คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไถ่ถอนจำนอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 58 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3474/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับไถ่ถอนจำนอง: การงดสืบพยานเมื่อข้อเท็จจริงยังไม่ยุติ เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินโดยปรากฏหนังสือจำเลยถึงโจทก์ตามเอกสารท้ายฟ้องว่า จำเลยกำลังรอให้สำนักงานใหญ่สั่งการมา ถ้าได้รับการสั่งการให้รับชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองได้ก็จะติดต่อกับโจทก์ทันทีจำเลยให้การว่าคำฟ้องของโจทก์ไม่มีคำเสนอชำระหนี้จำนองแก่จำเลย เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบที่ศาลจะรับไว้พิจารณาดังนี้ตามเอกสารท้ายฟ้องและคำให้การจำเลย แสดงว่าจำเลยยังถือว่าหนี้จำนองยังมีอยู่ มิได้ระงับไปดังที่โจทก์กล่าวอ้าง จึงชอบที่โจทก์จำเลยจะต้องนำสืบในประเด็นข้อนี้ต่อไป เพราะข้อเท็จจริงยังไม่ยุติ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยในประเด็นข้อนี้แล้วพิพากษาคดีไป ย่อมไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ไถ่ถอนจำนองตามคำพิพากษา: จำเลยต้องปฏิบัติตามก่อนโจทก์ ไม่ถือว่าไม่มีวิธีบังคับคดีอื่น
ถึงแม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 736,737 บัญญัติให้สิทธิผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองจะไถ่ถอนจำนองได้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายในส่วนสารบัญญัติ ไม่ใช่บทกฎหมายที่เกี่ยวกับการบังคับคดี ทั้งไม่มีบทบัญญัติให้นำมาใช้ในการบังคับคดีได้และตามคำพิพากษาก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องทำการไถ่ถอนจำนองที่พิพาทเสียก่อนแล้วจึงโอนให้แก่โจทก์โดยปลอดจำนอง หาใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะทำการไถ่ถอนจำนองเองไม่ ดังนั้น เมื่อจำเลยจงใจไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาและคำบังคับซึ่งออกบังคับเอาแก่จำเลยจึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่มีวิธีบังคับอื่นใดที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะพึงใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 297(2)ศาลมีอำนาจที่จะกักขังจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามคำพิพากษา: จำเลยต้องไถ่ถอนจำนองก่อนชำระค่าสินไหมทดแทน
ตามคำพิพากษาอันดับแรกที่ให้จำเลยไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทโอนให้แก่โจทก์โดยรับเงินจากโจทก์นั้นไม่ปรากฏว่าเพราะเหตุใดจำเลยจึงไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาในอันดับแรกนี้เสียก่อน จำเลยกลับรีบนำเงินค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยตามคำพิพากษาอันดับหลัง มาวางต่อศาล ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่ใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่จำเลย จำนองไว้กับธนาคารในระหว่างที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ออกคำบังคับแสดงว่าจำเลยสามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาอันดับแรกได้และก็ไม่ปรากฏว่าธนาคารผู้รับจำนองมีเหตุขัดข้องไม่ยอมให้จำเลยไถ่ถอนการจำนองแต่ประการใด การกระทำของจำเลยจึงชวนให้สงสัยว่าน่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงเพื่อจะไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของคำพิพากษาตั้งแต่อันดับแรกเป็นต้นไปตามลำดับ จำเลยจึงไม่มีสิทธิ เลือกปฏิบัติชำระเงินค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยตามคำพิพากษา อันดับหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2921/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จากการไถ่ถอนจำนองและการคิดดอกเบี้ย ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์เรื่องดอกเบี้ยตามสัญญา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีจำเลยเป็นฝ่ายฎีกา โจทก์มิได้ฎีกาแต่กล่าวมาในคำแก้ฎีกาว่าโจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปี ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มดอกเบี้ยให้โจทก์หาได้ไม่ เพราะไม่มีคำขอและคำฟ้องฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้ที่ดินมีเงื่อนไข โอนให้ผู้อื่น & การบังคับคดี: ศาลอนุญาตให้โจทก์ไถ่ถอนจำนองแทนจำเลยได้
สัญญาให้ที่ดิน ผู้รับให้ไม่โอนที่ดินแก่ผู้อื่นต่อไปกึ่งหนึ่งตามที่ตกลงไว้กับผู้ให้ กลับเอาที่ดินไปจำนอง ผู้ให้ฟ้องบังคับให้ผู้รับให้ไถ่จำนองและโอนกึ่งหนึ่งแก่คนภายนอกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขายที่ดินและการไถ่ถอนจำนอง การลงนามมอบอำนาจไม่ใช่การขยายเวลาไถ่ถอน
เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 3 กล่าวว่า "ฝ่ายที่ 2(คือ จำเลย) สัญญาจะทำการไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโฉนดเลขที่ 597 และโอนกรรสิทธิให้แก่ฝ่ายที่ 1 ให้เป็นกรรมสิทธิให้เป็นการเสร็จสิ้นใน 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญานี้" ส่วนข้อความอีกตอนหนึ่งท้ายสัญญามีว่า "และได้ลงนามไว้ในหนังสือมอบอำนาจของหอทะเบียนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นก่อนหรือหลังกำหนด 4 เดือนก็ชอบที่จะกระทำได้"
ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดที่ 597 ภายใน 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญาจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วเพราะเห็นได้ว่าก่อนหรือหลัง 4 เดือนก็ชอบที่จะกระทำได้ " นั้นย่อมหมายความแต่เฉพาะเรื่องการลงนามในหนังสือมอบอำนาจเท่านั้น มิได้มุ่งหวังว่าจำเลยจะทำการไถ่ถอนจำนองภายหลัง 4 เดือนนานเท่าใดก็ได้
ส่วนข้อที่โจทก์จำเลยร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องนายวัทธนา ให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากโฉนดที่ 597 ภายหลังกำหนด 4 เดือน นั้นก็เป็นเรื่องที่ร่วมกันฟ้องผู้อื่นโดยเหตุที่มีชื่อถือกรรมสิทธิร่วมกันในโฉนด เป็นคนละเรื่องกับความยินยอมเลื่อนระยะเวลาไถ่ถอนการจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินและไถ่ถอนจำนอง: การตีความกำหนดเวลาตามสัญญา
เมื่อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยข้อ 3 กล่าวว่า "ฝ่ายที่ 2 (คือจำเลย) สัญญาจะทำการไถ่ถอนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโฉนดเลขที่ 597 และโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ฝ่ายที่ 1 ให้เป็นกรรมสิทธิ์ให้เป็นการเสร็จสิ้นใน 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญานี้ " ส่วนข้อความอีกตอนหนึ่งท้ายสัญญามีว่า " และได้ลงนามไว้ในหนังสือมอบอำนาจของหอทะเบียนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นก่อนหรือหลังกำหนด 4 เดือนก็ชอบที่จะกระทำได้"
ดังนี้เมื่อจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดที่ 597 ภายใน 4 เดือนนับแต่วันทำสัญญาจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้ว เพราะเห็นได้ว่าก่อนหรือหลัง 4 เดือนก็ชอบที่จะกระทำได้ " นั้น ย่อมหมายความแต่เฉพาะเรื่องการลงนามในหนังสือมอบอำนาจเท่านั้น มิได้มุ่งหวังว่าจำเลยจะทำการไถ่ถอนจำนองภายหลัง 4 เดือนนานเท่าใดก็ได้
ส่วนข้อที่โจทก์จำเลยร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องนายวัทธนาให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากโฉนดที่ 597 ภายหลังกำหนด 4 เดือนนั้น ก็เป็นเรื่องที่ร่วมกันฟ้องผู้อื่นโดยเหตุที่มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนด เป็นคนละเรื่องกับความยินยอมเลื่อนระยะเวลาไถ่ถอนการจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการให้เนื่องจากประพฤติเนรคุณ และการไถ่ถอนจำนองก่อนการให้เพื่อความสมบูรณ์ของนิติกรรม
มารดายกที่ดินให้แก่บุตรปรากฎว่าที่ดินที่ยกให้นั้น ติดจำนองมาก่อนการจำนองมาแล้ว จึงทำยกให้แก่บุตร และเมื่อทำยกให้แล้ว ในวันเดียวกันนั้นบุตรก็จำนองที่ดินนั้นไว้แก่ผู้มีชื่ออีก ดังนี้ ถือได้ว่า ขณะเมื่อยกให้กัน หนี้จำนองอันติดอยู่กับที่ดินไม่มีแล้วเพราะได้ไถ่ถอนแล้ว ฉะนั้นเมื่อภายหลังบุตรประพฤติเนรคุณมารดาย่อมถอนคืนการให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 947/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกที่ดินให้บุตรหลังไถ่ถอนจำนองแล้ว และสิทธิในการถอนคืนกรณีบุตรประพฤติเนรคุณ
มารดายกที่ดินให้แก่บุตรปรากฏว่าที่ดินที่ยกให้นั้น ติดจำนองมาก่อนทำยกให้ แต่มารดาได้ไถ่ถอนการจำนองมาแล้วจึงทำยกให้แก่บุตร และเมื่อทำยกให้แล้ว ในวันเดียวกันนั้นบุตรก็จำนองที่ดินนั้นไว้แก่ผู้มีชื่ออีกดังนี้ถือได้ว่า ขณะเมื่อยกให้กัน หนี้จำนองอันติดอยู่กับที่ดินไม่มีแล้ว เพราะได้ไถ่ถอนแล้ว ฉะนั้นเมื่อภายหลังบุตรประพฤติเนรคุณมารดาย่อมถอนคืนการให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3754/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขายหลังล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อ โดยไถ่ถอนจำนองจากกองทรัพย์สิน
ผู้ร้องได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านกับลูกหนี้และได้ชำระเงินค่าที่ดินและบ้านแก่ลูกหนี้ครบถ้วนแล้ว ผู้ร้องจึงมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขาย แต่เมื่อลูกหนี้ไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านให้แก่ผู้ร้องได้เนื่องจากลูกหนี้ได้นำที่ดินและบ้านดังกล่าวไปจำนองแก่บริษัท บ. ซึ่งต่อมาบริษัทดังกล่าวได้โอนสิทธิการรับจำนองแก่ผู้คัดค้านที่ 2 แล้ว เมื่อลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวได้ โดยลูกหนี้ไม่มีสิทธิอย่างใดตามสัญญาอีก คงเหลือเฉพาะหน้าที่ของลูกหนี้ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา สิทธิตามสัญญานั้นเป็นของผู้ร้องเพียงฝ่ายเดียว จึงไม่อยู่ในดุลพินิจของผู้คัดค้านที่ 1 ที่จะพิจารณาว่าสิทธิตามสัญญาที่ผู้ร้องจะพึงได้มีรับภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้แก่กองทรัพย์สินของลูกหนี้หรือไม่ เพราะประโยชน์ที่จะพึงได้ในการที่ผู้ร้องใช้สิทธิเรียกร้องให้ปฏิบัติตามสัญญาตกได้แก่ผู้ร้อง หาตกได้แก่ลูกหนี้ไม่ ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้จึงไม่อาจปฏิเสธไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อผู้ร้องได้ ดังนั้น เมื่อผู้ร้องประสงค์จะขอรับโอนกรรมสิทธิ์พร้อมบ้านที่พิพาทจากผู้คัดค้านที่ 1 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงชอบที่จะต้องจดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้อง โดยปลอดจำนอง โดยให้ผู้คัดค้านที่ 1 นำเงินจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ไถ่ถอนจำนองจากผู้คัดค้านที่ 2
of 6