พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1406/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนผู้จัดการมรดกและแต่งตั้งใหม่ตามพินัยกรรมที่ยกทรัพย์สินให้กุศลสาธารณะ
ผู้คัดค้านได้ยื่นบัญชีพยานระบุว่าพินัยกรรมของผู้ตายอยู่ที่ผู้ร้อง และได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ออกคำสั่งเรียกพินัยกรรมดังกล่าวจากผู้ร้อง 2 ครั้ง ศาลชั้นต้นออกคำสั่งเรียกให้ตามขอวันนัดไต่สวนพยานผู้คัดค้าน ผู้ร้องยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าผู้ร้องไม่เคยมีพินัยกรรมของผู้ตายไว้ในครอบครอง ดังนี้จึงเป็นเรื่องหาต้นฉบับเอกสารไม่ได้ เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกคำสั่งเรียกต้นฉบับพินัยกรรมของผู้ตายจากผู้ร้อง อันเป็นการแสดงเหตุจำเป็นที่ส่งต้นฉบับเอกสารเป็นพยานไม่ได้ไว้ก่อนแล้ว การที่ศาลชั้นต้นรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวจึงเท่ากับศาลชั้นต้นอนุญาตให้นำสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลมาสืบได้ ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) คำร้องขอถอนผู้จัดการมรดกและขอตั้งผู้คัดค้านเป็นแทนนั้นไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงประกอบคำร้องขอทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 มิได้ห้ามการนำสืบหักล้างพยานเอกสารด้วยพยานเอกสาร ผู้คัดค้านมีสิทธินำสืบเกี่ยวกับพินัยกรรมได้แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่าไม่มีพินัยกรรมการนำสืบของผู้คัดค้านไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ผู้ร้องยื่นคำคัดค้านคำร้องของผู้คัดค้านว่า ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ พินัยกรรมที่ผู้คัดค้านอ้างเป็นพินัยกรรมปลอม มิได้โต้เถียงว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะ เพราะพยานในพินัยกรรมมิได้ลงลายมือชื่อในขณะทำพินัยกรรม ปัญหาว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะหรือไม่จึงมิใช่ประเด็นข้อพิพาทและมิใช่ข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้ปัญหาดังกล่าวจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรจะยกขึ้นวินิจฉัย จึงไม่รับวินิจฉัย ผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินของผู้ตายทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์โดยตั้งให้ผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามพินัยกรรม เมื่อผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่กิจการกุศลสาธารณประโยชน์อันถือว่าผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายถูกตัดมิให้รับมรดกของผู้ตายเสียแล้ว ผู้ร้องย่อมไม่มีส่วนได้เสียในกองมรดกของผู้ตาย กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1727 และตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแทน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5750-5751/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาประโยชน์สูงสุดของกองมรดกและทายาท
พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติแห่ง บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. พ.ศ.2477มาตรา 4 ระบุว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เมื่อปรากฏว่า ถ. บิดาผู้ร้องแต่งงานอยู่กินฉันสามีภริยากับมารดาผู้ร้องก่อนที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 ใช้บังคับผู้ร้องจึงมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ ถ. และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของ ถ. ส่วนผู้คัดค้านเมื่อจดทะเบียนสมรสกับ ถ. โดยถูกต้องตามกฎหมายมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของ ถ. เช่นกัน ทั้งสองฝ่ายย่อมมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. ได้ด้วยกัน
ผู้ร้องฎีกาว่า ทรัพย์มรดกเป็นสินสมรสเพราะเป็นทรัพย์สินที่ ถ.บิดาผู้ร้องกับมารดาผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกัน ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทนั้น เป็นเรื่องนอกประเด็นเพราะประเด็นพิพาทแห่งคดีมีเพียงว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านฝ่ายใดสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. ผู้ตายเท่านั้น
การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าผู้ร้องรับเงินค่าสิทธิการเช่าบ้านมา200,000 บาท แล้วยักยอกไว้ 165,000 บาท าเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์-มรดกโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่า ตนทำให้เสื่อมประโยชน์ทายาทคนอื่น ผู้ร้องต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกและผู้ร้องมีพฤติการณ์และการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์กับกองมรดกนั้นผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำร้องคัดค้าน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลจะตั้งฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกนั้น ย่อมแล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ดังนั้น เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าการจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียว อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งได้ หากให้จัดการร่วมกันแล้วจะเป็นประโยชน์แก่กองมรดกและทายาททุกคน ก็สมควรตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องฎีกาว่า ทรัพย์มรดกเป็นสินสมรสเพราะเป็นทรัพย์สินที่ ถ.บิดาผู้ร้องกับมารดาผู้ร้องทำมาหาได้ร่วมกัน ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทนั้น เป็นเรื่องนอกประเด็นเพราะประเด็นพิพาทแห่งคดีมีเพียงว่า ผู้ร้องและผู้คัดค้านฝ่ายใดสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของ ถ. ผู้ตายเท่านั้น
การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าผู้ร้องรับเงินค่าสิทธิการเช่าบ้านมา200,000 บาท แล้วยักยอกไว้ 165,000 บาท าเป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์-มรดกโดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่า ตนทำให้เสื่อมประโยชน์ทายาทคนอื่น ผู้ร้องต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกและผู้ร้องมีพฤติการณ์และการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์กับกองมรดกนั้นผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำร้องคัดค้าน จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลจะตั้งฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกนั้น ย่อมแล้วแต่ศาลจะพิจารณาเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ดังนั้น เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีปรากฏว่าการจะให้ฝ่ายใดเป็นผู้จัดการมรดกแต่ฝ่ายเดียว อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งได้ หากให้จัดการร่วมกันแล้วจะเป็นประโยชน์แก่กองมรดกและทายาททุกคน ก็สมควรตั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5022/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกต้องคำนึงถึงความสุจริตและประโยชน์สูงสุดของกองมรดก แม้ไม่มีผู้คัดค้าน
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ศาลย่อมใช้ดุลพินิจโดยคำนึงถึงความเหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกด้วย ถึงแม้ไม่มีผู้คัดค้านคำร้องของผู้ร้อง และผู้ร้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ก็ตามแต่เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ร้องไม่มีความสุจริตใจในการรักษาผลประโยชน์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้รับพินัย กรรมของเจ้ามรดก จึงไม่เหมาะสมที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4977-4979/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสที่แต่งตั้งโดยอธิบดีสงฆ์พม่า: ไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อขัดต่อ พ.ร.บ.คณะสงฆ์
โจทก์เป็นวัดที่อยู่ในความปกครองของคณะสงฆ์ไทย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 46 บัญญัติว่า "การปกครองคณะสงฆ์อื่นนอกจากคณะสงฆ์ไทยให้เป็นไปตามกฎกระทรวง" แต่ก็ยังไม่ปรากฏว่าได้ออกกฎกระทรวงใช้บังคับแก่คณะสงฆ์อื่นนอกจากคณะสงฆ์จีนนิกายอนัมนิกายแต่อย่างใด การแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์จึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคมดังนั้น การที่อธิบดีสงฆ์พม่าแต่งตั้งพระณรงค์ นันทิโยเป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิใช่เป็นการแต่งตั้งตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และกฎมหาเถรสมาคม พระณรงค์ นันทิโย จึงไม่มีอำนาจฟ้องในฐานะผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของโจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ความเป็นธรรมในการแต่งตั้งทายาทร่วมเป็นผู้จัดการมรดก
บุตรของเจ้ามรดกที่ยังมีชีวิตอยู่มีอยู่ด้วยกันเพียง 2 คน คือผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งต่างก็ ทราบเรื่องเกี่ยวกับมรดกของผู้ตายดีว่ามีทรัพย์อะไรบ้าง การแต่งตั้งให้บุคคลทั้งสองซึ่งเป็นทายาทที่มีสิทธิ์ รับมรดกของผู้ตายด้วยกันเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกันนั้น ย่อมมีความเป็นธรรมดีกว่าที่จะแต่งตั้งให้คนหนึ่งคนใดจัดการมรดกไปเพียงลำพังคนเดียว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งกรรมการไขกุญแจตู้โทรศัพท์ต้องเป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนด การมอบหมายหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ถือเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย
การเคหะแห่งชาติมีคำสั่งกำหนดบุคคลผู้ไขกุญแจตู้โทรศัพท์สาธารณะที่ติดตั้งในบริเวณเคหะชุมชนต่าง ๆ โดยในคำสั่งนั้นระบุตำแหน่งของกรรมการไว้โดยเฉพาะ และมีหัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนเป็นประธานกรรมการ ในกรณีที่บุคคลบางตำแหน่งไม่มี คำสั่งดังกล่าวก็ได้กำหนดให้หัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนแต่ตั้งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งอื่นเป็นกรรมการแทน แต่บุคคลนั้นต้องดำรงตำแหน่งเป็นพนักงานจัดการทรัพย์สินหรือพนักงานธุรการประจำสำนักงานเคหะชุมชนนั้น จำเลยดำรงตำแหน่งทางสายงานเป็นพนักงานบริการและดำรงตำแหน่งทางการบริหารเป็นหัวหน้างานสำนักงาน ดูแลเคหะชุมชน จึงไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการไขกุญแจเก็บเงินจากตู้โทรศัพท์ได้ การที่หัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนได้มอบหมายให้จำเลยมีหน้าที่ไขตู้โทรศัพท์เก็บเงินส่งเจ้าหน้าที่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งตั้งกรรมการที่ชอบด้วยกฎหมาย และถือไม่ได้ว่าเป็นการมอบหมายในฐานะผู้บังคับบัญชา หากแต่เป็นเรื่องมอบหมายงานให้จำเลยปฏิบัติแทนหัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนในฐานะประธานกรรมการ เป็นการภายในเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะจัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ในฐานะเป็นพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ การที่จำเลยเบียดบังเงินที่เก็บได้จากตู้โทรศัพท์บางส่วน จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2512 มาตรา 4 คงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่เมื่อการเคหะแห่งชาติมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งกรรมการไขกุญแจตู้โทรศัพท์ต้องเป็นไปตามคุณสมบัติที่กำหนด หากไม่มีคุณสมบัติ การมอบหมายหน้าที่ย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การเคหะแห่งชาติมีคำสั่งกำหนดบุคคลผู้ไขกุญแจตู้โทรศัพท์สาธารณะที่ติดตั้งในบริเวณเคหะชุมชนต่าง ๆ โดยในคำสั่งนั้นระบุตำแหน่งของกรรมการไว้โดยเฉพาะ และมีหัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนเป็นประธานกรรมการ ในกรณีที่บุคคลบางตำแหน่งไม่มีคำสั่งดังกล่าวก็ได้กำหนดให้หัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนแต่งตั้งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งอื่นเป็นกรรมการแทนแต่บุคคลนั้นต้องดำรงตำแหน่งเป็นพนักงานจัดการทรัพย์สินหรือพนักงานธุรการประจำสำนักงานเคหะชุมชนนั้น จำเลยดำรงตำแหน่งทางสายงานเป็นพนักงานบริการและดำรงตำแหน่งทางการบริหารเป็นหัวหน้าคนงานสำนักงานดูแลเคหะชุมชน จึงไม่มีคุณสมบัติที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการไขกุญแจเก็บเงินจากตู้โทรศัพท์ได้ การที่หัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนได้มอบหมายให้จำเลยมีหน้าที่ไขตู้โทรศัพท์เก็บเงินส่งเจ้าหน้าที่ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคำสั่งตั้งกรรมการที่ชอบด้วยกฎหมาย และถือไม่ได้ว่าเป็นการมอบหมายในฐานะผู้บังคับบัญชา หากแต่เป็นเรื่องมอบหมายงานให้จำเลยปฏิบัติแทนหัวหน้าสำนักงานดูแลเคหะชุมชนในฐานะประธานกรรมการเป็นการภายในเท่านั้น จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายในอันที่จะจัดการหรือรักษาทรัพย์ใด ๆ ในฐานะเป็นพนักงานองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ การที่จำเลยเบียดบังเงินที่เก็บได้จากตู้โทรศัพท์บางส่วนจึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 4 คงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 แต่เมื่อการเคหะแห่งชาติมิได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการมัสยิด: การแต่งตั้งต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ หากไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้ได้รับมอบอำนาจไม่มีอำนาจฟ้อง
การแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดต้องปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. 2488 มาตรา 8 ระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า) และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวกับการศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า)พ.ศ. 2492 กับพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 8 คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดไม่มีอำนาจแต่งตั้งโดยพลการ คณะกรรมการมัสยิดของโจทก์ที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้มีคำสั่งแต่งตั้ง โดยมิได้มีการประชุมชาวสัปบุรุษเพื่อเลือกตั้ง ย่อมทำให้ผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เป็นกรรมการโดยชอบและต่อมาคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้มีคำสั่งให้จำเลยกับพวกกลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโจทก์ต่อไปตามเดิมก่อนยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้องในนามมัสยิดโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการมัสยิด: การแต่งตั้งต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ หากไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะไม่มีอำนาจฟ้อง
การแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดต้องปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. 2488 มาตรา 8ระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า)และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวกับการศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า)พ.ศ. 2492 กับพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 8คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดไม่มีอำนาจแต่งตั้งโดยพลการคณะกรรมการมัสยิดของโจทก์ที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้มีคำสั่งแต่งตั้ง โดยมิได้มีการประชุมชาวสัปบุรุษเพื่อเลือกตั้งย่อมทำให้ผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เป็นกรรมการโดยชอบและต่อมาคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้มีคำสั่งให้จำเลยกับพวกกลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโจทก์ต่อไป ตามเดิมก่อนยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้องในนามมัสยิดโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการมัสยิด: การแต่งตั้งต้องเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง หากไม่ชอบด้วยกฎหมาย สิทธิในการฟ้องคดีเป็นโมฆะ
การแต่งตั้งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดต้องปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พ.ศ. 2488 มาตรา8 ระเบียบการแต่งตั้งถอดถอนกรรมการอิสลามประจำมัสยิด (สุเหร่า)และวิธีดำเนินการอันเกี่ยวกับการศาสนกิจของมัสยิด (สุเหร่า)พ.ศ. 2492 กับพระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ. 2490 มาตรา 8คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดไม่มีอำนาจแต่งตั้งโดยพลการคณะกรรมการมัสยิดของโจทก์ที่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้มีคำสั่งแต่งตั้ง โดยมิได้มีการประชุมชาวสัปบุรุษเพื่อเลือกตั้ง ย่อมทำให้ผู้ได้รับแต่งตั้งไม่เป็นกรรมการโดยชอบและต่อมาคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยได้มีคำสั่งให้จำเลยกับพวกกลับเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำมัสยิดโจทก์ต่อไปตามเดิมก่อนยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้องในนามมัสยิดโจทก์.