คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3704/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้ครอบครองมีสิทธิเหนือทายาทเจ้าของเดิม แม้มีการจดทะเบียนโอน
เจ้าของเดิมยกที่พิพาทให้ผู้ร้องทั้งสอง ผู้ร้องทั้งสองเข้าครอบครองโดยเจตนายึดถือเพื่อตนมิใช่ในฐานะผู้อาศัย จึงไม่จำต้องบอกกล่าวแสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังเจ้าของเดิม เมื่อผู้ร้องทั้งสองได้เข้าครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ พ.ศ.2503 ติดต่อกันตลอดมา ถือได้ว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์ในที่พิพาท นับแต่นั้นจนถึงวันยื่นคำร้องขอรวมเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้ว ย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ส่วนผู้คัดค้านเป็นทายาทผู้รับโอนมรดกที่พิพาท มิใช่บุคคลภายนอกผู้ได้รับกรรมสิทธิ์มาโดยเสียค่าตอบแทน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสองการจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทของผู้คัดค้าน จึงไม่เป็นการตัดสิทธิการได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของผู้ร้องทั้งสอง และแม้ผู้ร้องทั้งสองมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกที่พิพาท แต่ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสองได้ทราบหรือให้ความยินยอมด้วย จะถือว่าผู้ร้องทั้งสองรับรองกรรมสิทธิ์ของผู้คัดค้านแล้วย่อมมิได้ ผู้ร้องทั้งสองมีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบอนุญาตสถานบริการเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้รับอนุญาต โอนหรือขอแทนไม่ได้
พระราชบัญญัติสถานบริการฯ ตราออกมาเพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อย ศีลธรรม วัฒนธรรม และประเพณีอันดีของชาติ ดังนั้นใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการจึงเป็นใบอนุญาตเฉพาะตัวของผู้รับอนุญาตโดยเฉพาะ จะขออนุญาตแทนกันไม่ได้ และในพระราชบัญญัติฉบับนี้มิได้มีบทบัญญัติว่าด้วยการโอนใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการไว้เป็นการยืนยันให้เห็นว่า ใบอนุญาตตั้งสถานบริการเป็นใบอนุญาตที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะพิจารณาออกให้เฉพาะตัวผู้ขออนุญาตและผู้ขอต่ออายุใบอนุญาตที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเท่านั้น โจทก์จึงไม่อาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกทุจริต จดทะเบียนโอนทรัพย์สินเป็นของตนเอง เสียหายแก่ทายาท
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล มีหน้าที่จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทตามสิทธิของแต่ละคน (ไม่มีสิทธิจดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งศาลกระทำหน้าที่ด้วยการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินนั้นเป็นของตนจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น) ทายาทส่วนใหญ่ไม่รู้มาก่อนว่าจำเลยได้ยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเพราะได้มอบหมายให้โจทก์ร่วมเป็นผู้จัดการแบ่งปันทรัพย์มรดก เอกสารหลักฐานทรัพย์มรดกทั้งหมด โจทก์ร่วมเป็นผู้เก็บรักษาไว้ ซึ่งจำเลยก็รู้เห็นแต่จำเลยกลับไปแจ้งความว่าตราจองที่ดินพิพาทสูญหาย ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทน แล้วจำเลยได้จดทะเบียนโอนมรดกที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวโดยอ้างว่าควรจะเป็นของจำเลย จำเลยไม่ยินยอมที่จะให้เอาชื่อทายาทอื่นเป็นผู้รับมรดกร่วมกับจำเลย แสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำผิดหน้าที่ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกด้วยการจดทะเบียนโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาทเป็นของตนจึงเป็นการกระทำโดยทุจริต มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 353 ประกอบด้วย มาตรา 354

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5866/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์และการดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขโฉนดเป็นหน้าที่ของผู้รับโอน
จำเลยตกลงขายและสละการครอบครองที่พิพาทให้แก่โจทก์แล้วทั้งโจทก์ครอบครองที่พิพาทมาด้วยเจตนาเป็น เจ้าของเป็นเวลากว่า10 ปี โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาท แต่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนแก้ไขหลักฐานทางทะเบียนในที่ดินดังกล่าวเป็นชื่อโจทก์หากไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนามิได้ เนื่องจากจำเลยไม่มีหน้าที่อย่างใดในทางนิติกรรมที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์ เป็นหน้าที่โจทก์ที่จะต้องดำเนินการให้มีชื่อของตนในโฉนดต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4193/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่นำลงหุ้นตกเป็นของห้างหุ้นส่วนตั้งแต่เวลาที่ลงหุ้น แม้ยังมิได้จดทะเบียนโอน
ผู้เป็นหุ้นส่วนนำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนดมาลงทุนเข้าหุ้นในห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด จึงไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล เพียงแต่ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตกเป็นของห้างหุ้นส่วนจำกัดดังกล่าวตั้งแต่เวลาที่นำมาลงหุ้นแล้ว แม้จะไม่มีการจดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินพิพาทนั้นก็ตาม (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 84/2512)
ความเกี่ยวพันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนกับห้าง ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1030 นั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการส่งมอบตัวทรัพย์ มิได้เกี่ยวกับเรื่องกรรมสิทธิ์
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัดผู้ล้มละลายใช้สิทธิของห้างในฐานะเป็นเจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิที่จะติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือได้เสมอโดยไม่มีอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่ระบุ “เปลี่ยนมือไม่ได้” ต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นไม่สมบูรณ์ และเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ผู้สั่งจ่ายเขียนลงด้านหน้าว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" จะโอนให้กันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 985, 917, 306 การโอนระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนจึงต้อง ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอน มิฉะนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เมื่อปรากฏเพียงว่าผู้โอนโอนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้ด้วยวิธีสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายเจ้าหนี้จึงยังไม่เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แล้วผู้โอนจะได้ทำคำบอกกล่าวให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบถึงการสลักหลัง และส่งมอบตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ก็ตาม ก็หาทำให้เจ้าหนี้กลับเป็นผู้ทรงโดยชอบไม่ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ และไม่อาจนำหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนตั๋วสัญญาใช้เงิน 'เปลี่ยนมือไม่ได้' ต้องทำเป็นหนังสือ การสลักหลังและส่งมอบไม่สมบูรณ์
การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่ผู้สั่งจ่ายเขียนลงด้านหน้าว่า"เปลี่ยนมือไม่ได้" จะโอนให้กันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 985,917,306 การโอนระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนจึงต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอน มิฉะนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เมื่อปรากฏเพียงว่าตั๋วสัญญาใช้เงินที่ลูกหนี้เป็นผู้ออกนั้น ผู้โอนได้โอนให้เจ้าหนี้ด้วยวิธีสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น การโอนดังกล่าวย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เจ้าหนี้ยังไม่เป็นผู้ทรง แม้หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แล้ว ผู้โอนจะได้ทำคำบอกกล่าวให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบถึงการสลักหลังและส่งมอบตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ก็หาทำให้เจ้าหนี้กลับเป็นผู้ทรงโดยชอบไม่ ดังนี้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ และไม่อาจนำหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่ระบุ "เปลี่ยนมือไม่ได้" ต้องทำเป็นหนังสือ จึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ผู้สั่งจ่ายเขียนลงด้าน หน้าว่า"เปลี่ยนมือไม่ได้" จะโอนให้กันได้แต่โดย รูปการและด้วย ผลอย่างการโอนสามัญ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 985,917,306 การโอนระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนจึงต้อง ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอน มิฉะนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เมื่อปรากฏเพียงว่าผู้โอนโอนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้ด้วย วิธีสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ตาม กฎหมาย เจ้าหนี้จึงยังไม่เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แล้วผู้โอนจะได้ ทำคำบอกกล่าวให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบถึง การสลักหลัง และส่งมอบตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ก็ตาม ก็หาทำให้เจ้าหนี้กลับเป็นผู้ทรงโดย ชอบไม่ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ และไม่อาจนำหนี้ตามตั๋ว สัญญาใช้เงินนี้ไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์: คู่มือทะเบียนเป็นหลักฐานแสดงการครอบครอง แต่ต้องมีการโอนทางทะเบียนเพื่อยืนยันความเป็นเจ้าของ
แม้ทะเบียนรถจักรยานยนต์จะมิใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ และเป็นเพียงหลักฐานที่กำหนดขึ้นด้วยระเบียบพิธีการเพื่อสะดวกแก่การควบคุมรถ แต่ยังเป็นเอกสารที่มีรายการระบุชื่อผู้เป็นเจ้าของรถและมีรายการเปลี่ยนแปลงการโอนทางทะเบียนอันเป็นพยานหลักฐานแสดงว่าผู้ใดเป็นเจ้าของอย่างหนึ่ง เมื่อคู่มือทะเบียนการเสียภาษีรถมีชื่อบริษัท ฮ. เป็นเจ้าของและผู้ร้องไม่ได้นำผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ฮ. มานำสืบถึงการขายรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ผู้ร้อง ตลอดทั้งเหตุแห่งการที่ไม่มีการโอนทางทะเบียนจึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์ของกลาง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4457/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกันภัยค้ำจุนยังคงมีผลแม้ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หากรถยังอยู่ในอายุการคุ้มครองและมีการโอนมรดก
จำเลยที่ 3 รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่ 2ตามกรมธรรม์ประกันภัยกำหนดเรื่องการโอนรถยนต์ว่า กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเมื่อผู้เอาประกันภัยโอนรถยนต์ให้บุคคลอื่น เว้นแต่รถยนต์เปลี่ยนมือจากผู้เอาประกันภัยโดยพินัยกรรมหรือโดยบทบัญญัติกฎหมาย ข้อกำหนดดังกล่าวไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้กรมธรรม์ประกันภัยสิ้นผลบังคับเพราะเหตุผู้เอาประกันภัยถึงแก่กรรม ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะถึงแก่กรรมก่อนเกิดเหตุ แต่ขณะเกิดเหตุรถยนต์บรรทุกคันที่เอาประกันภัยไว้ยังอยู่ในอายุการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยและ ว. ภรรยาของจำเลยที่ 2 เป็นทายาทและรับมรดกสืบสิทธิจากจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้เอาประกันภัย จำเลยที่ 1 ซึ่งเดิมเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงยังคงเป็นลูกจ้างขับรถยนต์บรรทุกคันที่เอาประกันภัยไว้โดย ว. ว่าจ้างต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของ ว.นายจ้างว. จึงมีความผูกพันต้องรับผิดต่อโจทก์ ดังนั้น จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนต่อโจทก์ด้วย
of 14