คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1504/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินให้ผู้อื่นหลังฟ้องคดีเดิมถือเป็นผิดสัญญา ชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัย ฟ้องซ้ำไม่成立
คดีก่อน โจทก์ฟ้องว่าได้บอกเลิกสัญญาและเรียกเงินมัดจำกับเบี้ยปรับจากจำเลยอ้างว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขาย ประเด็นที่วินิจฉัยในคดีก่อนมีว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้วหรือไม่แต่คดีก่อนศาลพิพากษายกฟ้องเพราะการบอกเลิกสัญญาไม่ชอบโดยศาลยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นที่ว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายหรือไม่ แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าก่อนที่ศาลฎีกาจะพิพากษาในคดีก่อนจำเลยโอนที่ดินตามสัญญาให้แก่ผู้อื่น จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงมีว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อขายหรือไม่ ประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยในคดีนี้กับคดีก่อนจึงอาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ การที่จำเลยโอนที่ดินที่จะซื้อขายให้บุคคลอื่น ย่อมเห็นได้อยู่แล้วว่าจำเลยเป็นฝ่ายตั้งใจที่จะไม่ปฏิบัติตามสัญญาและจำเลยย่อมไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้คือการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่โจทก์ได้อีก การชำระหนี้จึงตกเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบ ส่วนการที่โจทก์จะสามารถดำเนินการตามกฎหมายให้ที่พิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้หรือไม่ อย่างไรเป็นคนละกรณีกับการชำระหนี้ซึ่งตกเป็นพ้นวิสัย ทั้งการที่โจทก์ฟ้องคดีเท่ากับเป็นการเลิกสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 389ในตัวอยู่แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนมัดจำพร้อมเบี้ยปรับและดอกเบี้ยเพราะเหตุที่จำเลยไม่ไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์ตามสัญญา โดยโจทก์ไม่จำต้องบอกกล่าวให้จำเลยไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6789/2541 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาโอนที่ดินให้ครบถ้วน แม้มีเจ้าของรวมอื่น ย่อมถูกบังคับคดีได้
เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ พร้อมทั้งให้จำเลยรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ 95,000 บาท ไปจากโจทก์ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 15,000 บาท และใช้ค่าเสียหาย 20,000 บาท ให้โจทก์ จำเลยก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตามลำดับในคำพิพากษาดังกล่าว จำเลยจะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ในลำดับที่สองโดยอ้างว่าจำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยลำพังตนเองหาได้ไม่ ทั้งนี้เพราะ อ.เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายนี้แล้ว และกรณีเช่นว่านี้โจทก์ย่อมขอให้บังคับคดีแก่จำเลยรวมทั้ง อ.เจ้าของรวมอีกคนหนึ่งได้ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบด้วยป.พ.พ.มาตรา 213 และ 1361 วรรคสอง จำเลยไม่อาจเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ตามลำพังตนเองโดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 650/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินสาธารณประโยชน์โดยมิชอบทำให้ผู้รับโอนไม่มีอำนาจฟ้องรุกล้ำที่ดิน
เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมและไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ประเด็นในเรื่องนี้จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นสืบพยานและพิพากษาใหม่แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่แล้ว จำเลยจะอุทธรณ์โต้แย้ง ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมอีกไม่ได้ เพราะเป็นการดำเนิน กระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นทางสาธารณประโยชน์โดยปริยายแล้ว การซื้อขายระหว่างโจทก์กับเจ้าของเดิมขัดต่อกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องในชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาครั้งแรกได้วินิจฉัยเพียงว่า ไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะขายที่ดินของตนที่จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรให้แก่บุคคลอื่นไม่ได้ โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของที่ดินเดิมโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โดยยังมิได้วินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยปริยายหรือไม่ อันจะเป็นข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การปรับบทกฎหมายว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องตามที่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้หรือไม่ ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยจะขอให้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทนี้อีกไม่ได้ เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในครั้งแรกแล้วเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงวินิจฉัยประเด็นข้อนี้โดย ไม่ต้องย้อนสำนวน เจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นถนนในโครงการศูนย์การค้าที่จัดสรรทุกสายซึ่งรวมถึงถนนที่ที่ดินพิพาทรวมอยู่ด้วยให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยผลของการแสดงเจตนาอุทิศดังกล่าว แม้จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทาง ทะเบียนก็ตาม ก็ต้องถือว่าเจ้าของเดิมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและจะโอนแก่กันไม่ได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่ง บทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา ที่ดินพิพาทตกเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินก่อนโจทก์จะรับโอนที่ดินมา การรับโอนที่ดินพิพาทของโจทก์จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายโจทก์ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ทั้งไม่มีสิทธิยึดถือที่ดินพิพาทเอาเป็นของตนเอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5890/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การกำหนดเวลาโอนที่ดินและความผิดสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่ง จ.ตาของจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองเป็นที่ดินเนื้อที่ 55 ไร่ 2 งาน 63 ตารางวา ในราคาไร่ละ30,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำจำนวน 300,000 บาท ให้จำเลยในวันทำสัญญาแล้ว ส่วนเงินที่เหลือจำนวน 1,365,000 บาท จะชำระให้ภายใน 6 เดือน หรือต่อเมื่อโจทก์ได้รับโอนที่ดินดังกล่าวซึ่งออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เรียบร้อยแล้ว ต่อมาหลังทำสัญญา 3 เดือน เจ้าพนักงานที่ดินออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 3595แต่ขณะที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ การขอออก น.ส.3 ก. สำหรับที่ดินดังกล่าวอาจจะมีระยะเวลาเกินกว่า 6 เดือนก็ได้ จึงมิใช่กรณีกำหนดชำระหนี้กันไว้แน่นอนแล้ว เมื่อครบกำหนด 6 เดือนแล้ว จำเลยได้ติดต่อจ่าสิบตำรวจ ภ.ให้โจทก์มารับโอนที่ดิน แต่โจทก์แจ้งว่าให้จำเลยถมทางเข้าที่ดินก่อนเพื่อที่จะให้ทางธนาคารมาดู จำเลยจึงได้ดำเนินการถมที่ดินเสียค่าใช้จ่ายไปเป็นเงิน 10,000 บาท แสดงว่าจำเลยก็มิได้ถือกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ ทั้งหลังจากถมที่ดินเสร็จแล้วจ่าสิบตำรวจ ภ.ได้มาดูที่ดินและแจ้งกับจำเลยว่าประมาณเดือนมีนาคม 2536 จะมารับโอนที่ดินพร้อมกับจ่ายเงินให้ ครั้นถึงกำหนดโจทก์ก็ไม่ได้มารับโอนที่ดิน เมื่อจำเลยไปที่บ้านโจทก์ โจทก์แจ้งว่ายังไม่พร้อม แต่จะนัดหมายใหม่ประมาณปลายเดือนมีนาคม2536 โดยไม่ได้ระบุวันที่แน่นอนไว้ ครั้นครบกำหนดแล้วโจทก์ก็ไม่ได้ติดต่อมา แสดงว่าโจทก์จำเลยมิได้กำหนดวันโอนที่ดินดังกล่าวกันไว้ให้แน่นอน เมื่อโจทก์ยังไม่มารับโอนจึงจะถือว่าโจทก์ผิดสัญญาไม่ได้ ดังนี้ เมื่อโจทก์มีหนังสือเตือนให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาแต่จำเลยไม่ได้ไปตามกำหนดนัด จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องจดทะเบียนโอนที่ดินแก่โจทก์ หากโอนไม่ได้ก็ต้องคืนเงินมัดจำให้โจทก์ และตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4980/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยการให้เป็นของขวัญก่อนเสียชีวิต ไม่ถือเป็นมรดก การเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของในทะเบียนหลังศาลตั้งผู้จัดการมรดก
จำเลยเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่เป็นมรดกของ ด. แม้ที่ดินพิพาทจะมีชื่อด. เป็นเจ้าของก็ตาม แต่ที่ดินพิพาทก็เป็นเพียงที่ดินมือเปล่าซึ่งโอนให้แก่กันได้ โดยเพียงแต่ผู้เป็นเจ้าของแสดงเจตนาสละการครอบครองเท่านั้นสำหรับกรณีที่ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกมรดกของ ด. และจำเลยได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทมาเป็นชื่อของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก คดีดังกล่าวจำเลยได้ระบุในคำร้องคัดค้านคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ด.ว่า ด. ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยแล้ว หาได้ระบุว่าเป็นมรดกของ ด. ไม่ การที่จำเลยโต้แย้งยืนยันตลอดมา แสดงให้เห็นว่าการยื่นคำร้องคัดค้านนั้นเป็นการปกป้องสิทธิของตน และเพื่อจะดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงหลักฐานทางทะเบียนให้ได้สิทธิโดยสมบูรณ์ในที่ดินพิพาทเท่านั้น การโอนที่ดินพิพาทหลังจากศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ด.จึงเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงชื่อเจ้าของในเอกสารสำคัญสำหรับที่ดินพิพาทให้ถูกต้องตามความจริง หาทำให้ความเป็นเจ้าของที่ดินของจำเลย เปลี่ยนแปลงไปไม่ เมื่อจำเลยได้รับที่ดินพิพาท มาจากการที่ น.และด. ยกให้และจำเลยได้ครอบครองในฐานะเป็นเจ้าของตลอดมา ที่ดินพิพาทมิใช่เป็นมรดกของ ด. จำเลยจึงไม่มีหน้าที่จะต้องโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ซึ่งเป็น ทายาทของ ด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 355/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาชำระหนี้จากการโอนที่ดิน: ศาลฎีกาชี้ว่าการโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ไม่ใช่การถูกหลอกลวง และประเด็นราคาตลาดต้องยกขึ้นว่าในคำฟ้อง
โจทก์กู้เงินจากจำเลย 100,000 บาท กำหนดชำระคืนภายใน3 เดือน โดยโจทก์นำที่ดินพิพาทมาจดทะเบียนจำนองเป็นประกัน เมื่อครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย โดยขณะทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท โจทก์รู้และเข้าใจดีว่ายังเป็นหนี้จำเลยตามสัญญากู้และสัญญาจำนองที่ทำกันไว้ เมื่อโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยก็โดยเจตนาชำระหนี้ดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เรื่องจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้ชั่วคราวโดยมีข้อตกลงให้โจทก์มาไถ่คืนได้ในภายหลัง
ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า นิติกรรมโอนที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเป็นโมฆะ เนื่องจากโจทก์ไม่มีเจตนาโอนที่ดินพิพาทเพื่อชำระหนี้แก่จำเลยหรือไม่นั้น อันเป็นการกำหนดประเด็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 154มิใช่การกำหนดประเด็นตาม ป.พ.พ.มาตรา 159 ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจหยิบยกคำเบิกความของ อ.ขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า ขณะที่ทำนิติกรรมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท โจทก์รู้และเข้าใจดีว่ายังเป็นหนี้จำเลยตามสัญญากู้และสัญญาจำนองที่ทำกันไว้ โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยก็โดยเจตนาชำระหนี้ดังกล่าว มิใช่เรื่องจำเลยหลอกลวงให้โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้ชั่วคราวโดยมีข้อตกลงให้โจทก์มาไถ่คืนได้ในภายหลังนั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงไปตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีว่า โจทก์มีเจตนาทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยเจตนาชำระหนี้ตามที่ศาลชั้นต้นได้กำหนดไว้ในวันชี้สองสถานดังกล่าวแล้วแม้จะมีถ้อยคำว่าหลอกลวงในคำวินิจฉัยก็เป็นเรื่องกล่าวเกินเลยไปเท่านั้น ศาลอุทธรณ์หาได้วินิจฉัยว่าเป็นเรื่องโจทก์ทำนิติกรรมเพราะถูกจำเลยหลอกลวงหรือเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 159 วรรคหนึ่ง จึงไม่ใช่เป็นการที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงนอกฟ้อง
ฎีกาของโจทก์ที่โจทก์อ้างว่า นิติกรรมที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเป็นโมฆะ เพราะไม่มีการตีราคาที่ดินพิพาทตามราคาท้องตลาดในเวลาและสถานที่ที่ส่งมอบ ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 656 นั้น เมื่อข้อเท็จจริงที่ว่าราคาที่ดินที่โจทก์โอนที่ดินพิพาทชำระหนี้แก่จำเลยเป็นราคาเท่ากับท้องตลาดขณะที่โอนที่ดินแทนการชำระหนี้อันเป็นเหตุให้นิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่นั้น โจทก์มิได้ตั้งประเด็นนี้ขึ้นกล่าวอ้างไว้ในคำฟ้อง จึงไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท และย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่คู่ความในการอุทธรณ์ฎีกา แม้โจทก์จะอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยปัญหานี้ให้แก่โจทก์ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2723/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเอกสารสิทธิไปจดทะเบียนโอนโดยไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188
โจทก์ร่วมทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้จำเลยนำไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันค่าเสียหายที่จำเลยไปทำงานเป็นพนักงานเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแต่จำเลยนำไปจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวเป็นของจำเลยซึ่งไม่ตรงกับเจตนาของโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมมิได้ยินยอมยกให้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเอาไปเสียซึ่งเอกสารสิทธิของโจทก์ร่วมในการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 ตามบทบัญญัติลักษณะ 3 ความผิดเกี่ยวกับการยุติธรรมหมวด 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมนั้นมิได้บัญญัติโดยมุ่งหมายเฉพาะการกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรมเท่านั้น แต่ยังบัญญัติโดยมุ่งหมายไปในทางพยานหลักฐานแห่งคดีอีกด้วยการที่จำเลยเอาไปเสียซึ่งเอกสารหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ร่วมในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วม จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยไม่สุจริต ผู้ซื้อทราบว่าที่ดินมีผู้ครอบครองอยู่แล้ว จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเดิมบิดาและ ป. มารดาของ ส. ได้จับจองไว้ ต่อมา ส. นำที่ดินดังกล่าวไปออกโฉนดแทนในนามของ ส. ที่ดินตามโฉนดดังกล่าวจึงยังเป็นของบิดามารดาของ ส.ต่อมาส. จดทะเบียนแบ่งที่ดินดังกล่าวให้แก่ป. และพี่น้อง กับแบ่งขายให้แก่ผู้คัดค้านและ ว. ด้วยเนื่องจาก ส. ต้องการแบ่งที่ดินให้ ป. เป็นจำนวน5 ไร่ แต่ปรากฏว่าที่ดินที่จดทะเบียนแบ่งให้ ป. นั้น มีเนื้อที่ 4 ไร่เศษ ส. จึงยกที่ดินส่วนที่พิพาทเนื้อที่ประมาณ 3 งาน ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินแปลงที่ยกให้อีกประมาณ3 งาน โดยมิได้มีการโอนทางทะเบียน ซึ่ง ป. ก็ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัยในที่ดินส่วนที่ ส.ยกเพิ่มให้นี้การที่ส.ขายที่ดินพิพาทให้แก่ผู้คัดค้าน โดยผู้คัดค้านทราบอยู่แล้วว่ามีบ้านปลูกอยู่และมี ป. มารดาของ ส. อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้น กับทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นของ ป. ซึ่งยังคงครอบครองอยู่ จึงเป็นการรับโอนมาโดยไม่สุจริต ผู้คัดค้านจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7034/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินนิคมสร้างตนเองและผลกระทบต่อสินสมรส การโอนที่ดินต้องเป็นไปตามเงื่อนไข พ.ร.บ.จัดที่ดินฯ
ที่ดินมือเปล่าที่พิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยแบ่งกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งในฐานะเป็นสินสมรส เมื่อปรากฏว่าที่ดินแปลงดังกล่าวนิคมสร้างตนเองยังมิได้มีการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่จำเลย และยังอยู่ในระหว่างที่กำลังปฏิบัติตามเงื่อนไขของการจะได้กรรมสิทธิ์ แต่ยังปฏิบัติไม่สำเร็จตามเงื่อนไข และตกอยู่ในบังคับแห่ง พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511 มาตรา 12 ที่บัญญัติว่า ภายในห้าปีนับแต่วันที่ได้รับโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากการตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี และภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวที่ดินนั้นไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี และเมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และถึงแม้หากจะได้มีหลักฐานกรรมสิทธิ์อยู่ ก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์เกินกว่าห้าปีแล้ว ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ครึ่งหนึ่งในฐานะเป็นสินสมรสได้ ส่วนสิทธิในการที่จะได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทของโจทก์ก็เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยจะไปว่ากล่าวกับนิคมสร้างตนเอง เพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบข้อบังคับและ พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ต่อไป
บ้านพิพาทอันเป็นสินสมรสปัจจุบันมีราคา 70,000 บาทและบ้านหลังนี้จำเลยได้ปลูกแทนบ้านที่ปลูกอยู่เดิม โดยจำเลยได้เสียค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างใหม่ไปเป็นเงิน 40,000 บาท ดังนี้การคำนวณราคาบ้านหลังเดิมว่าจำนวนเท่าใดจึงต้องนำราคาบ้านหลังปัจจุบัน หักด้วยราคาค่าใช้จ่ายที่นำมาปลูกขึ้นใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6344/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การโอนที่ดินมรดกต่างแปลงกัน ถือเป็นเรื่องไม่เดียวกัน แม้ฟ้องขอแบ่งมรดกเดียวกัน
แม้จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกนายตามเท่านั้นที่ให้การต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 5 เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขดำที่ 283/2535ของศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า เมื่อฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 5เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขดำที่ 283/2535 โจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 5 ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อแบ่งทรัพย์มรดกตามฟ้อง ฟ้องโจทก์ที่ 2ถึงโจทก์ที่ 5 ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนย่อมตกไปด้วยก็ตาม แต่เมื่อการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงโจทก์ที่ 5 คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 283/2535 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ เป็นการกำหนดประเด็นแบบกว้าง เป็นที่เข้าใจว่าหมายถึงฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 เกี่ยวกับจำเลยที่ 1เป็นฟ้องซ้อนหรือไม่ และเมื่อฟังว่าเป็นฟ้องซ้อนศาลก็ต้องวินิจฉัยต่อไปว่าฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ย่อมตกไปด้วยหรือไม่ ดังนั้น ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดมาชอบแล้ว
คดีก่อนโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายตามโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 659 มรดกส่วนหนึ่งของ ต.ให้แก่จ.โดยไม่ชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. และนำที่ดินมาแบ่งแก่โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นทายาทของ ต.ส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนายตามโอนที่ดินโฉนดเลขที่6278 ให้จำเลยที่ 2 โดยมิชอบ ขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และนำที่ดินดังกล่าวมาแบ่งแก่ทายาท ดังนี้ แม้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ทั้งสองคดีจะฟ้องจำเลยที่ 1 อ้างว่าเป็นทายาทของ ต.และขอให้แบ่งมรดกของต.ก็ตาม แต่มูลคดีที่ฟ้องเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 นำที่ดินมรดกคนละแปลงโอนให้แก่บุคคลอื่นโดยไม่ชอบคนละคราวกัน ซึ่งถือได้ว่ามิใช่เรื่องเดียวกัน ดังนั้นฟ้องโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5 คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน
of 33