คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โรงงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 92 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดประชุมในโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต: การตีความ 'การประชุม' ตามระเบียบบริษัท
ระเบียบของผู้ร้องมีข้อห้ามเปิดประชุมในบริเวณโรงงานก่อนได้รับอนุญาตจากผู้ร้อง ได้ความว่า ขณะที่พนักงานของผู้ร้องมารวมกันเพื่อรับประทานอาหารในระหว่างพักแม้มิใช่การมาร่วมกันเพื่อปรึกษาหารือกันก็ตาม แต่ก็เป็นการชุมนุมอย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่ในความหมายของ "ประชุม" เมื่อผู้คัดค้านได้แถลงข้อเท็จจริงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ต่อพนักงานดังกล่าว เช่นนี้ พฤติการณ์ของผู้คัดค้านถือเป็นการเปิดประชุมแล้ว ผู้ร้องชอบที่จะลงโทษผู้คัดค้านได้ตามระเบียบดังกล่าวของตน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปิดประชุมโดยไม่ได้รับอนุญาตในโรงงานและการลงโทษตักเตือน
ตามระเบียบและข้อบังคับในการทำงานของนายจ้างระบุห้ามเปิดประชุมในบริเวณโรงงานก่อนได้รับอนุญาตจากนายจ้าง ผู้คัดค้านทั้งสามเป็นกรรมการลูกจ้างได้ร่วมกันถือโอกาสแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประชุมกันระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงาน สรุปว่าพนักงานบางส่วนถูกกลั่นแกล้งไม่ได้รับความเป็นธรรม มีคนข่มขู่และใช้อิทธิพลขอให้ผนึกกำลัง ร่วมกันต่อสู้ โดยกล่าวต่อพนักงานที่กำลังรับประทานอาหารในโรงอาหารในช่วงพักรับประทานอาหารกลางวัน ดังนี้แม้การรับประทานอาหารในช่วงเวลาที่พักมิใช่การมาร่วมพบกันเพื่อปรึกษาหารือกันก็ตาม แต่ก็เป็นการชุมนุมอย่างหนึ่งอันอยู่ในความหมายของการประชุมด้วย เมื่อมีการประชุมแล้วผู้คัดค้านทั้งสามถือโอกาสกระทำการดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการเปิดประชุมต้องตามระเบียบ ฯ ของนายจ้างแล้ว ผู้คัดค้านทั้งสามกระทำโดยมิได้รับอนุญาตจากนายจ้างก่อนย่อมเป็นการผิดระเบียบ ฯ ดังกล่าวชอบที่นายจ้างจะลงโทษตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรตามระเบียบ ฯ นั้นได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลดหย่อนภาษีโรงเรือนสำหรับโรงงานบรรจุสินค้า: เครื่องจักรกลไกเป็นส่วนควบสำคัญ แม้ไม่ใช่เครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนิดสินค้า
บริษัทโจทก์ผลิตปูนซิเมนต์ออกจำหน่ายโดยโรงงานอยู่ในต่างจังหวัดแล้วส่งปูนซิเมนต์ผงมาบรรจุลงถุงที่โรงงานในกรุงเทพมหานครซึ่งมีอาคารเครื่องจักรโรงรับปูนซิเมนต์ผงทางรถไฟอาคารเครื่องจักรโรงห่อปูนซิเมนต์ถุงอาคารเครื่องจักรจ่ายปูนซิเมนต์ถุงทางรถยนต์.อาคารเครื่องจักรไซโลปูนผงซึ่งอาคารทั้งสี่อยู่ติดต่อกันเครื่องจักรทำงานต่อเนื่องกันและอาคารเครื่องชั่งถึงแม้โรงงานนี้จะมิได้ติดตั้งเครื่องจักรประเภทเครื่องกระทำหรือเครื่องกำเนินสินค้าแต่ก็เป็นโรงเรือนที่ติดตั้งเครื่องจักรกลไกอันเป็นส่วนควบที่สำคัญเพื่อใช้ดำเนินการอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากการผลิตปูนซิเมนต์ผงของโจทก์เพราะการจำหน่ายแก่ลูกค้าต้องบรรจุเป็นถุงโรงเรือนดังกล่าวจึงได้รับลดหย่อนค่ารายปีลงเหลือ1ใน3ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพ.ศ.2475มาตรา13. บ้านพักคนงานห้องน้ำห้องส้วมเป็นโรงเรือนที่โจทก์ให้คนงานเข้าพักอาศัยเมื่อเลิกงานแล้วกลับบ้านไม่ได้ก็เพื่อประโยชน์ในการประกอบอุตสาหกรรมของโจทก์มิใช่เป็นการเข้าอยู่เพื่อเฝ้ารักษาโรงเรือนถือไม่ได้ว่าเป็นโรงเรือนที่เจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาอันจะได้รับงดเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนตามความหมายของมาตรา10 ป้อมยามเป็นโรงเรือนที่โจทก์ให้คนยามเข้าใช้สอยในการปฏิบัติหน้าที่เวรยามเพื่อประโยชน์ในการประกอบอุตสาหกรรมของโจทก์ถือไม่ได้ว่าเป็นโรงเรือนที่เจ้าของอยู่เองหรือให้ผู้แทนอยู่เฝ้ารักษาตามความหมายของมาตรา10.(ที่มา-เนติฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: การสูบบุหรี่ในโรงงานกับการจ่ายค่าชดเชย แม้ฝ่าฝืนระเบียบ แต่เหตุไม่ร้ายแรงพอที่จะไม่จ่ายค่าชดเชย
แม้จำเลยจะมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานห้ามคนงานสูบบุหรี่ในบริเวณโรงงานผู้ฝ่าฝืนอาจถูกให้ออกจากงานก็ตาม แต่สถานที่โจทก์สูบบุหรี่อยู่โกดังเก็บกระดาษ 2.50 เมตร สภาพกระดาษก็ไม่ใช่วัตถุไวไฟถึงกับมีการสูบบุหรี่ในระยะดังกล่าวแล้วสามารถลุกไหม้ได้ทั้งที่ที่โจทก์ยืนสูบบุหรี่อยู่ก็มีน้ำนองพื้น ยากที่จะเกิดเหตุไฟไหม้เนื่องจากการสูบบุหรี่ จึงยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยอย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1269/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง การกระทำผิดร้ายแรง และการจ่ายค่าชดเชย กรณีสูบบุหรี่ในโรงงาน
แม้จำเลยจะมีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานห้ามคนงานสูบบุหรี่ในบริเวณโรงงานผู้ฝ่าฝืนอาจถูกให้ออกจากงานก็ตาม แต่สถานที่โจทก์สูบบุหรี่อยู่ห้างโกดังเก็บกระดาษ 50เมตรสภาพกระดาษก็ไม่ใช่วัตถุไวไฟถึงกับมีการสูบบุหรี่ในระยะดังกล่าวแล้วสามารถลุกไหม้ได้ทั้งที่ที่โจทก์ยืนสูบบุหรี่อยู่ก็มีน้ำนองพื้น ยากที่จะเกิดเหตุไฟไหม้เนื่องจากการสูบบุหรี่ จึงยังถือไม่ได้ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการฝ่าฝืนระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยอย่างร้ายแรงจนเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 619/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าโรงงานตามอำนาจมอบหมาย ไม่ถือเป็นการบุกรุกหรือรบกวนการครอบครอง
จำเลยเข้าไปในโรงงานทำน้ำแข็งเพื่อจัดกิจการในโรงงานดังกล่าว ตามที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิตามคำสั่งศาล ทั้งก่อนจะเข้าไปจำเลยได้แสดงใบมอบอำนาจและแจ้งความจำนงให้โจทก์ร่วมทราบแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเข้าไปโดยมีเหตุอันสมควร มิได้มีเจตนาบุกรุกถือไม่ได้ว่าเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ร่วมโดยปกติสุข จำเลยไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชุมนุมประท้วงในโรงงานขัดขวางการทำงาน ละเมิดต่อนายจ้าง ไม่เป็นการนัดหยุดงานตามกฎหมาย
ลูกจ้างหยุดงานและชุมนุมกันในบริเวณที่นายจ้างต้องใช้ทำงานผลิตและอยู่ใกล้สถานที่เก็บวัสดุไวไฟ นายจ้างไม่ยินยอมให้ลูกจ้างชุมนุมในบริเวณดังกล่าวจึงได้ขอร้องให้ไปชุมนุมที่อื่นในบริเวณโรงงานนั้นเองแต่ลูกจ้างคงขัดขืนชุมนุมกันอยู่ที่เดิมและก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างดังนี้ การกระทำของลูกจ้างเป็นการละเมิดต่อนายจ้างแล้วกรณีละเมิดและการเลิกจ้างเป็นคนละกรณีกันมิใช่ว่านายจ้างจะต้องเลิกจ้างก่อนแล้วการกระทำของลูกจ้างจึงจะเป็นการละเมิด
การนัดหยุดงานเป็นวิธีการของฝ่ายลูกจ้างที่ได้กระทำเพื่อบังคับฝ่ายนายจ้างให้ยอมรับตามข้อเรียกร้องของตนในการเจรจาต่อรองโดยวิธีร่วมกันไม่ทำงานให้แก่นายจ้างพร้อมกันเท่านั้น การกระทำอย่างอื่นเช่น การปิดกั้นถนน หรือการชุมนุมโดยละเมิดสิทธิของผู้อื่น ย่อมมิใช่การนัดหยุดงานหรือเป็นส่วนหนึ่งของการนัดหยุดงานแต่อย่างใด ผู้กระทำจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา 99
เมื่อลูกจ้างเป็นผู้กระทำละเมิดเอง ลูกจ้างก็ต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้นโดยไม่คำนึงว่าสหภาพแรงงานที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกจะสั่งให้ลูกจ้างกระทำหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1064/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปรรูปไม้และการปฏิบัติตามกฎหมายป่าไม้ แม้ได้รับอนุญาตโรงงานแล้ว
การไสไม้ ตัดไม้ บังใบ แม้จะกระทำต่อไม้ที่แปรรูปแล้ว แต่ก็ย่อมทำให้รูปและขนาดของไม้เปลี่ยนไปไม่มากก็น้อย จึงเป็นการแปรรูปไม้ตามกฎหมาย
แม้จำเลยจะได้รับใบอนุญาตตั้งโรงงานไสไม้และซอยไม้จากกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งออกตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 แต่เมื่อโรงงานของจำเลยตั้งอยู่ในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2482 มาตรา 48 ซึ่งแก้ไขแล้ว คือจำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานตั้งโรงงานและประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือเป็นความผิดสองกระทง
กฎหมายบัญญัติให้ผู้จัดตั้งโรงงานดำเนินงานเป็น 2 ตอนการตั้งโรงงานต้องได้รับอนุญาต ตาม พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มาตรา 8 ฝ่าฝืนผิด มาตรา 43 ก่อนเปิดดำเนินการต้องได้รับอนุญาตตาม มาตรา 12 ฝ่าฝืนผิด มาตรา 44 จำเลยตั้งโรงงานประกอบกิจการซ่อมและพ่นสีรถยนต์ เป็นความผิด 2 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 480/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการบริษัทต่อการกระทำผิดของโรงงาน แม้ไม่ได้ระบุมาตราในฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าบริษัทจำเลยที่ 1 เจ้าของโรงงาน และจำเลยที่ 2กรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทได้บังอาจระบายน้ำทิ้งลงในแม่น้ำเป็นการฝ่าฝืนประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ฯลฯขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2512 มาตรา 39, 50เมื่อจำเลยรับสารภาพจึงลงโทษจำเลยตามบทบัญญัติซึ่งโจทก์กล่าวมาในฟ้องแล้วได้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุมาตรา 50 ทวิมาด้วยก็ตาม
of 10