คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนสิทธิเรียกร้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3316/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างไม่ทำให้ระยะเวลาอายุความเปลี่ยนแปลง ผู้รับโอนมีสิทธิใช้อายุความเดิมได้
การโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ2ลักษณะ1หมวด4นั้นเป็นการโอนสิทธิตามที่เป็นอยู่ตามสภาพเดิมให้แก่ผู้รับโอนเข้ามาเป็นเจ้าหนี้แทนมิได้มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิและโดยปกติลูกหนี้มีข้อต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมอย่างไรก็ยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องนั้นได้ซึ่งย่อมรวมทั้งข้อต่อสู้เรื่องอายุความด้วยโดยเหตุนี้อายุความที่ลูกหนี้จะยกขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงต้องใช้อายุความเดียวกับที่ลูกหนี้สามารถยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้คนเดิมได้เมื่อสิทธิเรียกร้องในคดีนี้เป็นค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำของระหว่างจำเลยกับอ.ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าการงานที่ได้ทำจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)(เดิม)หรือมาตรา193/34(1)(ใหม่)นับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าจ้างแต่ละงวดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169(เดิม)หรือมาตรา193/12(ใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการหักชำระหนี้ จำเลยมีสิทธิหักค่าวัสดุค้างชำระจากค่าจ้างที่โอนให้โจทก์ได้
ตามข้อความในหนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง มีข้อตกลงกันว่าจำเลยยินยอมให้โอนสิทธิเรียกร้องที่ ร.จะได้รับเงินค่าจ้างจากจำเลยให้โจทก์เป็นผู้รับโดยมีเงื่อนไขว่าจะจ่ายเงินค่าจ้างให้ต่อเมื่อจำเลยได้หักค่าวัสดุที่ ร.ค้างชำระอยู่กับจำเลยเรียบร้อยแล้ว ย่อมเท่ากับว่าจำเลยได้โต้แย้งแสดงการสงวนสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าวไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 308 วรรคหนึ่ง แล้ว สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินดังกล่าวจึงไม่อาจเกินไปกว่าสิทธิที่ ร.มีอยู่ตามสัญญาว่าจ้างจำเลยย่อมสามารถยกข้อต่อสู้ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องประกอบกับสัญญาว่าจ้างที่ตนมีต่อ ร.ซึ่งเป็นผู้โอนขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนได้ จำเลยย่อมมีสิทธิหักเงินบรรดาค่าวัสดุที่ค้างชำระอยู่กับจำเลยได้ โดยไม่จำกัดว่าค่าวัสดุที่ค้างจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้อง เมื่อจำเลยได้คำนวนค่าวัสดุที่ ร.ค้างชำระเสร็จสิ้นก่อนที่จะจ่ายเงินค่าจ้าง จำเลยย่อมนำไปหักออกจากค่าจ้าง คงชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการหักค่าวัสดุค้างชำระ: สิทธิของผู้รับโอนจำกัดตามข้อตกลง
ตามข้อความในหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องมีข้อตกลงกันว่าจำเลยยินยอมให้โอนสิทธิเรียกร้องที่ร. จะได้รับเงินค่าจ้างจากจำเลยให้โจทก์เป็นผู้รับโดยมีเงื่อนไขว่าจะจ่ายเงินค่าจ้างให้ต่อเมื่อจำเลยได้หักค่าวัสดุที่ร.ค้างชำระอยู่กับจำเลยเรียบร้อยแล้วย่อมเท่ากับว่าจำเลยได้โต้แย้งแสดงการสงวนสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าวไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา308วรรคหนึ่งแล้วสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินดังกล่าวจึงไม่อาจเกินไปกว่าสิทธิที่ร.มีอยู่ตามสัญญาว่าจ้างจำเลยย่อมสามารถยกข้อต่อสู้ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องประกอบกับสัญญาว่าจ้างที่ตนมีต่อร. ซึ่งเป็นผู้โอนขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนได้จำเลยย่อมมีสิทธิหักเงินบรรดาค่าวัสดุที่ค้างชำระอยู่กับจำเลยได้โดยไม่จำกัดว่าค่าวัสดุที่ค้างจะเกิดขึ้นก่อนหรือหลังวันทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องเมื่อจำเลยได้คำนวณค่าวัสดุที่ร. ค้างชำระเสร็จสิ้นก่อนที่จะจ่ายเงินค่าจ้างจำเลยย่อมนำไปหักออกจากค่าจ้างคงชำระเงินส่วนที่เหลือให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4683/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าเช่าโดยมีเงื่อนไข และการโอนสิทธิเรียกร้องที่ไม่แจ้งให้ทราบ ถือเป็นการชำระหนี้ไม่สมบูรณ์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ซื้อที่ดินอันเป็นทรัพย์ที่จำเลยเช่าจากน. และพ.แล้วโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์ที่เช่าจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในข้อนี้ปัญหานี้ย่อมเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าสัญญาซื้อขายที่ดินที่เช่าระหว่างโจทก์กับน. และพ.เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญากู้ยืมสัญญาซื้อขายจึงเป็นโมฆะโจทก์มิใช่เจ้าของที่ดินที่เช่านั้นเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142 โจทก์ได้มอบให้ทนายความมีหนังสือลงวันที่22ธันวาคม2535แจ้งให้จำเลยทราบว่าน. และพ. ขายที่ดินที่จำเลยเช่าให้โจทก์แล้วให้จำเลยนำค่าเช่างวดที่จะต้องชำระภายในวันที่20มีนาคม2536มาชำระให้โจทก์ซึ่งจำเลยรับทราบแล้วเมื่อวันที่23ธันวาคม2535การที่จำเลยนำเงินค่าเช่าไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์ประจำศาลจังหวัดภูเก็ตโดยมีเงื่อนไขในการวางทรัพย์ตามคำร้องขอวางทรัพย์ว่าหากโจทก์มารับเงินก็ขอให้โจทก์ทำสัญญาเช่าใหม่กับจำเลยตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าเดิมที่น.ทำกับจำเลยเมื่อโจทก์ขอรับเงินที่จำเลยวางไว้เพื่อชำระค่าเช่าตามสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินซึ่งให้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569วรรคสองแต่ไม่อาจรับเงินได้เนื่องจากติดเงื่อนไขที่จำเลยกำหนดไว้ในการวางเงินดังกล่าวที่ว่าโจทก์ต้องทำสัญญาเช่ากับจำเลยใหม่ตามเงื่อนไขในสัญญาเช่าเดิมซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติใดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเช่าทรัพย์บัญญัติรองรับไว้การที่โจทก์ไม่ประสงค์จะทำสัญญาเช่าใหม่กับจำเลยจึงมิใช่ความผิดของโจทก์ดังนั้นการวางเงินโดยมีเงื่อนไขดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยชำระค่าเช่านั้นให้โจทก์แล้วจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการโอนทรัพย์ที่เช่าดังกล่าวเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องน. มิได้แจ้งการโอนให้จำเลยทราบเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคแรกการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ชอบจึงถือว่าโจทก์มิได้เป็นเจ้าหนี้จำเลยและไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเห็นว่าจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา225วรรคหนึ่งศาลฎีกาจึงไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและอายุความ: ผลของการให้ความยินยอมโดยไม่อิดเอื้อนต่อการยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความ
ขณะที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท ว.คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความฟ้องเรียกเอาค่าจ้างทำของจากจำเลยซึ่งมีกำหนด 5 ปี จำเลยจึงยังไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ ต่อมาจำเลยได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องไป โดยไม่อิดเอื้อน และโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากคดีขาดอายุความแล้วจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง & อายุความ: ผลของการยินยอมโอนสิทธิเมื่ออายุความยังไม่ครบ
คำว่า"ข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอน"ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา308นั้นหมายความว่าข้อต่อสู้ที่มีอยู่ในวันที่การโอนสิทธิเรียกร้องการที่จำเลยหรือลูกหนี้รู้ว่ามีข้อต่อสู้ดังกล่าวในวันที่ทำการโอนสิทธิเรียกร้องแต่ก็ยังให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องถือว่าจำเลยหรือลูกหนี้สละข้อต่อสู้นั้นแล้วจำเลยจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่ต่อผู้โอนดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้แต่ถ้าข้อต่อสู้นั้นเกิดขึ้นภายหลังวันโอนสิทธิเรียกร้องย่อมไม่ตัดสิทธิของจำเลยหรือลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ดังนั้นเมื่อขณะที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัทว.คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความฟ้องเรียกเอาค่าจ้างทำของซึ่งมีกำหนด5ปีจำเลยจึงยังไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ต่อมาจำเลยได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องไปโดยไม่อิดเอื้อนและโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากคดีขาดอายุความแล้วจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวนั้นขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างเหมา: เจตนาของจำเลยสำคัญกว่าเงื่อนไขในสัญญา
แม้สัญญาจ้างเหมาระหว่างจำเลยกับผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนจะระบุว่า ผู้รับจ้างจะโอนสิทธิหน้าที่ตามสัญญาให้แก่ผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยมิได้ ซึ่งปรับได้ว่าผู้รับจ้างและจำเลยได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคสอง กับเมื่อผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนและโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อตกลงการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้าง จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า หากโจทก์จะเป็นผู้รับค่าจ้างในงวดต่อ ๆ ไปแทนผู้รับจ้างก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในหนังสือสัญญาจ้างเหมาและจะต้องออกใบเสร็จรับเงินค่าจ้างโดยผู้รับจ้าง อันยังถือไม่ได้ถนัดว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามสัญญาจ้างเหมาข้อ 15 ก็ตาม แต่หลังจากนั้นผู้รับจ้างได้มีหนังสือถึงจำเลยขอให้จำเลยทำหนังสือถึงโจทก์ โดยขอให้มีข้อความระบุว่า "จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์" สำหรับขั้นตอนการรับเงินคงเหมือนเดิม ซึ่งต่อมาจำเลยก็ได้มีหนังสือแจ้งไปถึงโจทก์ว่า จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง และตามสัญญาจ้างเหมาแล้ว ส่วนขั้นตอนการรับเงินที่จำเลยกำหนดไว้นั้น เป็นเพียงวิธีการคิดคำนวณค่าจ้างในแต่ละงวดว่าจะต้องจ่ายเท่าใด ตามข้อตกลงในสัญญาจ้างเหมาเท่านั้น ส่วนผู้มีสิทธิรับเงินค่าจ้างจะต้องเป็นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้อง การโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินระหว่างผู้รับจ้างกับโจทก์ จึงมีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับโอน ไม่ใช่ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง
ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงิน หนังสือบอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้อง หนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์ หนังสือของ ป. ที่มีถึงจำเลยและหนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์ เอกสารดังกล่าวทั้งหมดไม่ได้ระบุถึงงานที่เพิ่ม ดังนั้น จะถือว่าได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องในส่วนนี้แล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและการยินยอมของลูกหนี้: ผลผูกพันตามกฎหมาย
แม้ผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนสิทธิเรียกร้องและจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303วรรคสองแต่เมื่อผู้รับจ้างได้มีหนังสือขอให้จำเลยทำหนังสือถึงโจทก์โดยขอให้มีข้อความระบุว่า"จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์"แสดงว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามมาตรา306วรรคหนึ่งการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินระหว่างผู้รับจ้างกับโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องชำระเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าก่อสร้าง: ผลผูกพันต่อจำเลยเมื่อได้รับแจ้งและยินยอม
แม้สัญญาจ้างเหมาระหว่างจำเลยกับผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนจะระบุว่าผู้รับจ้างจะโอนสิทธิหน้าที่ตามสัญญาให้แก่ผู้อื่นโดยปราศจากความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากจำเลยมิได้ซึ่งปรับได้ว่าผู้รับจ้างและจำเลยได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303วรรคสองกับเมื่อผู้รับจ้างซึ่งเป็นผู้โอนและโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อตกลงการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าก่อสร้างจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าหากโจทก์จะเป็นผู้รับค่าจ้างในงวดต่อๆไปแทนผู้รับจ้างก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในหนังสือสัญญาจ้างเหมาและจะต้องออกใบเสร็จรับเงินค่าจ้างโดยผู้รับจ้างอันยังถือไม่ได้ถนัดว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามสัญญาจ้างเหมาข้อ15ก็ตามแต่หลังจากนั้นผู้รับจ้างได้มีหนังสือถึงจำเลยขอให้จำเลยทำหนังสือถึงโจทก์โดยขอให้มีข้อความระบุว่า"จำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์"สำหรับขั้นตอนการรับเงินคงเหมือนเดิมซึ่งต่อมาจำเลยก็ได้มีหนังสือแจ้งไปถึงโจทก์ว่าจำเลยไม่ขัดข้องที่ผู้รับจ้างได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยได้ยินยอมด้วยในการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคหนึ่งและตามสัญญาจ้างเหมาแล้วส่วนขั้นตอนการรับเงินที่จำเลยกำหนดไว้นั้นเป็นเพียงวิธีการคิดคำนวณค่าจ้างในแต่ละงวดว่าจะต้องจ่ายเท่าใดตามข้อตกลงในสัญญาจ้างเหมาเท่านั้นส่วนผู้มีสิทธิรับเงินค่าจ้างจะต้องเป็นโจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องการโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินระหว่างผู้รับจ้างกับโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยที่จะต้องชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับโอนไม่ใช่ชำระให้แก่ผู้รับจ้าง ตามหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินหนังสือบอกกล่าวแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องหนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์หนังสือของ ป. ที่มีถึงจำเลยและหนังสือของจำเลยที่มีถึงโจทก์เอกสารดังกล่าวทั้งหมดไม่ได้ระบุถึงงานที่เพิ่มดังนั้นจะถือว่าได้มีการโอนสิทธิเรียกร้องในส่วนนี้แล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างเหมา: สิทธิตกเป็นของผู้รับโอนก่อนอายัด
เงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างที่องค์การสุรา กรมสรรพสามิตจะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเป็นสิทธิเรียกร้องที่พึงโอนให้แก่กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินจำนวนดังกล่าวไปยังผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างโจทก์และก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดไปยังองค์การสุรากรมสรรพสามิตถึงสองปีเศษ ทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องได้ปฏิบัติครบถ้วนและถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 แล้ว สิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินค่าจ้างเหมาได้ตกเป็นของผู้ร้องและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลอายัดเงินจำนวนดังกล่าว
of 21