คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ใช้สิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 52 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโกงเจ้าหนี้ (มาตรา 350) ต้องมีการใช้สิทธิทางศาลเรียกร้องหนี้สินก่อน หากยังไม่ได้ดำเนินการ ถือว่ายังไม่ผิดฐานโกงเจ้าหนี้
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 350 นั้น เจ้าหนี้จะต้องใช้สิทธิทางศาลให้ชำระหนี้แล้วอย่างหนึ่ง หรือว่าจะใช้สิทธิทางศาลให้ลูกหนี้ชำระหนี้อีกอย่างหนึ่งเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย ฉะนั้น เมื่อเจ้าหนี้ยังไม่ได้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่ง หรือการที่เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้เป็นคดีอาญา ก็เพียงเพื่อให้ลูกหนี้หาประกันมาให้เจ้าหนี้เป็นที่พอใจแล้วจะไม่เอาเรื่องแก่ลูกหนี้ อันเป็นการแสดงว่าเจ้าหนี้ยังจะไม่ใช้สิทธิทางศาลเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว การที่ลูกหนี้โอนที่ดินให้ผู้อื่นไป จึงยังไม่ผิดฐานโกงเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2502

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมไม่สิ้นสุดแม้ผู้รับโอนได้กรรมสิทธิ์โดยสุจริต หากภารยทรัพย์ยังอยู่และมีการใช้สิทธิอย่างต่อเนื่อง
ภาระจำยอมจะสิ้นไปก็แต่เมื่อภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมดหรือมิได้ใช้สิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1397,1399 และในลักษณะซื้อขายตาม มาตรา 480 ก็ยังบัญญัติว่า"ถ้าอสังหาริมทรัพย์ต้องแสดงว่าตกอยู่ในบังคับแห่งภาระจำยอมโดยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ขายไม่ต้องรับผิด เว้นแต่ผู้ขายจะได้รับรองไว้ในสัญญาว่าทรัพย์นั้นปลอดจากภาระจำยอมอย่างใดๆ ทั้งสิ้นหรือปลอดจากภาระจำยอมอันนั้น"
ตาม มาตรา 1299 หมายถึงแต่กรณีที่บุคคลได้มาโดยสุจริตซึ่งทรัพย์สิทธิอันเดียวกันกับสิทธิที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งมีภาระจำยอมติดอยู่ หาได้สิทธิในภาระจำยอมไปด้วยแต่อย่างไรไม่ สำหรับที่ดินอันเป็นภารยทรัพย์นั้น ภาระจำยอมที่มีอยู่เป็นแต่การรอนสิทธิตาม มาตรา 480 เท่านั้น ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจะยกการรับโอนกรรมสิทธิ์โดยสุจริตขึ้นเป็นข้อต่อสู้เพื่อให้ภาระจำยอมที่มีอยู่ในที่ดินนั้นต้องสิ้นไปหาได้ไม่ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 7/2502)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้องกันตัวสมควรแก่เหตุ: การใช้มีดป้องกันการทำร้ายร่างกาย
จำเลยเข้าไปพูดกับผู้ตายโดยปรกติ จะเนื่องด้วยผู้ตายฟังผิดอย่างไรก็ตาม ผู้ตายโกรธจำเลยตรงเข้าทำร้ายจำเลย จำเลยมีมีดอยู่ในมือใช้เป็นอาวุธทำร้ายเปนการป้องกันตัว สมควรแก่เหตุ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2488

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัย, การใช้สิทธิเกินขอบเขต, และหน้าที่นำสืบในคดีแพ่ง
ผู้อาศัยซึ่งชนะคดีผู้ให้อาศัยย่อมได้รับสิทธิตามคำพิพากษาโดยไม่จำเป็นต้องขอให้ศาลบังคับเสมอไป และใช้ยันคู่กรณีได้ โดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสิทธินั้น จำเลยมีสิทธิอาศัยใช้ลานนวดข้าวในที่ดินของโจทก์ เพียงแต่จำเลยขุดหลุม ปิดประตูและรื้อรั้วดังนี้ เป็นการใช้สิทธิอาศัยเกินขอบเขตต์ไปบ้างเล็กน้อยยังไม่เป็นปฏิปักษ์แก่กรรมสิทธิในที่ดินของโจทก์อันเป็นเหตุให้ระงับตัดสิทธิอาศัยของจำเลยได้โจทก์รับตามรายงานพิจารณาว่าจะเป็นผู้นำสืบก่อนแล้วจะมาโต้แย้งหน้าที่นำสืบในภายหลังไม่ได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผู้อาศัยใช้สิทธิเกินขอบเขตต์ จำเลยให้การปฏิเสธดังนี้ เป็นหน้าที่โจทก์ต้องนำสืบก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1041/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินพิพาท: การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหลังการขอใบเหยียบย่ำ
จำเลยถือสิทธิเข้าครอบครองไนที่รายพิพาทพายหลังที่ฝ่ายโจทได้ร้องขอไห้ทางอำเพอออกไบเหยียบย่ำแล้วเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้ไช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 111/2478

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิในที่ดิน - สิทธิครอบครอง - การใช้สิทธิ
ที่ดิน ใบเหยียบย่ำ +ปกครอง แห่งกรรมสิทธิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5636/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีโดยไม่สุจริตและการใช้สิทธิเรียกร้องที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง ศาลฎีกายืนคำพิพากษายกฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องตั้งสภาพแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อสามงวดติดต่อกัน และโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้ราคาและเรียกร้องค่าเสียหายจำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยทั้งสองมิได้เป็นฝ่ายผิดนัดผิดสัญญา แต่โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและแจ้งให้จำเลยที่ 1 หยุดชำระค่าเช่าซื้อเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 ทั้งโจทก์มิได้ใช้สิทธิร้องขอคืนของกลางในคดีอาญา การที่โจทก์มาฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดจึงเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต และอ้างเหตุแห่งการปฏิเสธต่างๆ หลายประการ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้อง แต่จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีจึงมีเพียงว่า จำเลยทั้งสองผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อสามงวดติดต่อกันตามฟ้องหรือไม่ และโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีโดยสุจริตหรือไม่เท่านั้น ไม่มีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 นำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้ในการกระทำความผิดในคดีอาญาตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6 หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกประเด็น แม้โจทก์จะอ้างสัญญาเช่าซื้อแนบมาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องก็ตาม แต่โจทก์อยู่ในบังคับที่จะต้องบรรยายสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นให้ปรากฏในคำฟ้อง มิใช่อ้างเพียงเอกสารท้ายฟ้องซึ่งมีข้อตกลงต่างจากที่โจทก์ตั้งสภาพแห่งข้อหาบรรยายฟ้องมา แล้วจะถือเอาว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องในเรื่องนั้น ๆ มาแล้วหาได้ไม่ ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ เพราะจำเลยที่ 1 ให้บุคคลอื่นนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้ในการกระทำความผิดอาญาเป็นการผิดข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 6 เป็นการอุทธรณ์ในข้อที่โจทก์มิได้ฟ้อง อุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ก็เป็นการไม่ชอบ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่โจทก์จะฎีกาในปัญหานี้ได้ เพราะเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์แล้ว 15 งวด ครั้งสุดท้ายเป็นการชำระของงวดวันที่ 10 กรกฎาคม 2548 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2548 รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกเจ้าพนักงานตำรวจยึดเป็นของกลาง ต่อมาวันที่ 18 กรกฎาคม 2548 โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาและแจ้งให้จำเลยที่ 1 ยุติการชำระค่างวด การที่จำเลยที่ 1 มิได้ชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 16 ประจำวันที่ 10 สิงหาคม 2548 เป็นต้นมา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ การที่โจทก์บรรยายฟ้องตั้งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อสามงวดติดต่อกัน และอาศัยเป็นเหตุในการเลิกสัญญาและเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อหรือใช้ราคาและเรียกค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์ต่อมา ทั้งๆ ที่โจทก์เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาและแจ้งให้จำเลยที่ 1 ยุติการชำระค่าเช่าซื้อเอง อันเป็นข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากที่โจทก์บรรยายฟ้อง ทั้งโจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ดำเนินการยื่นคำร้องคัดค้านคำร้องขอริบรถยนต์ที่เช่าซื้อจนเป็นเหตุให้รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกริบ ถือว่าเป็นความผิดของโจทก์ การฟ้องคดีของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11267/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับเงินประกันสังคมเกินจำนวน แม้ผู้ประกันตนไม่ทราบ และสำนักงานฯ ไม่แจ้ง การใช้สิทธิภายใน 1 ปี เริ่มเมื่อทราบสิทธิ
บทบัญญัติมาตรา 47 วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 กำหนดระยะเวลาให้ผู้ประกันตนเรียกเอาเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนที่นายจ้างส่งให้แก่สำนักงานประกันสังคมเกินจำนวนที่ต้องชำระคืนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่นำส่งเงินสมทบหรือภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งให้มารับคืนนั้น เป็นกำหนดระยะเวลาเร่งรัดให้ผู้ประกันตนใช้สิทธิขอรับเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนที่นายจ้างเป็นผู้นำส่งให้แก่สำนักงานประกันสังคมเกินจำนวนที่ต้องชำระคืนโดยเร็ว ผู้ประกันตนจึงต้องได้ทราบว่านายจ้างนำส่งเงินสมทบดังกล่าวเกินจำนวนที่ต้องชำระด้วยหรือผู้ประกันตนต้องได้รับแจ้งให้มารับเงินนั้น เมื่อโจทก์ไม่เคยทราบมาก่อนว่านายจ้างนำส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนเกินจำนวนที่ต้องชำระและจำเลยไม่เคยแจ้งให้โจทก์มารับเงินดังกล่าว แต่โจทก์เพิ่งทราบว่านายจ้างนำส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนเกินจำนวนที่ต้องชำระในวันที่โจทก์มายื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ และโจทก์ได้ขอรับเงินสมทบที่นายจ้างนำส่งเกินดังกล่าวคืนในวันเดียวกันนั้น กรณีจึงต้องถือว่าโจทก์ได้ใช้สิทธิเรียกเอาเงินส่วนของผู้ประกันตนที่นายจ้างนำส่งเกินคืนภายในกำหนดหนึ่งปีตามนัยแห่งบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว เงินนั้นยังไม่ตกเป็นของกองทุนประกันสังคม จำเลยต้องคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10778/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบสำคัญแสดงสิทธิฯ ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน แม้ยังมิได้ใช้สิทธิซื้อหุ้น
ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ช. ที่โจทก์ได้รับมีราคาเสนอขายหน่วยละ 0 บาท มีสิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ 1 หุ้น ราคาการใช้สิทธิ 4.50 บาทต่อหน่วย ในเดือนที่ใช้สิทธิซื้อหุ้นสามัญได้ราคาปิดเฉลี่ยของหุ้นสามัญของบริษัท ช. ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 16.63 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นทางให้ผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญนี้ได้รับประโยชน์แล้ว ใบสำคัญแสดงสิทธินี้ยังมีอีกสถานะหนึ่งคือเป็นหลักทรัพย์ที่บุคคลนำมาซื้อขายได้โดยตรง และไม่มีข้อจำกัดการโอน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นที่โจทก์ได้รับจึงอาจคำนวณได้เป็นเงิน ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20799/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องประกันหนี้ vs. การบังคับคดีก่อนใช้สิทธิ ผู้มีสิทธิเรียกร้องยังมิได้บังคับใช้สิทธิยันเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้
สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องเงินฝากเป็นประกันทั้งสองสัญญามีข้อตกลงโอนสิทธิเรียกร้องเงินตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์สองบัญชี ให้แก่ผู้คัดค้านเป็นผู้รับโอนโดยเฉพาะเจาะจงและผู้คัดค้านได้บอกกล่าวการโอนไปยังบริษัท บ. และ ฟ. ซึ่งเป็นลูกหนี้ของจำเลยตามสัญญาจ้างแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีผลครบถ้วนสมบูรณ์ที่จะยกขึ้นต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง แต่การโอนสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านที่รับโอนสิทธิมาก็เพื่อเป็นประกันหนี้สินของจำเลยที่มีต่อผู้คัดค้านเท่านั้น และในระหว่างที่เป็นประกันหนี้ของจำเลยหากจำเลยไม่ผิดสัญญาที่มีต่อผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านก็ยังไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องที่รับโอนเงินดังกล่าว และเงินจำนวนดังกล่าวยังอยู่ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยทั้งสองบัญชี กรณีจึงเป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านยังไม่ได้บังคับตามสิทธิเรียกร้อง แต่ได้ถูกโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องคดีต่อศาลจนศาลมีคำพิพากษาแล้วทำการอายัดบังคับชำระหนี้ไปก่อนที่ผู้คัดค้านจะใช้สิทธิเรียกร้อง เมื่อผู้คัดค้านเป็นเพียงผู้มีสิทธิเรียกร้องโดยยังมิได้บังคับใช้สิทธิเรียกร้องจึงไม่อาจใช้ยันต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ทำการอายัดไปก่อนได้ ดังนี้ ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินที่กรมบังคับคดีอายัดไปจากบัญชีทั้งสอง และมีหน้าที่ต้องโอนเงินที่เหลือในบัญชีทั้งสองให้แก่กรมบังคับคดี
of 6