คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โต้แย้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 251 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดสืบพยานก่อนมีคำพิพากษาไม่ใช่คำสั่งชี้ขาดเบื้องต้น โจทก์ต้องโต้แย้งทันทีจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์
ในวันนัดชี้สองสถาน ศาลสอบถามข้อเท็จจริงจากโจทก์จำเลยแล้วเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดชี้สองสถาน งดสืบพยานโจทก์จำเลยและให้นัดฟังคำพิพากษา เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งก่อนศาลนั้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) และมิใช่คำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 24 เพราะศาลชั้นต้นพิพากษาคดีโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ได้ความจากการสอบถามโจทก์จำเลยเมื่อนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นเวลา 1 เดือนเศษ โจทก์ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้แต่โจทก์มิได้โต้แย้งไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดคดีแล้ว โต้แย้งขัดรัฐธรรมนูญไม่ได้ ศาลไม่ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 264 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ศาลส่งความเห็นไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่ศาลเห็นเอง หรือในกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งรัฐธรรมนูญ ก็ต่อเมื่อศาลดังกล่าวจะใช้บทกฎหมายนั้นบังคับแก่คดีที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลนั้น และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ดังนั้น หากคดีดังกล่าวได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว ศาลหรือบุคคลใดจะกล่าวอ้างว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและจะส่งเรื่องหรือขอให้ศาลนั้นส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยหาได้ไม่ ข้อโต้แย้งของโจทก์ที่ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220 ที่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาได้ใช้เป็นหลักในการสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าเป็นบทบัญญัติที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 26,27,28 และ 272 หรือไม่นั้นศาลฎีกาได้มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของโจทก์ และศาลชั้นต้นได้อ่านคำสั่งคำร้อง ของ ศาลฎีกาดังกล่าวให้คู่ความฟังแล้ว จึงต้องถือว่าคดีระหว่างโจทก์และจำเลยได้เสร็จสิ้นถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับในคดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป หากโจทก์ประสงค์จะโต้แย้งว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ข้อหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์ชอบที่จะโต้แย้งก่อนที่ศาลฎีกาจะมีคำสั่งดังกล่าว อีกทั้งขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยในคดีอื่นแล้วว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 26,27,28 และ 272 ซึ่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวใช้ได้ในคดีทั้งปวงตามมาตรา 264 วรรคสาม กรณีที่โจทก์ร้องขอจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ศาลจึงไม่จำต้องส่งข้อโต้แย้งของโจทก์ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาทรัพย์บังคับคดี: ผู้มีส่วนได้เสียยังไม่มีสิทธิโต้แย้งก่อนการบังคับคดี
การประเมินราคาทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดเพื่อดำเนินการบังคับคดีต่อไปนั้น การที่จะประเมินราคาเท่าใดยังไม่มีข้อผูกมัดผู้ที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีจึงยังไม่มีกรณีที่เป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีที่จะร้องขอต่อศาลได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองจำเลยจึงไม่อาจจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อคัดค้านการประเมินราคา ของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามบทกฎหมายข้างต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5046/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และไม่ได้อ้างอิงข้อกฎหมายชัดเจน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้นับโทษจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ต่อจาก โทษในคดีอาญาอื่นอีก 3 คดี รวมแล้วมีโทษจำคุก 70 ปี 22 เดือน จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งแก้ไขหมายจำคุกรวมโทษ ทั้ง 4 คดีแล้วไม่เกิน 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91(3) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน จำเลยที่ 3 ฎีกาโดยมิได้โต้แย้งคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ทั้งไม่ได้อ้างอิง ข้อกฎหมายไว้โดยชัดแจ้ง ฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงเป็นฎีกา ที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 วรรคสอง, 195 ประกอบด้วยมาตรา 225 และมาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3989/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการต่อภาษีค้างชำระของบริษัท และสิทธิในการโต้แย้งการประเมินภาษี
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเบี้ยปรับ และเงินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 88(3) กรณีเช่นนี้ จำเลยที่ 1 ผู้ต้องเสียภาษีเท่านั้นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินและผูกพันจำเลยที่ 1 ให้ต้องชำระค่าภาษีตามการประเมิน แต่จะนำหนี้ของจำเลยที่ 1ดังกล่าวมาใช้ยันแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ถูกประเมินด้วยหาได้ไม่ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 2 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีสิทธิโต้แย้งได้ว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ถูกต้อง และหากฟังได้ว่าจำเลยที่ 1มีภาษีซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และมีนาคม 2538 ก็ย่อมมีสิทธินำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ได้ จำเลยที่ 2 ให้การว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมโดยอ้างว่า โจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ถูกต้องอย่างไร ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้โจทก์เท่าใดไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพราะเหตุใด ทั้งไม่ได้บรรยายถึงขั้นตอนการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าฟ้องของโจทก์ เคลือบคลุม เพราะโจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมิน เจ้าพนักงาน ประเมินจึงประเมินให้จำเลยที่ 1 ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เกี่ยวข้องกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ไม่ถูกต้องอย่างไรได้มีการแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 2ทราบเพื่อให้ใช้สิทธิอุทธรณ์การประเมินหรือไม่ ข้ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลภาษีอากรกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์และฎีกาไม่ชัดเจน ไม่โต้แย้งคำวินิจฉัยศาลล่าง ศาลไม่รับวินิจฉัย
ป.วิ.อ. มาตรา 193, 216, 225
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์มิได้อ้างว่าฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็นกันหรือไม่ อย่างไร ทั้งมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้เห็น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่แจ้งชัด ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 วรรคสองศาลอุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ การที่โจทก์ฎีกาเพียงว่าคดียังไม่มีคำพิพากษาลงโทษจำเลยเสร็จเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 39 (4) และคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ โดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา216 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3872/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากอุทธรณ์และฎีกาไม่ชัดเจน ไม่โต้แย้งคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์เห็นว่า อุทธรณ์ของโจทก์มิได้อ้างว่าฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคนละประเด็นกันหรือไม่ อย่างไรทั้งมิได้ระบุข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้เห็น จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่แจ้งชัด ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 193 วรรคสองศาลอุทธรณ์จึงไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ ของโจทก์ การที่โจทก์ฎีกาเพียงว่าคดียังไม่มีคำพิพากษา ลงโทษจำเลยเสร็จเด็ดขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) และคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ โดยโจทก์ไม่ได้ โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องหรือ ไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงนอกศาลไม่ผูกพันการบังคับคดี การขายทอดตลาดที่ดินชอบด้วยกฎหมาย จำเลยต้องโต้แย้งทันที
การที่จำเลยนำเงินจำนวน 12,000 บาท และ 3,000 บาทไปชำระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีและศาลเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์นั้น แม้ผู้แทนโจทก์ได้ตกลงยอมให้จำเลยชำระค่าเสียหายตามหมายบังคับคดีเพียง 15,000 บาทจริงก็ตาม แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีก็แถลงในวันเดียวกันว่าข้อตกลงดังกล่าวผู้แทนโจทก์และจำเลยตกลงกันเอง เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้รับรู้ด้วย ทั้งเมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจสำนวนการบังคับคดีแล้วก็ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับข้อตกลงการชำระหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลย ส่วนที่จำเลยนำเงินจำนวน 3,000 บาท ไปชำระไว้ที่ศาลนั้นจำเลยได้ยื่นคำแถลงประกอบมีข้อความเพียงว่า นำเงินที่ยังเป็นหนี้โจทก์อยู่ 3,000 บาท มาชำระ และในวันที่ 10 กันยายน 2535 จำเลยได้นำเงินชำระโจทก์แล้ว 12,000 บาท เท่านั้น จำเลยไม่ได้ส่งหรือแสดงหลักฐานการตกลงนั้นต่อศาล เพิ่งมาส่งภายหลังจากที่มีการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยไปแล้ว จึงไม่มีทางที่ศาลและเจ้าพนักงานบังคับคดีจะล่วงรู้และรับรองข้อตกลงระหว่างผู้แทนโจทก์กับจำเลยนั้นได้ ข้อตกลงที่ผู้แทนโจทก์ยอมลดค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ตามหมายบังคับคดีลงเหลือเพียง 15,000 บาท จึงเป็นข้อตกลงนอกศาลไม่ผูกพันศาลและเจ้าพนักงานบังคับคดีให้จำต้องถือตาม
การที่จำเลยนำเงินตามข้อตกลงส่วนหนึ่งไปชำระแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีอีกส่วนหนึ่งกับนำไปชำระที่ศาลและการชำระเงินก็ไม่ครบถ้วน ไม่ว่าตามจำนวนที่ได้ตกลงกันไว้หรือตามหมายบังคับคดี และบัญชีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำขึ้นว่าเมื่อหักหนี้แล้วจำเลยยังเป็นหนี้โจทก์ตามหมายบังคับคดีเป็นเงิน 8,149บาท จำเลยยังไม่ได้นำมาชำระให้อีก ต้องถือว่าจำเลยยังมีหนี้ค่าเสียหายที่ต้องชำระให้โจทก์ตามหมายบังคับคดี เมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยื่นคำแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยต่อไปเนื่องจากจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ยังไม่ครบถ้วน เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องดำเนินการบังคับคดีต่อไป ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 271 และมาตรา 278 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขออนุญาตศาลขายทอดตลาดที่ดินของจำเลย และดำเนินการบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยในเวลาต่อมาจึงเป็นไปตามขั้นตอนและตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่บัญญัติไว้
การขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบแล้วซึ่งจำเลยได้ทราบล่วงหน้าก่อนแล้วว่าจะมีการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งแรกแล้ว ส่วนการประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งที่สองแม้จำเลยจะอ้างว่าการประกาศแจ้งวันนัดแก่จำเลยไม่ชอบแต่ก็ปรากฏข้ออ้างของจำเลยว่าการส่งหมายไม่ชอบ เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานเดินหมายได้นำหมายนัดประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยครั้งที่สองไปส่งแก่จำเลย แต่จำเลยไม่อยู่จึงปิดไว้ที่บ้านจำเลย การแจ้งวันกำหนดนัดแก่จำเลยครั้งที่สองนี้ใช้วิธีปิดหมายเช่นเดียวกันกับครั้งแรก ซึ่งในครั้งแรกจำเลยก็ได้ทราบกำหนดนัดขายทอดตลาดแล้ว ซึ่งมีเหตุผลน่าเชื่อว่า จำเลยน่าจะได้ทราบวันนัดขายทอดตลาดครั้งที่สองแล้วโดยวิธีและในทำนองเดียวกัน
จำเลยอ้างว่าได้ชำระหนี้ตามข้อตกลงให้โจทก์ครบถ้วนแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยอีกไม่ได้ จำเลยก็น่าจะต้องขวนขวายโต้แย้งคัดค้านไม่ให้มีการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยหรือให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยพลัน แต่จำเลยหาได้ทำไม่ จนกระทั่งการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยเสร็จสิ้นและนำเงินที่ขายได้ชำระหนี้ให้โจทก์ และเจ้าพนักงานที่ดินได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดแล้วถือว่าการบังคับคดีเสร็จลง จำเลยจึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 565/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมและการโต้แย้งคำสั่งศาลเพื่อสิทธิอุทธรณ์ฎีกา
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงประเด็นเดียวว่าจำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าตามฟ้องหรือไม่ จำเลยได้แถลงโต้แย้งด้วยวาจาขอให้ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทเรื่องสัญญาเช่าต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาไว้ด้วยศาลชั้นต้นมิได้ชี้ขาดคำคัดค้านของจำเลย แต่กลับมีคำสั่งให้จำเลยยื่นบันทึกข้อโต้แย้งต่อศาลภายใน 7 วัน ต่อมาจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพิ่มเติมอีกว่า สัญญาเช่าท้ายฟ้องเป็นสัญญาเช่าต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาหรือไม่ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องดังกล่าวว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลง ให้ยกคำร้องจึงเป็นการชี้ขาดคำคัดค้านตาม ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสี่ จำเลยต้องโต้แย้งไว้ตามมาตรา 226 วรรคสอง จึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ได้ แม้จำเลยจะระบุในท้ายคำร้องไว้ว่าให้ถือคำร้องฉบับดังกล่าวเป็นคำโต้แย้งคำสั่งศาลเพื่อสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต่อไปก็ตามก็เป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งชี้ขาด ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 226(2) จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1694/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขั้นตอนการขอรับมรดกอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อโต้แย้ง และการฟ้องติดตามทรัพย์สินคืน
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส.ได้ยื่นขอรับมรดกบ้านพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดิน แต่จำเลยคัดค้านว่าบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของมารดาจำเลยเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานที่ดินไม่อาจจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ได้ และเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินเปรียบเทียบ โจทก์จำเลยก็ไม่สามารถตกลงกันได้ เจ้าพนักงานที่ดินจึงแจ้งให้คู่กรณีไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน 60 วัน กรณีต้องบังคับตาม ป.ที่ดินมาตรา 81 ซึ่งกำหนดขั้นตอนไว้ว่า เมื่อมีผู้โต้แย้งการขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกของผู้ร้องขอ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสอบสวนคู่กรณีและเปรียบเทียบ ถ้าเปรียบเทียบแล้วไม่ตกลงให้พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งการไปตามที่เห็นสมควร หากคู่กรณีไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวให้ไปดำเนินการฟ้องต่อศาลภายใน 60 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่รอเรื่องไว้เมื่อศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุดประการใดจึงให้ดำเนินการไปตามกรณี ถ้าไม่ฟ้องภายในกำหนดที่กล่าวข้างต้นก็ให้ดำเนินการไปตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่สั่ง ซึ่งระยะเวลาที่กำหนดให้คู่กรณีไปฟ้องศาลภายใน 60 วัน ดังกล่าวเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่กฎหมายกำหนดไว้ให้คู่กรณีฝ่ายไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติ หาใช่อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 ไม่ แม้คู่กรณีไม่พอใจคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่จะไม่ฟ้องศาลตามกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วก็ตาม เจ้าพนักงานที่ดินก็ยังคงดำเนินการต่อไปได้ตามระเบียบของทางราชการและกฎหมายตามที่เห็นสมควรทั้งไม่เป็นการตัดสิทธิคู่กรณีนั้นที่จะฟ้องบังคับจำเลยตามมูลคดีเดิมอีกด้วย
โจทก์ฟ้องโดยอ้างสิทธิในฐานะเจ้าของบ้านพิพาทเพื่อติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยผู้ทำละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 เป็นกรณีไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความฟ้องร้องไว้
of 26