พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาขัดแย้งกัน: คำพิพากษาศาลอุทธรณ์มีผลผูกพันและใช้บังคับเหนือคำพิพากษาเดิม
โจทก์เป็นผู้จัดการมรดก พ.มีหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การแบ่งปันทรัพย์มรดกเป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719แม้โจทก์ได้ทำการแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสามไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ถึงที่สุดให้โจทก์แบ่งที่ดินมรดกให้แก่จำเลยทั้งสามคนละ 1 ใน 4 ส่วน และโจทก์ได้ทำการแบ่งแยกให้แก่จำเลยทั้งสามแล้วก็ตาม แต่เมื่อคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีการฟ้องร้องก่อนที่โจทก์จะแบ่งแยกที่ดินมรดกให้จำเลยทั้งสาม ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยทั้งสามแบ่งที่ดินมรดกเป็น7 ส่วน แล้วให้ ส.ได้รับส่วนแบ่ง 1 ส่วน ดังนี้ คำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลตามคดีแพ่งทั้งสองคดีดังกล่าวย่อมขัดกัน กรณีต้องถือตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นศาลที่สูงกว่า ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 146 วรรคหนึ่ง และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ด้วย
เมื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการแบ่งแยกที่ดินมรดกออกเป็น 4 ส่วน แบ่งให้จำเลยทั้งสามคนละ 1 ใน 4 ส่วน ไม่เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์แบ่งปันทรัพย์มรดกรายนี้เสร็จสิ้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดพิพาทให้โจทก์เพื่อดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกต่อไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เมื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการแบ่งแยกที่ดินมรดกออกเป็น 4 ส่วน แบ่งให้จำเลยทั้งสามคนละ 1 ใน 4 ส่วน ไม่เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์แบ่งปันทรัพย์มรดกรายนี้เสร็จสิ้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดพิพาทให้โจทก์เพื่อดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกต่อไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6501/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกขัดแย้ง: ต้องตามคำพิพากษาศาลสูงกว่า แม้แบ่งไปแล้วก่อนหน้า
โจทก์เป็นผู้จัดการมรดก พ. มีหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การแบ่งเป็นทรัพย์มรดกเป็นไปตามคำพิพากษาของศาล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 แม้โจทก์ได้ทำการแบ่งแยกที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสามไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ถึงที่สุดให้โจทก์แบ่งที่ดินมรดกให้แก่จำเลยทั้งสามคนละ 1 ใน 4 ส่วน และโจทก์ได้ทำการแบ่งแยกให้แก่จำเลยทั้งสามแล้วก็ตาม แต่เมื่อคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีการฟ้องร้องก่อนที่โจทก์จะแบ่งแยกที่ดินมรดกให้จำเลยทั้งสาม ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้โจทก์และจำเลยทั้งสามแบ่งที่ดินมรดกเป็น 7 ส่วน แล้วให้ส. ได้รับส่วนแบ่ง 1 ส่วน ดังนี้ คำพิพากษาอันเป็นที่สุดของศาลตามคดีแพ่งทั้งสองคดีดังกล่าวย่อมขัดกัน กรณีต้องถือตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งเป็นศาลที่สูงกว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วรรคหนึ่ง และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยทั้งสาม ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคหนึ่ง ด้วย เมื่อโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกดำเนินการแบ่งแยกที่ดินมรดกออกเป็น 4 ส่วน แบ่งให้จำเลยทั้งสามคนละ 1 ใน 4 ส่วนไม่เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์แบ่งเป็นทรัพย์มรดกรายนี้เสร็จสิ้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดพิพาทให้โจทก์เพื่อดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกต่อไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ การใช้สิทธิฟ้องคดีของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6344/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การโอนที่ดินมรดกต่างแปลงกัน ถือเป็นเรื่องไม่เดียวกัน แม้ฟ้องขอแบ่งมรดกเดียวกัน
แม้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกนายตามเท่านั้นที่ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 5 เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขดำที่ 283/2535ของศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า เมื่อฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 5เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขดำที่ 283/2535 โจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 5 ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อแบ่งทรัพย์มรดกตามฟ้อง ฟ้องโจทก์ที่ 2ถึงโจทก์ที่ 5 ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนย่อมตกไปด้วยก็ตาม แต่เมื่อการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 5 คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 283/2535 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นแบบกว้าง เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 เกี่ยวกับจำเลยที่ 1เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ และเมื่อฟังว่าเป็นฟ้องซ้อนศาลก็ต้องวินิจฉัยต่อไปว่าฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ย่อมตกไปด้วยหรือไม่ ดังนั้น ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดมาชอบแล้ว
คดีก่อนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายตามโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 659 มรดกส่วนหนึ่งของ ต.ให้แก่จ.โดยไม่ชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. และนำที่ดินมาแบ่งแก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นทายาทของ ต.ส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายตามโอนที่ดินโฉนดเลขที่6278 ให้จำเลยที่ 2 โดยมิชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนำที่ดินดังกล่าวมาแบ่งแก่ทายาท ดังนี้ แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ทั้งสองคดีจะฟ้องจำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นทายาทของ ต.และขอให้แบ่งมรดกของต.ก็ตาม แต่มูลคดีที่ฟ้องเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินมรดกคนละแปลงโอนให้แก่บุคคลอื่นโดยไม่ชอบคนละคราวกัน ซึ่งถือได้ว่ามิใช่เรื่องเดียวกัน ดังนั้นฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
คดีก่อนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายตามโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 659 มรดกส่วนหนึ่งของ ต.ให้แก่จ.โดยไม่ชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. และนำที่ดินมาแบ่งแก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นทายาทของ ต.ส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายตามโอนที่ดินโฉนดเลขที่6278 ให้จำเลยที่ 2 โดยมิชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนำที่ดินดังกล่าวมาแบ่งแก่ทายาท ดังนี้ แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ทั้งสองคดีจะฟ้องจำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นทายาทของ ต.และขอให้แบ่งมรดกของต.ก็ตาม แต่มูลคดีที่ฟ้องเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินมรดกคนละแปลงโอนให้แก่บุคคลอื่นโดยไม่ชอบคนละคราวกัน ซึ่งถือได้ว่ามิใช่เรื่องเดียวกัน ดังนั้นฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6344/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนหรือไม่เมื่อฟ้องแบ่งมรดกจากจำเลยผู้จัดการมรดก โดยอ้างการโอนที่ดินมรดกคนละแปลงให้บุคคลอื่น
คดีก่อนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต.โอนที่ดินมรดกส่วนหนึ่งของ ต. ให้แก่ จ. โดยไม่ชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. และนำที่ดินมาแบ่งแก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นทายาท ส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ต. โอนที่ดินอีกแปลงหนึ่งให้จำเลยที่ 2 โดยมิชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนำที่ดินดังกล่าวมาแบ่งแก่ทายาท แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ทั้งสองคดีจะฟ้องจำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นทายาทและขอให้แบ่งมรดกของ ต. แต่มูลคดีฟ้องเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินมรดกคนละแปลงโอนให้แก่บุคคลอื่นโดยไม่ชอบคนละคราวกัน ซึ่งถือได้ว่ามิใช่เรื่องเดียวกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ผู้อื่นรับมรดก ย่อมตัดสิทธิทายาทอื่นในการเรียกร้องแบ่งมรดก
บันทึกที่จ. ให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานที่ดินใจความว่าที่ดินพิพาทมีชื่อฉ. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ซึ่งได้ตายไปแล้ววันนี้(วันที่2ธันวาคม2530)ทายาทของผู้ตายคือจำเลยได้มายื่นเรื่องราวขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้ของฉ. จ.ได้รับทราบเรื่องราวและประกาศขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้โดยตลอดแล้วจ. เป็นทายาทของผู้ตายมีสิทธิที่จะได้รับมรดกที่ดินแปลงนี้ด้วยแต่จ. ไม่ประสงค์จะขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่อย่างใดและยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ขอรับมรดกที่ดินแปลงนี้แต่เพียงผู้เดียวเช่นนี้ถ้อยคำของจ.เป็นบันทึกที่เจ้าพนักงานที่ดินปฏิบัติไปตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา81ประกอบกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับที่24(พ.ศ.2516)ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ.2497ซึ่งถ้อยคำของจ. ดังกล่าวไม่ใช่กรณีทายาทสละมรดกตามความหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1612เพราะการสละมรดกตามมาตรานี้หมายถึงการสละส่วนหนึ่งของตนโดยไม่เจาะจงว่าจะให้แก่ทายาทคนใดแต่บันทึกถ้อยคำของนายจำรัสดังกล่าวมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความมีผลบังคับได้ตามมาตรา850,852และ1750ทั้งตามโฉนดที่ดินพิพาทก็ปรากฏว่าระบุชื่อจำเลยเป็นผู้รับโอนเสร็จสิ้นอันถือได้ว่าจำเลยผู้มีชื่อในโฉนดได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้โดยสมบูรณ์ตามกฎหมายที่ดินแล้วโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของจ. จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งที่ดินแปลงนี้จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 446/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกไม่ชอบด้วยก.ม. ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่แบ่งให้ทายาท แม้มีการโอนทรัพย์สินแล้ว
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก.ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้าโดยไม่แบ่งให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาท โจทก์ได้ฟ้องผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ให้แบ่งทรัพย์มรดกแก่โจทก์ตามส่วน ในคดีดังกล่าวศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า การแบ่งปันทรัพย์มรดกของผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ดังกล่าวเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ชอบที่จะขอให้แบ่งปันทรัพย์มรดกใหม่ได้ ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3ในฐานะผู้จัดการมรดกยังมีหน้าที่ที่จะต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่โจทก์ตามส่วน โดยผลแห่งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวย่อมมีความหมายว่า แม้จะมีการโอนที่ดินพิพาทใส่ชื่อผู้ร้องทั้งห้าเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ก็เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายผู้ร้องทั้งห้าจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและการจัดการทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบนั้นย่อมทำให้การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่สิ้นสุดลง ที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ ก.ยังคงเป็นทรัพย์สินในกองมรดก ก.ผู้ตาย และยังคงอยู่ในระหว่างการจัดการแบ่งทรัพย์มรดก ทั้งโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะขอแบ่งปันทรัพย์มรดกใหม่ได้ โดยไม่จำต้องฟ้องเพิกถอนการโอนดังกล่าว
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก.ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้า เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518 ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม2524 โจทก์ได้ฟ้องคดีเพื่อแบ่งทรัพย์มรดก กรณีถือได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งห้าเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตน จะครอบครองช้านานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
ที่ผู้ร้องทั้งห้าฎีกาว่า ในคดีที่โจทก์ฟ้องคดีขอแบ่งทรัพย์มรดกนั้นโจทก์ไม่ได้ฟ้องผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดก และผู้ร้องที่ 4 ที่ 5 เป็นจำเลย ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องทั้งห้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้น เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก.ได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งห้า เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518 ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม2524 โจทก์ได้ฟ้องคดีเพื่อแบ่งทรัพย์มรดก กรณีถือได้ว่าการครอบครองที่ดินพิพาทของจำเลยทั้งห้าเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ถือว่าเป็นการครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตน จะครอบครองช้านานเท่าใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง
ที่ผู้ร้องทั้งห้าฎีกาว่า ในคดีที่โจทก์ฟ้องคดีขอแบ่งทรัพย์มรดกนั้นโจทก์ไม่ได้ฟ้องผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะผู้จัดการมรดก และผู้ร้องที่ 4 ที่ 5 เป็นจำเลย ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจึงไม่ผูกพันผู้ร้องทั้งห้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกนั้น เป็นข้อที่ผู้ร้องมิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก: สัญญาแบ่งมรดก vs. การแบ่งโดยการครอบครองเป็นส่วนสัด และประเด็นการยกข้อกล่าวหาใหม่ในชั้นฎีกา
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 การแบ่งมรดกนั้นสามารถกระทำได้สองประการคือ โดยทายาทเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด ซึ่งไม่มีแบบที่กฎหมายกำหนดไว้และไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือทำสัญญาแบ่งมรดกเป็นหนังสือประการหนึ่งกับการแบ่งมรดกโดยทำสัญญาเป็นหนังสืออีกประการหนึ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิเรียกร้องตามข้อตกลงการแบ่งมรดกโดยการแบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดระหว่างโจทก์กับ ค.มารดาจำเลยทั้งห้า จำเลยทั้งห้าได้ให้การและฟ้องแย้งว่า ค.ไม่เคยตกลงแบ่งมรดกและครอบครองเป็นส่วนสัด แต่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันและแทนกัน จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเลยว่าการแบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือตามเอกสารหมาย ล.7 ดังนี้ ที่จำเลยฎีกาว่าแบบบันทึกการสอบสวนขอจดทะเบียนโอนมรดกประเภทโอนมรดกตามเอกสารหมาย ล.7 เป็นสัญญาแบ่งมรดก จึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยการครอบครองเป็นส่วนสัด และการที่สัญญาแบ่งมรดกไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1750การแบ่งมรดกนั้นสามารถกระทำได้สอบประการคือโดยทายาทเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด ซึ่งไม่มีแบบที่กฎหมายกำหนดไว้และไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือทำสัญญาแบ่งมรดกเป็นหนังสือประการหนึ่งกับการแบ่งมรดกโดยทำสัญญาเป็นหนังสืออีกประการหนึ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิเรียกร้องตามข้อตกลงการแบ่งมรดกโดยการแบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดระหว่างโจทก์กับ ค.มารดาจำเลยทั้งห้าจำเลยทั้งห้าได้ให้การและฟ้องแย้งว่า ค.ไม่เคยตกลงแบ่งมรดกและครอบครองเป็นส่วนสัด แต่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันและแทนกัน จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเลยว่าการแบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือตามเอกสารหมาย ล.7 ดังนี้ ที่จำเลยฎีกาว่าแบบบันทึกการสอบสวนขอจดทะเบียนโอนมรดกประเภทโอนมรดกตามเอกสารหมาย ล.7 เป็นสัญญาแบ่งมรดก จึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยการครอบครองเป็นส่วนสัดและการพิสูจน์ข้อตกลงแบ่งมรดก
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1750การแบ่งมรดกนั้นสามารถกระทำได้สอบประการคือโดยทายาทเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัดซึ่งไม่มีแบบที่กฎหมายกำหนดไว้และไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือทำสัญญาแบ่งมรดกเป็นหนังสือประการหนึ่งกับการแบ่งมรดกโดยทำสัญญาเป็นหนังสืออีกประการหนึ่งคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิเรียกร้องตามข้อตกลงการแบ่งมรดกโดยการแบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดระหว่างโจทก์กับค.มารดาจำเลยทั้งห้าจำเลยทั้งห้าได้ให้การและฟ้องแย้งว่าค.ไม่เคยตกลงแบ่งมรดกและครอบครองเป็นส่วนสัดแต่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันและแทนกันจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งเลยว่าการแบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือตามเอกสารหมายล.7ดังนี้ที่จำเลยฎีกาว่าแบบบันทึกการสอบสวนขอจดทะเบียนโอนมรดกประเภทโอนมรดกตามเอกสารหมายล.7เป็นสัญญาแบ่งมรดกจึงเป็นเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้บังคับคดีจากกองมรดกได้ก่อนแบ่งมรดก แม้มีข้อพิพาทเรื่องผู้จัดการมรดก
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิขอให้บังคับคดีเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของจำเลยได้โดยไม่ต้องรอให้มีผู้จัดการมรดกหรือแบ่งมรดกระหว่างทายาทของจำเลยก่อน การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยแม้โจทก์จะคัดค้านและขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลย และคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ก็ไม่ใช่เหตุสมควรที่ศาลจะสั่งงดการบังคับคดีไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2)