คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไล่เบี้ย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยตั๋วแลกเงิน: ผู้รับรองตั๋วแลกเงินไม่มีสิทธิไล่เบี้ยผู้สั่งจ่าย
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 967 วรรคสามผู้ที่ลงลายมือชื่อในตั๋วแลกเงินและเข้าถือเอาตั๋วแลกเงินนั้นจะมีสิทธิไล่เบี้ยบังคับเอาแก่ผู้ที่มีความผูกพันตามตั๋วแลกเงินได้เฉพาะผู้ที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตนเท่านั้น สำหรับผู้จ่ายที่ได้รับรองตั๋วแลกเงิน ย่อมอยู่ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินผู้สั่งจ่ายไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนผู้จ่าย ผู้จ่ายจึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยบังคับเอาแก่ผู้สั่งจ่ายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยตั๋วแลกเงิน: เจ้าหนี้ผู้รับรองไม่มีสิทธิไล่เบี้ยจากผู้สั่งจ่าย
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้จ่ายและได้รับรองตั๋วแลกเงินอันต้องผูกพันจ่ายเงินตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา937ย่อมอยู่ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับลูกหนี้ที่1ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินลูกหนี้ที่1ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา967วรรคสามเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยบังคับเอาแก่ลูกหนี้ที่1ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2755/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองตั๋วเงิน: เจ้าหนี้ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้น สิทธิไล่เบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้จ่ายและได้รับรองตั๋วแลกเงินอันต้องผูกพันจ่ายเงินตามเนื้อความแห่งคำรับรองของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา937ย่อมอยู่ในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นอย่างเดียวกับลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินลูกหนี้ไม่ได้อยู่ในฐานะที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนเจ้าหนี้ตามมาตรา967วรรคสามเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยบังคับเอาแก่ลูกหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2240/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกบริษัทเข้ามาเป็นจำเลยร่วมในคดีเช่า กรณีมีสิทธิไล่เบี้ยตามสัญญาเช่า
คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลหมายเรียกบริษัท บ.เข้ามาเป็นจำเลยร่วมนั้นอ้างเหตุว่าจำเลยได้ทำสัญญาเช่าโรงแรมพิพาทจากบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นผู้จะซื้อโรงแรมพิพาทจากโจทก์ โดยโจทก์มอบอำนาจให้บริษัท บ.เป็นตัวแทนในการที่จะให้บุคคลภายนอกเช่าโรงแรมพิพาทได้ จำเลยได้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าและค่าเช่าประจำเดือนให้แก่บริษัทดังกล่าวไปแล้ว หากจำเลยแพ้คดีโจทก์ จำเลยย่อมมีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยจากบริษัท บ.ในฐานะที่เป็นผู้ผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลยได้ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าต่อไปโดยอาศัยสัญญาเช่าฉบับใหม่ที่ทำขึ้นระหว่างบริษัท บ.กับจำเลย มิใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ กรณีมีเหตุสมควรที่จะเรียกบริษัท บ.เข้ามาในคดีตาม ป.วิ.พ.ความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ก)
จำเลยฎีกาขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามตาราง 1(2) (ข) แห่ง ป.วิ.พ. จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319-1320/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันต้องเกิดจากการชำระหนี้แทนจำเลย มิใช่การผูกพันตนเป็นลูกหนี้เอง
สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันที่จะไล่เบี้ยเอาจากจำเลยย่อมเกิดมีขึ้นต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา693วรรคหนึ่งการที่โจทก์ยอมผูกพันตนเข้าเป็นลูกหนี้ของเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ของจำเลยอีกคนหนึ่งหาใช่เป็นการที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เสร็จสิ้นแล้วไม่ทั้งไม่ทำให้หนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับจำเลยที่มีอยู่เดิมระงับสิ้นไปเพราะมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1319-1320/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันต้องเกิดจากการชำระหนี้แทนจำเลยให้เจ้าหนี้ มิใช่การผูกพันตนเป็นลูกหนี้ใหม่
สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันที่จะไล่เบี้ยเอาจากจำเลยย่อมจะเกิดมีขึ้นต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยแล้วตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา693แต่การชำระหนี้โดยวิธีการที่โจทก์ยอมผูกพันตนเข้าเป็นลูกหนี้ของ ธ.เพื่อชำระหนี้ของจำเลยอีกคนหนึ่งหาใช่เป็นการที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่ ธ. เสร็จสิ้นแล้วไม่ทั้งไม่ทำให้หนี้ระหว่าง ธ.กับจำเลยที่มีอยู่เดิมระงับสิ้นไปเพราะมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ธ. ยังคงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าวได้เช่นเดิมเมื่อตามคำฟ้องไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ชำระหนี้แทนจำเลยให้แก่ ธ. ไปแล้วหรือไม่เป็นจำนวนเท่าใดโจทก์จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5547/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คสลักหลัง: สิทธิไล่เบี้ยและอายุความ
โจทก์สลักหลังเช็คผู้ถือซึ่งจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 921 ประกอบมาตรา989 จึงอยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คที่จะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเท่านั้น หาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามเช็คแทนจำเลยไปแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา 989 กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับภายในกำหนดเวลาเท่าใด จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 (เดิม) มิใช่อายุความ1 ปี หรือ 6 เดือน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1002 และ มาตรา 1003

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5547/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการไล่เบี้ยผู้สั่งจ่ายเช็คในฐานะผู้ค้ำประกัน (อาวัล) ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยสั่งจ่ายเช็คผู้ถือมอบให้โจทก์ โจทก์ได้สลักหลังแล้วนำไปแลกเงินสดจากบุคคลภายนอก การสลักหลังดังกล่าวย่อมเป็นเพียงประกัน(อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921ประกอบด้วยมาตรา 989 โดยโจทก์อยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คที่จำเลยจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ทรงเท่านั้นเมื่อโจทก์ได้ชำระหนี้ตามเช็คแก่บุคคลภายนอกแทนจำเลยไป ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 989 โดยมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะโจทก์ฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5547/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการไล่เบี้ยหนี้เช็ค: ผู้สลักหลังในฐานะผู้ค้ำประกันมีอายุความ 10 ปี
โจทก์สลักหลังเช็คผู้ถือซึ่งจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นเพียงประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989 จึงอยู่ในฐานะผู้ค้ำประกันหนี้ตามเช็คที่จะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเท่านั้นหาได้ถือว่าเป็นผู้สลักหลังตามกฎหมายไม่ เมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามเช็คแทนจำเลยไปแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบ มาตรา 989กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับภายในกำหนดเวลาเท่าใด จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) มิใช่อายุความ1 ปี หรือ 6 เดือน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 และมาตรา 1003

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: ผู้รับอาวัลมีสิทธิฟ้องได้ภายใน 10 ปี มิใช่ 6 เดือน
โจทก์บรรยายฟ้องส่วนที่เกี่ยวกับเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2ว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 ตามสำเนาท้ายฟ้อง(แก่ผู้ถือ) แล้วมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ โจทก์สลักหลังเช็คดังกล่าวชำระหนี้แก่ผู้มีชื่อ ผู้มีชื่อนำเช็คเข้าบัญชีเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้มีชื่อได้ใช้สิทธิไล่เบี้ยให้โจทก์ชำระเงินตามเช็คดังกล่าวในฐานะที่โจทก์สลักหลังเป็นอาวัลผู้สั่งจ่าย โจทก์ชำระเงินตามเช็คแก่ผู้มีชื่อแล้วรับเช็คดังกล่าวคืนมา โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามเช็คพิพาท พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คจนถึงวันฟ้องและต่อไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จ ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยสั่งจ่ายเช็ค เมื่อเช็คดังกล่าวธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรง และโจทก์ได้มีคำขอบังคับไว้ในคำฟ้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินจนถึงวันฟ้องและต่อไปจนกว่าจำเลยจะชำระเสร็จครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้วจึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายโดยชัดแจ้งว่าถูกใครใช้สิทธิไล่เบี้ยเมื่อใด ก็ไม่ทำให้คำฟ้องของโจทก์กลายเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวมิใช่สภาพแห่งข้อหาที่กฎหมายบังคับให้ต้องแสดงไว้ในคำฟ้อง การสลักหลังเช็คซึ่งสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ซึ่งมาตรา 989 วรรคแรกบัญญัติให้นำมาใช้บังคับในเรื่องเช็คด้วยนั้น บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้วว่า เป็นเพียงการประกัน (อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายหาได้ถือว่าเป็นการสลักหลังโอนหรือสลักหลังลอยไม่ เมื่อโจทก์สลักหลังเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 ซึ่งจำเลยสั่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ โจทก์ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้รับอาวัลจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวจึงต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกับจำเลยซึ่งโจทก์ประกัน เมื่อโจทก์ผู้รับอาวัลได้ใช้เงินไปตามเช็คให้แก่ผู้ทรงเช็คแล้ว ย่อมได้สิทธิในอันจะไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยซึ่งโจทก์ได้ประกันไว้การที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการใช้สิทธิของผู้รับอาวัลที่ได้ใช้เงินไปตามเช็คแล้วใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายซึ่งตนได้ประกันไว้ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคสาม ประกอบมาตรา989 วรรคแรก บัญญัติให้สิทธิไว้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะให้ต้องบังคับเสียภายในระยะเวลาเท่าใด ฉะนั้นจึงต้องมีกำหนด 10 ปี ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) บัญญัติไว้ คดีตามคำฟ้องโจทก์เกี่ยวกับเช็คพิพาทฉบับที่ 1 และที่ 2 หาใช่กรณีโจทก์ผู้สลักหลังโอนเช็คแก่ผู้ทรง หรือผู้สลักหลังลอยโอนเช็คแก่ผู้ทรงใช้สิทธิฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยผู้สั่งจ่ายเช็คอันมีอายุความ6 เดือน ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003บัญญัติไว้ไม่ คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 13