พบผลลัพธ์ทั้งหมด 242 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6744/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือครองกรรมสิทธิ์ร่วมโดยสุจริต และสิทธิในการขอแบ่งทรัพย์สินร่วม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตดังนั้นการที่โจทก์และร. เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินโจทก์ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยสุจริตเมื่อจำเลยกล่าวอ้างว่าโจทก์หลอกลวงร. ให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมแต่พยานหลักฐานจำเลยไม่สามารถหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นได้จึงถือว่าโจทก์ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าที่ดินและบ้านพิพาทร. มารดาของจำเลยเป็นผู้ซื้อและใช้เงินตนเองเท่านั้นการที่จำเลยนำสืบและอุทธรณ์ว่าเงินที่ใช้ซื้อที่ดินและบ้านเป็นของจำเลยส่วนหนึ่งด้วยจึงเป็นการนำสืบและอุทธรณ์นอกคำให้การ โจทก์และมารดาจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยโจทก์รับโอนที่ดินและตึกแถวพิพาทมาโดยสุจริตทั้งไม่ได้มีนิติกรรมห้ามไม่ให้แบ่งโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1363วรรคแรก โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินและตึกแถวพิพาทโดยไม่ปรากฏว่ามีนิติกรรมห้ามมิให้แบ่งโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้แบ่งแยกที่ดินและตึกแถวพิพาทได้และก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์และจำเลยไปพบพนักงานสอบสวนแล้วบันทึกลงประจำวันไว้เป็นหลักฐานว่าผู้แจ้งทั้งสองมีปัญหาโต้แย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ร้อยตำรวจเอกส.พยายามไกล่เกลี่ยแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ทั้งสองฝ่ายตกลงไปฟ้องร้องกันต่อศาลแพ่งเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาว่าผู้ใดมีกรรมสิทธิ์กรณีเช่นนี้ถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์เกิดขึ้นแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา55โดยไม่จำต้องมีหนังสือบอกกล่าวขอแบ่งแยกไปยังจำเลยแล้วหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4381/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: หลักเกณฑ์การพิสูจน์การมีส่วนร่วมในการซื้อทรัพย์สิน และผลของการโอนทรัพย์สินหลังหย่า
คดีมีประเด็นเพียงว่าทรัพย์สินที่ได้มาก่อนโจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าเป็น สินสมรสหรือไม่และทรัพย์สินที่จำเลยได้มาหลังโจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่าโจทก์เป็น เจ้าของรวมด้วยหรือไม่ฉะนั้นปัญหาเรื่องการจดทะเบียนหย่าสมบูรณ์หรือไม่แม้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ให้ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ก็ตามแต่จะต้องเป็นข้อกฎหมายที่ได้มาจากข้อเท็จจริงในการ ดำเนินกระบวนพิจารณา โดยชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากพยานนอกประเด็นไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบหรือมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดงศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยเป็นข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)หาได้ไม่การที่ศาลอุทธรณ์ยกเรื่องการจดทะเบียนหย่าไม่สมบูรณ์และโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายดังกล่าว โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากันแล้วแต่ยังคงอยู่กินฉันสามีภริยาตลอดมาโดยยังมิได้แบ่งสินสมรสกันหลังจากนั้นจำเลยนำที่ดินสินสมรสไปจำนองและซื้อที่ดิน3แปลงและร่วมกันทำประโยชน์จนกระทั่งตกลงเลิกอยู่กินฉันสามีภริยากันโจทก์จำเลยจึงร่วมกันเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวต่อมาจำเลยขายที่ดินทั้งสามแปลงแล้วนำเงินไปซื้อที่ดินใหม่2แปลงและรถยนต์2คันพร้อมด้วยสิทธิการเดินรถดังนี้โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอ แบ่งทรัพย์สินดังกล่าวพร้อมสินสมรสที่ยังมิได้แบ่งด้วยกึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4369/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องแบ่งเงินค่าทดแทนและที่ดินเช่า กรณีจำเลยรับไว้แต่เพียงผู้เดียว
ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสองร่วมกันเช่านาของ บ. ต่อมาผู้ให้เช่าบอกเลิกการเช่านา ในการนี้ผู้ให้เช่าจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้เช่าทุกคนไร่ละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 69,000 บาท และผู้ให้เช่ายกที่นาที่ให้เช่าบางส่วนเนื้อที่ 200 ตารางวา ให้แก่ผู้เช่าคนละ 50 ตารางวาจำเลยทั้งสองได้รับค่าทดแทนไปทั้งหมดและรับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเนื้อที่200 ตารางวา เป็นชื่อจำเลยที่ 2 คนเดียวโดยโจทก์ทั้งสองไม่รู้เห็น เมื่อโจทก์ทั้งสองทราบเรื่อง จึงขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งเงินค่าทดแทนและที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสอง แต่จำเลยทั้งสองปฏิเสธ คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวเห็นได้ชัดแล้วว่าโจทก์ทั้งสองขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งเงินค่าทดแทนและที่ดินที่ให้เช่านามอบให้แก่โจทก์ทั้งสองตามส่วนแต่จำเลยทั้งสองรับไว้แล้วไม่ยอมแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ทั้งสองเอง ไม่ใช่เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิจากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การที่โจทก์ทั้งสองเสนอข้อพิพาทให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณาวินิจฉัย และศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็หามีผลให้สิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้แบ่งเงินค่าทดแทนและที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองได้อยู่แล้วโดยไม่ต้องอาศัยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวเสียไปไม่ และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ให้เช่านาได้จ่ายเงินค่าทดแทนและมอบที่ดินให้แก่ผู้เช่านาคือโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสอง โดยจำเลยทั้งสองรับเงินค่าทดแทนไว้แล้วและได้รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไว้ในชื่อของจำเลยที่ 2 ดังที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งเงินค่าทดแทนและจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4369/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องแบ่งเงินค่าทดแทนและที่ดิน กรณีเช่านาและโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่แบ่งให้ผู้เช่าร่วม
ตามคำฟ้องโจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสองร่วมกันเช่านาของนายบ. ต่อมาผู้ให้เช่าบอกเลิกการเช่านาในการนี้ผู้ให้เช่าจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้เช่าทุกคนไร่ละ1,000บาทรวมเป็นเงิน69,000บาทและผู้ให้เช่ายกที่นาที่ให้เช่าบางส่วนเนื้อที่200ตารางวาให้แก่ผู้เช่าคนละ50ตารางวาจำเลยทั้งสองได้รับค่าทดแทนไปทั้งหมดและรับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเนื้อที่200ตารางวาเป็นชื่อจำเลยที่2คนเดียวโดยโจทก์ทั้งสองไม่รู้เห็นเมื่อโจทก์ทั้งสองทราบเรื่องจึงขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งเงินค่าทดแทนและที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองแต่จำเลยทั้งสองปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวเห็นได้ชัดแล้วว่าโจทก์ทั้งสองขอให้จำเลยทั้งสองแบ่งเงินค่าทดแทนและที่ดินที่ให้เช่ามอบให้แก่โจทก์ทั้งสองตามส่วนแต่จำเลยทั้งสองรับไว้แล้วไม่ยอมแบ่งให้แก่โจทก์ทั้งสองเป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ทั้งสองเองไม่ใช่เป็นการฟ้องโดยอาศัยสิทธิจากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมการที่โจทก์ทั้งสองเสนอข้อพิพาทให้คณะกรรมการดังกล่าวพิจารณาวินิจฉัยและศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายก็หามีผลให้สิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้แบ่งเงินค่าทดแทนและที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองได้อยู่แล้วโดยไม่ต้องอาศัยคำวินิจฉัยของคณะกรรมการดังกล่าวเสียไปไม่และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ให้เช่านาได้จ่ายเงินค่าทดแทนและมอบที่ดินให้แก่ผู้เช่านาคือโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสองโดยจำเลยทั้งสองรับเงินค่าทดแทนไว้แล้วและได้รับจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินไว้ในชื่อของจำเลยที่2ดังที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองแบ่งเงินค่าทดแทนและจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ทั้งสองได้หาใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4247/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นผลระงับสิทธิเรียกร้องสินสมรส โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์สินอีก
กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา199วรรคหนึ่งให้โอกาสจำเลยขออนุญาตยื่นคำให้การได้โดยมิได้กำหนดระยะเวลาที่แน่นอนไว้เพียงแต่กำหนดว่าจำเลยจะต้องมาศาลเมื่อเริ่มต้นสืบพยานหรือแจ้งให้ศาลทราบก่อนเริ่มสืบพยานถึงเหตุที่จำเลยมิได้ยื่นคำให้การซึ่งจำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การก่อนวันสืบพยานโจทก์อันเป็นวันเริ่มต้นสืบพยานจำเลยย่อมมีสิทธิทำได้โดยชอบแม้ว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยจะเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายก็ตาม เมื่อจำเลยเพิ่งทราบเรื่องที่ถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่25ตุลาคม2536ประกอบกับจำเลยได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การต่อศาลในวันที่26ตุลาคม2536หลังจากทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเพียง1วันเท่านั้นพฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่าจำเลยไม่ได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ ในวันนัดชี้สองสถานโจทก์และจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าหลังจากจดทะเบียนหย่าแล้วโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยมีข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินซึ่งตรงกับทรัพย์สินที่โจทก์อ้างว่าเป็นสินสมรสตามฟ้องเมื่อข้อแถลงดังกล่าวให้ข้อเท็จจริงซึ่งมีสาระสำคัญเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้วโดยไม่ต้องทำการสืบพยานโจทก์จำเลยอีกศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะสั่งงดชี้สองสถานและงดสืบพยานโจทก์จำเลยได้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อตกลงที่เกี่ยวกับเรื่องบุตรและสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยโดยโจทก์จำเลยประสงค์จะระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับสินสมรสที่มีอยู่หรือที่จะมีขึ้นต่อไปภายหน้าให้เสร็จไปด้วยต่างฝ่ายต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850จึงเป็นสิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับสินสมรสซึ่งโจทก์ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปโจทก์คงได้สิทธิใหม่ตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวตามมาตรา852เท่านั้นโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์สินอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8252/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน สัญญาประนีประนอมยอมความ อายุความ และการแบ่งทรัพย์สินมรดก
โจทก์ที่2ถึงที่4ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนดศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีคำสั่งไม่รับโจทก์ที่2ถึงที่4ยื่นอุทธรณ์คัดค้านคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์การที่โจทก์ที่2ถึงที่4มายื่นฟ้องจำเลยคดีนี้ต่อศาลแพ่งในระหว่างที่คดีก่อนค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา173วรรคสอง จำเลยเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของพ. ตกลงกับล.โจทก์ที่2ถึงที่4และพ. เพื่อแบ่งที่พิพาทส่วนที่เป็นทรัพย์มรดกของพ. ออกไปเพื่อจะนำไปแบ่งให้แก่ทายาทพ.ต่อไปจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของพ. จึงมีสิทธิทำสัญญาดังกล่าวได้เมื่อคู่กรณีมีเจตนาทำสัญญาขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างกันอันอาจมีขึ้นในภายหน้าให้เสร็จไปจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าวทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้ปกครองผู้เยาว์ทั้งสอง โจทก์ที่1ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา168เดิม แม้พ. จะมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็เป็นเรื่องที่พ. จะต้องเรียกร้องจากจำเลยเองโจทก์ที่1ไม่มีสิทธิเรียกร้องแทนพ. และเมื่อฟ้องโจทก์ที่2ถึงที่4เป็นฟ้องซ้อนจึงไม่อาจบังคับให้จำเลยแบ่งทรัพย์ให้โจทก์ที่2ถึงที่4ได้ การที่ศาลยกฟ้องโจทก์ที่2ถึงที่4ในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่โจทก์ที่2ถึงที่4ยกขึ้นอ้างอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่ามีอยู่จริงหรือไม่จึงสมควรไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา148(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินหลังจดทะเบียนสมรส: การแบ่งสินสมรสและสิทธิเจ้าของร่วม
แม้จำเลยที่1จะซื้อที่ดินพิพาทมาภายหลังจดทะเบียนสมรสกับโจทก์แต่โจทก์กับจำเลยที่1ไม่เคยอยู่กินฉันสามีภริยากันเลยจำเลยที่1เป็นผู้ซื้อที่ดินและนำไปจำนองผ่อนชำระหนี้ฝ่ายเดียวส่วนจำเลยที่2อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่1มีส่วนในการชำระเงินดาวน์และผ่อนชำระราคาค่าที่ดินและบ้านพิพาทจึงมีส่วนเป็นเจ้าของที่ดินและบ้านพิพาทด้วยและที่จำเลยที่1ไปเอาเงินจากโจทก์มาไถ่ถอนที่ดินนำไปจำนองใหม่แล้วนำเงินไปปลูกบ้านโจทก์จึงมีส่วนร่วมในที่ดินและบ้านพิพาทด้วยเช่นกันโจทก์และจำเลยทั้งสองต่างเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและบ้านพิพาทแต่ตามพฤติการณ์ไม่อาจหยั่งทราบได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมีส่วนเป็นเจ้าของคนละเท่าใดจึงต้องสันนิษฐานว่าแต่ละคนมีส่วนเท่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1357จำเลยที่2มีส่วนหนึ่งในสามส่วนส่วนที่เหลืออีกสองในสามส่วนเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ซึ่งต้องแบ่งให้ได้ส่วนเท่ากัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดกต้องคำนึงถึงสิทธิทายาททุกคน การฟ้องแบ่งเฉพาะคู่ความอาจไม่บังคับได้
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่เจ้าพนักงานที่ดินและให้จำเลยให้ความยินยอมในการรังวัดแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมจำเลยให้การว่าที่ดินตามฟ้องเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาทคือโจทก์จำเลยและพี่น้องร่วมบิดามารดารวมทั้งหมด5คนเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกซึ่งมีทายาทคนอื่นนอกจากโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยแต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยผู้เดียวแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์การกำหนดส่วนแบ่งตามคำขอของโจทก์อาจกระทบถึงสิทธิของทายาทคนอื่นซึ่งมิได้เข้ามาในคดีได้คำขอของโจทก์จึงไม่อาจบังคับได้ศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3838/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า: บันทึกข้อตกลงเป็นโมฆะ ทรัพย์สินยังเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม ผู้ร้องมีสิทธิขอรับส่วนแบ่ง
ผู้ร้องกับลูกนี้ได้จดทะเบียนหย่ากันและได้ทำบันทึกเกี่ยวกับทรัพย์สินท้ายทะเบียนหย่าว่าที่ดินโฉนดเลขที่125591พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นของผู้ร้องส่วนที่พิพาททั้งห้าแปลงเป็นของลูกหนี้ในชั้นสอบสวนคำร้องขอให้ถอนการยึดทรัพย์ที่ดินโฉนดเลขที่125591ของผู้ร้องนั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฟังข้อเท็จจริงว่าบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินท้ายทะเบียนหย่าระหว่างผู้ร้องกับลูกหนี้ที่ตกลงกันให้ที่ดินโฉนดเลขที่125591เป็นของผู้ร้องนั้นเป็นการแสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะไม่มีผลบังคับข้อเท็จจริงดังกล่าวต้องผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ร้องเมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องขอกันส่วนเงินค่าขายทอดตลาดที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะอ้างว่าคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินโฉนดเลขที่125591เพียงแปลงเดียวไม่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทอีกห้าแปลงที่เหลือย่อมไม่ได้เพราะที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงก็เป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินท้ายทะเบียนหย่าซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์วินิจฉัยว่าเป็นการแสดงเจตนาลวงเป็นโมฆะไปแล้วนั่นเองเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทรัพย์สินของผู้ร้องกับลูกหนี้ตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่ายังไม่มีการแบ่งกันที่ดินพิพาททั้งห้าแปลงตามคำร้องจึงยังเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมของผู้ร้องและลูกหนี้ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอกันส่วนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาททั้งห้าแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทะเบียนหย่าและข้อตกลงแบ่งทรัพย์สินเป็นเอกสารมหาชน การจดทะเบียนแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิไม่ใช่การโอนทรัพย์สิน
ทะเบียนการหย่าและบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าเป็นเอกสารที่พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ประชาชน และให้ประชาชนตรวจดูอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานได้ เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสาร-มหาชน
เดิมที่พิพาทมีจำเลยที่ 1 และ ม.เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกันต่อมา จำเลยที่ 1 กับ ม.จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สิน ตกลงให้ที่พิพาทเป็นของ ม. บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวกันเรียบร้อยแล้วนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่า และที่พิพาทตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลานั้น การที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับที่พิพาทในเวลาต่อมา เป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงเท่านั้น หาใช่การทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งมีผลเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินของตนอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และขอเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีฟังได้ตามฎีกาของจำเลยที่ 2 และคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยที่ 1 กับที่ 3 จึงได้รับผลจากคำพิพากษานี้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
เดิมที่พิพาทมีจำเลยที่ 1 และ ม.เป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกันต่อมา จำเลยที่ 1 กับ ม.จดทะเบียนหย่าขาดจากกัน และทำบันทึกข้อตกลงแบ่งทรัพย์สิน ตกลงให้ที่พิพาทเป็นของ ม. บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนการหย่าให้แล้ว ถือว่าได้มีการแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวกันเรียบร้อยแล้วนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่า และที่พิพาทตกเป็นสิทธิของ ม. นับแต่เวลานั้น การที่จำเลยที่ 1จดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับที่พิพาทในเวลาต่อมา เป็นเพียงการแก้ไขชื่อผู้มีสิทธิในที่พิพาทให้ตรงความจริงเท่านั้น หาใช่การทำนิติกรรมใด ๆ ซึ่งมีผลเป็นการจำหน่าย จ่าย โอน ทรัพย์สินของตนอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ และขอเพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่
จำเลยที่ 1 กับที่ 3 มิได้ฎีกา แต่เมื่อคดีฟังได้ตามฎีกาของจำเลยที่ 2 และคดีนี้เป็นคดีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยที่ 1 กับที่ 3 จึงได้รับผลจากคำพิพากษานี้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247