พบผลลัพธ์ทั้งหมด 93 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าจากกรณีแยกกันอยู่และไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู ทำให้โจทก์เดือดร้อนเกินควร
โจทก์จำเลยแต่งงานจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภริยากัน จำเลยออกจากบ้านโจทก์ไปอยู่กับมารดา ไม่ยอมอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ เป็นการไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน และเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง ซึ่งเมื่อคำนึงถึงสภาพฐานะความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาแล้ว เป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์เดือดร้อนเกินควร เข้าเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(6) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1568/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าเนื่องจากภริยาออกจากบ้านโดยไม่กลับ และแจ้งให้จัดการเรื่องหย่า ถือเป็นการละทิ้งร้างเกินกว่าหนึ่งปี
ภริยาออกจากบ้านที่อยู่กินกับสามีไปอยู่ที่อื่น ไม่กลับตามคำขอร้องของสามี และบอกให้สามีจัดการเรื่องหย่า ภริยาจงใจละทิ้งร้างไปเกิน 1 ปีสามีฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสทั้งสองฝ่าย แม้จะแยกกันอยู่
โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของช. โดยสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5และไม่ได้หย่าร้างกัน ช. คงอยู่ร่วมบ้านกับจำเลยที่ 2 มิได้อยู่ กับโจทก์ ช. ได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม โดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอมคงได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 โดยขณะที่ ช. ได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 ซึ่งใช้บังคับ อยู่ ขณะจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมบัญญัติว่า "ผู้ที่จะรับ บุตรบุญธรรม ... ฯลฯ .... ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอม ของคู่สมรสนั้นก่อน เว้นแต่คู่สมรสนั้นวิกลจริตหรือสูญหายไป ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี" เห็นได้ว่ากฎหมายประสงค์จะคุ้มครองสิทธิ ของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งด้วยเมื่อโจทก์เป็นภริยาคนหนึ่งของ ช. การที่ ช.รับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมจึงจำต้องได้รับความ ยินยอมจากโจทก์ด้วย จะได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวไม่ได้ แม้โจทก์จะมิได้อยู่ร่วมบ้านกับ ช. โจทก์ก็ไม่ใช่บุคคลวิกลจริตหรือสูญหาย ไม่เป็นเหตุให้ ช.รับจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ การจดทะเบียนรับ บุตรบุญธรรมของ ช. ดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2524)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสทั้งสองฝ่าย แม้จะแยกกันอยู่
โจทก์และจำเลยที่ 2 ต่างเป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของช. โดยสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5และไม่ได้หย่าร้างกัน ช. คงอยู่ร่วมบ้านกับจำเลยที่ 2 มิได้อยู่ กับโจทก์ ช. ได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรม โดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอมคงได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 โดยขณะที่ ช. ได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1584 ซึ่งใช้บังคับ อยู่ ขณะจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมบัญญัติว่า 'ผู้ที่จะรับ บุตรบุญธรรม ... ฯลฯ .... ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้องได้รับความยินยอม ของคู่สมรสนั้นก่อน เว้นแต่คู่สมรสนั้นวิกลจริตหรือสูญหายไป ไม่น้อยกว่าหนึ่งปี' เห็นได้ว่ากฎหมายประสงค์จะคุ้มครองสิทธิ ของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งด้วยเมื่อโจทก์เป็นภริยาคนหนึ่งของ ช. การที่ ช.รับจำเลยที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมจึงจำต้องได้รับความ ยินยอมจากโจทก์ด้วย จะได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เพียงผู้เดียวไม่ได้ แม้โจทก์จะมิได้อยู่ร่วมบ้านกับ ช. โจทก์ก็ไม่ใช่บุคคลวิกลจริตหรือสูญหาย ไม่เป็นเหตุให้ ช.รับจำเลยที่ 1 ได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ การจดทะเบียนรับ บุตรบุญธรรมของ ช. ดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2524)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินระหว่างร้าง: การแยกกันอยู่ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก่อนประมวลกฎหมายแพ่งฯ ไม่ถือเป็นสินสมรส
สามีภริยาก่อนใช้บรรพ 5 พ.ศ.2477 ภริยาแยกไปอยู่ต่างหากจากสามี ไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกันอีกเลยจนสามีตาย กำหนดเวลาทิ้งกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียในขณะนั้นอย่างมากเพียง 1 ปี 4 เดือน จึงถือเป็นการร้างกันแล้ว ทรัพย์สินที่เกิดในระหว่างร้างไม่เป็นสินสมรส สามีตายภริยาร้าง ไม่มีส่วนแบ่งสินสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าเนื่องจากสามีจงใจทิ้งร้างและไม่เลี้ยงดู แม้ภริยาจะกลับไปอยู่บ้านเดิมเป็นเวลานาน
ภริยาแยกไปอยู่บ้านเดิมได้ 25 ปี สามีไม่ได้ส่งเสียเลี้ยงดู เหตุที่แยกไปเพราะสามีบีบบังคับ เป็นการที่สามีจงใจทิ้งร้างภริยาและไม่เลี้ยงดูภริยา ภริยาหย่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส, การแยกกันอยู่, และการโอนทรัพย์สินโดยเสน่หา
ที่ดินซึ่งภริยาก่อนบรรพ 5 มีอยู่ก่อนสมรสและอาจนำมาใช้ประโยชน์ด้วยกันได้ ไม่ต้องเอามาระคนปนกับสินเดิมของสามีก็ถือเป็นสินเดิมของภริยา
สามีภริยาก่อนบรรพ 5 การขาดจากสมรสต้องบังคับตามบรรพ 5การยินยอมขาดกันเองต้องทำเป็นหนังสือมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
การที่สามีภริยาไม่ได้หลับนอนร่วมเพศกัน แต่อยู่คนละบ้านในบริเวณเดียวกัน ไม่เป็นการทิ้งร้างกัน
สามีมีภริยาใหม่แต่ไม่จดทะเบียน ทรัพย์ที่ได้มาใหม่จะมีส่วนได้ร่วมกับสามีหรือไม่. ก็ยังเป็นสินสมรสระหว่างสามีกับภริยาเดิม และใส่ชื่อภริยาในโฉนดร่วมด้วยได้ แต่จะระบุส่วนของภริยาว่าหนึ่งในสามโดยยังไม่ถึงเวลาแบ่งทรัพย์สินกันไม่ได้
สามีโอนที่ดินสินสมรสให้โดยเสน่หาแก่ภริยาใหม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนโดยภริยามิได้ยินยอมเป็นหนังสือ การเพิกถอนต้องทำทั้งหมดมิใช่เฉพาะส่วนของภริยา
สามีภริยาก่อนบรรพ 5 การขาดจากสมรสต้องบังคับตามบรรพ 5การยินยอมขาดกันเองต้องทำเป็นหนังสือมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
การที่สามีภริยาไม่ได้หลับนอนร่วมเพศกัน แต่อยู่คนละบ้านในบริเวณเดียวกัน ไม่เป็นการทิ้งร้างกัน
สามีมีภริยาใหม่แต่ไม่จดทะเบียน ทรัพย์ที่ได้มาใหม่จะมีส่วนได้ร่วมกับสามีหรือไม่. ก็ยังเป็นสินสมรสระหว่างสามีกับภริยาเดิม และใส่ชื่อภริยาในโฉนดร่วมด้วยได้ แต่จะระบุส่วนของภริยาว่าหนึ่งในสามโดยยังไม่ถึงเวลาแบ่งทรัพย์สินกันไม่ได้
สามีโอนที่ดินสินสมรสให้โดยเสน่หาแก่ภริยาใหม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนโดยภริยามิได้ยินยอมเป็นหนังสือ การเพิกถอนต้องทำทั้งหมดมิใช่เฉพาะส่วนของภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69-70/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ยังไม่สิ้นสุดตามกฎหมาย แม้แยกกันอยู่ และสิทธิในสินสมรสของภริยาหลวง
สามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5แยกกันอยู่โดยไม่มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา ภายหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยมิได้ทำหนังสือหย่าขาดกัน ยังถือว่าเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย
สามีและภริยาน้อยอันชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มีสิทธิร้องขอให้นายทะเบียนบันทึกฐานะของภริยาได้ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 แต่ไม่มีสิทธิจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉะนั้นภริยาหลวงย่อมขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสดังกล่าวได้
สามีและภริยาน้อยอันชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มีสิทธิร้องขอให้นายทะเบียนบันทึกฐานะของภริยาได้ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 แต่ไม่มีสิทธิจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉะนั้นภริยาหลวงย่อมขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 69-70/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ยังไม่สิ้นสุดแม้แยกกันอยู่ และผลของการจดทะเบียนสมรสใหม่
สามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แยกกันอยู่โดย ไม่มีความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา ภายหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยมิได้ทำหนังสือหย่าขาดกัน ยังถือว่าเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย
สามีและภริยาน้อยอันชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มีสิทธิร้องขอให้นายทะเบียนบันทึกฐานะของภริยาได้ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 แต่ไม่มีสิทธิจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉะนั้น ภริยาหลวงย่อมขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสดังกล่าวได้
สามีและภริยาน้อยอันชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 มีสิทธิร้องขอให้นายทะเบียนบันทึกฐานะของภริยาได้ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 แต่ไม่มีสิทธิจดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉะนั้น ภริยาหลวงย่อมขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนสมรสดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสระหว่างร้าง: ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างแต่ยังไม่หย่าขาด ไม่เป็นสินสมรส หากได้มาโดยฝ่ายหนึ่งหามาเอง
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ต่อมาร้างกัน แต่ยังมิได้หย่าขาดจากกัน ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างกันแม้ยังมิได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมายก็ไม่เป็นสินสมรส เพราะเหตุว่าทรัพย์สินมิใช่ได้มาโดยการอยู่กินสมรสร่วมกัน หากเป็นโดยฝ่ายหนึ่งหามาได้ตามลำพังและแยกไว้เป็นส่วนตัวแล้ว(อ้างฎีกาที่ 1235/2494,991/2501) เมื่อไม่เป็นสินสมรส จำเลยก็มีสิทธิยกให้โดยเสน่หาได้ โดยไม่จำต้องรับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นภริยาก่อน
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าพันบาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คงฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและในการวินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่ข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างกันหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยถึง ศาลฎีกาจึงยังมิอาจที่จะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามฎีกาจำเลยได้เพราะข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างโจทก์จำเลยร้างกันจริงหรือไม่ แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกินห้าพันบาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น คงฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายและในการวินิจฉัยปัญหานี้ ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่ข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างร้างกันหรือไม่ ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยถึง ศาลฎีกาจึงยังมิอาจที่จะวินิจฉัยข้อกฎหมายตามฎีกาจำเลยได้เพราะข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาไม่พอแก่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงในปัญหาที่ว่าห้องพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างโจทก์จำเลยร้างกันจริงหรือไม่ แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี