คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไถ่ถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 141 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1429-1430/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไถ่ถอนการขายฝากที่ไม่มีกำหนดเวลาไถ่ และสิทธิในการครอบครองห้องพิพาทหลังใช้สิทธิไถ่
โจทก์ขายฝากห้องพิพาทโดยไม่มีกำหนดเวลาไถ่ โจทก์จึงมีสิทธิขอไถ่ได้ภายในกำหนด 10 ปี และที่โจทก์ให้ทนายความมีหนังสือแจ้งให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากไปที่ว่าการอำเภอตามวันเวลาที่กำหนดเพื่อไถ่ถอนการขายฝาก ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน จำเลยได้รับแล้ว แม้จะคืนหนังสือนั้นไปก็ฟังว่าจำเลยได้ทราบการขอไถ่ และถือว่าโจทก์ใช้สิทธิไถ่คืนโดยชอบแล้ว
การที่จำเลยผู้ซื้อฝากให้โจทก์ผู้ขายฝากเช่าห้องพิพาท และต่อมาไม่ยอมให้โจทก์ไถ่คืน โจทก์ย่อมไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายที่ไม่ยอมออกจากห้องพิพาทที่เช่านั้นนับแต่วันที่โจทก์ใช้สิทธิไถ่คืนโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไถ่ถอนที่ดินหลังมีคำพิพากษา: การบังคับคดีตามคำพิพากษาต่างจากการใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ศาลได้มีคำพิพากษาให้จำเลยรับเงิน 40,000 บาท แล้วไปจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพิพาทให้โจทก์ ให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 1 เดือน ครั้นพ้นกำหนดตามคำบังคับแล้วโจทก์จึงวางเงิน 40,000 บาทต่อศาล จำเลยจะอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่วางเงินต่อศาลภายในกำหนด 1 เดือน ตามคำบังคับต้องถือว่าโจทก์สละสิทธิ ที่พิพาทหลุดเป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยโดยเด็ดขาด ดังนี้หาได้ไม่ การที่โจทก์ขอให้บังคับคดีโดยใช้สิทธิไถ่ถอนทรัพย์ภายใน 10 ปี เป็นการใช้สิทธิตามคำพิพากษาของศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 จะนำบทบัญญัติในเรื่องกำหนดเวลาในการใช้สิทธิไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาเกี่ยวข้องอีกไม่ได้ และไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 496 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: สัญญาขายฝากที่แท้จริงเป็นการจำนอง แม้ไม่ได้จดทะเบียน ศาลสั่งให้จำเลยรับเงินไถ่ถอน
การที่โจทก์จำเลยจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทถ้าโจทก์จำเลยไม่มีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝากสัญญานั้นก็เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 118 วรรคแรก
ก่อนทำสัญญาขายฝากก็ดี ขณะทำสัญญาขายฝากก็ดีภายหลังทำสัญญาขายฝากก็ดีโจทก์จำเลยมิได้ตั้งใจจะผูกพันกันตามสัญญาขายฝาก เป็นเรื่องที่จำเลยต้องการดอกเบี้ยเท่านั้นโดยจำเลยสัญญาจะไม่เอาที่ดินหลุดเป็นสิทธิ ถือได้ว่าโจทก์ทำสัญญาขายฝากอำพรางการจำนอง
การที่นิติกรรมอันหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอีกอันหนึ่งนิติกรรมอันแรกคือสัญญาขายฝากย่อมเป็นการแสดงเจตนาลวงด้วยสมรู้กันระหว่างคู่กรณี ที่จะไม่ผูกพันตามเจตนาที่แสดงออกมานั้น นิติกรรมอันแรกที่ปรากฏออกมานั้นย่อมเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา118 วรรคแรก ส่วนนิติกรรมอันหลังคือสัญญาจำนองที่ถูกอำพรางไว้โดยนิติกรรมอันแรกต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามมาตรา 118 วรรค 2 เมื่อโจทก์จำเลยมีเจตนาทำสัญญาจำนองแล้วแต่การจำนองไม่ได้จดทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเรียกไม่ได้ว่าเป็นการจำนอง เป็นเพียงการที่โจทก์กู้เงินจากจำเลย และให้ที่ดินแก่จำเลยยึดถือไว้เป็นประกัน และย่อมถือได้ว่าเอกสารการขายฝากที่โจทก์จำเลยทำไว้ ณสำนักงานที่ดิน เป็นนิติกรรมสัญญากู้เงินที่ทำเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างโจทก์จำเลยนั้น ฉะนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องขอนำเงินมาไถ่ถอนที่พิพาท ก็เท่ากับโจทก์ขอชำระหนี้เงินกู้จำเลยมีหน้าที่รับชำระและคืนที่พิพาทที่เป็นประกันนั้นให้โจทก์ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองโดยผู้ไม่มีสิทธิ & ลาภมิควรได้: ผู้รับจำนองต้องคืนเงินไถ่ถอนให้ผู้ซื้อที่ดิน
ล. เจ้าของที่ดินขายที่ดินให้ ม. โดยทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้ว ล. นำที่ดินนั้นไปจำนองต่อจำเลยที่ 3 โดยทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เช่นกัน ต่อมาภายหลัง ล. ได้นำที่ดินรายเดียวกันนี้ไปขายให้โจทก์อีก โจทก์ไม่ทราบเรื่องที่ ล. ขายให้ ม. จึงรับซื้อไว้ และชำระราคาที่ดินให้จำเลยที่ 3 เป็นค่าไถ่ถอนจำนอง ดังนี้ ถือว่าในขณะที่ ล. จำนองที่ดินนั้น ล. ผู้จำนอง ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน สัญญาจำนองระหว่าง ล. กับจำเลยที่ 3 จึงไม่มีผลบังคับได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์มอบเงินให้จำเลยที่ 3 ไปเป็นการไถ่ถอนจำนอง และจำเลยที่ 3 รับไว้จึงเป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย และทำให้โจทก์เสียเปรียบ. โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกเงินที่ชำระไป คืนจากจำเลยที่ 3 ได้ในฐานลาภมิควรได้
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 3 ไม่มีสิทธิอันใดที่จะได้เงินค่าที่ดินไปจากโจทก์. ขอให้จำเลยที่ 3คืนเงินให้โจทก์ เป็นที่เห็นได้แล้วว่าโจทก์ขอบังคับให้จำเลยคืนเงินให้โจทก์ฐานลาภมิควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่ามีข้อตกลงให้ไถ่ถอนคืนได้ หากไม่ได้ทำตามรูปแบบสัญญาขายฝาก สัญญาเป็นโมฆะ
บิดาจำเลยได้ขายนาพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าให้โจทก์ทำหนังสือสัญญากันเองชำระราคากันแล้ว และบิดาจำเลยได้ส่งมอบนาพิพาทให้โจทก์ครอบครองตั้งแต่วันทำสัญญาในสัญญาซื้อขายนั้นมีข้อความว่า เมื่อผู้ขายต้องการจะไถ่ถอนนาคืน จะยอมคิดดอกเบี้ยให้ผู้ซื้อร้อยละ 10 บาทต่อเดือนอันเป็นข้อสัญญาที่ให้ไถ่ถอนนาคืนเช่นสัญญาขายฝาก
เมื่อไม่ได้ทำให้เป็นสัญญาขายฝากโดยถูกต้องจึงตกเป็นโมฆะ จำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ขายจะขอไถ่ถอนนาคืนโดยอาศัยสัญญานี้ไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 352/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินที่มีข้อตกลงให้ไถ่ถอนคืนได้ หากไม่ทำตามรูปแบบสัญญาขายฝาก สัญญาเป็นโมฆะ
บิดาจำเลยได้ขายนาพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าให้โจทก์ ทำหนังสือสัญญากันเองชำระราคากันแล้ว และบิดาจำเลยได้ส่งมอบนาพิพาทให้โจทก์ครอบครองตั้งแต่วันทำสัญญา ในสัญญาซื้อขายนั้นมีข้อความว่า เมื่อผู้ขายต้องการจะไถ่ถอนนาคืน จะยอมคิดดอกเบี้ยให้ผู้ซื้อร้อยละ 10 บาทต่อเดือน อันเป็นข้อสัญญาที่ให้ไถ่ถอนนาคืนเช่นสัญญาขายฝาก
เมื่อไม่ได้ทำให้เป็นสัญญาขายฝากโดยถูกต้อง จึงตกเป็นโมฆะ จำเลยซึ่งเป็นบุตรของผู้ขายจะขอไถ่ถอนนาคืน โดยอาศัยสัญญานี้ไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 352/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเชิดตัวแทนจำนำทรัพย์ โจทก์จะติดตามเอารถคืนต้องไถ่ถอนการจำนำก่อน
โจทก์มอบรถยนต์ของโจทก์พร้อมด้วยทะเบียนรถและใบโอนรถซึ่งมีลายมือชื่อโจทก์ในช่องผู้โอน ให้ส.นำไปขายผู้อื่นแล้วส.นำรถยนต์ไปจำนำไว้กับจำเลยผู้ซึ่งรับจำนำไว้โดยสุจริต การกระทำของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการเชิดส.ให้เป็นตัวแทนของโจทก์ ฉะนั้น โจทก์จะติดตามเอารถยนต์คืนโดยไม่ไถ่ถอนการจำนำก่อนหาได้ไม่จำเลยมีสิทธิยึดรถยนต์ไว้ได้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้จนครบถ้วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธการไถ่ถอนจำนองบางส่วนและการฟ้องบังคับจำนองไม่ถือเป็นการละเมิด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 713 เป็นเรื่องผู้จำนองจะชำระหนี้ค้างจำนองเป็นงวด ๆ ก็ได้ ไม่ใช่เรื่องไถ่ถอนจำนองบางส่วน ส่วนมาตรา 717เป็นเรื่องทรัพย์สินที่จำนองแบ่งออกเป็นหลายส่วน แต่จำนองนี้ก็ยังคงครอบไปถึงทรัพย์หมดทุกส่วน
ก.จำนองที่ดินและตึก 5 คูหาไว้กับจำเลยที่ 1 ดังนี้ ทรัพย์ที่จำนองมิได้แบ่งออกเป็นส่วนที่ดินและตึกที่จำนองเป็นทรัพย์ส่วนเดียวเท่านั้น
ผู้รับจำนองมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ยอมให้ผู้จำนองไถ่จำนองบางส่วนได้ ถือไม่ได้ว่าผู้รับจำนองกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งทำสัญญาจะซื้อขายทรัยพ์จำนองจากผู้รับจำนอง
ก. เป็นลูกหนี้จำนองจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทวงถามแล้ว ก.ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จำเป็นต้องขายที่ดินและตึกที่จำนองไว้ ก.จึงมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นธุระในการขายโดยกำหนดราคาห้องแต่ละห้องไว้โดยชัดเจน ดังนี้ การมอบหมายมีลักษณะไปในทางที่จะให้จำเลยที่ 1 ควบคุมการซื้อขายทรัพย์จำนอง มากกว่าที่จะให้จำเลยที่ 1เป็นตัวแทน ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ ก. ยังไม่ถนัด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้จำนอง ฟ้อง ก.ผู้จำนอง เป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์ในธุรกิจการงานของจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาจะได้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใด เมื่อฟ้องแล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน อันเป็นสิทธิตามกฎหมายของจำเลย จะว่าจำเลยที่ 1ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ตกลงซื้อทรัพย์ที่จำนองหาได้ไม่
ฎีกาโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 มิได้กล่าวไว้เลยว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดอย่างไร โจทก์กล่าวในฎีกาลอย ๆ ว่า โจทก์ไม่เห็นชอบด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ถือว่าโจทก์มิได้ยกข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธไถ่ถอนจำนองบางส่วนและการซื้อขายทรัพย์จำนองโดยผู้รับจำนอง ไม่ถือเป็นการละเมิดต่อผู้ซื้อ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 713 เป็นเรื่องผู้จำนองจะชำระหนี้ล้างจำนองเป็นงวดๆ ก็ได้ ไม่ใช่เรื่องไถ่ถอนจำนองบางส่วน ส่วนมาตรา 717 เป็นเรื่องทรัพย์สินที่จำนองแบ่งออกเป็นหลายส่วน แต่จำนองนี้ก็ยังคงครอบไปถึงทรัพย์หมดทุกส่วน
ก. จำนองที่ดินและตึก 5 คูหาไว้กับจำเลยที่ 1 ดังนี้ ทรัพย์ที่จำนองมิได้แบ่งออกเป็นส่วน ที่ดินและตึกที่จำนองเป็นทรัพย์ส่วนเดียวเท่านั้น
ผู้รับจำนองมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ยอมให้ผู้จำนองไถ่ถอนจำนองบางส่วนได้ ถือไม่ได้ว่าผู้รับจำนองกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งทำสัญญาจะซื้อทรัพย์จำนองจากผู้รับจำนอง
ก. เป็นลูกหนี้จำนองจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทวงถามแล้ว ก. ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จำเป็นต้องขายที่ดินและตึกที่จำนองไว้ ก. จึงมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นธุระในการขายโดยกำหนดราคาห้องแต่ละห้องไว้โดยชัดเจน ดังนี้ การมอบหมายมีลักษณะไปในทางที่จะให้จำเลยที่ 1 ควบคุมการซื้อขายทรัพย์จำนอง มากกว่าที่จะให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ ก. ยังไม่ถนัด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับจำนอง ฟ้อง ก. ผู้จำนองเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์ในธุรกิจการงานของจำเลยที่ 1 มิได้มีเจตนาจะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใด เมื่อฟ้องแล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน อันเป็นสิทธิตามกฎหมายของจำเลย จะว่าจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ตกลงซื้อทรัพย์ที่จำนองหาได้ไม่
ฎีกาโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 มิได้กล่าวไว้เลยว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดอย่างไร โจทก์กล่าวในฎีกาลอยๆว่า โจทก์ไม่เห็นชอบด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2 ถือว่าโจทก์มิได้ยกข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1298/2512

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธการไถ่ถอนจำนองบางส่วนและการซื้อขายทรัพย์สินจำนอง: การกระทำละเมิดและสิทธิของผู้ซื้อ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 713 เป็นเรื่องผู้จำนองจะชำระหนี้ล้างจำนองเป็นงวดๆ ก็ได้. ไม่ใช่เรื่องไถ่ถอนจำนองบางส่วน. ส่วนมาตรา 717 เป็นเรื่องทรัพย์สินที่จำนองแบ่งออกเป็นหลายส่วน แต่จำนองนี้ก็ยังคงครอบไปถึงทรัพย์หมดทุกส่วน.
ก. จำนองที่ดินและตึก 5 คูหาไว้กับจำเลยที่ 1 ดังนี้. ทรัพย์ที่จำนองมิได้แบ่งออกเป็นส่วน ที่ดินและตึกที่จำนองเป็นทรัพย์ส่วนเดียวเท่านั้น.
ผู้รับจำนองมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่ยอมให้ผู้จำนองไถ่ถอนจำนองบางส่วนได้.ถือไม่ได้ว่าผู้รับจำนองกระทำละเมิดต่อโจทก์ซึ่งทำสัญญาจะซื้อทรัพย์จำนองจากผู้รับจำนอง.
ก. เป็นลูกหนี้จำนองจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ทวงถามแล้ว. ก. ไม่สามารถชำระหนี้ได้. จำเป็นต้องขายที่ดินและตึกที่จำนองไว้ ก. จึงมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นธุระในการขายโดยกำหนดราคาห้องแต่ละห้องไว้โดยชัดเจน. ดังนี้ การมอบหมายมีลักษณะไปในทางที่จะให้จำเลยที่ 1 ควบคุมการซื้อขายทรัพย์จำนอง. มากกว่าที่จะให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของ ก. ยังไม่ถนัด.
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับจำนอง ฟ้อง ก. ผู้จำนองเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย เพื่อประโยชน์ในธุรกิจการงานของจำเลยที่ 1. มิได้มีเจตนาจะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใด. เมื่อฟ้องแล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน อันเป็นสิทธิตามกฎหมายของจำเลย. จะว่าจำเลยที่ 1 ใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ตกลงซื้อทรัพย์ที่จำนองหาได้ไม่.
ฎีกาโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2. มิได้กล่าวไว้เลยว่าจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดอย่างไร. โจทก์กล่าวในฎีกาลอยๆว่า. โจทก์ไม่เห็นชอบด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 2. ถือว่าโจทก์มิได้ยกข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งในฎีกา.
of 15