พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแบ่งทรัพย์สิน: เจ้าของรวมฟ้องแบ่งทรัพย์จากทายาทผู้รับโอนสิทธิ ไม่ขัดอายุความ
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยแบ่งทรัพย์ที่โจทก์อ้างว่าเป็นทรัพย์ที่โจทก์และส.ทำมาหาได้ด้วยกัน จึงเป็นฟ้องให้แบ่งทรัพย์ที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลยซึ่งเป็นทายาทของส. คดีโจทก์ไม่มีอายุความ
กรณีที่เจ้าของรวมฟ้องให้แบ่งทรัพย์จากเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง จะนำอายุความเรื่องละเมิดหรือฝากทรัพย์มาบังคับไม่ได้
กรณีที่เจ้าของรวมฟ้องให้แบ่งทรัพย์จากเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง จะนำอายุความเรื่องละเมิดหรือฝากทรัพย์มาบังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1366/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินจากการสมรสไม่จดทะเบียน: ศาลชี้ขาดแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส
แม้ผู้ร้องขัดทรัพย์จะร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดทั้งหมด เมื่อศาลฟังว่าผู้ร้องเป็นภริยาจำเลยแต่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าทรัพย์ที่โจทก์นำยึดเป็นของจำเลยและผู้ร้องคนละครึ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)
ในกรณีเช่นนี้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ที่ยึดแล้วก็หักเงินที่ขายให้แก่ผู้ร้องได้ครึ่งหนึ่ง
ในกรณีเช่นนี้ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ที่ยึดแล้วก็หักเงินที่ขายให้แก่ผู้ร้องได้ครึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 952/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านพยานภายหลังและการแบ่งทรัพย์สินร่วมระหว่างวัดกับบุคคลธรรมดา
ถ้าคู่ความฝ่ายที่ต้องนำสืบพยานภายหลังมิได้ถามค้านพยานของคู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 89 วรรค 1 ต่อมากลับนำพยานของตนมาสืบถึงข้อความดังกล่าวนั้น เช่นนี้ คู่ความฝ่ายที่นำสืบก่อนต้องคัดค้านเสียในขณะที่พยานของฝ่ายนำสืบภายหลังกำลังเบิกความ มิฉะนั้นจะมาคัดค้านภายหลังไม่ได้
ในกรณีที่วัดกับบุคคลอื่นเป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกัน เมื่อมีเหตุที่จะต้องแบ่งทรัพย์ต่อกัน ศาลก็พิพากษาให้แบ่งทรัพย์นั้นได้ และย่อมพิพากษาถึงวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ได้ ไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
ในกรณีที่วัดกับบุคคลอื่นเป็นเจ้าของทรัพย์ร่วมกัน เมื่อมีเหตุที่จะต้องแบ่งทรัพย์ต่อกัน ศาลก็พิพากษาให้แบ่งทรัพย์นั้นได้ และย่อมพิพากษาถึงวิธีการแบ่งทรัพย์ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ได้ ไม่เป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ไม่จดทะเบียนสมรสและการแบ่งทรัพย์สินเมื่อมีภริยาหลายคน
จำเลยมีผู้ร้องสลดเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ภายหลังการใช้บรรพนี้แล้วจำเลยยังได้โจทก์เป็นภริยาอีก แต่มิได้จดทะเบียนสมรส ภริยาแต่ละคนของจำเลยมีถิ่นที่อยู่ต่างตำบลกันและมีทรัพย์สินอยู่ ณ ตำบลที่อยู่ของแต่ละคน แสดงว่าได้แบ่งแยกกันเป็นส่วนสัดแล้ว ทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกันหรือทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจเอาไปขายทั้งหมดโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองทรัพย์สินเหล่านี้มา โจทก์จึงมีส่วนได้กึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดกโดยตัวแทน ไม่ต้องทำเป็นหนังสือ
การตั้งตัวแทนแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ เพราะไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ หรือสัญญายกทรัพย์ให้แก่กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินจากการแบ่งทรัพย์ระหว่างคู่ความที่ไม่สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย และการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินส่วนตัว
เป็นสามีภริยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลพิพากษาให้แบ่งทรัพย์กัน แล้วเจ้าหนี้ของสามีฟ้องสามียึดทรัพย์ที่จะแบ่งมาขายทอดตลาด ดังนี้สามีจะขอสืบพยานในคดี (ที่ถูกยึดทรัพย์) ว่าเป็นหนี้ร่วม เพื่อให้เจ้าหนี้เอาชำระจากทรัพย์สิน ส่วนของภริยาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1577/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินจากการแบ่งทรัพย์ระหว่างคู่ความไม่สมบูรณ์ และการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินส่วนตัว
เป็นสามีภริยากันโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลพิพากษาให้แบ่งทรัพย์กัน แล้วเจ้าหนี้ของสามีฟ้องสามียึดทรัพย์ที่จะแบ่งมาขายทอดตลาด ดังนี้สามีจะขอสืบพยานในคดี (ที่ถูกยึดทรัพย์) ว่าเป็นหนี้ร่วม เพื่อให้เจ้าหนี้เอาชำระจากทรัพย์สินส่วนของภริยาไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลไม่เป็นฟ้องซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีแบ่งสินบริคณห์เดิม
เติมศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ใช้หนี้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์ จะใช้หนี้ โจทก์จึงร้องขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์ของจำเลยที่ 1 ออกเป็นสินส่วนตัว ของจำเลยที่ 1 คือ ที่ดิน 2 แปลง จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีของจำเลยที่ 1 ได้ร้องคัดค้านเข้ามาว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากันแล้ว และว่า ที่ดิน 2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกออกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์ที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งในการหย่าขาดกับจำเลยที่ 1 โจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแยกเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดกันจริงโดยสุจริต และได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเด็ดขาดแล้ว ที่ดิน2 แปลงที่โจทก์ขอให้แบ่งแยกสินบริคณห์เป็นส่วนของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นทรัพย์สินที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งมากจากการหย่า เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังการหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์กันแล้ว จึงไม่มีสิทธิขอแยกสินบริคณห์ ให้ยกคำร้องคดีถึงที่สุดในศาลชั้นต้น โจทก์มาฟ้องคดีหลังขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลในที่ดิน สองแปลงที่จำเลยที่ 2 ได้รับแบ่งไปจากจำเลยที่ 1 อีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เพราะประเด็นแห่งคดีต่างกัน
โดยในคดีแรก นี้มีประเด็นว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่า จำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่
โดยในคดีแรก นี้มีประเด็นว่า จำเลยทั้งสองได้หย่าขาดจากสามีภริยาและแบ่งทรัพย์สินกันไปแล้ว จริงหรือไม่ ส่วนในคดีหลังมีประเด็นว่า จำเลยได้กระทำการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมกำหนดเงื่อนไขห้ามแบ่งทรัพย์ขัดกฎหมาย ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิแบ่งทรัพย์มรดกตามสัดส่วน
พินัยกรรมที่มีข้อความเป็นคำสั่งกำหนดให้ทรัพย์มรดกตกได้แก่บุตรชายทุกคนนั้น มีผลใช้ได้ตามกฎหมาย ส่วนข้อห้ามที่กำหนดไม่ให้แบ่งแยกทรัพย์นี้ออกไปเลยเป็นอันขาดนั้น ขัดต่อกฎหมาย ใช้บังคับไม่ได้ เพราะผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ย่อมมีสิทธิใช้สรอย จำหน่าย และขอแบ่งทรัพย์นั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 และ 1363 พินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เสียไปทั้งฉบับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งเงินค่าเช่าสินสมรสตามข้อตกลงและคำพิพากษาศาล ต้องให้แต่ละฝ่ายรับเงินส่วนที่ตนวางไว้
เงินสินสมรสที่คู่ความตกลงกันและนำมาวางศาลในระหว่างพิจารณานั้น เมื่อคดีถึงที่สุดตรงตามที่คู่ความตกลงกันไว้ การรับเงินที่วางไว้จะนำมารวมกันแล้วแบ่งไม่ได้ จะต้องให้คู่ความแต่ละฝ่าย รับเงินส่วนที่อีกฝ่ายหนึ่งนำมาวางไว้ไปจึงจะชอบ