พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5463/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า และสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่เกิดก่อน
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นอักษรโรมัน ตัวพิมพ์ใหญ่ คำว่า "HALOTRION" ส่วนของโจทก์เป็นอักษรโรมัน ตัวพิมพ์ใหญ่ คำว่า "HALOTRON" จึงมีอักษรโรมันที่เป็นตัวพิมพ์ใหญ่เหมือนกันถึง 8 ตัว และอยู่ในตำแหน่งเดียวกันแทบทั้งสิ้น โดยเฉพาะอักษรโรมัน 4 ตัวแรก คือ HALO กับอักษรโรมัน 2 ตัวสุดท้ายคือ ON เพียงแต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยมีอักษรโรมัน I แทรกอยู่ระหว่างอักษรโรมัน R กับ O เท่านั้น ถือว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์มีรูปลักษณะที่คล้ายกันมาก ในส่วนของเสียงเรียกขานนั้น เครื่องหมายการค้า HALOTRION ของจำเลยอ่านออกเสียง 4 พยางค์ ว่า ฮา-โล-ทรี-ออน และเครื่องหมายการค้า HALOTRON ของโจทก์อ่านออกเสียง 3 พยางค์ ว่า ฮา-โล-ทรอน แม้จะมีจำนวนพยางค์ที่ออกเสียงต่างกัน แต่เสียงเรียกขาน 2 พยางค์แรกซึ่งเป็นส่วนสำคัญนั้นเหมือนกัน ถือว่าเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์ก็คล้ายกันมากเช่นกันเมื่อพิจารณาเกี่ยวกับจำพวกสินค้า และรายการสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของแต่ละฝ่ายจะเห็นว่า เป็นสินค้าจำพวก 1 รายการสินค้า สารหรือน้ำยาที่ใช้ในการดับเพลิงเหมือนกัน ดังนี้ ถือได้แล้วว่า เครื่องหมายการค้า HALOTRION ของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้า HALOTRON ของโจทก์
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า HALOTRON มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้า HALONITE และ HALOTRION ทั้งจำเลยประกอบธุรกิจชนิดเดียวกับโจทก์ซึ่งมีสินค้าจำหน่ายในประเทศไทยมาก่อนแล้ว และบริษัทในเครือของจำเลยเคยสั่งซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงเป็นไปได้ว่าจำเลยเคยเห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน ทำให้จำเลยคิดใช้เครื่องหมายการค้า HALOTRION อนึ่ง การที่สารฮาลอน HALON เป็นคำสามัญที่บุคคลทั่วไปอาจใช้ได้ ก็ไม่ทำให้จำเลยอาจนำไปใช้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ รวมทั้งข้ออ้างที่ว่าการใช้เครื่องหมายการค้า HALOTRION เป็นเพราะมีการใช้สารประกอบ 3 ชนิด จำเลยก็ไม่สมควรที่จะทำให้เครื่องหมายการค้าของตนคล้ายกับของโจทก์เช่นนี้ จึงรับฟังว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า HALOTRON ดีกว่าจำเลย และเมื่อคดีรับฟังมาแล้วว่า เครื่องหมายการค้า HALOTRION ของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้า HALOTRON ของโจทก์ จึงรับฟังต่อไปได้ด้วยว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า HALOTRION ดีกว่าจำเลย
คดีนี้โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาแล้วมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 16 ซึ่งจำเลยไม่ได้คัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในส่วนนี้ ประกอบกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์อาจถูกคัดค้านในสาเหตุอื่นๆ ได้ โจทก์จึงไม่อาจห้ามจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยเองตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 54 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า HALOTRON มาก่อนจำเลยใช้เครื่องหมายการค้า HALONITE และ HALOTRION ทั้งจำเลยประกอบธุรกิจชนิดเดียวกับโจทก์ซึ่งมีสินค้าจำหน่ายในประเทศไทยมาก่อนแล้ว และบริษัทในเครือของจำเลยเคยสั่งซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงเป็นไปได้ว่าจำเลยเคยเห็นเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก่อน ทำให้จำเลยคิดใช้เครื่องหมายการค้า HALOTRION อนึ่ง การที่สารฮาลอน HALON เป็นคำสามัญที่บุคคลทั่วไปอาจใช้ได้ ก็ไม่ทำให้จำเลยอาจนำไปใช้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ รวมทั้งข้ออ้างที่ว่าการใช้เครื่องหมายการค้า HALOTRION เป็นเพราะมีการใช้สารประกอบ 3 ชนิด จำเลยก็ไม่สมควรที่จะทำให้เครื่องหมายการค้าของตนคล้ายกับของโจทก์เช่นนี้ จึงรับฟังว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า HALOTRON ดีกว่าจำเลย และเมื่อคดีรับฟังมาแล้วว่า เครื่องหมายการค้า HALOTRION ของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้า HALOTRON ของโจทก์ จึงรับฟังต่อไปได้ด้วยว่า โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้า HALOTRION ดีกว่าจำเลย
คดีนี้โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิจารณาแล้วมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 16 ซึ่งจำเลยไม่ได้คัดค้านการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยกระทำการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในส่วนนี้ ประกอบกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์อาจถูกคัดค้านในสาเหตุอื่นๆ ได้ โจทก์จึงไม่อาจห้ามจำเลยคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นควรยกขึ้นวินิจฉัยเองตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 54 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 246 และมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 242/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนภายหลัง และการใช้ก่อนย่อมมีสิทธิเหนือกว่า
โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สำหรับสินค้าจำพวกที่ 30 เมื่อปี 2539 ส่วนจำเลยที่ 1 ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และ สำหรับสินค้าจำพวกที่ 29 เมื่อปี 2542 โจทก์จึงจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนในประเทศไทยก่อนจำเลยที่ 1 และเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 กับขอให้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิดีกว่าได้ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อปี 2545 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดเวลา 5 ปี ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง
สาระสำคัญของเครื่องหมายของโจทก์และจำเลยที่ 1 คืออักษร คำว่า Haldiram's ซึ่งออกเสียงเรียกขานได้หลายประการ เช่น ฮาลดิราม ฮาลดิแรม หรือฮาลไดแรม เป็นต้น สาระสำคัญและเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมีความใกล้เคียงกันมาก เมื่อพิจารณาบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าของฝ่ายโจทก์และจำเลยเองแล้ว จะเห็นว่าอักษรคำว่า Haldiram's เป็นตัวใหญ่เด่นชัดมากกว่าส่วนประกอบอื่นของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน แม้จะใช้รูปแบบของตัวอักษรต่างกัน แต่หากไม่ได้นำบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นมาวางเปรียบเทียบแล้ว เชื่อได้ว่าประชาชนทั่วไปจะสนใจในคำว่า Haldiram's มากกว่ารายละเอียดส่วนอื่นๆ ของเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะสินค้าตามรายการที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 แม้จะต่างจำพวกกัน แต่ก็มีลักษณะเป็นอาหารอย่างเดียวกัน ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้า หรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้ครั้งแรกในประเทศสาธารณรัฐอินเดีย เมื่อปี 2484 จากนั้นได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศอื่นในนามของโจทก์ โจทก์ผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าพิพาทจนแพร่หลาย คนทั่วไปรู้จักเครื่องหมายการค้าพิพาทดี สำหรับในประเทศไทยมีการจำหน่ายมาก่อนปี 2542 ส่วนจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากเจ้าของแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้า "Haldiram Bhujiawala" และ "Haldiram's" ในประเทศไทยโดยกำหนดระยะเวลาแต่งตั้งการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าในครั้งแรกนี้มีกำหนด 5 ปี โดยไม่ปรากฏหลักฐานการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือ ได้รับมอบอำนาจจากฮาดิราม พูเจียวาลา พีวีที.ลิมิเต็ด เจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งได้มีการใช้มาเป็นเวลานานในประเทศสาธารณรัฐอินเดียก่อนปี 2501 มาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เป็นของจำเลยที่ 1 อันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 มีส่วนได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนแล้วโดยสุจริตตั้งแต่เวลาดังกล่าว ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวครั้งแรกในประเทศสาธารณรัฐอินเดียเมื่อปี 2484 จากนั้นได้นำมายื่นคำขดจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยปี 2539 โจทก์จึงมีสิทธิในคำว่า Haldiram's ดีกว่า จำเลยที่ 1 ไม่อาจจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนได้ในภายหลัง และเมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งต่างได้ใช้มาก่อนแล้วโดยสุจริต จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างเหตุความเป็นเจ้าของของเครื่องหมายการค้าเพื่อให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนตามความหมายของมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
สาระสำคัญของเครื่องหมายของโจทก์และจำเลยที่ 1 คืออักษร คำว่า Haldiram's ซึ่งออกเสียงเรียกขานได้หลายประการ เช่น ฮาลดิราม ฮาลดิแรม หรือฮาลไดแรม เป็นต้น สาระสำคัญและเสียงเรียกขานเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมีความใกล้เคียงกันมาก เมื่อพิจารณาบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าของฝ่ายโจทก์และจำเลยเองแล้ว จะเห็นว่าอักษรคำว่า Haldiram's เป็นตัวใหญ่เด่นชัดมากกว่าส่วนประกอบอื่นของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน แม้จะใช้รูปแบบของตัวอักษรต่างกัน แต่หากไม่ได้นำบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นมาวางเปรียบเทียบแล้ว เชื่อได้ว่าประชาชนทั่วไปจะสนใจในคำว่า Haldiram's มากกว่ารายละเอียดส่วนอื่นๆ ของเครื่องหมายการค้าโดยเฉพาะสินค้าตามรายการที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่ 1 แม้จะต่างจำพวกกัน แต่ก็มีลักษณะเป็นอาหารอย่างเดียวกัน ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 จึงมีลักษณะคล้ายกับเครื่องหมายการค้า ของโจทก์ จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้า หรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ใช้ครั้งแรกในประเทศสาธารณรัฐอินเดีย เมื่อปี 2484 จากนั้นได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทในประเทศอื่นในนามของโจทก์ โจทก์ผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าพิพาทจนแพร่หลาย คนทั่วไปรู้จักเครื่องหมายการค้าพิพาทดี สำหรับในประเทศไทยมีการจำหน่ายมาก่อนปี 2542 ส่วนจำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตจากเจ้าของแต่งตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้า "Haldiram Bhujiawala" และ "Haldiram's" ในประเทศไทยโดยกำหนดระยะเวลาแต่งตั้งการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าในครั้งแรกนี้มีกำหนด 5 ปี โดยไม่ปรากฏหลักฐานการอนุญาตให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือ ได้รับมอบอำนาจจากฮาดิราม พูเจียวาลา พีวีที.ลิมิเต็ด เจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งได้มีการใช้มาเป็นเวลานานในประเทศสาธารณรัฐอินเดียก่อนปี 2501 มาจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เป็นของจำเลยที่ 1 อันจะมีผลทำให้จำเลยที่ 1 มีส่วนได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนแล้วโดยสุจริตตั้งแต่เวลาดังกล่าว ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวครั้งแรกในประเทศสาธารณรัฐอินเดียเมื่อปี 2484 จากนั้นได้นำมายื่นคำขดจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยปี 2539 โจทก์จึงมีสิทธิในคำว่า Haldiram's ดีกว่า จำเลยที่ 1 ไม่อาจจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของตนได้ในภายหลัง และเมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งต่างได้ใช้มาก่อนแล้วโดยสุจริต จำเลยที่ 1 จึงไม่อาจอ้างเหตุความเป็นเจ้าของของเครื่องหมายการค้าเพื่อให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนตามความหมายของมาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534