้วจึงได้มีคำสั่งอนุมัติให้ทำบัตรใหม่ได้ แม้ว่าในวันเกิดเหตุจำเลยไปที่ที่ว่าการอำเภอที่เกิดเหตุ แต่ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนร่วมในการที่ผู้ร้องขอยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ในการออกบัตรประจำตัวประชาชนออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ใหม่อันเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานดังกล่าว หรือมีส่วนร่วมในการแจ้งให้เจ้าพนักงานดังกล่าวจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่แต่อย่างใด และแม้ว่าในวันเกิดเหตุ จำเลยได้พาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ.ลงชื่อรับรองว่าเป็นด.เพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชน และจ.ได้รับรองให้ก็ตามแต่จ.มีตำแหน่งเป็นพัฒนาการอำเภอที่เกิดเหตุ ซึ่งเป็นเพียงข้าราชการเท่านั้น จ.มิได้เป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจและหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบัตรประจำตัวประชาชนประจำที่ว่าอำเภอที่เกิดเหตุ ทั้งจ.มิได้สังกัดกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย จ.จึงมิใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายการที่จำเลยพาเพื่อนของจำเลยมาให้ จ. รับรองให้การขอทำบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวจึงไม่ถือว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานส่วนการที่ จ.จะรับรองบุคคลที่มาขอทำบัตรประจำตัวประชาชนต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่ออกบัตรประจำตัวประชาชนใหม่หรือไม่ เป็นเรื่อง ที่จ.จะต้องมีวิจารณญาณและความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8043/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแจ้งความเท็จ – การบังคับคดี – การแจ้งข้อมูลเท็จต่อเจ้าพนักงาน – สิทธิโจทก์
โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมบ้านพิพาทคือบ้านเลขที่ 117 จาก ต.มารดาของสามีจำเลย ต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่ ต.ออกจากบ้านและที่ดิน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ขับไล่ ต. แต่ ต.ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ดำเนินการบังคับคดีเจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ต.ย้ายไปอยู่อีกห้องหนึ่งซึ่งเป็นบ้านเลขที่ 117/2 ที่จำเลยเป็นผู้ไปแจ้งขอเปลี่ยนหมายเลขประจำบ้านต่อผู้ใหญ่บ้านท้องที่จนได้รับหมายเลขประจำบ้านใหม่ดังกล่าว เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำรายงานเสนอศาลขอให้เพิกถอนหมายจับ ต.โดยอ้างว่า ต.ได้ออกจากบ้านพิพาทแล้วความจริงบ้านเลขที่ 117/2 ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเลขที่ 117 ที่ศาลพิพากษาให้ขับไล่ ต. แต่จำเลยอ้างว่าเป็นบ้านที่จำเลยปลูกและขอหมายเลขประจำบ้านใหม่ ดังนี้ หากบ้านเลขที่ 117/2 เป็นส่วนหนึ่งของบ้านที่โจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ก็สามารถบังคับคดีได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ เพียงแต่ทำให้โจทก์ต้องโต้แย้งข้อเท็จจริงกับจำเลยเท่านั้น โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง ความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์ฟ้อง หากมีก็เกิดแก่เจ้าพนักงานผู้รับแจ้ง โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายอันจะมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานแจ้งความเท็จและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตาม ป.อ.มาตรา 137 และ 267 เป็นคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8043/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเกี่ยวกับที่อยู่และการบังคับคดี: โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหากไม่เสียหายโดยตรง
โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมบ้านพิพาทคือบ้านเลขที่ 117 จากต.มารดาของสามีจำเลยต่อมาโจทก์ฟ้องขับไล่ต. ออกจากบ้านและที่ดิน ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้ขับไล่ต.แต่ต. ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ดำเนินการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสอบแล้วปรากฏว่า ต.ย้ายไปอยู่อีกห้องหนึ่งซึ่งเป็นบ้านเลขที่ 117/2 ที่จำเลย เป็นผู้ไปแจ้งขอเปลี่ยนหมายเลขประจำบ้านต่อผู้ใหญ่บ้านท้องที่จนได้รับหมายเลขประจำบ้านใหม่ดังกล่าว เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำรายงานเสนอศาลขอให้เพิกถอนหมายจับต.โดยอ้างว่าต. ได้ออกจากบ้านพิพาทแล้ว ความจริงบ้านเลขที่ 117/2 ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของบ้านเลขที่ 117ที่ศาลพิพากษาให้ขับไล่ ต. แต่จำเลยอ้างว่าเป็นบ้านที่จำเลยปลูกและขอหมายเลขประจำบ้านใหม่ ดังนี้หากบ้านเลขที่ 117/2 เป็นส่วนหนึ่งของบ้านที่โจทก์ฟ้องขับไล่โจทก์ก็สามารถบังคับคดีได้ การกระทำของจำเลยจึงไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ เพียงแต่ทำให้โจทก์ต้องโต้แย้งข้อเท็จจริงกับจำเลยเท่านั้น โจทก์ไม่ได้รับความเสียหายโดยตรง ความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของจำเลย ตามที่โจทก์ฟ้อง หากมีก็เกิดแก่เจ้าพนักงานผู้รับแจ้งโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายอันจะมีอำนาจฟ้องจำเลยฐานแจ้งความเท็จและฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และ 267เป็นคดีนี้ได้