คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไต่สวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 271 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตยื่นคำให้การนอกกรอบเวลา: ศาลต้องสอบถามโจทก์และไต่สวนเหตุผลก่อนปฏิเสธ
ป.วิ.พ.มาตรา 199 มิได้บัญญัติว่า คำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยสามารถทำได้ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องสอบถามโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 21 (2) คือต้องให้โอกาสโจทก์คัดค้านโดยการสอบถามโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ ถ้าโจทก์ไม่คัดค้านก็อาจมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยไม่ต้องทำการไต่สวน แต่ถ้าโจทก์คัดค้านย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะทำการไต่สวนก่อนมีคำสั่งหรือไม่ก็ได้
ป.วิ.พ.มาตรา 199 ประกอบด้วยมาตรา 21 (4) มิได้บังคับว่ากรณีนี้ศาลจะต้องทำการไต่สวนก่อนมีคำสั่งเสมอไป การไต่สวนก็เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงตามที่มาตรา 199 บัญญัติไว้ 2 ประการ คือ การขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยมิได้จงใจหรือไม่ หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือไม่ ทั้งสองกรณีเป็นคนละเหตุ ดังที่กฎหมายใช้คำว่าหรือ และคำว่าประการอื่น
จำเลยอ้างในคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การว่า จำเลยไม่รู้ว่าถูกฟ้องซึ่งถือเป็นข้ออ้างว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัด นอกจากนี้จำเลยยังบรรยายคำร้องในตอนท้ายว่า หากจำเลยรู้ว่าถูกฟ้องจะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีและจำเลยจะต้องชนะคดีเพราะที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย พร้อมกับแนบสำเนาหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินมาท้ายคำให้การของจำเลยแสดงให้เห็นเป็นหลักฐานว่าโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย มิใช่โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยดังที่โจทก์ฟ้อง ข้ออ้างของจำเลยในประการหลังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ยกเหตุอันสมควรประการอื่นที่อาจอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้ขึ้นเป็นข้ออ้างอีกเหตุหนึ่งแล้ว ดังนี้ หากการไต่สวนไม่ได้ความชัดว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัด ศาลก็ยังจะต้องพิจารณาถึงเหตุอันสมควรประการอื่นดังกล่าวว่าจะสมควรอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือไม่ หากไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยจงใจฝ่าฝืนไม่ยื่นคำให้การในกำหนดโดยเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลอาจถือว่ามีเหตุอันสมควรประการอื่นที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยจำเลยมีหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นหลักฐานซึ่งมีมูลว่าจำเลยอาจจะชนะคดี ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้สอบถามโจทก์และไม่ได้ทำการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลย เป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะต้องให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและพิจารณาพิพากษาคดีใหม่
ข้อที่ปรากฎในรายงานการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องว่าจำเลยไปธุระนอกบ้าน แต่จำเลยบรรยายคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การว่าจำเลยไปทำงานที่กรุงเทพมหานครซึ่งขัดกันเพียงเท่านี้ยังไม่อาจถือเป็นยุติว่าจำเลยจงใจขาดนัดโดยไม่ต้องทำการไต่สวน เพราะจำเลยฎีกาว่าไปธุระนอกบ้านกับไปทำงานที่กรุงเทพมหานครมีความหมายอย่างเดียวกัน นอกจากนี้ข้อแตกต่างดังกล่าวอาจเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งไม่ใช่ข้อสำคัญ สมควรที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการไต่สวนเสียก่อน
ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย ไม่ใช่โจทก์กู้เงินจำเลยแล้วมอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงและคดีนี้ต้องห้ามฎีกาเพราะจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทและยังไม่ถึงเวลาที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัย จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนนี้ให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตให้ยื่นคำให้การนอกกรอบเวลา และการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 มิได้บัญญัติว่า คำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยสามารถทำได้ฝ่ายเดียวโดยไม่ต้องสอบถามโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ดังนั้น ศาลชั้นต้นจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 21(2) คือต้องให้โอกาสโจทก์คัดค้านโดยการสอบถามโจทก์ว่าจะคัดค้านหรือไม่ถ้าโจทก์ไม่คัดค้านก็อาจมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยไม่ต้องทำการไต่สวน แต่ถ้าโจทก์คัดค้านย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นที่จะทำการไต่สวนก่อนมีคำสั่งหรือไม่ก็ได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 199 ประกอบด้วยมาตรา 21(4) มิได้บังคับว่ากรณีนี้ศาลจะต้องทำการไต่สวนก่อนมีคำสั่งเสมอไป การไต่สวนก็เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงตามที่มาตรา 199 บัญญัติไว้ 2 ประการ คือ การขาดนัดของจำเลยเป็นไปโดยมิได้จงใจหรือไม่ หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือไม่ ทั้งสองกรณีเป็นคนละเหตุ ดังที่กฎหมายใช้คำว่าหรือ และคำว่าประการอื่น จำเลยอ้างในคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การว่า จำเลยไม่รู้ว่าถูกฟ้องซึ่งถือเป็นข้ออ้างว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดนอกจากนี้จำเลยยังบรรยายคำร้องในตอนท้ายว่า หากจำเลยรู้ว่า ถูกฟ้องจะต้องยื่นคำให้การต่อสู้คดีและจำเลยจะต้องชนะคดี เพราะที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย พร้อมกับแนบสำเนาหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินมาท้ายคำให้การของจำเลยแสดงให้เห็นเป็นหลักฐานว่าโจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย มิใช่โจทก์มอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยดังที่โจทก์ฟ้องข้ออ้างของจำเลยในประการหลังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ยกเหตุอันสมควรประการอื่นที่อาจอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้ขึ้นเป็นข้ออ้างอีกเหตุหนึ่งแล้ว ดังนี้ หากการไต่สวนไม่ได้ความชัดว่าจำเลยจงใจขาดนัด ศาลก็ยังจะต้องพิจารณาถึงเหตุอันสมควรประการอื่นดังกล่าวว่าจะสมควรอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การหรือไม่ หากไม่ปรากฏชัดว่าจำเลยจงใจฝ่าฝืนไม่ยื่นคำให้การในกำหนดโดยเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลอาจถือว่ามีเหตุอันสมควรประการอื่นที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยจำเลยมีหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเป็นหลักฐานซึ่งมีมูลว่าจำเลยอาจจะชนะคดี ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การโดยมิได้สอบถามโจทก์และไม่ได้ทำการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรที่จะต้องให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและพิจารณาพิพากษาคดีใหม่ ข้อที่ปรากฏในรายงานการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องว่าจำเลยไปธุระนอกบ้าน แต่จำเลยบรรยายคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การว่าจำเลยไปทำงานที่กรุงเทพมหานครซึ่งขัดกันเพียงเท่านี้ยังไม่อาจถือเป็นยุติว่าจำเลยจงใจขาดนัดโดยไม่ต้องทำการไต่สวน เพราะจำเลยฎีกาว่าไปธุระนอกบ้านกับไปทำงานที่กรุงเทพมหานครมีความหมายอย่างเดียวกันนอกจากนี้ข้อแตกต่างดังกล่าวอาจเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งไม่ใช่ข้อสำคัญ สมควรที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากการไต่สวนเสียก่อน ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่า เป็นเรื่องที่โจทก์ขายที่ดินพิพาทให้จำเลย ไม่ใช่โจทก์กู้เงินจำเลยแล้วมอบที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงและคดีนี้ต้องห้ามฎีกาเพราะจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทและยังไม่ถึงเวลาที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาในส่วนนี้ให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาประเมิน: ศาลต้องไต่สวนเหตุผลเพื่อคุ้มครองสิทธิลูกหนี้
จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทสรุปได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาประเมินของสำนักงานกลางประเมินราคาทรัพย์สินโดยราคาที่ขายได้ต่ำกว่าราคาตามท้องตลาดถึง30เปอร์เซ็นต์เป็นการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมดังนั้นคำร้องของจำเลยทั้งสามเท่ากับอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา513คือไม่ขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามให้ได้ราคาสูงสุดนั่นเองซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องดำเนินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา308วรรคหนึ่งและหากได้ความว่าประเมินราคาทรัพย์ต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาดมากโดยไม่ตรวจสอบราคาอันถูกต้องแท้จริงเสียก่อนย่อมส่อพฤติการณ์ว่าไม่สุจริตอยู่ในตัวเป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองโดยที่จำเลยทั้งสามไม่ต้องระบุบทกฎหมายดังกล่าวมาในคำร้องด้วยศาลชั้นต้นชอบที่จะไต่สวนคำร้องให้สิ้นกระแสความไม่ควรด่วนสั่งงดการไต่สวนเสียเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4586/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารมหาชนสันนิษฐานว่าแท้จริง ผู้ถูกอ้างต้องพิสูจน์ความไม่ถูกต้อง, คำร้องอนาถาต้องพิจารณาก่อนไต่สวน
หนังสือสัญญาให้ที่ดินที่ทำต่อเจ้าพนักงานที่ดินในการที่ พ.จดทะเบียนยกที่ดินให้แก่จำเลยเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นย่อมสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ถูกอ้างเอกสารฉบับนี้มายันต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 127 เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นได้ว่าหนังสือสัญญาให้ที่ดินดังกล่าวไม่บริสุทธิ์หรือไม่ถูกต้อง ก็ต้องฟังว่าเอกสารดังกล่าวเป็นของแท้จริงและถูกต้อง
ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาให้ครบถ้วนตามราคาที่ดินที่พิพาทก่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา แต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีในชั้นฎีกาอย่างคนอนาถา ในกรณีเช่นนี้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่จะต้องสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาของโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา156 วรรคสาม การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์จนเสร็จสิ้นแล้วส่งสำนวนมาให้ศาลฎีกาสั่งจึงเป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ไต่สวนพยานมาในชั้นนี้เสร็จสิ้นแล้วศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไปเสียทีเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2787/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธหนี้และการไต่สวนข้อเท็จจริง: ศาลต้องไต่สวนการได้รับแจ้งหนี้ก่อนมีคำสั่ง
ตามคำร้องของผู้ร้องได้อ้างเหตุโดยปฏิเสธว่าไม่เคยได้รับแจ้งการยืนยันหนี้จากผู้คัดค้านมาก่อน ซึ่งในข้อเท็จจริงที่ว่าผู้ร้องได้รับการแจ้งยืนยันหนี้จากผู้คัดค้านโดยชอบแล้วหรือไม่ ยังไม่เป็นที่ยุติ ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนให้เสร็จสิ้นกระแสความเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งถอนการบังคับคดี: การไต่สวนทางลัดและการพิจารณาพยานหลักฐานเพียงพอ
คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งถอนการบังคับคดีได้แนบเอกสารต่างๆที่โจทก์ได้ติดต่อดำเนินการต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีของศาลจังหวัดสวรรคโลกในการขายทอดตลาดแทนหลายครั้งตลอดมาโดยมีจ่าศาลจังหวัดสวรรคโลกรับรองสำเนาถูกต้องและในวันนัดไต่สวนคำร้องศาลได้สอบถามทนายโจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดีกรมบังคับคดีแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีแถลงว่าเหตุที่ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งถอนการบังคับคดีเนื่องจากไม่ได้รับเอกสารเกี่ยวกับการบังคับคดีดังกล่าวจากศาลจังหวัดสวรรคโลกศาลชั้นต้นได้บันทึกข้อเท็จจริงที่ได้ความตามที่สอบถามไว้ซึ่งพยานหลักฐานที่ได้ดังกล่าวมีรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการต่างๆในการบังคับคดีสมบูรณ์เพียงพอที่จะวินิจฉัยได้จึงไม่จำเป็นต้องไต่สวนต่อไปและการที่ศาลได้สอบถามข้อเท็จจริงจนได้ความดังกล่าวมาถือได้ว่าเป็นการไต่สวนแล้วฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนการบังคับคดีโดยไม่ไต่สวนคำร้องของโจทก์ต่อไปจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอไต่สวนเพื่อตรวจทรัพย์สินของลูกหนี้: พยานหลักฐานไม่ชัดเจนเพียงพอ
ตามคำร้องของโจทก์อ้างว่าจากการตรวจสอบหลักฐานบัญชีงบดุลของจำเลย ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2534 ระบุว่าจำเลยมีทรัพย์สินมากกว่าที่จำเลยเป็นหนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาลาดพร้าว 111 ตามที่ได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้ และมากกว่าเงินฝากในบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยเปิดไว้ต่อธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สาขาคลองจั่น อีกบัญชีหนึ่งทั้งทราบจากเจ้าหน้าที่ธนาคารว่ามีทรัพย์สินวางเป็นประกันไว้ต่อธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด (มหาชน) สาขาลาดพร้าว 111 แต่จำเลยได้ย้ายสำนักงานโดยไม่ทราบว่าย้ายไปอยู่ที่ใด และ ส.ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขา-ลาดพร้าว 111 ไม่ยินยอมให้ตรวจทรัพย์สินที่จำเลยวางประกัน ดังนี้ ตามสำเนางบดุลของจำเลยที่โจทก์แนบมาท้ายคำร้อง เป็นการระบุสินทรัพย์อย่างกว้าง ๆไม่มีรายละเอียดและเป็นงบดุลที่แสดงสินทรัพย์เพียงวันที่ 31 ธันวาคม 2534ก่อนโจทก์ยื่นคำร้องเป็นเวลาเกือบ 2 ปี 6 เดือน ระยะเวลาดังกล่าวอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไม่มีทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ก็ได้เนื่องจากการประกอบการงานของจำเลย ส่วนหลักประกันที่วางไว้ต่อธนาคารนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นหลักประกันด้วยทรัพย์สินอะไรแน่ชัด ดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบโดยแน่ชัดว่าจำเลยมีทรัพย์ที่สามารถระบุจำนวน ชนิด และประเภทได้มากกว่าที่ปรากฏในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันในธนาคารทั้งสองแห่งที่โจทก์ทราบ ทั้งเงินของจำเลยที่ปรากฏทางบัญชีก็ไม่พอชำระหนี้โจทก์ เหตุผลตามคำร้องทำให้โจทก์เชื่อว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่จะถูกบังคับมากกว่าที่โจทก์ทราบ โดยมี ว.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยและ ส.ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ที่อาจจะทราบถึงความมีอยู่ที่แท้จริงแห่งทรัพย์สินของจำเลย คำร้องของโจทก์จึงมีเหตุสมควรที่จะหมายเรียกบุคคลทั้งสองมาทำการไต่สวนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 277

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนค้นหาทรัพย์สินลูกหนี้: หลักฐานงบดุลที่ไม่ชัดเจนและการพิจารณาความจำเป็นในการเรียกพยาน
ตามคำร้องของโจทก์อ้างว่าจากการตรวจสอบหลักฐานบัญชีงบดุลของจำเลยณวันที่31ธันวาคม2534ระบุว่าจำเลยมีทรัพย์สินมากกว่าที่จำเลยเป็นหนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)สาขาลาดพร้าว111 ตามที่ได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้และมากกว่าเงินฝากในบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยเปิดไว้ต่อธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)สาขาคลองจั่น อีกบัญชีหนึ่งทั้งทราบจากเจ้าหน้าที่ธนาคารว่ามีทรัพย์สินวางเป็นประกันไว้ต่อธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)สาขาลาดพร้าว111 แต่จำเลยได้ย้ายสำนักงานโดยไม่ทราบว่าย้ายไปอยู่ที่ใดและส.ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)สาขาลาดพร้าว111ไม่ยินยอมให้ตรวจทรัพย์สินที่จำเลยวางประกันดังนี้ตามสำเนางบดุลของจำเลยที่โจทก์แนบมาท้ายคำร้องเป็นการระบุสินทรัพย์อย่างกว้างๆไม่มีรายละเอียดและเป็นงบดุลที่แสดงสินทรัพย์เพียงวันที่31ธันวาคม2534ก่อนโจทก์ยื่นคำร้องเป็นเวลาเกือบ2ปี6เดือนระยะเวลาดังกล่าวอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไม่มีทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ก็ได้เนื่องจากการประกอบการงานของจำเลยส่วนหลักประกันที่วางไว้ต่อธนาคารนั้นก็ไม่ปรากฏว่าเป็นหลักประกันด้วยทรัพย์สินอะไรแน่ชัดดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบโดยแน่ชัดว่าจำเลยมีทรัพย์ที่สามารถระบุจำนวนชนิดและประเภทได้มากกว่าที่ปรากฏในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันในธนาคารทั้งสองแห่งที่โจทก์ทราบทั้งเงินของจำเลยที่ปรากฏทางบัญชีก็ไม่พอชำระหนี้โจทก์เหตุผลตามคำร้องทำให้โจทก์เชื่อว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่จะถูกบังคับมากกว่าที่โจทก์ทราบโดยมีว.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยและส.ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัดที่อาจจะทราบถึงความมีอยู่ที่แท้จริงแห่งทรัพย์สินของจำเลยคำร้องของโจทก์จึงมีเหตุสมควรที่จะหมายเรียกบุคคลทั้งสามมาทำการไต่สวนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา277

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7281/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ศาลต้องไต่สวนหากเจ้าหนี้อ้างความเสียหายจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
กรณีที่ผู้ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าได้รับความเสียหายจากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 แม้ว่าในมาตรานี้ไม่ได้บัญญัติให้ศาลต้องทำการไต่สวนก่อน แต่ก็อยู่ในดุลพินิจของศาลในอันที่จะทำการไต่สวนตามที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งได้กรณีไม่อาจนำความในบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4285/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี: อำนาจไต่สวนและเพิกถอนคำสั่ง กรณีใบมอบฉันทะ
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาโดยอ้างว่าได้ทำใบมอบฉันทะมอบให้เสมียนทนายมาแล้ว แต่เสมียนทนายไม่ได้นำไปแสดงต่อศาลในการขอเลื่อนสืบพยานจำเลยเพราะหลงลืม ทั้งในคำร้องได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไว้ด้วย คำร้องของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 แล้ว การที่เสมียนทนายไม่ได้นำใบมอบฉันทะมาแสดงต่อศาลก็ดีหรือการที่เสมียนทนายปลอมใบมอบฉันทะก็ดีเป็นการกระทำของเสมียนทนายไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายขาดนัดมาศาลได้หรือไม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 209 ศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี
of 28