พบผลลัพธ์ทั้งหมด 356 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7904/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิ ความร้ายแรงและผลกระทบต่อสถาบันการเงินและการพิจารณาโทษ
การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันทำปลอมขึ้นซึ่งใบบันทึกรายการขาย (เซลสลิป) ของธนาคาร ท. อันเป็นเอกสารสิทธิ แล้วร่วมกันใช้เอกสารสิทธินั้น โดยมอบให้แก่ผู้มีชื่อนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารลักษณะของความผิดเป็นเรื่องที่ร้ายแรงและกระทบกระเทือนต่อธนาคารซึ่งเป็นสถาบันการเงิน รวมถึงความเชื่อถือของประชาชนทั่วไปต่อการใช้บัตรเครดิต นับเป็นการกระทำที่มุ่งถึงแต่ประโยชน์ส่วนตนโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนเสียหายของผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งของผู้เสียหายที่เป็นสมาชิกผู้ถือบัตรเครดิต ซึ่งมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วย แม้ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อน และมีอาชีพเป็นหลักแหล่งแน่นอน กับจำเลยที่ 1 มีภาระต้องอุปการะเลี้ยงดูครอบครัว แต่เพื่อให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 หลาบจำ และเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่บุคคลอื่นอันจะเป็นการปกป้องสังคมและประชาชนผู้สุจริตจากผู้ที่คิดจะกระทำการเช่นจำเลยที่ 1 และที่ 2 สมควรลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2สถานเดียวโดยไม่รอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7802/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญาเกี่ยวกับอาวุธปืนของเยาวชน: การพิจารณาโทษและการแก้ไขบทมาตราโดยศาล
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลย (ขณะกระทำความผิดอายุ 17 ปีเศษ)มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 83, 288, 289 (4) พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนวัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 7,8 ทวิ วรรคสอง, 72 วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง เรียงกระทงลงโทษตามป.อ. มาตรา 91 รวมลงโทษจำคุกจำเลย 13 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจนครบยี่สิบสี่ปีบริบูรณ์แล้วให้ส่งตัวจำเลยไปจำคุกไว้ในเรือนจำ 5 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนรวมกับการลงโทษจำคุกทางอาญาต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 83 และมีความผิดในฐานพาอาวุธปืน ฯ ตาม ป.อ.มาตรา 371 อีกบทหนึ่ง แต่เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง,72 ทวิ วรรคสอง อันเป็นบทหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงเป็นการแก้เฉพาะบทมิได้พิพากษาแก้โทษด้วย จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลย ไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 124
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 500/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท-การกระทำความผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิงและวิทยุคมนาคม: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นความผิดและโทษ
การกระทำความผิดของจำเลยทั้งหกฐานซื้อหรือรับไว้ซึ่งน้ำมันเชื้อเพลิงของกลางที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศและหลีกเลี่ยงการเสียภาษีศุลกากรฐานจัดตั้งสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ฐานปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อจำหน่าย และฐานเป็นผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด แต่ละฐานแยกออกต่างหากจากกันได้ชัดเจนทั้งในแง่เจตนาในการกระทำ สภาพและลักษณะของการกระทำ เวลาที่การกระทำเป็นความผิดสำเร็จลงตลอดจนบทกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ต่างบทมาตรากัน จึงเป็นการกระทำความผิดแยกเป็น 4 กรรม
จำเลยทั้งหกมีวิทยุคมนาคมไว้ก็ด้วยเจตนาเพื่อใช้ การที่จำเลยทั้งหกนำเครื่องวิทยุคมนาคมที่มีอยู่มาตั้งเป็นสถานีวิทยุคมนาคมก็ด้วยเจตนาเพื่อใช้เช่นกันแล้วจำเลยก็ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่มีและตั้งขึ้นเป็นสถานีวิทยุคมนาคมเหล่านั้น อันเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมตามรายการเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งหกใน 3 ฐานความผิดที่กล่าว จึงเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งหกมีเจตนาเดียว เพื่อที่จะสามารถติดต่อด้วยเครื่องวิทยุคมนาคม จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
จำเลยทั้งหกมีวิทยุคมนาคมไว้ก็ด้วยเจตนาเพื่อใช้ การที่จำเลยทั้งหกนำเครื่องวิทยุคมนาคมที่มีอยู่มาตั้งเป็นสถานีวิทยุคมนาคมก็ด้วยเจตนาเพื่อใช้เช่นกันแล้วจำเลยก็ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมที่มีและตั้งขึ้นเป็นสถานีวิทยุคมนาคมเหล่านั้น อันเป็นเครื่องวิทยุคมนาคมตามรายการเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งหกใน 3 ฐานความผิดที่กล่าว จึงเป็นเรื่องที่จำเลยทั้งหกมีเจตนาเดียว เพื่อที่จะสามารถติดต่อด้วยเครื่องวิทยุคมนาคม จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานพรากผู้เยาว์ และข่มขืนกระทำชำเรา ศาลฎีกาพิจารณาการปรับบทกฎหมายและโทษที่เหมาะสม
จำเลยที่ 1 เข้าใจว่าผู้เสียหายที่ 1 กับจำเลยที่ 2 รักใคร่กันฉันชู้สาว ในคืนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปแจ้งให้ผู้เสียหายที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ด้วยกันตามลำพังในยามวิกาลทราบว่า ผู้ปกครองของผู้เสียหายที่ 1 กำลังติดตามหาผู้เสียหายที่ 1 อีกทั้งจำเลยที่ 1 ยังขับรถพาจำเลยที่ 2 และผู้เสียหายที่ 1 ไปหลบเพื่อให้พ้นจากการติดตามหาตัวผู้เสียหายที่ 1 พบ จำเลยที่ 1 มีอายุ 27 ปี เป็นผู้ใหญ่กว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งมีอายุ 17 ปีเศษ และผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งอายุเพียง 14 ปีเศษ จำเลยที่ 1 ย่อมทราบดีว่าโดยพฤติการณ์และในสภาวะที่จำเลยที่ 2 พาผู้เสียหายที่ 1 ไปตามลำพังเช่นนั้น ย่อมเป็นโอกาสที่จำเลยที่ 2 จะล่วงเกินทางเพศต่อผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งยังเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม จำคุกคนละ 3 ปี และปรับคนละ 10,000 บาท ลดโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 1 ปี 6 เดือน และปรับคนละ 5,000 บาท และรอการลงโทษให้ โจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ควรรอการลงโทษแก่จำเลยทั้งสอง แม้ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจหยิบยกปัญหาที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษความผิดข้อหาดังกล่าวมาไม่ถูกต้องขึ้นวินิจฉัยเองโดยพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม อันเป็นการปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องลงโทษแก่จำเลยทั้งสองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า แต่ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษที่ลงแก่จำเลยทั้งสองเสียใหม่ โดยโทษที่จำเลยทั้งสองได้รับสำหรับความผิดในข้อหานี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์สูงกว่าโทษที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลยทั้งสอง จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม จำคุกคนละ 3 ปี และปรับคนละ 10,000 บาท ลดโทษกึ่งหนึ่ง คงจำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 1 ปี 6 เดือน และปรับคนละ 5,000 บาท และรอการลงโทษให้ โจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ควรรอการลงโทษแก่จำเลยทั้งสอง แม้ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจหยิบยกปัญหาที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษความผิดข้อหาดังกล่าวมาไม่ถูกต้องขึ้นวินิจฉัยเองโดยพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม อันเป็นการปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องลงโทษแก่จำเลยทั้งสองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า แต่ที่ศาลอุทธรณ์กำหนดโทษที่ลงแก่จำเลยทั้งสองเสียใหม่ โดยโทษที่จำเลยทั้งสองได้รับสำหรับความผิดในข้อหานี้ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์สูงกว่าโทษที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลยทั้งสอง จึงเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 แม้จำเลยที่ 2 มิได้ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามนำรถยนต์ออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านศุลกากร การพิพากษาโทษฐานความผิด
จำเลยที่ 1 ได้นำรถยนต์ที่ไม่มีหลักฐานทางทะเบียนจากจังหวัดศรีสะเกษไปยังอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และจำเลยที่ 2 ได้ติดต่อพวกของจำเลยที่ 2 เพื่อให้นำรถยนต์คันดังกล่าวไปขายที่ประเทศกัมพูชา แต่ยังนำรถยนต์ออกไปไม่ได้จึงนำไปจอดไว้ที่ตลาดอรัญประเทศเพื่อจะนำรถยนต์คันดังกล่าวไปขาย แต่ยังขายไม่ได้ จึงนำรถยนต์ไปคืนยังจุดเกิดเหตุ ดังนี้ แสดงว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนานำรถยนต์คันดังกล่าว ซึ่งเป็นของที่ไม่ต้องเสียอากรขาออก ออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้อง การกระทำของจำเลยที่ 1 เลยขั้นตระเตรียมการแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอดเพราะขายไม่ได้ จึงเป็นความผิดฐานพยายามนำรถยนต์ออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านศุลกากรให้ถูกต้องอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 80
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดโดยเกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร หรือในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใด ๆ อันเกี่ยวแก่การนำของเข้า ส่งของออก ขนของขึ้น เก็บของในคลังสินค้า และการส่งมอบของโดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ซึ่งความผิดฐานนี้ไม่ว่าจะเป็นพยายามกระทำความผิดหรือกระทำความผิดสำเร็จก็ตาม กฎหมายกำหนดโทษไว้เท่ากัน ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 83 จึงไม่ถูกต้อง นอกจากนี้คำขอท้ายฟ้องระบุให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ป.อ. มาตรา 80 คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดโดยเกี่ยวข้องด้วยประการใด ๆ ในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร หรือในการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงบทกฎหมายและข้อจำกัดใด ๆ อันเกี่ยวแก่การนำของเข้า ส่งของออก ขนของขึ้น เก็บของในคลังสินค้า และการส่งมอบของโดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาลที่จะต้องเสียสำหรับของนั้น ซึ่งความผิดฐานนี้ไม่ว่าจะเป็นพยายามกระทำความผิดหรือกระทำความผิดสำเร็จก็ตาม กฎหมายกำหนดโทษไว้เท่ากัน ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 83 จึงไม่ถูกต้อง นอกจากนี้คำขอท้ายฟ้องระบุให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ศุลกากร ฯ มาตรา 27 ป.อ. มาตรา 80 คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง แม้คู่ความจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานทำไม้และยึดครองที่ดินในเขตป่าสงวนฯ ศาลยืนโทษฐานความผิดหลายกรรมต่างกัน
ความผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 11,73 วรรคสอง และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507มาตรา 14,31 วรรคสอง กับความผิดฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูป โดยไม้ดังกล่าวไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขายและพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้ไม้ดังกล่าวมาโดยชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 69 วรรคสอง ต่างเป็นความผิดสำเร็จในตัวเอง แม้จำเลยกระทำความผิดในวันเดียวกันก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน สำหรับความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507มาตรา 14,31 เป็นความผิดสำเร็จทันทีที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เป็นความผิดต่างกรรมกันกับความผิดสองกรรมดังกล่าวมาข้างต้น จึงต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้ว จึงต้องฟังตามคำรับสารภาพของจำเลยว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติว่า จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยทำไร่และทำคอกเลี้ยงโค กระบือ เนื้อที่จำนวน 5 ไร่ อันเป็นการทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯมาตรา 14,31 วรรคหนึ่ง เท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้ระบุว่าเป็นมาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชัดเจน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องแล้ว จึงต้องฟังตามคำรับสารภาพของจำเลยว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ จำเลยจะฎีกาโต้เถียงว่าจำเลยไม่มีเจตนากระทำความผิดหาได้ไม่ เพราะไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติว่า จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยทำไร่และทำคอกเลี้ยงโค กระบือ เนื้อที่จำนวน 5 ไร่ อันเป็นการทำให้เกิดการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ เป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯมาตรา 14,31 วรรคหนึ่ง เท่านั้น การที่ศาลล่างทั้งสองปรับบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้ระบุว่าเป็นมาตรา 31 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชัดเจน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชิงทรัพย์โดยมีและไม่มีอาวุธปืน การพิจารณาโทษตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง และการพิจารณาบาดแผลของผู้เสียหาย
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี มุ่งหมายที่จะลงโทษให้หนักขึ้นเฉพาะผู้ที่มีหรือใช้อาวุธปืนเท่านั้น มิใช่ว่าผู้ที่ร่วมกระทำการชิงทรัพย์รายเดียวกันจะต้องระวางโทษหนักขึ้นทุกคนเมื่อจำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ล็อกคอผู้เสียหายไม่ได้มีหรือใช้อาวุธปืนด้วย จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองตระเตรียมการนำรถแท็กซี่มาใช้ประกอบอาชญากรรมชิงทรัพย์เพื่อให้พ้นจากการจับกุม การที่จำเลยทั้งสองชิงทรัพย์ผู้เสียหายแล้วหนีลงมาชั้นล่างแล้วขึ้นรถแท็กซี่หลบหนีไป จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นจากการจับกุม ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
การชิงทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดแผลที่คอ มีรอยถลอกทางยาว 3 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร และมีรอยขีดข่วน 2 รอย ขนาดเล็ก ๆบาดแผลถลอกเล็ก ๆ อีก 2 ถึง 3 แห่ง ที่หลังมือซ้าย ข้อมือซ้ายบวมแดงเป็นหย่อม ๆและมีบาดแผลถลอกที่ริมฝีปากบนทางด้านซ้าย แพทย์มีความเห็นว่าจะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 7 วัน ดังนี้ บาดแผลของผู้เสียหายมีเพียงเล็กน้อย ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม คงมีความผิดตามมาตรา 339 วรรคสอง
โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองตระเตรียมการนำรถแท็กซี่มาใช้ประกอบอาชญากรรมชิงทรัพย์เพื่อให้พ้นจากการจับกุม การที่จำเลยทั้งสองชิงทรัพย์ผู้เสียหายแล้วหนีลงมาชั้นล่างแล้วขึ้นรถแท็กซี่หลบหนีไป จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อให้พ้นจากการจับกุม ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 ตรี
การชิงทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดแผลที่คอ มีรอยถลอกทางยาว 3 เซนติเมตร กว้าง 2 เซนติเมตร และมีรอยขีดข่วน 2 รอย ขนาดเล็ก ๆบาดแผลถลอกเล็ก ๆ อีก 2 ถึง 3 แห่ง ที่หลังมือซ้าย ข้อมือซ้ายบวมแดงเป็นหย่อม ๆและมีบาดแผลถลอกที่ริมฝีปากบนทางด้านซ้าย แพทย์มีความเห็นว่าจะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 7 วัน ดังนี้ บาดแผลของผู้เสียหายมีเพียงเล็กน้อย ไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายและจิตใจ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสาม คงมีความผิดตามมาตรา 339 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6916/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงลดหนี้กับการถอนฟ้อง, การยักยอกเงินค่าเบี้ยประกัน, และการกำหนดโทษ
จำเลยได้มาปรากฏตัวต่อหน้าพนักงานสอบสวน ณ สถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาให้ทราบและควบคุมตัวดำเนินคดีสถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆจึงเป็นสถานที่ที่จำเลยถูกจับ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆจึงมีอำนาจทำการสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสอง พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมและจำเลยแถลงในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ร่วมยังติดใจหนี้อีกเพียง 381,699 บาท และจะถอนคำร้องทุกข์ต่อเมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมแล้วไม่มีข้อความว่าโจทก์ร่วมตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีต่อจำเลยในทันที การที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์ร่วมจนครบจึงถือเป็นเงื่อนไขในการถอนคำร้องทุกข์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ร่วมจึงไม่ถูกผูกพันที่ต้องถอนคำร้องทุกข์และถือไม่ได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เมื่อโจทก์ได้แสดงเจตนาสละสิทธิเรียกร้องในหนี้บางส่วน โดยยังติดใจในหนี้อีกเพียง 381,699 บาท การแสดงเจตนาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพัน เมื่อจำเลยนำเงินมาชำระแก่โจทก์ร่วมเพียง 30,000 บาทจึงเหลือเงินจำนวน 351,699 บาท ที่จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์ร่วม จำเลยฎีกาว่า จำเลยทำผิดเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีเหตุอันจำเป็นบังคับ จำเลยใช้เงินคืนโจทก์ร่วมบางส่วนแล้ว การรับสารภาพเป็นส่วนหนึ่งของวิธีที่จำเลยจะใช้เงินแก่โจทก์แสดงว่าจำเลยไม่เคยรู้สึกสำนึกผิด ทั้งจำเลยได้ยักยอกเงินค่าเบี้ยประกันที่ผู้เอาประกันชำระให้แก่โจทก์ร่วมมีจำนวน 84 ราย เป็นเงินจำนวน 763,399 บาท โทษจำคุก6 เดือน จึงเหมาะสมและไม่มีเหตุรอการลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมโทษจำเลยโดยศาลอุทธรณ์เกินกว่าที่โจทก์อุทธรณ์ เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212มุ่งคุ้มครองจำเลยไม่ให้ต้องรับโทษหนักขึ้นถ้าโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุกจำเลย 1 ปี 6 เดือนเป็นให้ปรับจำเลย 21,000 บาท อีกสถานหนึ่ง และลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปีและปรับ 14,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด2 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 นั้น โทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นโทษที่เบากว่า แม้ศาลอุทธรณ์จะลงโทษปรับด้วยก็ไม่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6570/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าโดยเจตนา ศาลพิจารณาเหตุทำร้ายร่างกาย ทรัพย์สินเสียหาย และความขัดแย้งในครอบครัวเพื่อตัดสินโทษ
สภาพศพผู้ตายมีรอยช้ำที่ขาทั้งสองข้างเนื่องจากถูกของแข็งกระทบกระแทกโดยเฉพาะที่หัวเข่าและหน้าแข้งหลายแห่ง และจำเลยใช้เหล็กยกน้ำหนักทุบตีผู้ตายที่ศีรษะจนผู้ตายถึงแก่ความตาย แต่ไม่ได้ความชัดแจ้งว่า จำเลยได้ทรมานหรือกระทำการทารุณโหดร้ายผู้ตายอย่างไร ประกอบกับเหตุที่เกิดขึ้นเป็นการทะเลาะวิวาทและทำร้ายกันระหว่างจำเลยกับผู้ตาย การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงไม่เข้าลักษณะเป็นการทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย
จำเลยกับผู้ตายเป็นสามีภริยากันมีบุตรด้วยกัน 4 คน บุตรคนแรกมีอายุประมาณ 24 ปี ผู้ตายทำมาหากินและอาศัยอยู่ด้วยกันย่อมจะต้องมีเรื่องระหองระแหงกระทบกระทั่งกัน และไม่เข้าใจกันบ้างเป็นปกติธรรมดา จำเลยซึ่งเป็นสามีและเป็นหัวหน้าครอบครัวควรจะมีความหนักแน่นอดทนและอดกลั้น การที่ผู้ตายบอกจำเลยว่าได้นำเงินที่จำเลยมอบให้เพื่อนำไปชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ไปใช้ส่วนตัว และผู้ตายนำเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยกับเงินที่ขายรถยนต์บรรทุกหกล้อไปให้ชู้นั้น ผู้ตายก็พูดเพื่อเป็นการประชดประชันจำเลยเท่านั้น ส่วนที่ผู้ตายด่าจำเลยว่า ไอ้เหี้ยก็เกิดขึ้นเมื่อจำเลยกับผู้ตายต่างฝ่ายต่างขาดความอดทนและอดกลั้นได้สมัครใจเข้าทะเลาะวิวาทกันจนถึงขั้นทำร้ายกัน ซึ่งเป็นธรรมดาที่จะต้องมีการด่าว่ากัน การที่จำเลยกับผู้ตายทะเลาะวิวาทกันจึงเป็นเรื่องภายในครอบครัว กรณีมิใช่เรื่องร้ายแรงที่จำเลยจะต้องฆ่าผู้ตาย ทั้งจำเลยทราบก่อนเกิดเหตุหลายวันว่าเงินได้ขาดหายไป ดังนี้ จึงไม่ใช่เหตุข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงไม่ใช่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 72
จำเลยต้องการทำร้ายผู้ตาย แม้ผู้ตายจะได้ใช้อาวุธปืนยิงจำเลยก็ตามแต่เหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมดจำเลยเป็นฝ่ายก่อขึ้นก่อน การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงไม่เป็นการป้องกัน
จำเลยกับผู้ตายเป็นสามีภริยากันมีบุตรด้วยกัน 4 คน บุตรคนแรกมีอายุประมาณ 24 ปี ผู้ตายทำมาหากินและอาศัยอยู่ด้วยกันย่อมจะต้องมีเรื่องระหองระแหงกระทบกระทั่งกัน และไม่เข้าใจกันบ้างเป็นปกติธรรมดา จำเลยซึ่งเป็นสามีและเป็นหัวหน้าครอบครัวควรจะมีความหนักแน่นอดทนและอดกลั้น การที่ผู้ตายบอกจำเลยว่าได้นำเงินที่จำเลยมอบให้เพื่อนำไปชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ไปใช้ส่วนตัว และผู้ตายนำเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยกับเงินที่ขายรถยนต์บรรทุกหกล้อไปให้ชู้นั้น ผู้ตายก็พูดเพื่อเป็นการประชดประชันจำเลยเท่านั้น ส่วนที่ผู้ตายด่าจำเลยว่า ไอ้เหี้ยก็เกิดขึ้นเมื่อจำเลยกับผู้ตายต่างฝ่ายต่างขาดความอดทนและอดกลั้นได้สมัครใจเข้าทะเลาะวิวาทกันจนถึงขั้นทำร้ายกัน ซึ่งเป็นธรรมดาที่จะต้องมีการด่าว่ากัน การที่จำเลยกับผู้ตายทะเลาะวิวาทกันจึงเป็นเรื่องภายในครอบครัว กรณีมิใช่เรื่องร้ายแรงที่จำเลยจะต้องฆ่าผู้ตาย ทั้งจำเลยทราบก่อนเกิดเหตุหลายวันว่าเงินได้ขาดหายไป ดังนี้ จึงไม่ใช่เหตุข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงไม่ใช่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 72
จำเลยต้องการทำร้ายผู้ตาย แม้ผู้ตายจะได้ใช้อาวุธปืนยิงจำเลยก็ตามแต่เหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมดจำเลยเป็นฝ่ายก่อขึ้นก่อน การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงไม่เป็นการป้องกัน