คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โฉนด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 214 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 319/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิในทรัพย์สินร่วม และผลของการโอนกรรมสิทธิ์เมื่อโฉนดมีชื่อผู้รับโอนแต่เพียงผู้เดียว
เมื่อสามีทำหนังสือสละสิทธิในทรัพย์สินทั้งปวงให้แก่ภรรยาที่พิพาทซึ่งในโฉนดมีชื่อภรรยาถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของภรรยาโดยสมบูรณ์ หาจำต้องจดทะเบียนกันอีกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ผูกพันตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับลูกหนี้ การคืนโฉนดตามสัญญาจำนองชอบด้วยกฎหมาย
ร. เป็นหนี้เงินกู้เบิกเกินบัญชีธนาคารจำเลยที่ 1 ร.ตกลงกับโจทก์ว่าหากโจทก์ชำระหนี้ของ ร.ให้แก่จำเลยที่ 1 ครบถ้วน ร.จะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 30052 พร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำนองไว้กับจำเลยที่ 1 ให้โจทก์ทันทีต่อมาโจทก์ชำระหนี้แทน ร.ครบถ้วนแล้ว โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยที่ 1ว่า ขออย่าได้มอบโฉนดที่ดินให้ ร.ไปจนกว่าจะได้รับความยินยอมจากโจทก์ ดังนี้เป็นหน้าที่ของ ร. ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงนั้น แม้ข้อตกลงนี้จะทำขึ้นที่ธนาคารจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการสาขาและเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ลงชื่อเป็นพยาน แต่ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ร. หาผูกพันจำเลยทั้งสามให้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามไม่ ส่วนที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 ก็เป็นการชำระในนาม ร. ซึ่งก็เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ร. การที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มอบโฉนดที่ดินคืนให้แก่ ร. เพื่อไปไถ่ถอนจำนอง จึงเป็นการปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาจำนองโดยชอบแม้การคืนโฉนดที่ดินจะมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายและให้โจทก์เสียหาย จำเลยทั้งสามจึงไม่ต้องรับผิดฐานกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3153/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาไม่ส่งคืนโฉนดไม่ถือฉ้อโกง-ขาดองค์ประกอบความผิดโกงเจ้าหนี้
มารดาจำเลยที่1เคยกู้ยืมเงินโจทก์และมอบโฉนดที่ดินให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันหลังจากมารดาจำเลยถึงแก่กรรมแล้วจำเลยที่1ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ยอมชำระหนี้แทนมารดาโดยจะโอนที่ดินให้โจทก์ทั้งแปลงต่อมาจำเลยที่1ได้ขอยืมโฉนดดังกล่าวจากโจทก์อ้างว่าจะนำไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอรับมรดกและเจ้าพนักงานที่ดินได้ขอโฉนดดังกล่าวไว้เพื่อประกาศรับมรดกให้ครบ60วันเสียก่อนซึ่งความจริงได้มีการประกาศเพื่อรับมรดกมาก่อนและครบกำหนดแล้วจำเลยที่1ที่2ได้จดทะเบียนถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินดังกล่าวและเจ้าพนักงานที่ดินก็คืนโฉนดให้ในวันนั้นเองแล้วจำเลยที่1ได้นำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนองเฉพาะส่วนของตนกับบุคคลอื่นดังนี้แม้จำเลยที่1จะไม่ได้เอาโฉนดที่ดินมาเพื่อใช้รับมรดกอย่างเดียวตามที่บอกกล่าวไว้ในตอนขอรับเอาโฉนดที่ดินจากโจทก์แต่โจทก์ก็มอบให้ด้วยความสมัครใจของตนเองเพราะประสงค์จะให้จำเลยที่1รับมรดกที่ดินนั้นแล้วโอนให้โจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้หากจำเลยทั้งสองจะได้หลอกลวงโจทก์ในเรื่องเจ้าพนักงานที่ดินยึดโฉนดที่ดินไว้เพื่อประกาศรับมรดก60วันจริงก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองมีเจตนาจะไม่ส่งโฉนดที่ดินคืนโจทก์เท่านั้นหาใช่เป็นการหลอกลวงเพื่อเอาโฉนดที่ดินจากโจทก์ไม่การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เข้าองค์ประกอบความผิดฐานฉ้อโกงตามมาตรา341. ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยได้กระทำการโดยรู้อยู่ว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ใช้หรือจะใช้สิทธิเรียกร้องทางศาลให้จำเลยที่1ชำระหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามมาตรา350.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้การซื้อขายไม่สมบูรณ์และมีชื่อผู้เยาว์ในโฉนด
ธ.เป็นบิดาและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยธ.ซื้อที่ดินพิพาทมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง แต่ใส่ชื่อจำเลยผู้เยาว์ไว้ในโฉนดแทน แล้วได้ขายที่ดินและตึกพิพาทให้โจทก์แม้ธ.จะขายให้โจทก์โดยมิได้รับอนุญาตจากศาล ก็ไม่ทำให้สิทธิการได้มาของโจทก์เสียไป เพราะจำเลยเพียงแต่มีชื่อในโฉนดเป็นการถือกรรมสิทธิ์แทน ธ.เท่านั้น หาใช่ทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยผู้เยาว์ไม่ หลังจากที่โจทก์ซื้อทรัพย์พิพาทจาก ธ. ธ.ไม่อาจโอนให้ได้เพราะโฉนดมีชื่อจำเลยซึ่งเป็นบุตรผู้เยาว์ ก็มิได้มีการตกลงกันเรื่องการโอนทางทะเบียนอีกเป็นการแน่นอนว่าจะโอนกันหรือไม่เมื่อใด โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ใช้เป็นสำนักงานสาขาสำเพ็ง ลงบัญชีว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์ เสียค่าภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรือนเอง แจ้งให้ผู้ตรวจการธนาคารแห่งประเทศไทยทราบทุกครั้งว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ทั้งยังทำหนังสือแจ้งให้กระทรวงการคลังทราบทั้งยังขออนุมัติรื้อถอนตัวอาคารเมื่อย้ายสำนักงานสาขาไปตั้งยังที่แห่งใหม่ ซึ่งกระทรวงการคลังก็อนุมัติแสดงว่าทั้งโจทก์และนายธรรมนูญไม่ได้คำนึงถึงการที่จะทำการจดทะเบียนการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทให้ถูกต้องตามกฎหมายกันต่อไป ถือได้ว่านายธรรมนูญสละการครอบครองทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์โดยเด็ดขาด การครอบครองของโจทก์จึงเป็นการครอบครองอย่างเป็นเจ้าของ หาใช่ครอบครองตามสัญญาจะซื้อขายไม่ เมื่อเกินสิบปีโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีตัวแทนยืมโฉนดแล้วไม่คืน และการโอนมรดกที่ดินโดยเจตนาให้บุตร
โจทก์บรรยายฟ้องความว่า ที่ดินตามโฉนดทั้งสามฉบับจะ ต้องตกได้แก่โจทก์ทั้งสามตามลำดับตามคำสั่งของนางผิวจำเลยขอยืมโฉนดที่ดินดังกล่าวไปจากนายเงินผู้จัดการมรดกเพื่อนำไปค้ำประกันเงินกู้ จำนองและจำนำต่อธนาคารและเอกชนแล้วไม่คืนให้ดังนี้ ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเป็นมรดก ของนางผิวนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นทายาทกับ นายเงินซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก มีความผูกพันกันในฐานะตัวการกับตัวแทน เมื่อนายเงินซึ่งเป็นตัวแทนให้จำเลยยืมโฉนดที่ดินไป แล้วไม่เรียกคืน โจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมมีสิทธิติดตามและเอาโฉนดที่ดินคืนจากจำเลยได้โจทก์จึง มีอำนาจฟ้อง
แม้ที่ดินที่นางผิวจดทะเบียนรับโอนมรดกจากนายเชยเป็น สินสมรสระหว่างนายเงินกับนางผิว แต่นางผิวได้สั่งด้วย วาจาแบ่งที่ดินให้บุตรทั้งแปดคนโดยกำหนดว่าที่ดินแปลงใดและตอนใดได้แก่บุตรคนใด โดยสั่งไว้ก่อนนางผิวถึงแก่กรรมกว่า 10 ปี โดยความเห็นชอบของนาย เงินจากนั้นบุตรทุกคนต่างเข้าครองที่ดินส่วนของตนตลอดมาโจทก์ทั้งสามจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ได้รับแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์ทั้งสามครอบครองอยู่ตรงกับโฉนดเลขที่ 15338, 15339และ 8104ตามลำดับ นายเงินก็ไม่มีสิทธิโอนที่ดินตามโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2675/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินมรดกที่แบ่งโดยเจตนาของผู้ตาย การฟ้องแย่งคืนโฉนดจากผู้รับโอนจากการกระทำของผู้จัดการมรดก
โจทก์บรรยายฟ้องความว่า ที่ดินตามโฉนดทั้งสามฉบับจะ ต้องตกได้แก่โจทก์ทั้งสามตามลำดับตามคำสั่งของนางผิวจำเลยขอยืมโฉนดที่ดินดังกล่าวไปจากนายเงินผู้จัดการมรดกเพื่อนำไปค้ำประกันเงินกู้ จำนอง และจำนำต่อธนาคารและเอกชนแล้วไม่คืนให้ดังนี้ ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเป็นมรดก ของนางผิวนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นทายาทกับ นายเงินซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก มีความผูกพันกันในฐานะตัวการกับตัวแทน เมื่อนายเงินซึ่งเป็นตัวแทนให้จำเลยยืมโฉนดที่ดินไป แล้วไม่เรียกคืน โจทก์ซึ่งเป็นตัวการย่อมมีสิทธิติดตามและเอาโฉนดที่ดินคืนจากจำเลยได้โจทก์จึง มีอำนาจฟ้อง แม้ที่ดินที่นางผิวจดทะเบียนรับโอนมรดกจากนายเชยเป็น สินสมรสระหว่างนายเงินกับนางผิว แต่นางผิวได้สั่งด้วย วาจาแบ่งที่ดินให้บุตรทั้งแปดคนโดยกำหนดว่าที่ดินแปลงใดและตอนใดได้แก่บุตรคนใด โดยสั่งไว้ก่อนนางผิวถึงแก่กรรมกว่า 10 ปี โดยความเห็นชอบของนายเงินจาก นั้นบุตรทุกคนต่างเข้าครองที่ดินส่วนของตนตลอดมาโจทก์ทั้งสามจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ได้รับแบ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 เมื่อที่ดินซึ่งโจทก์ทั้งสามครอบครองอยู่ตรงกับโฉนดเลขที่ 15338,15339และ 8104 ตามลำดับ นายเงินก็ไม่มีสิทธิโอนที่ดินตามโฉนดดังกล่าวให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1658/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินมีเงื่อนไขโฉนดเป็นสำคัญ ผู้ขายผิดสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำคืน
สัญญาจะซื้อขายที่ดินมีข้อความระบุชัดว่า ผู้จะซื้อซึ่งหมายถึงโจทก์จะต้องจ่ายเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือทั้งหมดต่อเมื่อผู้ขายคือจำเลย จัดทำหนังสือสำคัญให้แล้วเสร็จ (โฉนด) ภายใน 12 เดือน ถ้าหลักฐาน ไม่เสร็จผู้ซื้อไม่รับโอน โดยผู้จะซื้อจะต้องจ่ายเงินให้หมดงวดสุดท้าย ภายในวันครบกำหนดที่ให้จำเลยจัดทำหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน แสดงให้เห็นเจตนาของผู้ซื้อที่ยึดถือเอาโฉนดที่ดินเป็นข้อสำคัญ เมื่อจำเลยมิได้จัดการทำโฉนดที่ดิน แปลงที่จะขายให้แก่โจทก์ จนเลยระยะเวลาตามสัญญา เป็นการละเลยไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิเลิกสัญญาได้ โดยมิพักต้องบอกกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 แต่เมื่อโจทก์ได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลย ตามตำบลที่อยู่ของจำเลยในปัจจุบัน โดยส่งทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับแต่จำเลยไม่ยอมรับ กรณีถือได้ว่าโจทก์ ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้วจำเลยต้องคืนมัดจำให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 156/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในสินสมรส: การขอเพิ่มชื่อในโฉนด
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยที่มีเอกสารคือโฉนดเป็นสำคัญ. โจทก์ซึ่งเป็นภริยาจะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในโฉนดนั้นก็ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3889/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสภาพหนี้ทายาท: การชำระหนี้และคืนโฉนดถือเป็นการยอมรับหนี้โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
จำเลยทั้งหกเป็นทายาทผู้รับมรดกของเจ้ามรดกซึ่งเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ตามสัญญากู้ การที่จำเลยทั้งหกรับว่าจะชดใช้หรือให้โจทก์และได้ขอยืมโฉนดที่โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกันไปจากโจทก์เพื่อนำไปขอจดทะเบียนรับมรดกแล้วนำมาคืนให้โจทก์ยึดถือไว้ตามเดิมนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 หาจำต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือเสมอไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการยึดโฉนดเพื่อชำระหนี้: ผู้จัดการมรดกผูกพันตามสัญญา
โจทก์ให้จำเลยชำระหนี้แก่ ส.แทนโจทก์โดยมีข้อตกลงกันว่าถ้าโจทก์ต้องการที่ดินแปลงนี้โจทก์จะต้องชำระเงินให้แก่จำเลยหรือสามีจำนวนหนึ่ง และให้จำเลยกับสามียึดถือโฉนด จำเลยและสามีจึงมีสิทธิยึดโฉนดไว้จนกว่าโจทก์จะได้ปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จะอาศัยอำนาจของผู้จัดการมรดกเรียกร้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดให้แก่โจทก์ โดยโจทก์มิได้ปฏิบัติตามข้อผูกพันดังกล่าวหาได้ไม่
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องขอให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินซึ่งเป็นมรดก แม้จำเลยจะกล่าวแก้ในคำให้การเป็นทำนองว่าที่ดินตามโฉนดฉบับนี้เป็นของจำเลย แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยไม่จำต้องส่งมอบโฉนดที่ดินแก่โจทก์ เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณราคาเป็นเงินได้ มิใช่เป็นคดีพิพาทอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
of 22