พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8124/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกโฉนดที่ดิน: การโต้แย้งสิทธิและการพิจารณาหลักเกณฑ์การครอบครองก่อนกฎหมายหวงห้าม
โจทก์ยื่นคำขอรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินต่อจำเลย จำเลยเห็นว่าที่ดินของโจทก์เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่จะออกโฉนดที่ดินให้ได้จึงประกาศจะแจกโฉนดที่ดินให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2524 โดยกำหนดว่าถ้าผู้ใดจะคัดค้านให้ยื่นคำคัดค้านภายใน 30 วัน นับแต่วันประกาศ หากกระทรวงการคลังได้รับแจ้งจากจำเลยตั้งแต่ปี 2526 แล้วมิได้คัดค้านอย่างใดจนบัดนี้ต้องถือว่าไม่ติดใจคัดค้านเพราะเนิ่นนานเกินสมควรแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยปฏิเสธไม่ยอมแจกโฉนดที่ดินให้โจทก์โดยอ้างว่ากระทรวงการคลังยังไม่ตอบไม่ขัดข้องและอ้างหนังสือสั่งการของกรมที่ดินแจ้งทางปฏิบัติเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดินซึ่งเป็นเรื่องภายใน ถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ในการแก้ไขโฉนดที่ดินคลาดเคลื่อน ไม่จำกัดอายุความ
โจทก์ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ย่อมมีสิทธิขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจแก้ไขโฉนดที่ดินของโจทก์ ที่ได้ออกไปโดยคลาดเคลื่อนให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้โดยไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุมจากเนื้อที่ดินไม่สอดคล้องกันในสัญญาซื้อขาย, ใบจอง, และโฉนดที่ดิน ทำให้ขาดความชัดเจนในการระบุขอบเขตการรุกล้ำ
เอกสารท้ายฟ้องเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง คำฟ้องจะชัดแจ้ง หรือไม่จึงต้องพิจารณาคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องทั้งหมดประกอบกัน โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามใบจอง น.ส.3 และโฉนดที่ดินพิพาทซึ่งมีชื่อจำเลยเมื่อปรากฏตามสำเนาสัญญาซื้อขายที่ดินเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ว่า ที่ดินที่โจทก์อ้างว่าซื้อมาเจ้าของเดิมนั้น มีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้น 64 ไร่ แต่กลับปรากฏตามสำเนาเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 และ 7 ซึ่งเป็นใบจองและน.ส.3 ของที่ดินที่โจทก์อ้างว่าจำเลยได้ออกหลักฐานรุกล้ำ มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ และปรากฏตามสำเนา เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 16 ซึ่งเป็นโฉนดที่ดินที่จะออกให้แก่จำเลย มีเนื้อที่ 47 ไร่ 3 งาน 28 ตารางวา ดังนี้การที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า ที่ดินที่โจทก์ซื้อมาจากเจ้าของเดิมมีเนื้อที่รวมกันทั้งสิ้น 64 ไร่ แต่ที่ดินตามใบจองและ น.ส.3 ของจำเลยตามเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6และ 7 กลับมีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่ ทั้งที่ดินตามโฉนดที่ดินที่จะออกให้แก่จำเลยมีเนื้อที่ประมาณ 47 ไร่เศษ เท่านั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จำเลยจะขอออกใบจอง น.ส.3 และโฉนดที่ดิน ดังกล่าวรุกล้ำที่ดินเจ้าของเดิมที่โจทก์ซื้อมาทั้งแปลงดัง คำฟ้องโจทก์ เพราะที่ดินตามใบจอง น.ส.3 และโฉนดที่ดิน ดังกล่าวมีเนื้อที่น้อยกว่าที่ดินที่โจทก์อ้างว่าซื้อมาจาก เจ้าของเดิมถึง 10 ไร่เศษ นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาสำเนาเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 18 ซึ่งเป็นแผนที่ที่ดินพิพาท ก็ไม่สามารถทราบได้ว่าที่ดินที่โจทก์อ้างว่าจำเลยขอออกใบจอง น.ส.3 และโฉนดที่ดินนั้นเป็นที่ดินตรงบริเวณไหนของแผนที่ดังกล่าวหรือรุกล้ำที่ดินที่โจทก์อ้างว่าซื้อมาจากเจ้าของเดิมตรงส่วนไหนบ้างคำฟ้องโจทก์ดังกล่าวเป็นการแสดงสภาพแห่งข้อหาขัดแย้งกันในตัวจึงเป็นคำฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8405/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมและแบ่งแยกโฉนดที่ดินกระทบภารจำยอมสาธารณูปโภค โจทก์มีสิทธิฟ้องเพิกถอน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 จัดสรรที่ดินโดยมีเจตนาจะจัดให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 เป็นถนนอันเป็นสาธารณูปโภคจึงเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286มาแต่ต้น ที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ก่อนมีการรังวัดเพื่อรวมและแบ่งแยกโฉนดจึงเป็นถนนที่เป็นทางภารจำยอมตามประกาศ ของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ข้อ 30 เมื่อการรวมกรรมสิทธิ์ และการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดดังกล่าวมีผลทำให้ เนื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ส่วนที่เป็นถนนอยู่เดิมขาดหายไป เป็นการทำให้ภารจำยอมเปลี่ยนแปลงไปและเป็นการ กระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการรวมที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 เข้ากับที่ดินแปลงอื่น และขอให้เพิกถอนการแบ่งแยกที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 เฉพาะส่วนที่นำมารวมกับที่ดินแปลงย่อย 7 แปลง และกลายเป็นที่ดินแปลงใหม่โฉนดเลขที่ 106708 ได้ ในคดีส่วนอาญา โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้ว่าร่วมกับจำเลยที่ 3 ในคดีดังกล่าวสนับสนุนจำเลยอื่นในคดีนั้นอีก 6 คน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ประเด็นที่จะต้อง วินิจฉัยในคดีนั้นจึงมีว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกับจำเลยที่ 3 ในคดีดังกล่าวสนับสนุนให้จำเลยอื่นกระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 หรือไม่ ข้อเท็จจริง ที่นำไปสู่การวินิจฉัยว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 6534 ที่เป็นถนน เป็นทางภารจำยอมหรือไม่นั้นจึงไม่ใช่ประเด็นโดยตรง ในคดีดังกล่าว การพิพากษาคดีนี้ซึ่งเป็นคดีแพ่งไม่จำต้อง ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคดีดังกล่าว ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4278/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนที่ดินขัดต่อข้อห้ามโอนและผลกระทบต่อการออกโฉนด
ขณะที่ ก.บิดาของโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโอนที่ดินตามฟ้องให้แก่ ก.นั้น ที่ดินตามฟ้องยังอยู่ในระยะเวลาห้ามโอนซึ่งมีกำหนด 10 ปี ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตาม ป.ที่ดิน มาตรา 58 ทวิ จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113(เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะทำสัญญา แม้ศาลจะพิพากษาตามยอม คำพิพากษานั้นก็หาผูกพันคู่ความไม่
ที่ดินตามฟ้องเป็นของ ก.บิดาโจทก์ เมื่อ ก.ถึงแก่กรรม ที่ดินตามฟ้องจึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์และทายาทอื่นของ ก. การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินต่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยมิได้รับความยินยอมจาก ก.และโจทก์ ตลอดทั้งทายาทอื่นของ ก.จึงเป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ และแม้โจทก์มิได้มีคำขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาด้วย แต่ตามฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกโฉนดที่ดินโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั่นเอง ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายคำฟ้องเกี่ยวพันไปถึงเรื่องจำเลยที่ 1 และที่ 2นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ด้วย ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ด้วย ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
ที่ดินตามฟ้องเป็นของ ก.บิดาโจทก์ เมื่อ ก.ถึงแก่กรรม ที่ดินตามฟ้องจึงเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์และทายาทอื่นของ ก. การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินต่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยมิได้รับความยินยอมจาก ก.และโจทก์ ตลอดทั้งทายาทอื่นของ ก.จึงเป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ และแม้โจทก์มิได้มีคำขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์มาด้วย แต่ตามฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกโฉนดที่ดินโดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมเท่ากับโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั่นเอง ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายคำฟ้องเกี่ยวพันไปถึงเรื่องจำเลยที่ 1 และที่ 2นำที่ดินตามฟ้องไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ด้วย ศาลย่อมพิพากษาให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ด้วย ไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 345/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จัดการมรดกในการเรียกคืนโฉนดที่ดินจากบุคคลที่ไม่ใช่ผู้จัดการมรดก เพื่อจัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมาย
แม้ทรัพย์มรดกของจ. เคยมีห. เป็นผู้จัดการมรดกและได้จัดการทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของจ. ไปตามข้อกำหนดในพินัยกรรมก็ตามแต่ห. ได้ถึงแก่กรรมไปนานแล้วต่อมาเมื่อศาลได้ตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ในอันที่จะต้องจัดการทรัพย์มรดกให้เป็นไปตามกฎหมายโจทก์ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเรียกเอาโฉนดที่ดินมรดกจากจำเลยได้เพื่อจัดการทรัพย์มรดกตามกฎหมายจำเลยมิใช่ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีข้ออ้างที่จะยึดถือเอาโฉนดที่ดินมรดกไว้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนโฉนดที่ดินต้องมีเหตุโฉนดคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีคำพิพากษาถึงที่สุด และผู้ฟ้องต้องมีสิทธิในที่ดิน
การที่จะสั่งเพิกถอน แก้ไข หรือออกใบแทนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน หรือเพิกถอน แก้ไข เอกสารที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหรือเอกสารที่ได้จดแจ้งรายการทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 ได้นั้น ต้องเป็นกรณีที่เป็นการออกโฉนดคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้เพิกถอนหรือแก้ไข ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์เคยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ส. กับพวกรวม 4 คนยื่นคำคัดค้าน ศาลชั้นต้นจึงดำเนินคดีอย่างคดีอันมีข้อพิพาทและในคดีดังกล่าวศาลฎีกาวินิจฉัยมีใจความว่า ค. กับพวกได้เข้าครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 เป็นการชั่วคราวและถือวิสาสะ ไม่ใช่เข้าครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ค. กับพวกผู้ครอบครองจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ผู้ร้องซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้และเป็นผู้รับโอนที่ดินดังกล่าวย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน พิพากษาให้ยกคำร้องขอดังนี้ผลแห่งคำพิพากษาคดีดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์และ ส. กับพวกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่งเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดดังกล่าวแล้วว่าโฉนดที่ดินออกโดยชอบด้วยกฎหมาย และโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 โดยการครอบครอง ดังนี้โจทก์จึงมิใช่เป็นผู้มีสิทธิหรือประโยชน์ได้เสียในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 และไม่อาจมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นแก่โจทก์เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 2867 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 81 ตามฟ้องและโฉนดที่ดินเลขที่ 2867 ซึ่งออกตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9375/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนโฉนดที่ดินที่ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานที่ดินประมาทเลินเล่อและร่วมกระทำละเมิด โจทก์มีสิทธิเรียกทรัพย์คืน
โจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 6โดยจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องสัญญาให้ที่ดินโจทก์จึงเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้โฉนดที่ดินพิพาทที่โจทก์ได้รับมาจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 7จะเป็นโฉนดที่ดินปลอมแต่เมื่อโฉนดที่ดินฉบับหลวงระบุว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ดังนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมเป็นของโจทก์ตามกฎหมาย การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทปลอมเป็นโจทก์ไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แม้จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม จำเลยที่ 1ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4และที่ 5 ทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งได้ชื่อในสารบัญจดทะเบียนโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อของจำเลยที่ 4และที่ 5 แล้วก็ตามจำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็มิได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 นั้นไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยอายุความ จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่าได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382แต่จำเลยที่ 4 และที่ 5 ไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ในศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินจำเลยที่ 7ทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1โดยประมาทเลินเล่อและได้กระทำไปเนื่องจากการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ดังนั้นจำเลยที่ 7จึงต้องรับผิดต่อโจทก์แม้ว่ามูลละเมิดจะขาดอายุความแล้วโจทก์ก็มีสิทธิขอให้จำเลยที่ 7 ดำเนินการแก้ไขโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องเพื่อแสดงว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ซึ่งเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกทรัพย์คืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9335/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกโฉนดทับที่ดินเดิม สิทธิผู้รับโอนไม่ดีกว่าผู้โอน แม้จดทะเบียนโดยสุจริต ศาลสั่งเพิกถอนได้เฉพาะส่วน
แม้พยานจะเป็นญาติกับโจทก์ แต่ความเป็นญาติก็มิใช่เหตุผลที่จะต้องฟังว่าพยานจะเบิกความเข้าข้างกันเสมอไปคำเบิกความของพยานคนใดจะรับฟังได้หรือไม่เพียงใดอยู่ที่เหตุผลในคำพยานนั้นเอง เมื่อปรากฏว่าคำเบิกความของพยานเป็นไปในทางเสียหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อผลประโยชน์ของตนย่อมรับฟังได้ การนำสืบถึงมูลเหตุอันเป็นที่มาแห่งข้ออ้างตามคำฟ้องมิได้มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดงจึงนำสืบพยานบุคคลได้ พ.และอ. ขอออกโฉนดที่ดินของตนโดยนำชี้รวมเอาที่ดินของ ก. เข้าไปด้วยโดยขณะนั้น พ. ยังคงทำนาในที่ดินพิพาทของ ก. ต่างดอกเบี้ย ถือว่า พ. ยึดถือที่ดินไว้แทน ก.แม้จะนานเพียงใดก็ไม่ได้สิทธิครอบครองและถือว่าโฉนดที่ดินในส่วนที่ออกทับที่ดินพิพาทของ ก. เป็นการออกโฉนดที่ไม่ชอบแม้จะมีการโอนทะเบียนกี่ครั้งผู้รับโอนก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะผู้ขอออกโฉนดไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ผู้รับโอนโฉนดต่อมาแม้จะเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตก็ไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน จึงชอบที่ศาลจะสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินพิพาทเสียได้เฉพาะในส่วนที่ไม่ถูกต้องเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6583/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดินเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินของผู้อื่น ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีก่อนโจทก์จำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งมีประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยได้ออกโฉนดที่ดินทับที่ดินของโจทก์ ขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าโจทก์จะฟ้องขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินของจำเลยเฉพาะส่วนที่ทับที่ดินของโจทก์ได้หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือฟ้องซ้ำ